Robot Suit Hal
แอร์โร ซามูเอล หนุ่มน้อยชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับบาดเจ็บที่เส้นประสาทไขสันหลัง จากอุบัติเหตุหลังคาพังถล่มทับ จนเป็นอัมพาตตั้งแต่ 2 ปีก่อน สามารถกลับมาเดินได้อีกครั้ง หลังจากแพทย์ทดลองสวมชุดไบโอนิคแบบใหม่ให้กับเขา
ชุดไบโอบิคที่ว่านี้มีชื่อว่า “รีวอล์ก” หรือแปลเป็นไทยว่า การกลับมาเดินได้อีกครั้ง โดยซามูเอล เป็นหนึ่งในผู้ป่วยอัมพาตเพียงไม่กี่คนของศูนย์การแพทย์เมาท์ไซนาย ในนครนิวยอร์ก ของสหรัฐฯ ที่ได้ทดลองสวมใส่ชุดหุ่นยนต์ดังกล่าว
“รีวอล์ก”เป็นนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย “อาร์โก” บริษัทสัญชาติอิสราเอล และมีรูปแบบการทำงานคล้ายขาของหุ่นยนต์ เมื่อผู้ป่วยอัมพาตสวมชุดหุ่นยนต์นี้เข้ากับขาทั้งสองข้างของตัวเอง มันจะช่วยออกแรงเดินให้กับผู้สวมใส่ โดยชุดนี้ยังสามารถปรับเข้ากับขนาดและช่วงขาของคนในไซส์ต่างๆ กันได้อย่างลงตัวอีกด้วย
สำหรับการสั่งการให้ขาหุ่นยนต์ ก้าวเดินไปในลักษณะต่างๆ อาทิ การเดินบนพื้นราบ รวมถึงการขึ้นบันได หรือย่อตัวลงนั่ง จะใช้วิธีควบคุมผ่านรีโมตคอนโทรล ซึ่งมีลักษณะคล้ายนาฬิกาข้อมือ เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ และคอมพิวเตอร์ ซึ่งบรรจุอยู่ในเป้สะพายหลัง ที่มีน้ำหนักประมาณ 15 ปอนด์ หรือเกือบ 7 กิโลกรัม
ซามูเอล เผยความรู้สึกหลังได้สวมใส่ขาไบโอนิค”รีวอล์ก” ว่า มันทำให้เขารู้สึกเหมือนตัวเองเป็นโรโบคอป หรือมนุษย์หุ่นยนต์ในหนังไซ-ไฟชื่อดัง
ส่วนนายแพทย์อัลแลน คอซโลว์สกี เจ้าหน้าที่ของศูนย์การแพทย์เมาท์ไซนาย มองว่า ชุดไบโอนิค”รีวอล์ก” จะเข้ามาแทนที่รถวีลแชร์ในอนาคต และหากวิศวกร สามารถปรับเอาเทคโนโลยียุคใหม่มาใช้กับอุปกรณ์การแพทย์แบบเก่าได้ เขาก็เชื่อว่า รถวีลแชร์ในอนาคต จะสามารถดัดแปลงให้กลายเป็นชุดไบโอนิคช่วยเดินได้ ด้วยการถอดล้อออกไปยามที่ผู้ป่วยไม่ต้องการใช้งานมันเท่านั้น
ล่าสุด ซามูเอลได้ทดลองใช้ “รีวอล์ก”มาแล้วเพียง 12 ครั้ง แต่ก็สามารถทำความคุ้นเคยกับมันได้อย่างรวดเร็ว จนสามารถฝึกใช้เดินขึ้นบันไดได้แล้ว ขณะที่นายแพทย์คอซโลว์สกีคาดว่า หากซามูเอลฝึกใช้ขาหุ่นยนต์เพิ่มอีกเพียงไม่กี่สัปดาห์ เขาก็น่าจะใช้มันเดินได้อย่างมั่นคงมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีคนช่วยประคองอีกต่อไป
ปกติแล้ว ผู้ป่วยที่ใช้ขาหุ่นยนต์ “รีวอล์ก” จะมีโอกาสได้ทดลองสวมใส่เพื่อทำความคุ้นเคยกับมันสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 90 นาที โดยใช้เดินไปตามพื้นที่ต่างๆภายในศูนย์บำบัดและฟื้นฟูผู้ป่วยของโรงพยาบาล บางครั้งอาจมีการพาเดินออกไปด้านนอกด้วย ขณะที่แพทย์ผู้ดูแลยอมรับว่า คนไข้แต่ละคนมีความสามารถในการใช้ และทำความคุ้นเคยกับชุดไบโอนิคแตกต่างกันออกไป
อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ป่วยบางคนยังคงมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับชุด “รีวอล์ก” แต่ซามูเอลก็ระบุว่า ชุดหุ่นยนต์ดังกล่าวช่วยให้เขามีโอกาสได้มีความเป็นอิสระอีกครั้ง หลังจากที่เคยคิดว่า ชีวิตนี้จะไม่สามารถกลับมาเดินได้เองอีกแล้ว และต้องคอยยืมมือผู้อื่น เพื่อให้ความช่วยเหลือดูแลตลอดเวลา
ปัจจุบัน “รีวอล์ก” ได้รับการรับรองให้นำไปใช้เป็นอุปกรณ์ตามบ้านเรือนทั่วไปในยุโรปแล้ว ขณะที่ซามูเอล และผู้ป่วยอัมพาตคนอื่นๆในสหรัฐฯ หวังว่า องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ จะให้การรับรองเทคโนโลยีชนิดนี้ เพื่อนำไปใช้ตามบ้านเรือนของชาวอเมริกันทั่วไปได้ในอนาคตอันใกล้
ที่มา : สหรัฐฯพัฒนาชุด ‘ไบโอนิค’ ช่วยผู้ป่วยอัมพาต.(2557). ออนไลน์. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2557
รายละเอียดเกี่ยวกับ โรบอทสูท
- โรบอทสูท เป็นผลงานการวิจัยของศาสดาจารย์ Yoshiyuki Sankai ทางด้านวิศวกรรม ของมหาวิทยลัย Tsukuba
- ใช้หลักการตรวจจับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ที่จะส่งสัญญาณไฟฟ้าบนผิวหนัง สัญญาณไฟฟ้าพวกนี้จะถูกตรวจจับด้วยเซ็นเซอร์ และส่งไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล เพื่อสั่งการให้มอร์เตอร์ไฟฟ้าของโรบอทสูททำงาน
- โรบอทสูทระบบนี้เรียกว่า Hybrid assistive limb หรือใช้ตัวย่อว่า HAL-5
- ทางญี่ปุ่นมีโครงการจะผลิต HAL เพื่อขายโดยมีราคาตั้งไว้ที่ 4,200 เหรียญสหรัฐ(138,600 บาท) ในเร็วๆนี้
- มันสร้างมาเพื่อสำหรับคนพิการ หรือภาระกิจช่วยเหลือในสภาพทุรกันดาร เป็นต้น
- HAL ทำงานโดยใช้แหล่งพลังงานจากแบตเตอร์รี่ น้ำหนัก 15 กิโลกรัม สามารถใช้งานได้ประมาณ 4 ชั่วโมง
ชุด 'รีวอล์ก' ช่วยผู้พิการเดินไม่ได้ให้เดินได้อีกครั้ง!ในไทยมี ใครเอามาขายหรือยังครับ
แอร์โร ซามูเอล หนุ่มน้อยชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับบาดเจ็บที่เส้นประสาทไขสันหลัง จากอุบัติเหตุหลังคาพังถล่มทับ จนเป็นอัมพาตตั้งแต่ 2 ปีก่อน สามารถกลับมาเดินได้อีกครั้ง หลังจากแพทย์ทดลองสวมชุดไบโอนิคแบบใหม่ให้กับเขา
ชุดไบโอบิคที่ว่านี้มีชื่อว่า “รีวอล์ก” หรือแปลเป็นไทยว่า การกลับมาเดินได้อีกครั้ง โดยซามูเอล เป็นหนึ่งในผู้ป่วยอัมพาตเพียงไม่กี่คนของศูนย์การแพทย์เมาท์ไซนาย ในนครนิวยอร์ก ของสหรัฐฯ ที่ได้ทดลองสวมใส่ชุดหุ่นยนต์ดังกล่าว
“รีวอล์ก”เป็นนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย “อาร์โก” บริษัทสัญชาติอิสราเอล และมีรูปแบบการทำงานคล้ายขาของหุ่นยนต์ เมื่อผู้ป่วยอัมพาตสวมชุดหุ่นยนต์นี้เข้ากับขาทั้งสองข้างของตัวเอง มันจะช่วยออกแรงเดินให้กับผู้สวมใส่ โดยชุดนี้ยังสามารถปรับเข้ากับขนาดและช่วงขาของคนในไซส์ต่างๆ กันได้อย่างลงตัวอีกด้วย
สำหรับการสั่งการให้ขาหุ่นยนต์ ก้าวเดินไปในลักษณะต่างๆ อาทิ การเดินบนพื้นราบ รวมถึงการขึ้นบันได หรือย่อตัวลงนั่ง จะใช้วิธีควบคุมผ่านรีโมตคอนโทรล ซึ่งมีลักษณะคล้ายนาฬิกาข้อมือ เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ และคอมพิวเตอร์ ซึ่งบรรจุอยู่ในเป้สะพายหลัง ที่มีน้ำหนักประมาณ 15 ปอนด์ หรือเกือบ 7 กิโลกรัม
ซามูเอล เผยความรู้สึกหลังได้สวมใส่ขาไบโอนิค”รีวอล์ก” ว่า มันทำให้เขารู้สึกเหมือนตัวเองเป็นโรโบคอป หรือมนุษย์หุ่นยนต์ในหนังไซ-ไฟชื่อดัง
ส่วนนายแพทย์อัลแลน คอซโลว์สกี เจ้าหน้าที่ของศูนย์การแพทย์เมาท์ไซนาย มองว่า ชุดไบโอนิค”รีวอล์ก” จะเข้ามาแทนที่รถวีลแชร์ในอนาคต และหากวิศวกร สามารถปรับเอาเทคโนโลยียุคใหม่มาใช้กับอุปกรณ์การแพทย์แบบเก่าได้ เขาก็เชื่อว่า รถวีลแชร์ในอนาคต จะสามารถดัดแปลงให้กลายเป็นชุดไบโอนิคช่วยเดินได้ ด้วยการถอดล้อออกไปยามที่ผู้ป่วยไม่ต้องการใช้งานมันเท่านั้น
ล่าสุด ซามูเอลได้ทดลองใช้ “รีวอล์ก”มาแล้วเพียง 12 ครั้ง แต่ก็สามารถทำความคุ้นเคยกับมันได้อย่างรวดเร็ว จนสามารถฝึกใช้เดินขึ้นบันไดได้แล้ว ขณะที่นายแพทย์คอซโลว์สกีคาดว่า หากซามูเอลฝึกใช้ขาหุ่นยนต์เพิ่มอีกเพียงไม่กี่สัปดาห์ เขาก็น่าจะใช้มันเดินได้อย่างมั่นคงมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีคนช่วยประคองอีกต่อไป
ปกติแล้ว ผู้ป่วยที่ใช้ขาหุ่นยนต์ “รีวอล์ก” จะมีโอกาสได้ทดลองสวมใส่เพื่อทำความคุ้นเคยกับมันสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 90 นาที โดยใช้เดินไปตามพื้นที่ต่างๆภายในศูนย์บำบัดและฟื้นฟูผู้ป่วยของโรงพยาบาล บางครั้งอาจมีการพาเดินออกไปด้านนอกด้วย ขณะที่แพทย์ผู้ดูแลยอมรับว่า คนไข้แต่ละคนมีความสามารถในการใช้ และทำความคุ้นเคยกับชุดไบโอนิคแตกต่างกันออกไป
อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ป่วยบางคนยังคงมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับชุด “รีวอล์ก” แต่ซามูเอลก็ระบุว่า ชุดหุ่นยนต์ดังกล่าวช่วยให้เขามีโอกาสได้มีความเป็นอิสระอีกครั้ง หลังจากที่เคยคิดว่า ชีวิตนี้จะไม่สามารถกลับมาเดินได้เองอีกแล้ว และต้องคอยยืมมือผู้อื่น เพื่อให้ความช่วยเหลือดูแลตลอดเวลา
ปัจจุบัน “รีวอล์ก” ได้รับการรับรองให้นำไปใช้เป็นอุปกรณ์ตามบ้านเรือนทั่วไปในยุโรปแล้ว ขณะที่ซามูเอล และผู้ป่วยอัมพาตคนอื่นๆในสหรัฐฯ หวังว่า องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ จะให้การรับรองเทคโนโลยีชนิดนี้ เพื่อนำไปใช้ตามบ้านเรือนของชาวอเมริกันทั่วไปได้ในอนาคตอันใกล้
ที่มา : สหรัฐฯพัฒนาชุด ‘ไบโอนิค’ ช่วยผู้ป่วยอัมพาต.(2557). ออนไลน์. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2557
รายละเอียดเกี่ยวกับ โรบอทสูท
- โรบอทสูท เป็นผลงานการวิจัยของศาสดาจารย์ Yoshiyuki Sankai ทางด้านวิศวกรรม ของมหาวิทยลัย Tsukuba
- ใช้หลักการตรวจจับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ที่จะส่งสัญญาณไฟฟ้าบนผิวหนัง สัญญาณไฟฟ้าพวกนี้จะถูกตรวจจับด้วยเซ็นเซอร์ และส่งไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล เพื่อสั่งการให้มอร์เตอร์ไฟฟ้าของโรบอทสูททำงาน
- โรบอทสูทระบบนี้เรียกว่า Hybrid assistive limb หรือใช้ตัวย่อว่า HAL-5
- ทางญี่ปุ่นมีโครงการจะผลิต HAL เพื่อขายโดยมีราคาตั้งไว้ที่ 4,200 เหรียญสหรัฐ(138,600 บาท) ในเร็วๆนี้
- มันสร้างมาเพื่อสำหรับคนพิการ หรือภาระกิจช่วยเหลือในสภาพทุรกันดาร เป็นต้น
- HAL ทำงานโดยใช้แหล่งพลังงานจากแบตเตอร์รี่ น้ำหนัก 15 กิโลกรัม สามารถใช้งานได้ประมาณ 4 ชั่วโมง