สอบถามเรื่องสีของหัวเทียน และ ส่วนผสมการปรับจูนอากาศครับ

** รถที่ใช้และลักษณะการขับขี่ทั่วไป **
รถมอเตอร์ไซค์ 2 จังหวะ ( ซูซูกิ RC-110 / คริสตัล ) ใช้ขี่ซื้อของแค่ในหมู่บ้าน โดยการขี่แต่หละครั้งส่วนมากเป็นระยะทางประมาณ 300 - 1,000 เมตร ใช้ความเร็วเฉลี่ย 30-40 km/hr และส่วนมากใช้คันเร่งบิดไม่เกิน 1/4 หรือ 1/3 ของรอบปลอกคันเร่งทั้งหมด ( นานๆถึงจะขี่ได้ถึง 50-60 km/hr สักที , ซึ่งถ้าขี่ถึงก็จะลากยาวไม่เกิน 100 เมตร )

ปัจจุบันเติมน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ ( รถไม่ได้ใช้ทุกวัน ) ... สมัยก่อนอัตราสิ้นเปลืองอยู่ที่ 24-26 km/ลิตร ( เครื่องเดินไม่ค่อยเรียบ มีสะดุดนิดๆ ) .. พอดีหลายเดือนก่อน หัวเทียนบอด ( หลังจากใช้หัวเทียนมา 2 ปี / หัวเทียนเดิมใช้ BP7HS ) ช่างที่ร้านซ่อมมอไซด์บอกเครื่องเดินไม่ค่อยดี เลยจูนคาบูใหม่ให้ แล้วเอาออกไปลองอัดวิ่งดู แล้วกลับมาถอดดูสีหัวเทียนก็บอกว่า ok พอใช้ได้หละ ( ผมเดาเองว่าน่าจะวัดอะไรไม่ได้มากเพราะลองวิ่งแค่ประมาณ 1 km เอง )

ตอนนี้ลองใช้มาสักพัก เติมน้ำมันหมดไป 2-3 ถัง จับอัตราการกินน้ำมันอยู่ที่ 21-23 km/ลิตร ( จูนคาบูปกติ - ช่างจูนให้ใหม่หลังจากเปลี่ยนหัวเทียนเป็นแบบร้อนขึ้น BP5HS / บิดติดมือ เร่งดีกว่าแต่ก่อน ) .. และไม่ได้ทำอะไรกับรถเพิ่มเติมอีกเลย นอกจากที่ช่างจูนคาบูให้ใหม่อย่างเดียว ( ลักษณะการขี่เดิมๆ ลมยางก็ประมาณเดิม หน้า 29 หลัง 33 )

** ปัญหาในตอนนี้ **
- ต้องออกไปเติมน้ำมันไวกว่าแต่ก่อน หลังจากจูนคาบูมาใหม่ ( แม้จะกินเพิ่มขึ้นต่างกันแค่ประมาณ 2-3 km/ลิตร แต่ผมต้องไปเติมน้ำมันเร็วกว่าปกติถึง 10-14 วัน เพราะไม่ได้ใช้รถทุกวัน และใช้แต่ละครั้งเป็นระยาทางสั้นๆ ) .. ซึ่งถ้าจะออกไปเติมน้ำมัน นี่ต้องออกถนนใหญ่ และ ค่อนข้างไกลจากบ้าน เลยไม่ค่อยอยากไปบ่อยๆครับ

** สิ่งที่ต้องการ **
- อยากให้อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงประหยัดกว่านี้ ( จะกลับไป 24-26 km/ลิตร แบบเดิมก่อนจูนคาบูมาใหม่ก็ได้ หรือ จะได้มากกว่านี้ก็ยิ่งดี )

*** คำถาม ( ขอถามเป็นข้อๆนะครับ ) ***
1. จากสีหัวเทียนที่เป็นเขม่าแบบนี้ จะสามารถดูได้ไหมว่าส่วนผสมหนาไป หรือว่าพอใช้ได้แล้ว ? เนื่องจากลักษณะการใช้งานของผมแล้ว เกิดเขม่าเยอะแน่ๆ ขี่ช้า 30-40 km/hr และระยะทางสั้น

[img]http://upload.siamza.com/file_upload/modify/280615/2099832.jpg[/img]
[img]http://upload.siamza.com/file_upload/modify/280615/2099833.jpg[/img]

2. ถ้าอยากเพิ่มปริมาณอากาศในส่วนผสมที่คาบู ต้องหมุนทวนเข็มนาฬิกาใช่ไหมครับ ?

3. ถ้าอยากให้อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงประหยัดขึ้น ควรจะหมุนตัวปรับอากาศ ( ตัวปรับต้องใช้ไขควงแบน ) ที่คาบูเพิ่มไปสักกี่รอบดีครับ ( 1/4 , 1/2 , 1 รอบ หรือ มากกว่านั้น ) ? ตอนนี้ผม mark ตำแหน่งเก่าไว้แล้ว

4. จากข้อ 3. ถ้าเราหมุนทวนเข็มฯไปเรื่อยๆ โดยที่เครื่องยังไม่ดับ ซึ่งอาจจะหมุนเพิ่มไปได้อีก 1 รอบครึ่ง หรือ 2 รอบ ผมประมาณๆเอา ( เอาไปลองขี่แล้ว ก็ขี่ได้แต่จะอืดๆหน่อย เร่งไม่เนียนเลย  / ขี่แล้วสู้ตอนก่อนหัวเทียนบอดไม่ได้ ) แบบนี้จะทำให้ประหยัดกว่าเดิมไหมครับ หรือ ว่ากินน้ำมันมากกว่าเดิมเพราะส่วนผสมมันผิดเยอะมากเกินไป ทำให้ต้องบิดคันเร่งมากกว่าเดิม ?

5. การตั้งรอบเดินเบา ( ตัวปรับใช้ไขควงแฉก ) นี่มีผลกับการกินน้ำมันมากน้อยขนาดไหนครับ ? เช่น ตั้งรอบเดินเบา 1,200 รอบ กับ 1,800 รอบ ในรถคันเดียวกัน ( ไม่รู้รอบเดินเบาตอนนี้อยู่ที่กี่รอบ แต่รู้สึกว่ารอบสูงไปนิด พอจอดเกียร์ว่างแล้วเหมือนเครื่องจะเร่งไป / ว่าจะปรับรอบลงมานิดๆ แต่ยังไม่ได้ทำ เข้ามาถามพี่ๆในนี้ก่อน )

6. ชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงนี่มีผลกับส่วนผสมน้ำมันกับอากาศหรือไม่ ? อย่างไรครับ ?  เช่น สมมุติได้ส่วนผสมที่เผาไหม้สมบูรณ์ในอัตรส่วน 15:1 โดยตอนจูนใช้น้ำมันเบนซิน 95 ...  ซึ่งถ้าเปลี่ยนน้ำมันมาเป็นแก๊สโซฮอล์95 (E10)  นี่ต้องปรับอากาศอย่างไรครับ ต้องลดหรือเพิ่ม ? หรือว่าชนิดน้ำมันเบนซิน95 กับ แก๊สโซฮอล์95 (E10) นี่ไม่มีผลต่างกันเท่าไหร่  

7. จากสีหัวเทียนในข้อ 1. ผมควรจะต้องทำอะไรอีกไหมครับ ? หรือ ว่าปล่อยไปแบบนั้นแหละเพราะสาเหตุเกิดจากขี่ช้าใช้รอบต่ำ ความเร็วต่ำ ไม่ได้เอารถออกไปอัดวิ่งเร็วๆเลย ...

*** สรุป คือ เน้นประหยัดเชื้อเพลิง ไม่อยากไปปั้มน้ำมันบ่อยๆ ... ส่วนเรื่องอัตราเร่ง บิดเร่งรอบมาไม่เนียน มีสะดุดบ้าง อันนี้ไม่ค่อยซีเรียสเพราะในหมู่บ้านเน้นขี่แบบหวานเย็น ไปเรื่อยๆอยู่แล้วครับ ***

ปล. จริงๆแล้วไม่ได้กังวลเรื่องสีหัวเทียนเท่าไหร่ สอบถามเป็นความรู้ครับ ( ผมแอบคิดเองแบบมั่วๆไม่มีความรู้ว่า ...  ถ้าใช้เบนซิน 95 แล้วสีหัวเทียนแสดงส่วนผสมหนาแบบนี้ สงสัยต้องเปลี่ยนมาใช้แก๊สโซฮอล์ 95 (E10) แทน ) และขอ tag honda ด้วยนะครับเพราะยี่ห้อนี้คนใช้กันเยอะ น่าจะมีผู้รู้หลายท่านให้คำแนะนำได้ ขอบคุณครับ

Edit : แก้คำผิด
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่