พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอย
มาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอได้เห็น ท่อนไม้ใหญ่โน้น ซึ่งลอยมาโดยกระแส
แม่น้ำแห่งคงคาหรือไม่ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "ได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !"
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้นั้น จะไม่เข้าไปติดเสียที่ ฝั่งใน หรือฝั่งนอก,
ไม่จมเสียในกลางน้ำ, ไม่ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก, ไม่ถูกมนุษย์จับไว้, ไม่ถูก
อมนุษย์จับเอาไว้, ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้, ไม่ผุเน่าเสียเองในภายใน ไซร้, ท่อนไม้ที่
กล่าวถึงนี้แล จักลอยไหลพุ่งออกไปสู่ทะเลได้ เพราะเหตุว่า ลำแม่น้ำคงคาโน้มน้อม
ลุ่มลาดไหล เอียงเทไปสู่ทะเล, อุปมานี้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย อุปไมยก็ฉันนั้น
เหมือนกัน, แม้พวกเธอทั้งหลาย : ถ้าพวกเธอไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งใน, ไม่เข้า
ไปติดเสียที่ฝั่งนอก, ไม่จมเสียในท่ามกลาง, ไม่ติดแห้งอยู่บนบก, ไม่ถูกมนุษย์
จับไว้, จักไม่ถูกอมนุษย์จับเอาไว้, ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้, ไม่เน่าเสียเองในภายใน
ไซร้, พวกเธอก็จะเลื่อนไหลไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิ มีธรรมดา
ย่อมโน้มน้อม ลุ่มลาด โอนเอียงเทไปสู่นิพพาน. ฯลฯ.
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า 'ฝั่งใน' เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ อย่าง คำว่า
'ฝั่งนอก' เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ อย่าง. คำว่า 'จมเสียในท่ามกลาง'
เป็นชื่อของนันทิราคะ. คำว่า 'ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก' เป็นชื่อของอัสมิมานะ
(ความสำคัญว่าเรามีเราเป็น). คำว่า 'ถูกมนุษย์ผู้จับไว้' ได้แก่ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้
ระคนด้วยคฤหัสถ์ เพลิดเพลินด้วยกัน โศกเศร้าด้วยกัน, มีสุขด้วย เมื่อคฤหัสถ์
เหล่านั้นมีสุข, เป็นทุกข์ด้วย เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นทุกข์, ย่อมถึงประกอบการงานตนใน
กิจการที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เขาเหล่านั้น : ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกมนุษย์จับไว้.
คำว่า 'ถูกอมนุษย์ผู้จับไว้' ได้แก่ ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์
โดยตั้งความปรารถนาเทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่ง ว่า ด้วยศีลนี้ หรือด้วยวัตรนี้
ว่าด้วยตบะนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้า
ผู้มีศักดาใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้ที่ศักดาน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ :
ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกอมนุษย์จับไว้
คำว่า 'ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้' เป็นชื่อของกามคุณ ๕ ภิกษุเป็นผู้เน่าเสียเองในภายใน
คืออย่างไรเล่า ? คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก
ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง
มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติ
พรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่าเป็นคนประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีใจชุ่มด้วยกาม
มีสัญชาติหมักหมมเหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย; ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้เน่าเสีย
เองในภายใน แล.
- สฬา. สํ. ๑๘/๓๒๒-๓๒๓/๒๒๓-๒๒๔.
เมื่อประพฤติถูกทาง กิริยาที่ไปนิพพาน เบาสบายเหมือนไม้ลอยตามน้ำ
พวกเธอไม่ได้เห็นหรือ ท่อนไม้ใหญ่โน้น....
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอย
มาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอได้เห็น ท่อนไม้ใหญ่โน้น ซึ่งลอยมาโดยกระแส
แม่น้ำแห่งคงคาหรือไม่ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "ได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !"
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้นั้น จะไม่เข้าไปติดเสียที่ ฝั่งใน หรือฝั่งนอก,
ไม่จมเสียในกลางน้ำ, ไม่ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก, ไม่ถูกมนุษย์จับไว้, ไม่ถูก
อมนุษย์จับเอาไว้, ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้, ไม่ผุเน่าเสียเองในภายใน ไซร้, ท่อนไม้ที่
กล่าวถึงนี้แล จักลอยไหลพุ่งออกไปสู่ทะเลได้ เพราะเหตุว่า ลำแม่น้ำคงคาโน้มน้อม
ลุ่มลาดไหล เอียงเทไปสู่ทะเล, อุปมานี้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย อุปไมยก็ฉันนั้น
เหมือนกัน, แม้พวกเธอทั้งหลาย : ถ้าพวกเธอไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งใน, ไม่เข้า
ไปติดเสียที่ฝั่งนอก, ไม่จมเสียในท่ามกลาง, ไม่ติดแห้งอยู่บนบก, ไม่ถูกมนุษย์
จับไว้, จักไม่ถูกอมนุษย์จับเอาไว้, ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้, ไม่เน่าเสียเองในภายใน
ไซร้, พวกเธอก็จะเลื่อนไหลไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิ มีธรรมดา
ย่อมโน้มน้อม ลุ่มลาด โอนเอียงเทไปสู่นิพพาน. ฯลฯ.
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า 'ฝั่งใน' เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ อย่าง คำว่า
'ฝั่งนอก' เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ อย่าง. คำว่า 'จมเสียในท่ามกลาง'
เป็นชื่อของนันทิราคะ. คำว่า 'ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก' เป็นชื่อของอัสมิมานะ
(ความสำคัญว่าเรามีเราเป็น). คำว่า 'ถูกมนุษย์ผู้จับไว้' ได้แก่ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้
ระคนด้วยคฤหัสถ์ เพลิดเพลินด้วยกัน โศกเศร้าด้วยกัน, มีสุขด้วย เมื่อคฤหัสถ์
เหล่านั้นมีสุข, เป็นทุกข์ด้วย เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นทุกข์, ย่อมถึงประกอบการงานตนใน
กิจการที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เขาเหล่านั้น : ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกมนุษย์จับไว้.
คำว่า 'ถูกอมนุษย์ผู้จับไว้' ได้แก่ ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์
โดยตั้งความปรารถนาเทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่ง ว่า ด้วยศีลนี้ หรือด้วยวัตรนี้
ว่าด้วยตบะนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้า
ผู้มีศักดาใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้ที่ศักดาน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ :
ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกอมนุษย์จับไว้
คำว่า 'ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้' เป็นชื่อของกามคุณ ๕ ภิกษุเป็นผู้เน่าเสียเองในภายใน
คืออย่างไรเล่า ? คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก
ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง
มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติ
พรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่าเป็นคนประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีใจชุ่มด้วยกาม
มีสัญชาติหมักหมมเหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย; ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้เน่าเสีย
เองในภายใน แล.
- สฬา. สํ. ๑๘/๓๒๒-๓๒๓/๒๒๓-๒๒๔.
เมื่อประพฤติถูกทาง กิริยาที่ไปนิพพาน เบาสบายเหมือนไม้ลอยตามน้ำ