เห็นว่าใกล้เข้าช่วงเข้าพรรษา จะมีคนลาบวชเยอะ ผมเลยขอเล่าประสบการณ์ตัวเองตอนบวชซักหน่อยครับ เมื่อช่วงเข้าพรรษาที่แล้ว
มีโอกาสบวชที่ วัดมาบจันทร์ จังหวัดระยอง เป็นวัดสาขาของวัดหนองป่าพง อันมีหลวงปู่ชาเป็นแแบบอย่างสำหรับข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ
โดยผมจะเขียนเป็นตอนๆไปนะครับ ซึ่งก็ยาวอยู่พอสมควร
-------------------------------------------------------
กว่าจะได้เป็นพระ
ตามธรรมเนียมปฏิบัติของสาขาวัดหนองป่าพง ทุกคนที่จะบวชต้องอยู่เป็นผ้าขาวก่อนอย่างน้อย 7วัน (หรือมากกว่านั้น) เพื่อเตรียมตัวก่อนบวชเป็นพระ เริ่มจากโกนหัวโดยปราศจากพิธีรีตรองใดๆ จากน้ันเปลี่ยนเป็นชุดขาว โดยจะนุ่งสบงรัดประคตตามแบบพระภิกษุ พร้อมทั้งย่าม กะละมังสแตนเลส ช้อน แก้วน้ำ ผ้าล้างกะลังมัง หมอน ผ้าห่ม และหนังสือบทท่องขานนาค จากนั้นท่านก็ให้เข้าที่พัก และเนื่องจากช่วงน้ันเป็นช่วงใกล้เข้าพรรษา และงานฉลองเจดีย์ จึงทำให้มีที่พักไม่เพียงพอ ผ้าขาวจึงอาศัยศาลาโพธิญาณนอนรวมกัน ทำให้มีโอกาสพูดคุย และรู้จักนิสัยใจคอกันในหมู่คณะมากขึ้น บ้างก็เป็นคนจริงจังในข้อวัตรแบบเคร่งครัด บ้างก็อายุมาก บ้างก็อายุน้อยยังเป็นนักศึกษาอยู่ บ้างก็เต็มใจบวช บ้างก็ไม่รู้ว่าจะบวชไปทำไม ความแตกต่างตรงนี้บางทีมันก็ชวนทำให้ขุ่นเคืองใจบ้าง เพราะความที่เป็นคนง่ายๆ รักสบาย หากมีใครมาพูดเชิงออกคำสั่งให้ทำโน่น ทำนี่ ตลอด 7 วันมานี้ มีความคิดอย่างเดียวเลยว่า เมื่อไหร่จะบวชซักที อย่างนัอยก็จะได้มีคนสั่งเราน้อยลง ไม่ใช่เอะอะอะไรก็เรียกใช้ แต่ ผ้าขาว
กิจวัตรประจำวันของผ้าขาวได้แก่ การตื่นเช้าตั้งแต่ตี4 ตามสัญญาณเสียงระฆัง ทำกิจส่วนตัว แล้วไปให้ทันทำวัตรเช้า เมื่อพระภิกษุทะยอยไปบิณฑบาตร จึงได้เวลาทำความสะอาด ศาลาพิจารณาอาหาร หรือไม่ก็กวาดใบไม้รอบวัด หากวันไหนที่มีโยมมาทำบุญเยอะ ก็จะไปช่วยถ่ายบาตรจากพระบริเวณหน้าวัด โดยจะแยกข้าวและอาหารสดไว้ประเคนให้พระเพื่อพิจารณา ส่วนพวกอาหารแห้ง นม น้ำปานะจะแบ่งแยกตามวันหมดอายุ แล้วเก็บไว้ที่โรงครัว และผ้าขาวบางส่วนจะมาประจำที่จุดล้างเท้า เช็ดเท้าพระที่เพิ่งกลับมาจากบิณฑบาตร ด้วยความที่เป็นคนไม่ค่อยเข้าวัดจึงทำให้เกิดความรู้สึกไม่ค่อยอยากทำในครั้งแรก แม้จะมีใครต่อหลายคนพูดว่า “ได้บุญเยอะอย่างนั้นอย่างนี้” แต่ในใจก็อดมีคำถามว่า “ทำไมต้องทำกันถึงขนาดนี้ด้วย” แต่เมื่อได้ลดตัวไปล้างเท้า เช็ดเท้าพระแล้วกลับรู้สึกอิ่มใจอย่างประหลาด นี่หรือที่เค้าเรียกว่า “ได้บุญ” ภายหลังจึงรู้ว่า “บุญในครั้งนี้ คือการได้ละมานะ ถือตัวลง แม้เพียงชั่วคราว เราก็สุขใจ”
เมื่อถึงเวลาพิจารณาอาหารประมาณ 8.00 น. พระจะถือบาตรไปพิจารณาอาหารก่อนโดยเรียงตามลำดับอาวุโส ส่วนผ้าขาวนั้นจะเป็นลำดับท้ายสุด แน่นอนว่าอาหารที่เหลืออยู่นั้นคงเหลือไม่มาก บางอย่างที่เล็งไว้ว่าอยากทานอาจโดนพระท่านพิจารณาไปก่อนแล้ว แต่ถึงอย่างไรก็เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน ตามคำที่บอกต่อๆกันมาว่า “เรากินเพื่ออยู่ ไม่ได้อยู่เพื่อกิน” เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วเดินกลับมานั่งประจำที่ รอสัญญาณจากพระอาวุโสให้ท่านฉันก่อน หรือบางทีมีเสียงระฆังก่อนจึงฉันอาหารพร้อมกัน หลังจากทานเสร็จแล้วล้างกะลังมัง กลับมาช่วยงานวัดตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในแต่ละวัน จากนั้นประมาณเที่ยงหรือบ่ายโมง จึงแยกย้ายกลับที่พักเพื่อพักผ่อนตามอัธยาศัย หรือฝึกท่องขานนาคตามแต่ละบุคคล
กิจส่วนรวม และปานะ
เมื่อถึงเวลา 15.00 น. เสียงระฆังดังขึ้นอีกครั้ง เพื่อสื่อสัญญาณว่าเป็นเวลาทำกิจส่วนรวม ไม่ว่าพระ และผ้าขาวทุกคนจะมีหน้าที่ประจำตามจุดต่างๆโดยเราได้ทำกิจที่โบสถ์ ซึ่งจริงๆเราอยากทำที่นี่อยู่แล้ว ตามประสาของคนที่เรียนออกแบบมามองว่าโบสถ์ของวัดมาบจันทร์เป็นโบสถ์ที่สวยแบบโมเดิร์น คือเรียบง่ายแต่มีประโยชน์ครบตามหลักออกแบบ มีความหมายนัยยะซ่อนคือรูปร่างที่เหมือนเรือที่จะพามนุษย์ก้าวพ้นวัฏฏะสงสาร และยังเป็นสัญญลักษณ์ของจังหวัดระยองอีก เราทำความสะอาดเช็ดถูอย่างดี พร้อมๆกับซึมซับความงามของสถานที่ แม้ช่วงหลังๆจะเบื่อหรือขี้เกียจทำบ้าง แต่ถึงอย่างไรก็ต้องบังคับตัวเองให้ทำ เพราะใครๆก็ทำ เราไม่อยากให้เค้ามองว่าเราไม่ช่วยงานเค้าก็เท่านั้น หลังจากนั้นเวลาประมาณ 16.30 น. เสร็จกิจแล้วมารวมกันใต้ศาลาโพธิญาณเพื่อรับน้ำปานะ โดยขณะที่เป็นผ้าขาวอยู่นั้นเราจะยังหยิบเองไม่ได้ จะต้องบอกให้พระท่านหยิบให้เท่านั้น หลังจากนั้นก็แยกย้ายกลับเข้าที่พัก ทำกิจส่วนตัว เพื่อเตรียมตัวทำวัตรเย็น
ไปไหน อย่าลืมกราบ
สิ่งหนึ่งที่พระท่านมักย้ำอยู่เสมอนั่นก็คือการกราบทุกครั้ง ที่เข้า ออก อาสนะหรืออาคารสถานที่ โดยวันๆหนึ่งเรากราบหลายครั้งมาก เริ่มจากก่อนออกไปทำวัตรเช้า ระหว่างเข้า-ออกหอฉันก็อีกหลายหน เข้า-ออกที่พัก เข้า-ออกโบสถ์ โดยท่านว่าไม่ได้ให้กราบให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นอุบายให้เรามีสติระลึกตัวอยู่เสมอ ว่ากำลังจะทำอะไร
ทำวัตรเย็น
เสียงระฆังบอกสัญญาณเวลาประมาณ 19.00 น. ซึ่งท้องฟ้าก็เริ่มมืดแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือไฟฉายและยาทากันยุง เนื่องจากสภาพแวดล้อมของที่นี่เป็นป่าทึบ เงาไม้ของที่นี่ทำให้ดูมีดผิดจากในเมืองที่เต็มไปด้วยแสงไฟจากรถราบนถนน ร้านค้า บ้านเรือน มาพร้อมกับความชื้นที่เหมาะกับการเพาะพันธ์ของแมลงและยุงนานาชนิด เราจึงต้องเดินอย่างระมัดระวังที่สุดในระหว่างทางเดินไปโบสถ์ซึ่งอยู่บนยอดเนิน เสร็จจากทำวัตรก็มีการซ้อมขานนาคบ้าง โดยวันสุดท้ายก่อนบวชเราได้ช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ โดยมีครูบาตั้ม ที่เป็นฝ่ายดูแลพระใหม่ท่านบอกว่านี่เป็นงานบวชพระที่มีพระเยอะที่สุด
บวชวัดป่า พรรษาแรก ตอน กว่าจะได้เป็นพระ
มีโอกาสบวชที่ วัดมาบจันทร์ จังหวัดระยอง เป็นวัดสาขาของวัดหนองป่าพง อันมีหลวงปู่ชาเป็นแแบบอย่างสำหรับข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ
โดยผมจะเขียนเป็นตอนๆไปนะครับ ซึ่งก็ยาวอยู่พอสมควร
-------------------------------------------------------
กว่าจะได้เป็นพระ
ตามธรรมเนียมปฏิบัติของสาขาวัดหนองป่าพง ทุกคนที่จะบวชต้องอยู่เป็นผ้าขาวก่อนอย่างน้อย 7วัน (หรือมากกว่านั้น) เพื่อเตรียมตัวก่อนบวชเป็นพระ เริ่มจากโกนหัวโดยปราศจากพิธีรีตรองใดๆ จากน้ันเปลี่ยนเป็นชุดขาว โดยจะนุ่งสบงรัดประคตตามแบบพระภิกษุ พร้อมทั้งย่าม กะละมังสแตนเลส ช้อน แก้วน้ำ ผ้าล้างกะลังมัง หมอน ผ้าห่ม และหนังสือบทท่องขานนาค จากนั้นท่านก็ให้เข้าที่พัก และเนื่องจากช่วงน้ันเป็นช่วงใกล้เข้าพรรษา และงานฉลองเจดีย์ จึงทำให้มีที่พักไม่เพียงพอ ผ้าขาวจึงอาศัยศาลาโพธิญาณนอนรวมกัน ทำให้มีโอกาสพูดคุย และรู้จักนิสัยใจคอกันในหมู่คณะมากขึ้น บ้างก็เป็นคนจริงจังในข้อวัตรแบบเคร่งครัด บ้างก็อายุมาก บ้างก็อายุน้อยยังเป็นนักศึกษาอยู่ บ้างก็เต็มใจบวช บ้างก็ไม่รู้ว่าจะบวชไปทำไม ความแตกต่างตรงนี้บางทีมันก็ชวนทำให้ขุ่นเคืองใจบ้าง เพราะความที่เป็นคนง่ายๆ รักสบาย หากมีใครมาพูดเชิงออกคำสั่งให้ทำโน่น ทำนี่ ตลอด 7 วันมานี้ มีความคิดอย่างเดียวเลยว่า เมื่อไหร่จะบวชซักที อย่างนัอยก็จะได้มีคนสั่งเราน้อยลง ไม่ใช่เอะอะอะไรก็เรียกใช้ แต่ ผ้าขาว
กิจวัตรประจำวันของผ้าขาวได้แก่ การตื่นเช้าตั้งแต่ตี4 ตามสัญญาณเสียงระฆัง ทำกิจส่วนตัว แล้วไปให้ทันทำวัตรเช้า เมื่อพระภิกษุทะยอยไปบิณฑบาตร จึงได้เวลาทำความสะอาด ศาลาพิจารณาอาหาร หรือไม่ก็กวาดใบไม้รอบวัด หากวันไหนที่มีโยมมาทำบุญเยอะ ก็จะไปช่วยถ่ายบาตรจากพระบริเวณหน้าวัด โดยจะแยกข้าวและอาหารสดไว้ประเคนให้พระเพื่อพิจารณา ส่วนพวกอาหารแห้ง นม น้ำปานะจะแบ่งแยกตามวันหมดอายุ แล้วเก็บไว้ที่โรงครัว และผ้าขาวบางส่วนจะมาประจำที่จุดล้างเท้า เช็ดเท้าพระที่เพิ่งกลับมาจากบิณฑบาตร ด้วยความที่เป็นคนไม่ค่อยเข้าวัดจึงทำให้เกิดความรู้สึกไม่ค่อยอยากทำในครั้งแรก แม้จะมีใครต่อหลายคนพูดว่า “ได้บุญเยอะอย่างนั้นอย่างนี้” แต่ในใจก็อดมีคำถามว่า “ทำไมต้องทำกันถึงขนาดนี้ด้วย” แต่เมื่อได้ลดตัวไปล้างเท้า เช็ดเท้าพระแล้วกลับรู้สึกอิ่มใจอย่างประหลาด นี่หรือที่เค้าเรียกว่า “ได้บุญ” ภายหลังจึงรู้ว่า “บุญในครั้งนี้ คือการได้ละมานะ ถือตัวลง แม้เพียงชั่วคราว เราก็สุขใจ”
เมื่อถึงเวลาพิจารณาอาหารประมาณ 8.00 น. พระจะถือบาตรไปพิจารณาอาหารก่อนโดยเรียงตามลำดับอาวุโส ส่วนผ้าขาวนั้นจะเป็นลำดับท้ายสุด แน่นอนว่าอาหารที่เหลืออยู่นั้นคงเหลือไม่มาก บางอย่างที่เล็งไว้ว่าอยากทานอาจโดนพระท่านพิจารณาไปก่อนแล้ว แต่ถึงอย่างไรก็เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน ตามคำที่บอกต่อๆกันมาว่า “เรากินเพื่ออยู่ ไม่ได้อยู่เพื่อกิน” เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วเดินกลับมานั่งประจำที่ รอสัญญาณจากพระอาวุโสให้ท่านฉันก่อน หรือบางทีมีเสียงระฆังก่อนจึงฉันอาหารพร้อมกัน หลังจากทานเสร็จแล้วล้างกะลังมัง กลับมาช่วยงานวัดตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในแต่ละวัน จากนั้นประมาณเที่ยงหรือบ่ายโมง จึงแยกย้ายกลับที่พักเพื่อพักผ่อนตามอัธยาศัย หรือฝึกท่องขานนาคตามแต่ละบุคคล
กิจส่วนรวม และปานะ
เมื่อถึงเวลา 15.00 น. เสียงระฆังดังขึ้นอีกครั้ง เพื่อสื่อสัญญาณว่าเป็นเวลาทำกิจส่วนรวม ไม่ว่าพระ และผ้าขาวทุกคนจะมีหน้าที่ประจำตามจุดต่างๆโดยเราได้ทำกิจที่โบสถ์ ซึ่งจริงๆเราอยากทำที่นี่อยู่แล้ว ตามประสาของคนที่เรียนออกแบบมามองว่าโบสถ์ของวัดมาบจันทร์เป็นโบสถ์ที่สวยแบบโมเดิร์น คือเรียบง่ายแต่มีประโยชน์ครบตามหลักออกแบบ มีความหมายนัยยะซ่อนคือรูปร่างที่เหมือนเรือที่จะพามนุษย์ก้าวพ้นวัฏฏะสงสาร และยังเป็นสัญญลักษณ์ของจังหวัดระยองอีก เราทำความสะอาดเช็ดถูอย่างดี พร้อมๆกับซึมซับความงามของสถานที่ แม้ช่วงหลังๆจะเบื่อหรือขี้เกียจทำบ้าง แต่ถึงอย่างไรก็ต้องบังคับตัวเองให้ทำ เพราะใครๆก็ทำ เราไม่อยากให้เค้ามองว่าเราไม่ช่วยงานเค้าก็เท่านั้น หลังจากนั้นเวลาประมาณ 16.30 น. เสร็จกิจแล้วมารวมกันใต้ศาลาโพธิญาณเพื่อรับน้ำปานะ โดยขณะที่เป็นผ้าขาวอยู่นั้นเราจะยังหยิบเองไม่ได้ จะต้องบอกให้พระท่านหยิบให้เท่านั้น หลังจากนั้นก็แยกย้ายกลับเข้าที่พัก ทำกิจส่วนตัว เพื่อเตรียมตัวทำวัตรเย็น
ไปไหน อย่าลืมกราบ
สิ่งหนึ่งที่พระท่านมักย้ำอยู่เสมอนั่นก็คือการกราบทุกครั้ง ที่เข้า ออก อาสนะหรืออาคารสถานที่ โดยวันๆหนึ่งเรากราบหลายครั้งมาก เริ่มจากก่อนออกไปทำวัตรเช้า ระหว่างเข้า-ออกหอฉันก็อีกหลายหน เข้า-ออกที่พัก เข้า-ออกโบสถ์ โดยท่านว่าไม่ได้ให้กราบให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นอุบายให้เรามีสติระลึกตัวอยู่เสมอ ว่ากำลังจะทำอะไร
ทำวัตรเย็น
เสียงระฆังบอกสัญญาณเวลาประมาณ 19.00 น. ซึ่งท้องฟ้าก็เริ่มมืดแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือไฟฉายและยาทากันยุง เนื่องจากสภาพแวดล้อมของที่นี่เป็นป่าทึบ เงาไม้ของที่นี่ทำให้ดูมีดผิดจากในเมืองที่เต็มไปด้วยแสงไฟจากรถราบนถนน ร้านค้า บ้านเรือน มาพร้อมกับความชื้นที่เหมาะกับการเพาะพันธ์ของแมลงและยุงนานาชนิด เราจึงต้องเดินอย่างระมัดระวังที่สุดในระหว่างทางเดินไปโบสถ์ซึ่งอยู่บนยอดเนิน เสร็จจากทำวัตรก็มีการซ้อมขานนาคบ้าง โดยวันสุดท้ายก่อนบวชเราได้ช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ โดยมีครูบาตั้ม ที่เป็นฝ่ายดูแลพระใหม่ท่านบอกว่านี่เป็นงานบวชพระที่มีพระเยอะที่สุด