ทำไมปัญหาเด็กช่างต่างสถาบันยกพวกตีกันไม่จบลงสักที

อยากฟังความเห็นจากหลายๆความคิดเห็นครับ ทั้งที่เป็นนักเรียนอยู่ รุ่นพี่ที่จบไปแล้ว หรือ ครูอาจารย์ในวิทยาลัย รวมถึงคนที่มีส่วนร่วมทั้งทางตรงเเละทางอ้อม เนื่องจากเคยสอบถามรุ่นพี่ที่จบไปแล้วบางสถาบัน บอกว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากรุ่นพี่ทั้งที่เรียนอยู่เเละจบไปแล้วปลุกปั่นผ่านสโลแกนสถาบันเพื่อให้เกิดความเกลียดชัง ไม่ทราบว่าจริงเท็จเเค่ไหน ?

เพราะส่วนตัวผมเห็นว่ายังมีเด็กอีกหลายคนที่ต้องการเรียนช่างจริงๆ แต่ด้วยปัญหาพวกนี้ทำให้ครอบครัวไม่สนับสนุนจึงไม่ได้เรียนตามที่ต้องการ เพราะไม่อยากให้ตัวเองกลายเป็น'เหยื่อ' ผมแค่แปลกใจว่าทำไมต่างประเทศไม่ค่อยมีปัญหาพวกนี้ อันที่จริงแทนที่จะแก้ภาพลักษณ์ของเด็กไร้วุฒิภาวะให้กลายเป็นประชากรคุณภาพที่สังคมยอมรับ มันอาจจะจริงที่ว่าการทะเลาะวิวาทเกิดเเค่ระหว่างสถาบัน แต่กระนั้นก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องโดนลูกหลงไปด้วย ผมเองก็เป็นหนึ่งที่อยากเรียนนะ แต่ถ้าต้องโดนกล่อมให้ไหว้รูปปั้น(ซึ่งต่างกันเเต่สีของเเต่ละสถาบัน) กราบรุ่นพี่ ยกพวกตีศัตรู ผมคงทำไม่ได้ เพราะผมเเค่อยากมาเรียน เท่านั้น และมันคงมีเด็กจำนวนหนึ่งที่อาจคิดแบบผม

อันที่จริงผมเเค่พวกเขาอยากรู้ว่าทำไปเพื่ออะไร ซึ่งผมคิดว่ามันน่าจะมีเหตุผลมากกว่าความคึกคะนองตามช่วงวัยหรือบางทีมันเป็นความละเลยของทางสถาบันเสียเอง สำหรับยุคสมัยมันเปลี่ยนไปเเล้ว เรื่องคลั่งสถาบันพวกนี้ไม่น่าจะมีเเล้วด้วยซ้ำ ทำไมไม่เเข่งขันกับที่วิชาการ ผลงานทางการศึกษา ผมว่านั่นน่าจะดีกว่าเสียอีก ผมเองเคยสอบถามศิษย์เก่าสถาบัน ทุกคนพูดได้ดีว่า จริงๆเเล้วเราไม่ได้ต่างกัน จบมาก็ทำงานด้วยกัน คำถาม !! เเล้วทำไมเพิ่งมาคิดได้ตอนนี้ล่ะ ?

บ้างก็บอกว่ากลัวไม่ได้รุ่น กลัวไม่มีเพื่อน กลัวเข้าสังคมในสถาบันไม่ได้ เลยอยากทราบว่า 'สถาบันมันมีค่าขนาดไหนในสายตาของคนในสถาบัน ?'

****ทั้งหมดเป็นเเค่ความคิดเห็นของผมซึ่งจบจากสายสามัญ เลยอยากรู้เเนวคิด ตรรกะ วิธีคิดเเละวิถีชีวิตของเหล่าเด็กช่างของเเต่ละสถาบัน บางทีผมมองว่าถ้ามันมีอะไรที่เหมือนกัน มันอาจนำไปสู่การหาสาเหตุเเละเเนวทางเเก้ไขที่ต้นเหตุ'จริงๆ'ไม่มากก็น้อย
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ปัญหาสังคม ชีวิตวัยรุ่น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่