ผมเรียนจบกฎหมายในระดับเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยรัฐชื่อดังแห่งหนึ่ง ทำงานมาได้สักพักแล้ว จบเนติ์แล้วตั้งแต่ปีแรก กำลังอยากจะหาทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ อยากจะศึกษาต่อทางด้านกฎหมายมหาชน เพราะ ใจจริง อยากจะทำงานทางวิชาการ หรือ ผู้พิพากษา(ตุลาการศาลปกครอง) หรือ อาจารย์ ในทางกฎหมายมหาชน
ผมเองโดยส่วนตัวเชื่อในชื่อเสียงและคุณภาพของฝรั่งเศสมากกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นระบบ Civil Law แบบเดียวกับเรา และ อิทธิพลของกฎหมายฝรั่งเศสในระบบกฎหมายไทยค่อนข้างมากโดยเฉพะในทางกฎหมายปกครอง กฎหมายมหาชน และ ฝรั่งเศสเป็นต้นตำรับ มีแนวคิด มีปรัชญาของกฎหมายแฝงอยู่ควบคู่กับประวัติศาสตร์ทางการเมืองของประเทศที่มีมายาวนาน
แต่ทว่า คนรอบข้างและผู้ใหญ่ที่ไปปรึกษา ทั้งผู้พิพากษา ทนายความ และ ครอบครัวผมเอง ต่างก็ไม่สนับสนุน ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ เรียนนาน เรียนยาก ล้าสมัย เรียนจบมา ก็เหนื่อยเปล่า ทำอะไรไม่ได้ ทางเดินข้างหน้าแคบ นอกจากเป็นอาจารย์นักวิชาการ และ ข้อเท็จจริงที่เจอมาก็มีบ้างที่ว่า เรียนอยู่เมืองไทยเรียนเก่งมาก แต่พอไปฝรั่งเศสกลับล้มเหลวกลับมา เพราะเรียนยากมากๆแถมภาษาก็ค่อนข้างลึก รวมทั้งภาษาอังกฤษก็มีอยู่แล้ว แต่ภาษาฝรั่งเศสต้องเริ่มต้นใหม่(ตอนนี้ผมเรียนไปได้หลายเดือน อยู่ขั้น A1) แต่ผมก็คิดว่า ภาษาเราน่าจะสู้ไหว เพราะ หลายๆคนเองก็ไปแบบที่ภาษาเป็น 0 ไปเริ่มเอาดาบหน้าแต่ก็เรียนจบสำเร็จกลับมาได้
แม้ว่าผู้ใหญ่หลายๆท่านทั้ในวงการและนอกวงการกฎหมาย มีการคัดค้านเสียเป็นส่วนใหญ่ และ มักจะสนับสนุนให้เรียนต่อในทางอังกฤษ หรือ อเมริกามากกว่า แต่สิ่งที่ปรากฎในความเป็นจริงเท่าที่ผมพอจะทราบอยู่บ้าง นักกฎหมายที่มีชื่อเสียงทางกฎหมายมหาชน ส่วนใหญ่มาจากฝรั่งเศส หรือ เยอรมันทางสายยุโรป มากกว่า สายอเมริกา ในทางกฎหมายระหว่างประเทศก็เช่นเดียวกัน
ผมเลยอยากจะรู้ว่า จริงๆแล้ว การเรียนกฎหมายมหาชน สายยุโรป กับ สายอเมริกา มันต่างกันอย่างไร ลองหา World ranking ก็ไม่พบ
พบเจอแต่แบบรวมๆ Law School ซึ่ง Ranking ของ ฝ่าย Common Law ก็นำโด่งเลย
อยากฟังประสบการณ์ของท่านที่เรียนจบทางกฎหมายมาจาก 2 ค่ายนี้ว่าเป็นยังไงกันบ้างครับ
ทางเดินของ 2 สาย(ประเทศ)นี้ ถนนสายไหน ที่มีช่องทางที่เรียนจบมาแล้วมีงานที่สามารถทำได้หลากหลาย และ เป็นที่ยอมรับมากกว่ากัน
ขอบคุณครับ
เรียนต่อกฎหมาย ที่ ฝรั่งเศส VS อังกฤษ และ อเมริกา
ผมเองโดยส่วนตัวเชื่อในชื่อเสียงและคุณภาพของฝรั่งเศสมากกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นระบบ Civil Law แบบเดียวกับเรา และ อิทธิพลของกฎหมายฝรั่งเศสในระบบกฎหมายไทยค่อนข้างมากโดยเฉพะในทางกฎหมายปกครอง กฎหมายมหาชน และ ฝรั่งเศสเป็นต้นตำรับ มีแนวคิด มีปรัชญาของกฎหมายแฝงอยู่ควบคู่กับประวัติศาสตร์ทางการเมืองของประเทศที่มีมายาวนาน
แต่ทว่า คนรอบข้างและผู้ใหญ่ที่ไปปรึกษา ทั้งผู้พิพากษา ทนายความ และ ครอบครัวผมเอง ต่างก็ไม่สนับสนุน ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ เรียนนาน เรียนยาก ล้าสมัย เรียนจบมา ก็เหนื่อยเปล่า ทำอะไรไม่ได้ ทางเดินข้างหน้าแคบ นอกจากเป็นอาจารย์นักวิชาการ และ ข้อเท็จจริงที่เจอมาก็มีบ้างที่ว่า เรียนอยู่เมืองไทยเรียนเก่งมาก แต่พอไปฝรั่งเศสกลับล้มเหลวกลับมา เพราะเรียนยากมากๆแถมภาษาก็ค่อนข้างลึก รวมทั้งภาษาอังกฤษก็มีอยู่แล้ว แต่ภาษาฝรั่งเศสต้องเริ่มต้นใหม่(ตอนนี้ผมเรียนไปได้หลายเดือน อยู่ขั้น A1) แต่ผมก็คิดว่า ภาษาเราน่าจะสู้ไหว เพราะ หลายๆคนเองก็ไปแบบที่ภาษาเป็น 0 ไปเริ่มเอาดาบหน้าแต่ก็เรียนจบสำเร็จกลับมาได้
แม้ว่าผู้ใหญ่หลายๆท่านทั้ในวงการและนอกวงการกฎหมาย มีการคัดค้านเสียเป็นส่วนใหญ่ และ มักจะสนับสนุนให้เรียนต่อในทางอังกฤษ หรือ อเมริกามากกว่า แต่สิ่งที่ปรากฎในความเป็นจริงเท่าที่ผมพอจะทราบอยู่บ้าง นักกฎหมายที่มีชื่อเสียงทางกฎหมายมหาชน ส่วนใหญ่มาจากฝรั่งเศส หรือ เยอรมันทางสายยุโรป มากกว่า สายอเมริกา ในทางกฎหมายระหว่างประเทศก็เช่นเดียวกัน
ผมเลยอยากจะรู้ว่า จริงๆแล้ว การเรียนกฎหมายมหาชน สายยุโรป กับ สายอเมริกา มันต่างกันอย่างไร ลองหา World ranking ก็ไม่พบ
พบเจอแต่แบบรวมๆ Law School ซึ่ง Ranking ของ ฝ่าย Common Law ก็นำโด่งเลย
อยากฟังประสบการณ์ของท่านที่เรียนจบทางกฎหมายมาจาก 2 ค่ายนี้ว่าเป็นยังไงกันบ้างครับ
ทางเดินของ 2 สาย(ประเทศ)นี้ ถนนสายไหน ที่มีช่องทางที่เรียนจบมาแล้วมีงานที่สามารถทำได้หลากหลาย และ เป็นที่ยอมรับมากกว่ากัน
ขอบคุณครับ