..... เช้าในวันเดินทาง ง ง ง ง ...... พุธที่ 17 มิถุนา 58 ช่วงเวลาประมาณ 10.00 น. ภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าให้เข้าร่วมการ....ไล่ล่าสัตว์นำเชื้อ.... กับทีมงานศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงแห่งหนึ่ง เบื้องต้นเป็นการเก็บข้อมูล วิธีการทำงานและที่สำคัญคือตีแผ่คนทำงานให้คนอื่นรู้มั้งว่าทีมปฏิบัติการนั้นทำงานกันอย่างไร เอาง่ายๆนะ ก็ไม่ได้ไปแบบเป็นทางการหรือเก็บข้อมูลอะไรจิงจังหรอก !!! ต้องบอกก่อนนะว่า ผมเองทำงานมูลนิธิศูนย์คุ้มคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ แทบภาคตะวันออกทำงานเกี่ยวกับการป้องกันโรคที่มากับแมลงกับพี่น้องแรงงานข้ามชาติ พอดีช่วงนั้นทำงานตามเป้าแล้วเลยว่าง 555++ ก็เลยขอหัวหน้า ขอพี่ๆศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงเขาไปด้วย (((ง่ายๆเลย.....ไปเที่ยว))) อิอิ แต่ไหนๆก็มาแล้วหัวหน้าก็เลยบอกเก็บข้อมูลด้วยนะ..........
เช้าวันเดินทางผมเลือกที่จะตัดขาดการเดินทางแบบเอารถไปเอง หรือให้ใครมาส่งขึ้นรถเลย หลังจากที่นัดแนะเรื่องเวลานัดหมายกับพี่ๆแล้วว่าเจอกัน 12.00 น. เจอกันที่ศูนย์ ผมตื่นแต่เช้าทำธุระส่วนตัวเก็บเสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว สมุดบันทึก พร้อมกับกล้อง ............. ผมออกจากที่พักประมาณ 10.00 น. จากนั้นก็เดินออกมาขึ้นรถสองแถวหน้าปากซอย ไปลงที่ขึ้นรถอีกจุดจากนั้นก็ต่อสองแถวเดินทางไปที่ศูนย์.............. แต่บอกก่อนนะว่ารถสองแถวมันไม่ถึงศูนย์นะ อิอิ ผมต้องเดินต่อไปอีก 2 กม. (จริงๆมันก็มีวินมอไซค์แหละ แต่ผมเลือกจะเดินมากกว่า ) ผมมาถึงที่นัดหมายกับพี่ๆเขาประมาณ 12.00 น. พอดี พวกพี่ๆเขาก็กำลังจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆอย่างขยันขันแข็งกันเลยที่เดียว (ผมก็ไปช่วยพี่ๆเขา)...............
เมื่อถึงเวลา........ เราก็ออกเดินทางกัน ด้วยรถตู้คันเล็กๆเก่าๆ....ที่ข้างหลังเต็มไปด้วยอุปกรณ์
พร้อมกับผู้ไล่ล่าอีก 6 คน ก็คือผมและพี่ๆ นักกีฏวิทยา นักชีววิทยา เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมโรคฯ.........ระหว่างเดินทางก็มีการสนทนา วางแผน แนะนำตัว ทำความรู้จักกันมากขึ้น (ต้องบอกก่อนว่าผมแค่รู้จักพวกพี่ๆเขาเท่านั้น....ไม่สนิทกันเลย) เราก็พูดคุยกันไป สักพักก็แวะกินข้าวกลางวันกันจากนั้นก็เดินทางกันต่อ จุดหมายปลายทางของเราก็คือหน่วยควบคุมโรคฯ แห่งหนึ่ง บริกวณภาคตะวันออก
ซึ่งเราจะใช้มันเป็นที่พัก (((มั่ง555++))) และเป็นที่จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ ที่เราจะนำไปใช้ในการไล่ล่าเจ้าสัตว์นำเชื้อเอามาวิจัยกันต่อไป
14.00 น. เราก็เดินทางมาถึงที่พัก พอมาถึงเราก็จัดแจงขนสัมภาระต่างๆลงจากรถตู้คันเก่าๆที่เราโดยสารกันมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ.............. แบกโน้น ยกนี้ ขนอันนั้น วางตรงนี้ เราก็ใช้เวลาแปปเดียวเท่านั้น
หลังจากนั้น เหล่าผู้ไล่ล่าทั้งหลายก็จัดเตรียมอุปกรณ์ เช็คเครื่องมือต่างๆ ประกอบอันนั้นอันนี้ กันอย่างเคร่งเครียจกันเลยทีเดียว ส่วนผมนะรึ..... ก็ช่วยพี่เค้าบ้าง ถ่ายรูปไปบ้าง 555++++
เพราะต้องบอกเลยว่าเครื่องมือบางอย่างมันต้องใช้ผู้ชำนาญเท่านั้น อันไหนที่ผมทำได้ผมก็ช่วยไป..........แต่ถ้าอันนั้นช่วยไม่ได้ก็นั่งให้กำลังใจพร้อมกับการถ่ายรูปและก็สอบถามข้อมูลเพื่อประกอบกับการทำความเข้าใจ อิอิ
ปฏิบัติการ...ไล่ล่าสัตว์นำเชื้อ(โรค).............. ต้องบอกกล่าวกันก่อนว่าการไล่ล่าสัตว์ของเรานิ ก็จะเป็นการไล่ล่าสัตว์จำพวกแมลงและก็หนูเพื่อนำมาวิจัย หาความหนาแน่นของแมลงพาหะ ความชุกชุมของเชื้อโรคที่มีอยู่ในพื้นที่ว่ามันมีมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นการประเมินและเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่ว่ามีการระบายหรือมีพาพะหรือไม่
• ที่ดักหนู
• การจัดเตรียมอาหารล่อเหยื่อ.......
• อุปกรณ์เครื่องดักจับ ริ้นฝอยทราย โดยใช้ไฟล้อ
พี่เปียกและพี่วิชาญเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบโรคติดต่อนำโดยแมลงกำลังจัดเตรียมอุปกรณ์อย่างขยันขันแข็ง
พี่โน๊ต นักชีววิทยาประจำศูนย์ศูนย์ควบคุมโรค หัวหน้าชุด ปฏิบัติการ...ไล่ล่าสัตว์นำเชื้อ(โรค)........ในครั้งนี้ กำลังเช็คอุปกรณ์ ความเรียบร้อยต่างๆด้วยตัวเองเลย
พวกเราจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆกันอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นเวลาประมาณ 16.00 น. พวกเราทุกคนพร้อมกับพาหนะสุดคลาสสิก ก็เดินทางออกจากที่พักมุ่งหน้าสู่พื้นที่ปฏิบัติงานในค่ำคืนนี้ เพื่อเป็นการตรวจดูสถานที่ ในการวางกับดัก เช็ดความเป็นไปได้ในการที่จะได้สัตว์ต่างๆที่เราต้องการ
สำหรับการไล่ล้าสัตว์ที่เราจะนำมาวิจัยในครั้งนี้ ก็มี
1. หนู เพื่อนำมาตรวจหา ตัวไรที่อาศัยเป็นปรสิตของสัตว์ในตระกูลหนู (Rodent) ซึ่งจะนำพาโรคสคับไทฟัส (Scrub typhus) หรือโรคไข้รากสาดพุ่มไม้ หรือโรคไข้รากสาดไรอ่อน (Chigger) หรือโรคธสุธสุกามูชิ (Tsutsugamushi disease) เป็นโรคไข้สูง
เฉียบพลันซึ่งเกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเซีย ซึ่งโรคสครับไทฟัส เป็นโรคประจำถิ่นในชนบทแถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย
2. ริ้นฝอยทราย เพื่อนำมาตรวจหา โรคลิชมาเนีย หรือ โรคลิชมานิเอซิส (Leishmaniasis) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากโปรโตซัวลิชมาเนีย (Leishmania) เป็นโรคที่สามารถติดต่อจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง สุนัข วัว แมว สู่คนได้โดยมีพาหะเป็นริ้นฝอยทราย (Sand fly
3. ยุง สำหรับยุงในที่นี้รวมประเภทยุ่งทั้งหมดที่สามารถจับได้เพื่อนำตรวจหาเชื้อเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ยุงก้นปล่องที่นำเชื้อมาลาเรีย/โรคเท้าช้าง ยุงลายที่นำเชื้อไข้เลือดออก/โรคเดงกี่/โรคชิกุนคุนยา/โรคเท้าช้าง ยุงรำคาญซึ่งเป็นพาหะโรคไข้สมองอักเสบและโรคเท้าช้าง ยุงเสือที่นำเชื้อเท้าช้าง
หลังจากที่พวกเราได้ตรวจตราสถานที่ต่างๆเสร็จสิ้น........เราก็เดินทางกลับมาที่หน่วย เพื่อขนเอาอุปกรณ์ต่างๆที่เราได้จัดเตรียมมานำลำเรียงขึ้นรถตู้ของพวกเราเพื่อเริ่ม ปฏิบัติการ...ไล่ล่าสัตว์นำเชื้อ(โรค).........
เวลา 17.30 น. เสียงรถตู้เล็กๆ......สตาร์ท บึ้นๆ ๆ ๆ ๆ บีบแตร่ แป๊นๆ ๆ ๆ เป็นสัญญาณของการออกเดินทางเริ่มภาระกิจของเหล่านักวิจัยทั้งหลาย ในระหว่างการเดินทางเราก็มีการพูดคุย และจัดแจงวางแผนกันอย่างเรียบร้อย โดยเฉพาะผมหน้าที่หลักของผมคือ อิสระ 5555++++ (พึ่งไปวันแรกยังไม่รู้อะไรสักอย่างเอาเป็นว่า เรียกผมให้หยิบจับอะไรได้ตลอด อิอิ )
เมื่อถึงสถานที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้เมื่อตอนมาสำรวจ พวกเราก็หยิบคนละไม้คนละมือ รีบนำอุปกรณ์ต่างๆ ไปติดตั้งให้ไว้ที่สุด......... !!!!
จากรูป
- พี่โน๊ตกำลังนำเหยื่อดักหนูใส่เข้าไปในกรงเพื่อนำไปวาง
- ลุงประวัติ เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมโรค และ พี่ปุ๊ก นักกีฏวิทยาประจำศูนย์ควบคุมโรค กำลังจัดเตรียมอุปกรณ์ดักริ้นฝอยทราย กันอย่างด่วนจี๋
- ส่วนผมกับพี่อีก 2คน ก็ช่วยกันแบกกรงดักหนูไปวางไว้ตามจุดแล้วครับ
หลังจากที่พวกเราทั้ง 6 คน วางอุปกรณ์ไว้ตรงสถานที่แรกเสร็จแล้วจากนั้นพวกเราก็รีบบึ่งรถไปสถานที่ต่อไป ซึ้งเป็นสถานที่เราจะประจำอยู่ตรงนี้ทั้งคืน บอกก่อนว่าในการไล่ล่าสัตว์ในครั้งนี้เราจะมีเวลาในการทำงานกันเป็นช่วงเวลาเท่านั้น คือ ช่วงตั้งแต่ 17.00-00.00 น. เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สัตว์นำเชื้อต่างๆกำลังออกหากิน ถ้าหลังจากนี้ไปสัตว์เหล่านี้ก็จะไม่ค่อยออกหากินอีกแล้วพวกเราเลยมีเวลาจำกัด แต่จริงๆแล้วช่วงที่ชุกชุมที่สุดมีแค่ ไม่ถึง 3 ชั่วโมงด้วยซ้ำ คือ 18.00-20.00 น. เท่านั้นเอง
เราเดินทางมาถึงสถานที่ที่ 2 ที่พวกเราจะเอาไว้ปักหลักทำอีกภารกิจหนึ่งและสัตว์อีกหนึ่งชนิดคือ ยุง
เราได้ความอนุเคราะห์จากชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้น ในการใช้สวนและกระท่อมเล็กๆ ไว้เป็นที่พักหลบฝนและเริ่มภารกิจ พอมาถึงพี่ๆ เขาก็นำอุปกรณ์ดักริ้นฝอยทรายที่เหลืออยู่ไปวางไว้ตามจุดต่างๆที่เพ่งเล็งไว้.........ด้วยความรวดเร็ว และอีกคนก็จัดเตรียมอุปกรณ์ให้แต่ล่ะในการจับยุง......... !!!
ความตื่นเต้นกำลังจะเริ่มนะเวลาต่อจากนี้ไปเลยครับ
บางคนอาจจะคิดว่ามันน่าตื่นเต้นตรงไหนก็แค่จับ ยุง แต่ผมบอกเลยนี้คือ สิ่งที่ผมอยากตีแผ่มากที่สุดในการรีวิวครั้งนี้.... นั้นคือ วิธีการจับยุง ต้องบอกเลยว่าพวกนักวิจัยเหล่านี้เสียสละมากๆ กว่าจะได้สัตว์ทุกๆตัวนำมาวิจัยเพื่อหาเจ้าเชื้อโรคที่มันจะเข้ามาทำร้ายมนุษย์อย่างพวกเรา ............. พวกเขาเหล่านี้สุดยอดจริงๆ
ขั้นตอนแรกในการจับยุง คือ ตอนแรกพวกเราก็แบ่งกันเป็น 3 ทีมครับ พร้อมอุปกรณ์ในการจับยุงและการเก็บยุง มีหลอดทดลองขนาดต่างๆ เล็กบาง ใหญ่บาง กระปุกที่ดัดแปลงมาโดยเฉพาะในการเก็บเจ้ายุงเหล่านั้นโดยที่ตรงกระปุกนั้นจะมี ช่วงเวลาอยู่เป็นตัวกำหนด เช่น 17.00-18.00 18.00-19.00 19.00-20.00 20.00-21.00 21.00-22.00 น. เพื่อเป็นการบอกรายละเอียดว่าเราพบยุงพวกนี้ตอนกี่โมง ช่วงเวลานี้ยุงมีเยอะขนาดไหน เวลานั้นเจอยุงอะไร และใครเป็นคนเจอ หลังจากนั้นเราก็แบ่งทีมไปประจำตำแหน่งต่างๆ คือ จุดที่1 พี่โน๊ตอยู่ด้านนอก (รอดักจับยุงที่อยู่ด้านนอก) จุดที่2 ลุงประวัติกับพี่ปุ๊กอยู่ด้านนอก (รอดักจับยุงที่อยู่ด้านนอก) จุดที่3 พี่เปียกและพี่วิชาญ อยู่ด้านในกระท่อมของชาวบ้าน (รอดักจับยุงที่อยู่ในบ้าน) ส่วนผม.....555+++ อิสระครับไปดูทุกจุด สัมภาษณ์บ้าง เก็บข้อมูลบ้าง ถ่ายรูปบ้าง .............
จากการที่ได้สอบถามพี่ๆเขาแล้วว่าทำไมเราต้องแบ่งเป็นจุดด้วย พี่ๆเขาก็บอกว่าจริงๆแล้วยุงแต่ล่ะชนิดมีพฤติกรรมการออกล่าเหยื่อต่างกัน ช่วงเวลาต่างกัน ยุงบางตัวชอบบินอยู่ในบ้าน บางตัวชอบบินอยู่ข้างนออกบ้านตามเล้าไก่ เล้าหมู ส่วนบางตัวชอบบินอยู่ในป่าในสวนในไร่ มันแตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นเราเลยต้องแบ่งกันเป็นทีมเพื่อจะไล่ล่า.....ยุง.... ให้ได้หลากหลายชนิดเพื่อนำไปวิจัย
จากนั้นเราก็เริ่มจับ....ยุง.....กัน และเป็นสิ่งที่ผมถึงกับอึ้งไปเลยทีเดียว เพราะวิธีการจับยุงของพี่ๆเขา คือ การไปนั่งรอให้ยุงมากัดและก็นำหลอดทดลองมาคอบและก็เอาไปใส่เอาในกระปุก ……….. พระเจ้า !!! จะจับยุงไปวิจัยหาเชื้อทั้งทีต้องมานั่งเสี่ยงให้ยุงกัดเองนี้นะ ......... บ้าไปแล้ว ???
และตลอดทั้งคืนนั้นที่พวกเราได้ทำภารกิจจับยุงกัน ผมก็ได้ทั้งสัมภาษณ์ แลกเปลี่ยน ทราบข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของนักวิจัยของไทยส่วนใหญ่ ที่ทำภารกิจคล้ายๆกัน..........
สำหรับ........บทสนทนาและผลในการ ปฏิบัติการ......ไล่ล่าสัตว์นำเชื้อ(โรค) จะเป็นอย่างไรนั้น ......... เดี๋ยวผมจะมาเล่าให้ฟังในตอนหน้านะครับ
อย่าลืมติดตามอ่านกันได้นะครับ
น้องแจ๊ค เจ้าหน้าที่โครงการมาลาเรีย มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
****ขอขอบคุณ account ด้วยนะครับที่ให้ยืมเขียนรีวิว
[:อมยิ
[CR] เข้าป่า " ไล่ล้าสัตว์นำเชื้อ...(โรค) " ตอนที่ 1
เช้าวันเดินทางผมเลือกที่จะตัดขาดการเดินทางแบบเอารถไปเอง หรือให้ใครมาส่งขึ้นรถเลย หลังจากที่นัดแนะเรื่องเวลานัดหมายกับพี่ๆแล้วว่าเจอกัน 12.00 น. เจอกันที่ศูนย์ ผมตื่นแต่เช้าทำธุระส่วนตัวเก็บเสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว สมุดบันทึก พร้อมกับกล้อง ............. ผมออกจากที่พักประมาณ 10.00 น. จากนั้นก็เดินออกมาขึ้นรถสองแถวหน้าปากซอย ไปลงที่ขึ้นรถอีกจุดจากนั้นก็ต่อสองแถวเดินทางไปที่ศูนย์.............. แต่บอกก่อนนะว่ารถสองแถวมันไม่ถึงศูนย์นะ อิอิ ผมต้องเดินต่อไปอีก 2 กม. (จริงๆมันก็มีวินมอไซค์แหละ แต่ผมเลือกจะเดินมากกว่า ) ผมมาถึงที่นัดหมายกับพี่ๆเขาประมาณ 12.00 น. พอดี พวกพี่ๆเขาก็กำลังจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆอย่างขยันขันแข็งกันเลยที่เดียว (ผมก็ไปช่วยพี่ๆเขา)...............
พร้อมกับผู้ไล่ล่าอีก 6 คน ก็คือผมและพี่ๆ นักกีฏวิทยา นักชีววิทยา เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมโรคฯ.........ระหว่างเดินทางก็มีการสนทนา วางแผน แนะนำตัว ทำความรู้จักกันมากขึ้น (ต้องบอกก่อนว่าผมแค่รู้จักพวกพี่ๆเขาเท่านั้น....ไม่สนิทกันเลย) เราก็พูดคุยกันไป สักพักก็แวะกินข้าวกลางวันกันจากนั้นก็เดินทางกันต่อ จุดหมายปลายทางของเราก็คือหน่วยควบคุมโรคฯ แห่งหนึ่ง บริกวณภาคตะวันออก
ซึ่งเราจะใช้มันเป็นที่พัก (((มั่ง555++))) และเป็นที่จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ ที่เราจะนำไปใช้ในการไล่ล่าเจ้าสัตว์นำเชื้อเอามาวิจัยกันต่อไป
14.00 น. เราก็เดินทางมาถึงที่พัก พอมาถึงเราก็จัดแจงขนสัมภาระต่างๆลงจากรถตู้คันเก่าๆที่เราโดยสารกันมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ.............. แบกโน้น ยกนี้ ขนอันนั้น วางตรงนี้ เราก็ใช้เวลาแปปเดียวเท่านั้น
หลังจากนั้น เหล่าผู้ไล่ล่าทั้งหลายก็จัดเตรียมอุปกรณ์ เช็คเครื่องมือต่างๆ ประกอบอันนั้นอันนี้ กันอย่างเคร่งเครียจกันเลยทีเดียว ส่วนผมนะรึ..... ก็ช่วยพี่เค้าบ้าง ถ่ายรูปไปบ้าง 555++++
เพราะต้องบอกเลยว่าเครื่องมือบางอย่างมันต้องใช้ผู้ชำนาญเท่านั้น อันไหนที่ผมทำได้ผมก็ช่วยไป..........แต่ถ้าอันนั้นช่วยไม่ได้ก็นั่งให้กำลังใจพร้อมกับการถ่ายรูปและก็สอบถามข้อมูลเพื่อประกอบกับการทำความเข้าใจ อิอิ
ปฏิบัติการ...ไล่ล่าสัตว์นำเชื้อ(โรค).............. ต้องบอกกล่าวกันก่อนว่าการไล่ล่าสัตว์ของเรานิ ก็จะเป็นการไล่ล่าสัตว์จำพวกแมลงและก็หนูเพื่อนำมาวิจัย หาความหนาแน่นของแมลงพาหะ ความชุกชุมของเชื้อโรคที่มีอยู่ในพื้นที่ว่ามันมีมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นการประเมินและเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่ว่ามีการระบายหรือมีพาพะหรือไม่
• ที่ดักหนู
• การจัดเตรียมอาหารล่อเหยื่อ.......
• อุปกรณ์เครื่องดักจับ ริ้นฝอยทราย โดยใช้ไฟล้อ
พี่เปียกและพี่วิชาญเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบโรคติดต่อนำโดยแมลงกำลังจัดเตรียมอุปกรณ์อย่างขยันขันแข็ง
พี่โน๊ต นักชีววิทยาประจำศูนย์ศูนย์ควบคุมโรค หัวหน้าชุด ปฏิบัติการ...ไล่ล่าสัตว์นำเชื้อ(โรค)........ในครั้งนี้ กำลังเช็คอุปกรณ์ ความเรียบร้อยต่างๆด้วยตัวเองเลย
พวกเราจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆกันอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นเวลาประมาณ 16.00 น. พวกเราทุกคนพร้อมกับพาหนะสุดคลาสสิก ก็เดินทางออกจากที่พักมุ่งหน้าสู่พื้นที่ปฏิบัติงานในค่ำคืนนี้ เพื่อเป็นการตรวจดูสถานที่ ในการวางกับดัก เช็ดความเป็นไปได้ในการที่จะได้สัตว์ต่างๆที่เราต้องการ
สำหรับการไล่ล้าสัตว์ที่เราจะนำมาวิจัยในครั้งนี้ ก็มี
1. หนู เพื่อนำมาตรวจหา ตัวไรที่อาศัยเป็นปรสิตของสัตว์ในตระกูลหนู (Rodent) ซึ่งจะนำพาโรคสคับไทฟัส (Scrub typhus) หรือโรคไข้รากสาดพุ่มไม้ หรือโรคไข้รากสาดไรอ่อน (Chigger) หรือโรคธสุธสุกามูชิ (Tsutsugamushi disease) เป็นโรคไข้สูง
เฉียบพลันซึ่งเกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเซีย ซึ่งโรคสครับไทฟัส เป็นโรคประจำถิ่นในชนบทแถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย
2. ริ้นฝอยทราย เพื่อนำมาตรวจหา โรคลิชมาเนีย หรือ โรคลิชมานิเอซิส (Leishmaniasis) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากโปรโตซัวลิชมาเนีย (Leishmania) เป็นโรคที่สามารถติดต่อจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง สุนัข วัว แมว สู่คนได้โดยมีพาหะเป็นริ้นฝอยทราย (Sand fly
3. ยุง สำหรับยุงในที่นี้รวมประเภทยุ่งทั้งหมดที่สามารถจับได้เพื่อนำตรวจหาเชื้อเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ยุงก้นปล่องที่นำเชื้อมาลาเรีย/โรคเท้าช้าง ยุงลายที่นำเชื้อไข้เลือดออก/โรคเดงกี่/โรคชิกุนคุนยา/โรคเท้าช้าง ยุงรำคาญซึ่งเป็นพาหะโรคไข้สมองอักเสบและโรคเท้าช้าง ยุงเสือที่นำเชื้อเท้าช้าง
หลังจากที่พวกเราได้ตรวจตราสถานที่ต่างๆเสร็จสิ้น........เราก็เดินทางกลับมาที่หน่วย เพื่อขนเอาอุปกรณ์ต่างๆที่เราได้จัดเตรียมมานำลำเรียงขึ้นรถตู้ของพวกเราเพื่อเริ่ม ปฏิบัติการ...ไล่ล่าสัตว์นำเชื้อ(โรค).........
เวลา 17.30 น. เสียงรถตู้เล็กๆ......สตาร์ท บึ้นๆ ๆ ๆ ๆ บีบแตร่ แป๊นๆ ๆ ๆ เป็นสัญญาณของการออกเดินทางเริ่มภาระกิจของเหล่านักวิจัยทั้งหลาย ในระหว่างการเดินทางเราก็มีการพูดคุย และจัดแจงวางแผนกันอย่างเรียบร้อย โดยเฉพาะผมหน้าที่หลักของผมคือ อิสระ 5555++++ (พึ่งไปวันแรกยังไม่รู้อะไรสักอย่างเอาเป็นว่า เรียกผมให้หยิบจับอะไรได้ตลอด อิอิ )
เมื่อถึงสถานที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้เมื่อตอนมาสำรวจ พวกเราก็หยิบคนละไม้คนละมือ รีบนำอุปกรณ์ต่างๆ ไปติดตั้งให้ไว้ที่สุด......... !!!!
จากรูป
- พี่โน๊ตกำลังนำเหยื่อดักหนูใส่เข้าไปในกรงเพื่อนำไปวาง
- ลุงประวัติ เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมโรค และ พี่ปุ๊ก นักกีฏวิทยาประจำศูนย์ควบคุมโรค กำลังจัดเตรียมอุปกรณ์ดักริ้นฝอยทราย กันอย่างด่วนจี๋
- ส่วนผมกับพี่อีก 2คน ก็ช่วยกันแบกกรงดักหนูไปวางไว้ตามจุดแล้วครับ
หลังจากที่พวกเราทั้ง 6 คน วางอุปกรณ์ไว้ตรงสถานที่แรกเสร็จแล้วจากนั้นพวกเราก็รีบบึ่งรถไปสถานที่ต่อไป ซึ้งเป็นสถานที่เราจะประจำอยู่ตรงนี้ทั้งคืน บอกก่อนว่าในการไล่ล่าสัตว์ในครั้งนี้เราจะมีเวลาในการทำงานกันเป็นช่วงเวลาเท่านั้น คือ ช่วงตั้งแต่ 17.00-00.00 น. เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สัตว์นำเชื้อต่างๆกำลังออกหากิน ถ้าหลังจากนี้ไปสัตว์เหล่านี้ก็จะไม่ค่อยออกหากินอีกแล้วพวกเราเลยมีเวลาจำกัด แต่จริงๆแล้วช่วงที่ชุกชุมที่สุดมีแค่ ไม่ถึง 3 ชั่วโมงด้วยซ้ำ คือ 18.00-20.00 น. เท่านั้นเอง
เราเดินทางมาถึงสถานที่ที่ 2 ที่พวกเราจะเอาไว้ปักหลักทำอีกภารกิจหนึ่งและสัตว์อีกหนึ่งชนิดคือ ยุง
เราได้ความอนุเคราะห์จากชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้น ในการใช้สวนและกระท่อมเล็กๆ ไว้เป็นที่พักหลบฝนและเริ่มภารกิจ พอมาถึงพี่ๆ เขาก็นำอุปกรณ์ดักริ้นฝอยทรายที่เหลืออยู่ไปวางไว้ตามจุดต่างๆที่เพ่งเล็งไว้.........ด้วยความรวดเร็ว และอีกคนก็จัดเตรียมอุปกรณ์ให้แต่ล่ะในการจับยุง......... !!!
ความตื่นเต้นกำลังจะเริ่มนะเวลาต่อจากนี้ไปเลยครับ
บางคนอาจจะคิดว่ามันน่าตื่นเต้นตรงไหนก็แค่จับ ยุง แต่ผมบอกเลยนี้คือ สิ่งที่ผมอยากตีแผ่มากที่สุดในการรีวิวครั้งนี้.... นั้นคือ วิธีการจับยุง ต้องบอกเลยว่าพวกนักวิจัยเหล่านี้เสียสละมากๆ กว่าจะได้สัตว์ทุกๆตัวนำมาวิจัยเพื่อหาเจ้าเชื้อโรคที่มันจะเข้ามาทำร้ายมนุษย์อย่างพวกเรา ............. พวกเขาเหล่านี้สุดยอดจริงๆ
ขั้นตอนแรกในการจับยุง คือ ตอนแรกพวกเราก็แบ่งกันเป็น 3 ทีมครับ พร้อมอุปกรณ์ในการจับยุงและการเก็บยุง มีหลอดทดลองขนาดต่างๆ เล็กบาง ใหญ่บาง กระปุกที่ดัดแปลงมาโดยเฉพาะในการเก็บเจ้ายุงเหล่านั้นโดยที่ตรงกระปุกนั้นจะมี ช่วงเวลาอยู่เป็นตัวกำหนด เช่น 17.00-18.00 18.00-19.00 19.00-20.00 20.00-21.00 21.00-22.00 น. เพื่อเป็นการบอกรายละเอียดว่าเราพบยุงพวกนี้ตอนกี่โมง ช่วงเวลานี้ยุงมีเยอะขนาดไหน เวลานั้นเจอยุงอะไร และใครเป็นคนเจอ หลังจากนั้นเราก็แบ่งทีมไปประจำตำแหน่งต่างๆ คือ จุดที่1 พี่โน๊ตอยู่ด้านนอก (รอดักจับยุงที่อยู่ด้านนอก) จุดที่2 ลุงประวัติกับพี่ปุ๊กอยู่ด้านนอก (รอดักจับยุงที่อยู่ด้านนอก) จุดที่3 พี่เปียกและพี่วิชาญ อยู่ด้านในกระท่อมของชาวบ้าน (รอดักจับยุงที่อยู่ในบ้าน) ส่วนผม.....555+++ อิสระครับไปดูทุกจุด สัมภาษณ์บ้าง เก็บข้อมูลบ้าง ถ่ายรูปบ้าง .............
จากการที่ได้สอบถามพี่ๆเขาแล้วว่าทำไมเราต้องแบ่งเป็นจุดด้วย พี่ๆเขาก็บอกว่าจริงๆแล้วยุงแต่ล่ะชนิดมีพฤติกรรมการออกล่าเหยื่อต่างกัน ช่วงเวลาต่างกัน ยุงบางตัวชอบบินอยู่ในบ้าน บางตัวชอบบินอยู่ข้างนออกบ้านตามเล้าไก่ เล้าหมู ส่วนบางตัวชอบบินอยู่ในป่าในสวนในไร่ มันแตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นเราเลยต้องแบ่งกันเป็นทีมเพื่อจะไล่ล่า.....ยุง.... ให้ได้หลากหลายชนิดเพื่อนำไปวิจัย
จากนั้นเราก็เริ่มจับ....ยุง.....กัน และเป็นสิ่งที่ผมถึงกับอึ้งไปเลยทีเดียว เพราะวิธีการจับยุงของพี่ๆเขา คือ การไปนั่งรอให้ยุงมากัดและก็นำหลอดทดลองมาคอบและก็เอาไปใส่เอาในกระปุก ……….. พระเจ้า !!! จะจับยุงไปวิจัยหาเชื้อทั้งทีต้องมานั่งเสี่ยงให้ยุงกัดเองนี้นะ ......... บ้าไปแล้ว ???
และตลอดทั้งคืนนั้นที่พวกเราได้ทำภารกิจจับยุงกัน ผมก็ได้ทั้งสัมภาษณ์ แลกเปลี่ยน ทราบข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของนักวิจัยของไทยส่วนใหญ่ ที่ทำภารกิจคล้ายๆกัน..........
สำหรับ........บทสนทนาและผลในการ ปฏิบัติการ......ไล่ล่าสัตว์นำเชื้อ(โรค) จะเป็นอย่างไรนั้น ......... เดี๋ยวผมจะมาเล่าให้ฟังในตอนหน้านะครับ
อย่าลืมติดตามอ่านกันได้นะครับ
น้องแจ๊ค เจ้าหน้าที่โครงการมาลาเรีย มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
****ขอขอบคุณ account ด้วยนะครับที่ให้ยืมเขียนรีวิว [:อมยิ