ว่างๆเลย ลองไปค้นหาสาเหตุของการที่กรีซมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัวจนแทบล้มละลายอยู่ในเวลานี้ ไปเจอบทความนี้ผู้เขียนใช้นามแฝงว่า wullopp มีรายละเอียดดังนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดี ที่ 13 พฤษภาคม 2553
รู้เขารู้เรา เข้าใจทำไมกรีซล้มละลาย
Posted by wullopp
สำนักข่าวอัล จาซีรา ตีพิมพ์เรื่องกรีกโดยตั้งชื่อว่าเป็น 'The Bankrupt State' = "รัฐล้มละลาย", ผู้เขียนขอนำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังครับ [ al jazeera ]
ภาพที่ 1: แผนที่ยุโรป... กล่าวกันว่า ประเทศในยุโรปใต้ได้แก่ สเปน โปรตุเกส กรีซมีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ ประชาธิปไตยไม่ค่อยเข้มแข็ง (สเปนและโปรตุเกสมีช่วงที่ทหารปกครองนานกว่า ช่วงที่เป็นประชาธิปไตยสั้นกว่าชาติอื่นๆ ในยุโรป) > [ worldaccomodation ]
เงินความช่วย เหลือที่กรีซจะได้รับจากสหภาพยุโรป (Eurozone = ประเทศ EU ที่ใช้เงิน Euro; ที่สำคัญ คือ UK, สวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้ใช้ Euro) และ IMF = $146bn = 5.11 ล้านล้านบาท (คิดที่ 35฿:$) นับเป็นความช่วยเหลือทางการเงินต่อรัฐที่มีปัญหายอบแยบทางการเงินครั้งใหญ่ ที่สุดในประวัติศาสตร์
กล่าวกันว่า คอร์รัปชั่นกับการหนีภาษีเป็นธรรมดาของที่นั่น และเรื่องนี้ก็คล้ายกับประเทศยุโรปใต้อื่นๆ เช่น สเปน โปรตุเกส ฯลฯ เช่นกัน
ผู้คนโดยเฉพาะ ชนชั้นกลางต่างไม่พอใจกับมาตรการใหม่ที่ประเทศเจ้าหนี้บังคับใช้ได้แก่ การขึ้นภาษี, ลดค่าใช้ภาครัฐ, และลดเงินเดือนภาคเอกชน
คุณคริสตอส คีรีอาเคาซิส คนขับแท็กซี่ในเอเธนส์ (เมืองหลวง) กล่าวว่า "คุณอาจจะไว้ใจรัฐบาลประเทศอื่นได้... แต่ที่กรีซนี่ไว้ใจบ่ได้ดอก (ท่านอาจจะลืมไปว่า นักการเมืองทั่วโลกและนักประท้วงส่วนใหญ่ไว้ใจไม่ไ้ด้ทั้งนั้น)"
คุณคริสตอ สเป็นพ่อม่ายลูกสาม เคยไปเรียนเศรษฐศาสตร์ที่นิวยอร์ค ใช้ชีวิตที่นั่นกว่า 10 ปี แต่แล้วก็ตัดสินใจกลับบ้านมา 20 ปีแล้ว
"ความผิดพลาดใหญ่ที่สุดในชีวิตผม คือ การกลับบ้าน... ผมรักแผ่นดินนี้ แต่แผ่นดินนี้ไม่รักประชาชน" ท่านบ่น"
รัฐบาลที่นั่น ประกาศมาตรการรัดเข็มขัด (austerity measures) ได้แก่ ลดเงินเดือนข้าราชการ 10%, ลดบำนาญ, ขึ้นภาษี, ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ
และที่ลืมไม่ได้ คือ ยกเลิกมาตรการ "เกษียณก่อนกำหนด (early retirement)" ที่เดิมยอมให้เกษียณได้ตั้งแต่อายุ 40 เศษๆ (เกษียณแล้วได้บำนาญเพียบ)
คุณคริสตอสบ่น ต่อ... "ไม่รู้ภาษีมันหายไปไหน ไม่คืนมาเป็นการศึกษาสำหรับเด็กๆ ไม่มีการรักษาพยาบาลที่ดี"
ฝ่ายผู้ประท้วงก็ประท้วงทุกอย่าง เริ่มจากการตั้งตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาล สหภาพยุโรป, IMF และอะไรต่อมิอะไรไปเรื่อยๆ
คุณนิค เจอโรนิมอส ลูกครึ่งกรีก-ออสเตรเลียที่ทำธุรกิจอพาร์ตเมนท์ โรงแรม และบาร์หลายแห่งบอกว่า ประชากรกรีซ 11 ล้านคนเป็นข้าราชการมากถึง 1.025 ล้านคน = 9.32% หรือเฉลี่ยแล้วคนกรีซ 11 คนจะเป็นข้าราชการ 1 คน
การมีภาครัฐที่ใหญ่-ประสิทธิภาพต่ำ-รายจ่ายสูงเป็นปัญหาใหญ่ของกรีซ, ที่นั่นอะไรๆ ก็ต้อง "ใต้โต๊ะ (fakelaki)" ไม่ว่าจะเป็นการขอใบขับขี่สักใบ หรือไม่ก็เข้าโรงพยาบาล
คุณเจอโรนิมอ สบอกว่า ข้าราชการที่นั่นมีรายได้เดือนละ 600-800-1000 ยูโร = 24,600-32,800-41,000 บาท... แล้วจะไปพอกินไ้ด้อย่างไร (คิดที่ 41฿:euro)
อาจารย์คอสตอส บาเคาริสจากองค์การ 'Transparency International (ความโปร่งใสนานาชาติ)' กล่าวว่า ขนาดเศรษฐกิจมืด (black economy) ของกรีซมีค่าประมาณ 1/3 GDP (ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ รวมสินค้าและบริการทุกอย่าง) แต่ข้อมูลจากธนาคารเร็วๆ นี้ น่าจะอยู่ที่ 37%
เรื่องนี้แสดง ว่า กรีซมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่ารายงาน แต่ไม่ไ้ด้แสดงไว้ในบัญชี เช่น มีธุรกิจหนีภาษีมากมาย ฯลฯ (ประเทศที่มีการคอรัปชั่นสูง มีการค้ายาเสพติด-แรงงานข้ามชาติ-โสเภณี จะมีขนาดเศรษฐกิจมืดที่ไม่เสียภาษีใหญ่มาก ทำให้ "เจ้าพ่อ" หรือ "เจ้าแม่" รวยเละ)
ผู้คนที่นั่นต่างก็ไม่พอใจกับภาษี เช่น คนขับแท็กซี่ต้องเสียภาษี 1,200 euros/ปี =49,200 บาท/ปี ฯลฯ
การเป็นเจ้า ภาพโอลิมปิคส์ในปี 2004 ก็ใช้เงินไปมากถึง 12bn euros = 492,000 ล้านบาท แถมยังขาดทุนอีกต่างหาก
อ.บาเคาริสประมาณว่า เมื่อเทียบกับโอลิมปิคส์ที่บาร์เซโลนา (สเปน),แอทแลนตา (สหรัฐฯ), ซิดนีย์ (ออสเตรเลีย) แล้ว... ทุกอย่างที่นั่นแพงกว่า 50-400% จากราคากลาง
มีคำกล่าวว่า กรีซเป็นประเทศยากจนที่เต็มไปด้วยคนรวย (There is a saying that Greece is a poor country full of rich people.) หรือคนรวยกับคนจนมีมาก คนชั้นกลางมีน้อย
ทีนี้ใครจะปรับตัวได้ดีกว่า... อ.บาเคาริสกล่าวว่า คนรุ่นใหม่น่าจะปรับตัวได้น้อยกว่าคนรุ่นเก่า เพราะคนรุ่นเก่านั้นผ่านมาหลายฟ้าหลายฝน ทนต่อความลำบากมานักต่อนักแล้ว... ทนอีกหน่อยจะเป็นไรไป
ยุโรปเองก็ไม่ กล้าปล่อยให้กรีซล้มละลายไปต่อหน้าต่อหน้า เพราะจะทำให้ EU แตกเป็นเสี่ยงๆ เสียภาพพจน์ และทำให้โลกเสียโอกาสที่จะมีสกุลเงินทางเลือกที่ไม่ใช่ดอลลาร์
และที่สำคัญ คือ กรีซเป็นประเทศในกลุ่ม EU ที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ... ใกล้ต่อทางออกทะเลของรัสเซีย-ตะวันออกกลาง และบาดหมางกับตุรกี, ไม่มีทางที่ EU จะปล่อยให้ตุรกีฮุบกรีซไปได้ง่ายๆ เลย
บทเรียนจากกรีซ สอนเราว่า ถึงแม้ประเทศจะมีทรัพยากรอย่างมากมายมหาศาล โดยเฉพาะต้นทุนทางด้านการท่องเที่ยว เชน ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมกรีก เกาะ ชายทะเล ฯลฯ ก็ยังล้มได้ ถ้ามีภาครัฐ (ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ) ใหญ่ หรือมีประสิทธิภาพต่ำแล้ว... ล้วนรอดยากกันทั้งนั้น
การลดขนาดภาครัฐ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดคอร์รัปชั่น และความเป็นประชาธิปไตยอย่างมีกฏระเบียบ เช่น เคารพกฏหมาย กระบวนการยุติธรรมไม่ลำเอียง ฯลฯ เป็นทางอยู่รอด ปลอดภัยของชาติในระยะยาว
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
ที่มา :
http://www.oknation.net/blog/health2you/2010/05/13/entry-2
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อ่านจบแล้ว คิดว่ากรีซคล้ายกับประเทศใดประเทศนึงไหมครับ
ไปอ่านบทความย้อนหลังเมื่อปี 2553 มา แล้วมีความรู้สึกว่ากรีซช่างคล้ายกับประเทศนึงมาก
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดี ที่ 13 พฤษภาคม 2553
รู้เขารู้เรา เข้าใจทำไมกรีซล้มละลาย
Posted by wullopp
สำนักข่าวอัล จาซีรา ตีพิมพ์เรื่องกรีกโดยตั้งชื่อว่าเป็น 'The Bankrupt State' = "รัฐล้มละลาย", ผู้เขียนขอนำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังครับ [ al jazeera ]
ภาพที่ 1: แผนที่ยุโรป... กล่าวกันว่า ประเทศในยุโรปใต้ได้แก่ สเปน โปรตุเกส กรีซมีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ ประชาธิปไตยไม่ค่อยเข้มแข็ง (สเปนและโปรตุเกสมีช่วงที่ทหารปกครองนานกว่า ช่วงที่เป็นประชาธิปไตยสั้นกว่าชาติอื่นๆ ในยุโรป) > [ worldaccomodation ]
เงินความช่วย เหลือที่กรีซจะได้รับจากสหภาพยุโรป (Eurozone = ประเทศ EU ที่ใช้เงิน Euro; ที่สำคัญ คือ UK, สวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้ใช้ Euro) และ IMF = $146bn = 5.11 ล้านล้านบาท (คิดที่ 35฿:$) นับเป็นความช่วยเหลือทางการเงินต่อรัฐที่มีปัญหายอบแยบทางการเงินครั้งใหญ่ ที่สุดในประวัติศาสตร์
กล่าวกันว่า คอร์รัปชั่นกับการหนีภาษีเป็นธรรมดาของที่นั่น และเรื่องนี้ก็คล้ายกับประเทศยุโรปใต้อื่นๆ เช่น สเปน โปรตุเกส ฯลฯ เช่นกัน
ผู้คนโดยเฉพาะ ชนชั้นกลางต่างไม่พอใจกับมาตรการใหม่ที่ประเทศเจ้าหนี้บังคับใช้ได้แก่ การขึ้นภาษี, ลดค่าใช้ภาครัฐ, และลดเงินเดือนภาคเอกชน
คุณคริสตอส คีรีอาเคาซิส คนขับแท็กซี่ในเอเธนส์ (เมืองหลวง) กล่าวว่า "คุณอาจจะไว้ใจรัฐบาลประเทศอื่นได้... แต่ที่กรีซนี่ไว้ใจบ่ได้ดอก (ท่านอาจจะลืมไปว่า นักการเมืองทั่วโลกและนักประท้วงส่วนใหญ่ไว้ใจไม่ไ้ด้ทั้งนั้น)"
คุณคริสตอ สเป็นพ่อม่ายลูกสาม เคยไปเรียนเศรษฐศาสตร์ที่นิวยอร์ค ใช้ชีวิตที่นั่นกว่า 10 ปี แต่แล้วก็ตัดสินใจกลับบ้านมา 20 ปีแล้ว
"ความผิดพลาดใหญ่ที่สุดในชีวิตผม คือ การกลับบ้าน... ผมรักแผ่นดินนี้ แต่แผ่นดินนี้ไม่รักประชาชน" ท่านบ่น"
รัฐบาลที่นั่น ประกาศมาตรการรัดเข็มขัด (austerity measures) ได้แก่ ลดเงินเดือนข้าราชการ 10%, ลดบำนาญ, ขึ้นภาษี, ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ
และที่ลืมไม่ได้ คือ ยกเลิกมาตรการ "เกษียณก่อนกำหนด (early retirement)" ที่เดิมยอมให้เกษียณได้ตั้งแต่อายุ 40 เศษๆ (เกษียณแล้วได้บำนาญเพียบ)
คุณคริสตอสบ่น ต่อ... "ไม่รู้ภาษีมันหายไปไหน ไม่คืนมาเป็นการศึกษาสำหรับเด็กๆ ไม่มีการรักษาพยาบาลที่ดี"
ฝ่ายผู้ประท้วงก็ประท้วงทุกอย่าง เริ่มจากการตั้งตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาล สหภาพยุโรป, IMF และอะไรต่อมิอะไรไปเรื่อยๆ
คุณนิค เจอโรนิมอส ลูกครึ่งกรีก-ออสเตรเลียที่ทำธุรกิจอพาร์ตเมนท์ โรงแรม และบาร์หลายแห่งบอกว่า ประชากรกรีซ 11 ล้านคนเป็นข้าราชการมากถึง 1.025 ล้านคน = 9.32% หรือเฉลี่ยแล้วคนกรีซ 11 คนจะเป็นข้าราชการ 1 คน
การมีภาครัฐที่ใหญ่-ประสิทธิภาพต่ำ-รายจ่ายสูงเป็นปัญหาใหญ่ของกรีซ, ที่นั่นอะไรๆ ก็ต้อง "ใต้โต๊ะ (fakelaki)" ไม่ว่าจะเป็นการขอใบขับขี่สักใบ หรือไม่ก็เข้าโรงพยาบาล
คุณเจอโรนิมอ สบอกว่า ข้าราชการที่นั่นมีรายได้เดือนละ 600-800-1000 ยูโร = 24,600-32,800-41,000 บาท... แล้วจะไปพอกินไ้ด้อย่างไร (คิดที่ 41฿:euro)
อาจารย์คอสตอส บาเคาริสจากองค์การ 'Transparency International (ความโปร่งใสนานาชาติ)' กล่าวว่า ขนาดเศรษฐกิจมืด (black economy) ของกรีซมีค่าประมาณ 1/3 GDP (ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ รวมสินค้าและบริการทุกอย่าง) แต่ข้อมูลจากธนาคารเร็วๆ นี้ น่าจะอยู่ที่ 37%
เรื่องนี้แสดง ว่า กรีซมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่ารายงาน แต่ไม่ไ้ด้แสดงไว้ในบัญชี เช่น มีธุรกิจหนีภาษีมากมาย ฯลฯ (ประเทศที่มีการคอรัปชั่นสูง มีการค้ายาเสพติด-แรงงานข้ามชาติ-โสเภณี จะมีขนาดเศรษฐกิจมืดที่ไม่เสียภาษีใหญ่มาก ทำให้ "เจ้าพ่อ" หรือ "เจ้าแม่" รวยเละ)
ผู้คนที่นั่นต่างก็ไม่พอใจกับภาษี เช่น คนขับแท็กซี่ต้องเสียภาษี 1,200 euros/ปี =49,200 บาท/ปี ฯลฯ
การเป็นเจ้า ภาพโอลิมปิคส์ในปี 2004 ก็ใช้เงินไปมากถึง 12bn euros = 492,000 ล้านบาท แถมยังขาดทุนอีกต่างหาก
อ.บาเคาริสประมาณว่า เมื่อเทียบกับโอลิมปิคส์ที่บาร์เซโลนา (สเปน),แอทแลนตา (สหรัฐฯ), ซิดนีย์ (ออสเตรเลีย) แล้ว... ทุกอย่างที่นั่นแพงกว่า 50-400% จากราคากลาง
มีคำกล่าวว่า กรีซเป็นประเทศยากจนที่เต็มไปด้วยคนรวย (There is a saying that Greece is a poor country full of rich people.) หรือคนรวยกับคนจนมีมาก คนชั้นกลางมีน้อย
ทีนี้ใครจะปรับตัวได้ดีกว่า... อ.บาเคาริสกล่าวว่า คนรุ่นใหม่น่าจะปรับตัวได้น้อยกว่าคนรุ่นเก่า เพราะคนรุ่นเก่านั้นผ่านมาหลายฟ้าหลายฝน ทนต่อความลำบากมานักต่อนักแล้ว... ทนอีกหน่อยจะเป็นไรไป
ยุโรปเองก็ไม่ กล้าปล่อยให้กรีซล้มละลายไปต่อหน้าต่อหน้า เพราะจะทำให้ EU แตกเป็นเสี่ยงๆ เสียภาพพจน์ และทำให้โลกเสียโอกาสที่จะมีสกุลเงินทางเลือกที่ไม่ใช่ดอลลาร์
และที่สำคัญ คือ กรีซเป็นประเทศในกลุ่ม EU ที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ... ใกล้ต่อทางออกทะเลของรัสเซีย-ตะวันออกกลาง และบาดหมางกับตุรกี, ไม่มีทางที่ EU จะปล่อยให้ตุรกีฮุบกรีซไปได้ง่ายๆ เลย
บทเรียนจากกรีซ สอนเราว่า ถึงแม้ประเทศจะมีทรัพยากรอย่างมากมายมหาศาล โดยเฉพาะต้นทุนทางด้านการท่องเที่ยว เชน ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมกรีก เกาะ ชายทะเล ฯลฯ ก็ยังล้มได้ ถ้ามีภาครัฐ (ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ) ใหญ่ หรือมีประสิทธิภาพต่ำแล้ว... ล้วนรอดยากกันทั้งนั้น
การลดขนาดภาครัฐ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดคอร์รัปชั่น และความเป็นประชาธิปไตยอย่างมีกฏระเบียบ เช่น เคารพกฏหมาย กระบวนการยุติธรรมไม่ลำเอียง ฯลฯ เป็นทางอยู่รอด ปลอดภัยของชาติในระยะยาว
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/health2you/2010/05/13/entry-2
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อ่านจบแล้ว คิดว่ากรีซคล้ายกับประเทศใดประเทศนึงไหมครับ