โดยส่วนตัวทำงานเป็นวิศวกร ผ่านมาก็หลายโรงงาน ตามนิคมอุตสาหกรรม ไต่เต้าจาก Engineer สู่การเป็น Manager จบ KMITNB สาขา IET
ทั้ง Rohm canon sumsung HANA Nidec ปัจจุบันเปลี่ยนสายมาทำโรงงาน Automotive part จากประสบการณ์ที่ผ่านมาอย่างโชกโชนจึงได้รับรู้ว่าคนทำงาน ในด้านวิศวะโรงงานส่วนใหญ่ที่เคยเจอ ก็มาจาก 3 พระจอมเกล้า พระนครเหนือ บางมด ลาดกระบัง 60% เกษตร 10% ธรรมศาสตร์+สุรนารี+จุฬา+ราชมงคล+มหานคร 30% สาเหตุที่เด็กจุฬาส่วนใหญ่ไม่มาด้านโรงงานเพราะว่า ครอบครัวอาจจะมีฐานะและธุรกิจส่วนตัวหรือเจอสายงานที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าโรงงาน ถามว่าเด็กไทยส่วนใหญ่ที่จบจากราชภัฎเก่งหรือไม่ ทำงานได้หรือไม่ ขอตอบอย่างใจจริงเลยว่า ทุกมหาลัย สามารถสอนให้ทุกคนเก่งได้หมด เพียงแต่สภาพแวดล้อมของมหาลัยแต่ละที่แตกต่างกันเนื่องจากบางสถาบันได้วางรากฐาน มาดีและมีรุ่นพี่ที่ทำงานและทำให้นายจ้างยอมรับ ในความสามารถ ทำให้นายจ้างเลือกที่จะมองในแต่ละสายงานว่ามหาลัยไหน เด่นด้านใด เช่น วิศวกรรม จุฬา เกษตร 3พระจอมเกล้า
กฎหมาย รามคำแหง บัญชี ธรรมศาสตร์ จุฬา แพทย์ ศิริราช มหิดล ซึ่งแต่ละมหาลัยก็จะมีชื่อเสียงแตกต่างกันออกไป เพราะชื่อเสียงไม่ได้มาจากการโม้
หรือเกิดจากการมโน ขึ้นมาเอง แต่เกิดจากรุ่นพี่ ที่เขาทำงานและเป็นที่น่าเชื่อถือของนายจ้างว่าในการทำกำไร ลดต้นทุน เพิ่มoutput เด็กมหาลัยเหล่านั้นสามารถที่จะพัฒนาต่อยอดจาก 0 ไปได้ไวกว่าเด็กมหาลัยอื่น
สุดท้าย อยากฝากคับว่า ไม่ว่าเราจบที่ไหน จบเมื่อไร จบวุฒิไหน ความสามารถที่แท้จิงไม่ได้อยู่ที่สถาบัน ไม่ได้อยู่ที่ใบปริญญา อยู่ที่ใจคุณจะใฝ่รู้อย่างมีวินัยแค่ไหน อยู่ที่เป้าหมายในการวางแผนอนาคตว่า 5 ปีข้างหน้าเราจะอยู่จุดใด อยู่ที่เราจะมองความสำเร็จผู้อื่นแล้วอยู่เฉยเฉยหรือจะวิ่งหาความรู้จากภายนอกหรือไม่ สถาบันหรือมหาลัยไม่ได้กำหนดให้เราเป็นคนดี คนเก่งให้คนอื่นยอมรับหรอกคับ ทุกอย่างเราสามารถสร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเราเอง
ผิดตรงที่ว่าใบเบิกทางเราอาจไม่สวยหรูพอในการเริ่มต้นแค่นั้นเองคับ "ความรู้และความสามารถที่แท้จริงจะไม่มีวันอดตาย"
ปล. ทุกวันนี้ผมยังทำตัวน้ำไม่เต็มแก้วอยู่เลย เพิ่งจะไปเดินงาน Manufacture expo ที่ไบเทคมา ชอบบูท Omron กับ KuKa และ ABB
ไม่ว่าคุณจบจากที่ใด มหาลัยไหนก็ตาม ความรู้ที่แท้จิงไม่ได้จำกัดอยู่ในสถาบันการศึกษา
ทั้ง Rohm canon sumsung HANA Nidec ปัจจุบันเปลี่ยนสายมาทำโรงงาน Automotive part จากประสบการณ์ที่ผ่านมาอย่างโชกโชนจึงได้รับรู้ว่าคนทำงาน ในด้านวิศวะโรงงานส่วนใหญ่ที่เคยเจอ ก็มาจาก 3 พระจอมเกล้า พระนครเหนือ บางมด ลาดกระบัง 60% เกษตร 10% ธรรมศาสตร์+สุรนารี+จุฬา+ราชมงคล+มหานคร 30% สาเหตุที่เด็กจุฬาส่วนใหญ่ไม่มาด้านโรงงานเพราะว่า ครอบครัวอาจจะมีฐานะและธุรกิจส่วนตัวหรือเจอสายงานที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าโรงงาน ถามว่าเด็กไทยส่วนใหญ่ที่จบจากราชภัฎเก่งหรือไม่ ทำงานได้หรือไม่ ขอตอบอย่างใจจริงเลยว่า ทุกมหาลัย สามารถสอนให้ทุกคนเก่งได้หมด เพียงแต่สภาพแวดล้อมของมหาลัยแต่ละที่แตกต่างกันเนื่องจากบางสถาบันได้วางรากฐาน มาดีและมีรุ่นพี่ที่ทำงานและทำให้นายจ้างยอมรับ ในความสามารถ ทำให้นายจ้างเลือกที่จะมองในแต่ละสายงานว่ามหาลัยไหน เด่นด้านใด เช่น วิศวกรรม จุฬา เกษตร 3พระจอมเกล้า
กฎหมาย รามคำแหง บัญชี ธรรมศาสตร์ จุฬา แพทย์ ศิริราช มหิดล ซึ่งแต่ละมหาลัยก็จะมีชื่อเสียงแตกต่างกันออกไป เพราะชื่อเสียงไม่ได้มาจากการโม้
หรือเกิดจากการมโน ขึ้นมาเอง แต่เกิดจากรุ่นพี่ ที่เขาทำงานและเป็นที่น่าเชื่อถือของนายจ้างว่าในการทำกำไร ลดต้นทุน เพิ่มoutput เด็กมหาลัยเหล่านั้นสามารถที่จะพัฒนาต่อยอดจาก 0 ไปได้ไวกว่าเด็กมหาลัยอื่น
สุดท้าย อยากฝากคับว่า ไม่ว่าเราจบที่ไหน จบเมื่อไร จบวุฒิไหน ความสามารถที่แท้จิงไม่ได้อยู่ที่สถาบัน ไม่ได้อยู่ที่ใบปริญญา อยู่ที่ใจคุณจะใฝ่รู้อย่างมีวินัยแค่ไหน อยู่ที่เป้าหมายในการวางแผนอนาคตว่า 5 ปีข้างหน้าเราจะอยู่จุดใด อยู่ที่เราจะมองความสำเร็จผู้อื่นแล้วอยู่เฉยเฉยหรือจะวิ่งหาความรู้จากภายนอกหรือไม่ สถาบันหรือมหาลัยไม่ได้กำหนดให้เราเป็นคนดี คนเก่งให้คนอื่นยอมรับหรอกคับ ทุกอย่างเราสามารถสร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเราเอง
ผิดตรงที่ว่าใบเบิกทางเราอาจไม่สวยหรูพอในการเริ่มต้นแค่นั้นเองคับ "ความรู้และความสามารถที่แท้จริงจะไม่มีวันอดตาย"
ปล. ทุกวันนี้ผมยังทำตัวน้ำไม่เต็มแก้วอยู่เลย เพิ่งจะไปเดินงาน Manufacture expo ที่ไบเทคมา ชอบบูท Omron กับ KuKa และ ABB