มีภาพถ่ายอวกาศภาพใดบ้างที่สั้นสะท้านแก่วงการดาราศาสตร์

เคยมีมั้ยที่สามารถจับภาพปรากฎการณ์หรือวัตถุดวงดาวที่น่าตื่นตาตื่นใจแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ผมจำได้เพียงครั้งที่นาซ่าจับภาพดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนดาวพฤหัสบดีได้รู้สึกจะดังมากในตอนนั้นจน ทุกวันนี้ยังมีสารคดีกล่าวถึงแล้วภาพถ่ายอื่นๆมีอีกมั้ยครับที่โด่งดังทั้งในอดีตและไม่นานมานี้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
จะมีอยู่ภาพนึงครับ  เป็นทั้งภาพ และ คลิป  ผมว่าเป็นภาพจริงที่น่าตะลึงพอสมควร

คือเป็นภาพ และ คลิปของดาวนิวตรอน 1 ดวงที่มีชื่อเสียงมากในกลุ่มดาวใบเรือ  คือ  Vela Pulsar
Vela pulsar คือ ดาวนิวตรอน PSR B0833-45  ที่มีระยะห่างจากเราประมาณ 950 ปีแสง
Pulsar ดวงนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 19 กิโลเมตร (สิบเก้ากิโลเมตร)  มันเป็นเศษซากที่เหลือจาก
การระเบิดของ Supernova จากดาวฤกษ์ดวงใหญ่ก่อนหน้านี้เมื่อ 10,000 ปีที่แล้วครับ
การระเบิดครั้งนี้รุนแรงมากจนดาวฤกษ์ดวงนั้นยุบตัวลงจนเป็นวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง คือ ดาวนิวตรอนดวงนี้เอง

Vela Pulsar นี้  มีการหมุนรอบตัวเองที่ค่อนข้างเร็วจากโมเมนตัมที่เกิดจากการระเบิดเมื่อครั้งก่อกำเนิดตัวมันเอง
โดยเป็น Pulsar ที่มีคาบสั้นเพียง 89.93 มิลลิวินาที  หรือมีรอบหมุนรอบตัวเองเร็วถึง 11.195 รอบ ต่อ วินาที
นี่คือ  " เสียง "  ความเร็วในการหมุนของ Vela Pulsar  ที่ความเร็ว 11.195 รอบ/วินาที
http://www.parkes.atnf.csiro.au/people/sar049/eternal_life/supernova/vela.wav  (กดฟังได้จาก Google Chrome)

เสียง Pulsar ที่หมุนรอบตัวเองที่ท่านได้ยินนี้  เป็นเสียงของ  " จังหวะ "  ของคลื่นวิทยุจาก Pulsar ดวงนี้
ที่รับสัญญาณโดยระบบกล้องโทรทรรศน์วิทยุ VLA  (ไม่ใช่เสียงจริงในอวกาศ)  แต่เสียงนี้เป็นเสียงจริงที่มาจากการ
DeModulated สัญญาณคลื่นวิทยุที่มาจากขั้วของ Pulsar ดวงนี้  ตามความเร็วในการหมุนของมันเองครับ

ภาพนี้คือภาพถ่ายในย่าน X-Ray แสดงถึง JET พลังงานสูงที่ฉีดออกมาจาก Vela Pulsar
จากภาพนี้  ดาวนิวตรอนเองจะมีขนาดเพียง 19 กิโลเมตร  ซึ่งแน่นอนว่าเราจะไม่เห็นแน่นอน
แต่ที่เห็นนี้คือฝุ่น gas พลังงานสูงที่ห้อมล้อมตัวดาวใว้  จนแผ่อาณาเขตออกไปหลายล้านกิโลเมตร


ตำแหน่งของ Vela Pulsar ในวงสีแดงครับ


ในคลิปนี้ คือภาพจริงของ Vela Pulsar กำลังฉีด JET พลังงานสูง
โดย JET ลำนี้มีความเร็วสูงถึง 70% ของความเร็วแสง  และฉีดไปไกลนับสิบ ๆ ปีแสง
คลิปนี้บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Chandra  โดยบันทึกในย่าน X-Ray
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่