Credit :
http://www.samkok911.com
หนังสือ "พิชัยสงครามสามก๊ก" ของคุณสังข์ พัธโนทัย ได้เขียนประวัติย่อของ "ลิโป้" ยอดคนไว้ว่า
ลิโป้(หลี่ปู้ 吕布 Lü Bu) : เป็นชาวเมืองอู่เหยียนจิ่วเหยียน (ปัจจุบันคืออำเภออู่เหยียน มณฑลซานสี) มีชื่อรองว่า เฟิงเซียน
รูปร่างสง่าผ่าเผย มีกำลังบ่ายิงเกาทัณฑ์ และช่ำชองการขี่ม้ายิ่งกว่าคนอื่น ๆ แต่เป็นคนสับปลับ มักมากในสุรานารี ถือเอาแต่ประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง เตียวหุยผู้เป็นปฏิปักษ์ประณามว่า ลิโป้เป็นลูกสามพ่อ เพราะมีพ่อที่ให้กำเนิด ต่อมาเข้ารับราชการเป็นทหารองครักษ์ของเต๊งหงวน ผู้ครองแคว้นเกงจิ๋วก่อน ประจบเรียกเต๊งหงวนว่าพ่อ พอตั๋งโต๊ะติดสินบนก็ทรยศ ตัดศีรษะเต๊งหงวนไปให้ตั๋งโต๊ะ แล้วฝากตัวอยู่กับตั๋งโต๊ะ
ตัวจริงยังคงเป็นปริศนาอาจเป็นเพียงตัวละครที่เติมเต็มบทความขัดแย้งระหว่าง ตั๋งโตะกับลิโป้ เท่านั้น
เรียกตั๋งโต๊ะว่าพ่ออีก ไม่ช้าก็ฆ่าตั๋งโต๊ะเสีย แย่งเอานางเตียวเสี้ยนมาเป็นเมียตามอุบายของอ้องอุ้น หลังจากนั้นได้รับพระราชทานยศเป็นเฟิ้นอุยเจียงจวิน (นายพล) และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นอุนโหว (พระยา) เป็นบำเหน็จความชอบที่ได้ฟื้นอำนาจของกษัตริย์ให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ ครั้นลิฉุย กุยกีนายทหารของตั๋งโต๊ะแย่งอำนาจในเมืองหลวงได้อีก โดยฆ่าอ้องอุ้นเสีย ลิโป้หนีไปขอพึ่งอ้วนสุด อ้วนเสี้ยว แต่ถูกตะเพิด จึงไปพึ่งเตียวเอี๋ยน เจ้าเมืองเซียงต๋ง แล้วดำเนินการแผ่อำนาจต่แไป
โจโฉกับอ้วนเสี้ยวร่วมกันปราบ ลิโป้ต้องไปขอพึ่งเล่าปี่อยู่ที่ชีจิ๋ว มิช้ามินานก็ทรยศต่อเล่าปี่ ยึดอำนาจในชีจิ๋วไว้เสียเอง ในที่สุดโจโฉจับตัวได้ที่เมืองแห้ฝือ (เสี้ยเผย) มณฑลเจียงซู จึงเอาไปแขวนคอแล้วตัดศีรษะเสียบประจานไว้
ฝีมือรบของลิโป
ในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก ลิโป้ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดในเรื่องฝีมือการรบที่ไม่มีผู้ใดอาจหาญเทียบเท่าได้ แต่โดยมากเรามักถึงถึงแค่ตอนที่ 3 พี่น้อง เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย รุมรบลิโป้ ซึ่งเหตุการณ์นั้น เป็นเหตุการณ์ชั้นเอก เพราะเชิดชูให้ ทั้งลิโป้ และ สามพี่น้อง เป็นคนเก่งกล้าสามารถ
"สามพี่น้องรุมรบลิโป้" นั่นก็ว่ายอดแล้ว แต่ลิโป้ยังเคยต้านทานทหารเอกของโจโฉ 6 คนพร้อม ๆ กันที่เมืองปักเอี้ยง ซึ่งนายทหารเอกที่ว่านั้น มีชื่อชั้นระดับ เคาทู เตียนอุย แฮหัวตุ้น แฮหัวเอี๋ยน งักจิ้น และลิเตียน รบกันแบบ 6 รุม 1 ก็ยังกินลิโป้ไม่ลง ซึ่งตลอดทั้งเรื่องสามก๊ก ยังไม่เคยเห็นผู้ใดจะเก่งกล้าสามารถ รบกับขุนพลชั้นแนวหน้าพร้อม ๆ กันได้แบบลิโป้เลย ... คนเก่งต้องถูกรุม เป็นเรื่องปกติ
แต่เรื่องความร้ายของเขา ก็เป็นยอดเช่นเดียวกัน เขาเป็นคนละโมบโลภมาก มีกิเลสอันอนันต์ ผลักดันให้ได้มาซึ่งตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์อันเป็นของพระราชทาน มีสาวงามอย่างเตียวเสี้ยน มียอดม้าอย่างเซ็กเธาว์ รวมทั้งคำว่า "ลูกสามพ่อ" ที่เตียวหุยใช้เรียกลิโป้ ก็เป็นคำที่ทำลายภาพลักษณ์ความเก่งกาจของลิโป้ไปจนหมดสิ้น คนเราจะเก่งกล้าสามารถปานใด หากไร้ความกตัญญูรู้คุณ ก็สิ้นสูญ
อีกทั้งเมื่ออยู่ในภาวะคับขัน โจโฉทดน้ำและเข้าล้อมเมืองแห้ฝือ ลิโป้ก็กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว ที่ลอยไปลอยมาอยู่เหนือปัญหา ไร้ความรับผิดชอบ วัน ๆ เอาแต่เสพสุรา แล้วอ้างว่าจะกลัวอะไรกับน้ำท่วม ม้าเซ็กเธาว์มีกำลังมาก ข้ามแม่น้ำได้ดั่งควบบนบก แล้วก็ผลักภาระให้เป็นหน้าที่ของทหารและพลเมือง
จุดจบของคนแบบลิโป้ ไม่ได้ตายเพราะไร้ฝีมือ แต่ตายเพราะ "ศรัทธาเสื่อม" เขาตายเพราะคนสนิทมิตรสหายใกล้ตัว ถูกลูกน้องขโมยม้าเซ็กเธาว์กับทวนคู่ใจ แล้วจับเขามัดส่งให้กับโจโฉ ประหารชีวิต
จารึกความดี
ความดี อันมีเพียงไม่กี่ข้อของลิโป้ คือเขาเป็นคนรักครอบครัว ลิโป้เชื่อฟังนางเหงียมซี และเตียวเสียนมาก ถึงกับไม่ยอมออกรบตามคำเมีย และยอมเลิกดื่มสุราเมื่อเมียนำกระจกมาให้ส่อง รวมทั้งมีความห่วงใยลูกสาวของเขา เมื่อรู้ว่าหากยกลูกสาวให้บุตรอ้วนสุดจะมีผลเช่นไร คนหยาบช้าเช่นลิโป้ จึงก็ยังมีข้อดีบ้างเมื่ออยู่กับครอบครัว
อีกข้อคือการกำจัด "ตั๋งโต๊ะ" ทรราชย์ผู้ถูกสาบแช่งจากทั้งสิบทิศ ซึ่งหากไม่มีลิโป้ ตั๋งโต๊ะคงตั้งตนเป็นโอรสสวรรค์ แผ่นดินจีนจะลุกเป็นไฟ การกลับใจของลิโป้ เป็นผลทำให้เขาได้รับการยกย่องจากผู้คนรวมทั้งการยอมรับจากราชสำนัก
ข้อดีอันสำคัญที่สุดของ "ยอดคน" ลิโป้ มีอยู่ในหนังสือ "สามก๊กฉบับวณิพก" ตอน "ลิโป้ อัศวินหัวสิงห์" ของคุณครู "ยาขอบ" ซึ่งท่านได้กล่าวถึง ลิโป้ ในแง่มุมที่เป็นบวกตลอดแทบทั้งเรื่องว่า ความเนรคุณหรือความโลภ เป็นเพียงข้อใส่ความทาง "การเมือง"
"ในสามก๊กฉบับตัวจริง ลิโป้เป็นคนชั่วช้า ที่ไม่รู้จักคุณคน แต่ในความไม่หยุดคิดของวณิพก บัดนี้ตัวได้เล่ามาแล้วว่า ลิโป้ถูกพายุทางการเมืองกระโชกใส่เสียอย่างโชกโชน และถ้าเขาจะทำสิ่งใดที่ไม่รู้จักคุณ ก็ทำไปตามความเป็นปุถุชนนั้นเอง"
ความดีงามอันสำคัญที่สุดของลิโป้ ตามทัศนะของยาขอบ คือ การเสี่ยงเกาทัณฑ์ห้ามทัพ ไม่ให้กองทัพของอ้วนสุด 50,000 นายที่นำมาโดยกิเหลง บุกตีเล่าปี่ที่เมืองชีจิ๋ว โดยให้ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมว่า หากลิโป้ยิงเกาทัณฑ์ในระยะ 5 เส้น (ประมาณ 200 เมตร) ถูกปลายทวน ก็ให้ถือว่าเป็นมติสวรรค์ ทั้งสองฝ่ายต้องเลิกรบกันไป
ผลก็คือลิโป้ยิงเกาทัณฑ์ถูกปลายทวนอย่างจัง "เทวดาได้ตัดสินแล้ว" กิเหลงกับเล่าปี่จึงต้องยอมเลิกรบกัน ยาขอบจึงยกให้การห้ามทัพของลิโป้ คือความดีอันเอกอุ เพราะช่วยรักษาคนดีอย่างเล่าปี่ รวมทั้งช่วยป้องกันสงครามกลางเมือง รักษาชีวิตคนได้นับแสน แม้เป็นแค่เพียงเวลาสั้น ๆ
ยาขอบ ได้ยกเอาคำกลอนยกย่องลิโป้ จากสามก๊กฉบับภาษาอังกฤษ มาปิดท้ายเรื่อง "ลิโป้ อัศวินหัวสิงห์" ว่า
ในเรื่องสามก๊กมีแต่ "ยอดคน" แบบลิโป้ เท่านั้นที่สามารถหยุดยั้งความขัดแย้ง วุ่นวายระหว่างคนสองฝ่าย โดยที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อและได้รับความยินยอมพร้อมใจจากทั้งเล่าปี่ และกิเหลง
"ลิโป้" แม้จะเคยส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง แต่เขาก็อาสา ยอม "เสียสละ" รับเป็นตัวกลาง เชื่อมความสามัคคีคนในชาติ .... อย่างน้อย ๆ ก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
หันกลับมาที่บ้านนี้ เมืองนี้ .... "ยอดคน" ก็มีอยู่หลายท่าน แต่เมื่อกวาดตามองดูทั้งผืนแผ่นดินแล้ว คนที่ขีดความสามารถ ที่จะหยุดยั้งความขัดแย้งของคนในชาติได้ และกอบกู้เศรษฐกิจดูจะเหลือเพียงไม่กี่คนจริงๆ
แต่เมื่อมองเฉพาะการแสวงหาอำนาจโดยขาดคุณธรรม ทำให้นึกถึงกลุ่มเนติบริกรทั้งหลาย และพวกยี้ห้อยที่สามารถเปลี่ยนไปมาได้ ตลอดเวลา เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองเท่านั้นจริงๆ
🍁🍁🍁ยอดขุนศึกบนอานม้า " ลิโป้ " อำนาจนำมาสู่ความเสื่อม (นิยายการเมือง)🍁🍁🍁
หนังสือ "พิชัยสงครามสามก๊ก" ของคุณสังข์ พัธโนทัย ได้เขียนประวัติย่อของ "ลิโป้" ยอดคนไว้ว่า
ลิโป้(หลี่ปู้ 吕布 Lü Bu) : เป็นชาวเมืองอู่เหยียนจิ่วเหยียน (ปัจจุบันคืออำเภออู่เหยียน มณฑลซานสี) มีชื่อรองว่า เฟิงเซียน
รูปร่างสง่าผ่าเผย มีกำลังบ่ายิงเกาทัณฑ์ และช่ำชองการขี่ม้ายิ่งกว่าคนอื่น ๆ แต่เป็นคนสับปลับ มักมากในสุรานารี ถือเอาแต่ประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง เตียวหุยผู้เป็นปฏิปักษ์ประณามว่า ลิโป้เป็นลูกสามพ่อ เพราะมีพ่อที่ให้กำเนิด ต่อมาเข้ารับราชการเป็นทหารองครักษ์ของเต๊งหงวน ผู้ครองแคว้นเกงจิ๋วก่อน ประจบเรียกเต๊งหงวนว่าพ่อ พอตั๋งโต๊ะติดสินบนก็ทรยศ ตัดศีรษะเต๊งหงวนไปให้ตั๋งโต๊ะ แล้วฝากตัวอยู่กับตั๋งโต๊ะ
เรียกตั๋งโต๊ะว่าพ่ออีก ไม่ช้าก็ฆ่าตั๋งโต๊ะเสีย แย่งเอานางเตียวเสี้ยนมาเป็นเมียตามอุบายของอ้องอุ้น หลังจากนั้นได้รับพระราชทานยศเป็นเฟิ้นอุยเจียงจวิน (นายพล) และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นอุนโหว (พระยา) เป็นบำเหน็จความชอบที่ได้ฟื้นอำนาจของกษัตริย์ให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ ครั้นลิฉุย กุยกีนายทหารของตั๋งโต๊ะแย่งอำนาจในเมืองหลวงได้อีก โดยฆ่าอ้องอุ้นเสีย ลิโป้หนีไปขอพึ่งอ้วนสุด อ้วนเสี้ยว แต่ถูกตะเพิด จึงไปพึ่งเตียวเอี๋ยน เจ้าเมืองเซียงต๋ง แล้วดำเนินการแผ่อำนาจต่แไป
โจโฉกับอ้วนเสี้ยวร่วมกันปราบ ลิโป้ต้องไปขอพึ่งเล่าปี่อยู่ที่ชีจิ๋ว มิช้ามินานก็ทรยศต่อเล่าปี่ ยึดอำนาจในชีจิ๋วไว้เสียเอง ในที่สุดโจโฉจับตัวได้ที่เมืองแห้ฝือ (เสี้ยเผย) มณฑลเจียงซู จึงเอาไปแขวนคอแล้วตัดศีรษะเสียบประจานไว้
ฝีมือรบของลิโป
ในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก ลิโป้ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดในเรื่องฝีมือการรบที่ไม่มีผู้ใดอาจหาญเทียบเท่าได้ แต่โดยมากเรามักถึงถึงแค่ตอนที่ 3 พี่น้อง เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย รุมรบลิโป้ ซึ่งเหตุการณ์นั้น เป็นเหตุการณ์ชั้นเอก เพราะเชิดชูให้ ทั้งลิโป้ และ สามพี่น้อง เป็นคนเก่งกล้าสามารถ
"สามพี่น้องรุมรบลิโป้" นั่นก็ว่ายอดแล้ว แต่ลิโป้ยังเคยต้านทานทหารเอกของโจโฉ 6 คนพร้อม ๆ กันที่เมืองปักเอี้ยง ซึ่งนายทหารเอกที่ว่านั้น มีชื่อชั้นระดับ เคาทู เตียนอุย แฮหัวตุ้น แฮหัวเอี๋ยน งักจิ้น และลิเตียน รบกันแบบ 6 รุม 1 ก็ยังกินลิโป้ไม่ลง ซึ่งตลอดทั้งเรื่องสามก๊ก ยังไม่เคยเห็นผู้ใดจะเก่งกล้าสามารถ รบกับขุนพลชั้นแนวหน้าพร้อม ๆ กันได้แบบลิโป้เลย ... คนเก่งต้องถูกรุม เป็นเรื่องปกติ
แต่เรื่องความร้ายของเขา ก็เป็นยอดเช่นเดียวกัน เขาเป็นคนละโมบโลภมาก มีกิเลสอันอนันต์ ผลักดันให้ได้มาซึ่งตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์อันเป็นของพระราชทาน มีสาวงามอย่างเตียวเสี้ยน มียอดม้าอย่างเซ็กเธาว์ รวมทั้งคำว่า "ลูกสามพ่อ" ที่เตียวหุยใช้เรียกลิโป้ ก็เป็นคำที่ทำลายภาพลักษณ์ความเก่งกาจของลิโป้ไปจนหมดสิ้น คนเราจะเก่งกล้าสามารถปานใด หากไร้ความกตัญญูรู้คุณ ก็สิ้นสูญ
อีกทั้งเมื่ออยู่ในภาวะคับขัน โจโฉทดน้ำและเข้าล้อมเมืองแห้ฝือ ลิโป้ก็กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว ที่ลอยไปลอยมาอยู่เหนือปัญหา ไร้ความรับผิดชอบ วัน ๆ เอาแต่เสพสุรา แล้วอ้างว่าจะกลัวอะไรกับน้ำท่วม ม้าเซ็กเธาว์มีกำลังมาก ข้ามแม่น้ำได้ดั่งควบบนบก แล้วก็ผลักภาระให้เป็นหน้าที่ของทหารและพลเมือง
จุดจบของคนแบบลิโป้ ไม่ได้ตายเพราะไร้ฝีมือ แต่ตายเพราะ "ศรัทธาเสื่อม" เขาตายเพราะคนสนิทมิตรสหายใกล้ตัว ถูกลูกน้องขโมยม้าเซ็กเธาว์กับทวนคู่ใจ แล้วจับเขามัดส่งให้กับโจโฉ ประหารชีวิต
จารึกความดี
ความดี อันมีเพียงไม่กี่ข้อของลิโป้ คือเขาเป็นคนรักครอบครัว ลิโป้เชื่อฟังนางเหงียมซี และเตียวเสียนมาก ถึงกับไม่ยอมออกรบตามคำเมีย และยอมเลิกดื่มสุราเมื่อเมียนำกระจกมาให้ส่อง รวมทั้งมีความห่วงใยลูกสาวของเขา เมื่อรู้ว่าหากยกลูกสาวให้บุตรอ้วนสุดจะมีผลเช่นไร คนหยาบช้าเช่นลิโป้ จึงก็ยังมีข้อดีบ้างเมื่ออยู่กับครอบครัว
อีกข้อคือการกำจัด "ตั๋งโต๊ะ" ทรราชย์ผู้ถูกสาบแช่งจากทั้งสิบทิศ ซึ่งหากไม่มีลิโป้ ตั๋งโต๊ะคงตั้งตนเป็นโอรสสวรรค์ แผ่นดินจีนจะลุกเป็นไฟ การกลับใจของลิโป้ เป็นผลทำให้เขาได้รับการยกย่องจากผู้คนรวมทั้งการยอมรับจากราชสำนัก
ข้อดีอันสำคัญที่สุดของ "ยอดคน" ลิโป้ มีอยู่ในหนังสือ "สามก๊กฉบับวณิพก" ตอน "ลิโป้ อัศวินหัวสิงห์" ของคุณครู "ยาขอบ" ซึ่งท่านได้กล่าวถึง ลิโป้ ในแง่มุมที่เป็นบวกตลอดแทบทั้งเรื่องว่า ความเนรคุณหรือความโลภ เป็นเพียงข้อใส่ความทาง "การเมือง"
"ในสามก๊กฉบับตัวจริง ลิโป้เป็นคนชั่วช้า ที่ไม่รู้จักคุณคน แต่ในความไม่หยุดคิดของวณิพก บัดนี้ตัวได้เล่ามาแล้วว่า ลิโป้ถูกพายุทางการเมืองกระโชกใส่เสียอย่างโชกโชน และถ้าเขาจะทำสิ่งใดที่ไม่รู้จักคุณ ก็ทำไปตามความเป็นปุถุชนนั้นเอง"
ความดีงามอันสำคัญที่สุดของลิโป้ ตามทัศนะของยาขอบ คือ การเสี่ยงเกาทัณฑ์ห้ามทัพ ไม่ให้กองทัพของอ้วนสุด 50,000 นายที่นำมาโดยกิเหลง บุกตีเล่าปี่ที่เมืองชีจิ๋ว โดยให้ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมว่า หากลิโป้ยิงเกาทัณฑ์ในระยะ 5 เส้น (ประมาณ 200 เมตร) ถูกปลายทวน ก็ให้ถือว่าเป็นมติสวรรค์ ทั้งสองฝ่ายต้องเลิกรบกันไป
ผลก็คือลิโป้ยิงเกาทัณฑ์ถูกปลายทวนอย่างจัง "เทวดาได้ตัดสินแล้ว" กิเหลงกับเล่าปี่จึงต้องยอมเลิกรบกัน ยาขอบจึงยกให้การห้ามทัพของลิโป้ คือความดีอันเอกอุ เพราะช่วยรักษาคนดีอย่างเล่าปี่ รวมทั้งช่วยป้องกันสงครามกลางเมือง รักษาชีวิตคนได้นับแสน แม้เป็นแค่เพียงเวลาสั้น ๆ
ยาขอบ ได้ยกเอาคำกลอนยกย่องลิโป้ จากสามก๊กฉบับภาษาอังกฤษ มาปิดท้ายเรื่อง "ลิโป้ อัศวินหัวสิงห์" ว่า
And the arrow he shot sped straight;
That day at his camp gate.
Hou Yi, the archer of ancient days,
Brought down each mocking sun,
And the apes that gibbered to fright Yang Youji
Were slain by him, one by one.
But we sing of Lu Bu that drew the bow,
And his feathered shaft that flew;
For one hundred thousand soldiers could doff their mails
When he hit the mark so true.
ในเรื่องสามก๊กมีแต่ "ยอดคน" แบบลิโป้ เท่านั้นที่สามารถหยุดยั้งความขัดแย้ง วุ่นวายระหว่างคนสองฝ่าย โดยที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อและได้รับความยินยอมพร้อมใจจากทั้งเล่าปี่ และกิเหลง
"ลิโป้" แม้จะเคยส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง แต่เขาก็อาสา ยอม "เสียสละ" รับเป็นตัวกลาง เชื่อมความสามัคคีคนในชาติ .... อย่างน้อย ๆ ก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
หันกลับมาที่บ้านนี้ เมืองนี้ .... "ยอดคน" ก็มีอยู่หลายท่าน แต่เมื่อกวาดตามองดูทั้งผืนแผ่นดินแล้ว คนที่ขีดความสามารถ ที่จะหยุดยั้งความขัดแย้งของคนในชาติได้ และกอบกู้เศรษฐกิจดูจะเหลือเพียงไม่กี่คนจริงๆ
แต่เมื่อมองเฉพาะการแสวงหาอำนาจโดยขาดคุณธรรม ทำให้นึกถึงกลุ่มเนติบริกรทั้งหลาย และพวกยี้ห้อยที่สามารถเปลี่ยนไปมาได้ ตลอดเวลา เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองเท่านั้นจริงๆ