เป็ดไก่ที่รอเชือด ในเทศกาลวันไหว้เจ้า ( กู้ทู้ไม่มีการทำลายบรรยากาศหรือสิ่งผิดกฏหมาย ห้ามลบครับ )

กระทู้คำถาม
ป๋มเป็นคนจนข้างถนน หาค่ำกินเช้าของอีกวัน โหยหิวจนไร้ความรู้สึก หรือเพราะผมอาจไร้ไส้ไปแล้ว

   จากสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ไร้กำลังซื้อ  มองเห็นเพียงเเสงไฟวับวาวอยู่ปลายทางเบื้องหน้า  ( แสงไฟจากขุมนรกโลกันต์ )

  คนจนเช่นป๋ม มิอาจจะเปล่งเสียงเอื้อนเอ่ยสิ่งใดได้ คงต้องยอมรับสภาพไป   

         ทุกวันนี้เห็นยังมีคนทะเลาะ ถกเถียงแบ่งฝ่าย เป็นนักเลงคีย์บอร์ดสาดอารมณ์ใส่กันแล้ว รู้สึกเศร้าสลดใจ  

เรือลำนี้กำลังจะจมด้วยรูรั่วมากมาย ผู้คนยังทะเลาะกันอยู่  หรือพวกเราก็เป็นดั่งไก่ ที่โดนขัง เพื่อรอวันถูกเชือด ในเทศการไหว้เจ้า

ผมจะไม่ขอเอ่ยเอื่อยอะไรมาก  ในยามเศรษฐกิจย่ำแย่เช่นนี้ ไม่รู้ทำไมผมถึงมีความรู้สึก นึกถึงคุณทักษิณอย่างรุนแรง  นึกถึงตอนที่เศรษฐกิจดี

นอนหลับกินอิ่ม  

      ในรอบหลายสิบมานี้  หากจะพูดเรื่องเศรษฐกิจ มิอาจไม่ถึงคุณทักษิณ ว่าโดดเด่นมีวิสัยทัศย์เหนือใคร

     หากจะกล่าวถึงพระสงฆ์ ที่มีวิสัยทัศย์กว้างไกล  มิอาจไม่นึกถึง พระพิมลธรรม ( อาจ อาสโภ )  

   
      อนิจจาประเทศไทยเหมือนถูกสาป ให้มีการแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจกันอยู่ร่ำไป  คนตั้งใจทำงานมักถูกเพ่งเล่ง ที่สุดโดนกำจัด

     เรื่องคุณทักษิณผมจะไม่นำมากล่าว เพราะทราบกันดีอยู่แล้ว  ผมจะกล่าวถึงอีกวงการหนึ่งบ้าง


           

พระ พิมลธรรม (อาจ อาสโภ) มีนามเดิมว่า อาจ ดวงมาลา ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๖ ณ ตำบลบ้านโต้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๔ ปี ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา ทั้งทางด้านปฏิบัติและปริยัติเรื่อยมา เมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปีก็ได้ย้ายเข้ามาศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในกรุงเทพฯ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยได้พำนักอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ นั้นเอง ต่อมาท่านได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดมหาธาตุฯ โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “อาสโภ”

ท่านได้หมั่นเพียรศึกษาเรื่อยมาจนสอบได้เป็น เปรียญธรรม ๘ ประโยค และได้เป็นครูสอนประจำสำนักวัดมหาธาตุฯ เป็นเวลาถึง ๗ ปี (๒๔๖๗–๒๔๗๕) ต่อมาจึงได้ถูกส่งไปเป็นเจ้าอาวาส ณ วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อไปฟื้นฟูการงานพระพุทธศาสนาที่นั่น ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย ท่านได้ทำงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่นั่นเป็นระยะเวลาถึง ๑๖ ปี (๒๔๗๕–๒๔๙๑) ในระหว่างนั้นท่านได้สร้างผลงานด้านการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาไว้ไม่น้อย และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายประการ เป็นต้นว่า สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา เจ้าคณะตรวจการภาค แม่กองธรรมสนามหลวง และยังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสุธรรมมุนี และเลื่อนชั้นเรื่อยมาจนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านได้ย้ายกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ และได้เลื่อนสมณศักด์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้ารองสมเด็จที่ “พระพิมลธรรม” ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสนั้น ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองถึง ๔ สมัย

เหตุแห่งความขัดแย้ง

สาเหตุ ความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับพระพิมลธรรม จนท่านถึงกับต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดถอนสมณศักดิ์ ตลอดจนจับกุมคุมขังนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ท่านดำรง ตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ และสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เพราะในช่วงเวลาที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ท่านได้สร้างสรรค์งานทางด้านการศึกษา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างใหม่ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการสงฆ์ อันก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เพราะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และมีทั้งผู้ที่ริษยาในความสำเร็จและชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านอยู่ไม่น้อย งานสำคัญ ๆ ที่ท่านได้บุกเบิกไว้ในยุคนั้นมีสามประการคือ

๑.การขอพระอาจารย์ชั้นธัมมาจริยะจากประเทศพม่ามาช่วยสอนพระอภิธรรมปิฎกในเมืองไทย

๒. การส่งพระภิกษุนักเรียนพุทธศาสนบัณฑิตไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เพื่อต่อปริญญาโท และปริญญาเอก ดังที่ยังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

๓. การฟื้นฟูวิปัสสนาธุระ คือตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นที่วัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรก แล้วขยายให้กว้างขวางมากขึ้นโดยลำดับไปสู่อำเภอและจังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ

นอกจากงานสำคัญทั้งสามประการนี้แล้ว ท่านยังได้มีการทำงานด้านอื่น ๆ ที่ท้าทายความรู้สึกของคนยุคนั้นและมหาเถระสมาคมอีกไม่น้อย เช่น การไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา การเป็นประธานนำคณะพระสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคยานาพระ ไตรปิฎก ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า การนำพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่ในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย กัมพูชา อังกฤษ อินเดีย และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น และการทำงานร่วมกับองค์กรฟื้นฟูศีลธรรรมจากต่างประเทศ (Moral Rearmament : M.R.A. ) หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อว่า เอ็ม. อาร์. เอ. โดยไม่ยึดถือศาสนาไหนของใครว่าเป็นสำคัญ เป็นต้น

งานเหล่านี้เป็น สิ่งที่พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่บางท่านไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะพระมหาเถระระดับสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) และสังฆมนตรีบางท่าน เพราะท่านเหล่านั้นไม่เข้าใจและมองไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนาใน ทางใด แต่ไม่กล้าขัดขวางโดยตรง ได้แต่แสดงความเห็นคัดค้าน ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา ก่อให้เกิดเป็นพลังกดดันและความขัดแย้งที่ค่อย ๆ สะสมเพิ่มมากขึ้นภายในสังฆสมาคมชั้นสูง

สาเหตุที่สำคัญอีกประการ ที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงก็คือ ความอิจฉาริษยาในชื่อเสียงเกียรติคุณของพระพิมลธรรมที่เฟื่องฟูมากในยุคนั้น เนื่องจากงานบุกเบิกใหม่ ๆ ที่พระพิมลธรรมได้มุ่งมั่นทำขึ้นเหล่านี้ยังผลให้ชื่อเสียง เกียรติคุณของท่านขจรขจายไปไกลยังนานาประเทศ ได้รับความเชื่อถือจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า และกัมพูชา และยังได้รับเชิญเป็นรูปแรกให้เดินทางไปร่วมงานกับองค์กรทางศีลธรรมและศาสนา ระดับนานาชาติ เช่น เอ็ม. อาร์. เอ. เป็นต้น

เพื่อให้เห็นสาเหตุและ ประเด็นความขัดแย้งที่ชัดเจนขึ้น เราอาจทำได้ด้วยการย้อนพิจารณาถึงงานสำคัญ ๆ ที่พระพิมลธรรมได้บุกเบิกทำขึ้นในยุคนั้นตามลำดับดังนี้

การขอให้รัฐบาลพม่าส่งพระภิกษุจากประเทศพม่ามายังประเทศไทย

งาน ประการแรก คือ การขอพระอาจารย์ชั้นธัมมาจริยะจากประเทศพม่ามาช่วยสอนพระอภิธรรมปิฎกในเมือง ไทย ในปีพ.ศ. ๒๔๙๑ พระพิมลธรรมได้เคยปรึกษากับเอกอัครราชฑูตพม่า เพื่อขอให้ทางพม่าช่วยจัดส่งพระภิกษุ ชั้นธัมมาจริยะที่มีความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎกมายังประเทศไทย พร้อมทั้งจัดส่งพระไตรปิฎกภาษาบาลี อรรถกา และฎีกาฉบับอักษรพม่ามาให้ด้วย ทั้งนี้เพราะท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกัน เป็นอย่างมาก

ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ สภาการพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่าจึงได้จัดส่งพระภิกษุระดับบัณฑิต ชั้นธัมมาจริยะ มายังประเทศไทย ๒ รูปคือ ท่านสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ และท่านเตชินทะ ธัมมาจริยะ ธัมมกถิกะ ซึ่งท่านอาจารย์ทั้งสองนี้ได้ช่วยฝังรากฐานวิชาความรู้พระอภิธรรมปิฎกไว้ให้ อย่างดี เป็นระเบียบ เป็นหลักฐาน คือได้เขียนและแปลทำเป็นหลักสูตรไว้ให้ได้ใช้ศึกษาสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน

ใน ปี ๒๔๙๓ ทางพม่าได้จัดส่งสมณฑูต พร้อมทั้งอัญเชิญพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรพม่าพร้อมอรรถกถาและฎีกามายังประเทศไทยอีก ๓ ชุด ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ทางการคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย จึงได้จัดส่งพระสมณฑูตพร้อมทั้งพระไตรปิฎกฉบับอักษรไทย ไปเยี่ยมตอบและมอบให้ประเทศพม่าด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระพิมลธรรมได้ขอให้สภาการพุทธศาสนาสหภาพพม่า จัดส่งพระเถระฝ่ายวิปัสสนาจารย์ ให้มาสอนวิปัสสนาในเมืองไทย ๒ รูปคือ ท่านอูอาสภะ กัมมัฏฐานาจริยะ และท่านอูอินทวํสะ กัมมัฏฐานาจริยะ ซึ่งท่านพระอาจารย์ทั้งสองน ี้ก็ได้ช่วยเป็นกำลังเสริมสร้างการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานให้เจริญขึ้นใน ประเทศไทย โดยเริ่มเปิดฝึกสอนขึ้นที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ก่อนเป็นแห่งแรก และได้ดำเนินสืบเนื่องเรื่อยมาดังที่ปรากฏผลให้เห็นในปัจจุบัน

แม้ งานเหล่านี้จะปรากฏผลให้เห็นว่า ได้สร้างประโยชน์ให้กับการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่างมาก แต่เนื่องจากในยุคนั้นยังมีคนไทยและพระภิกษุอีกไม่น้อยที่ยังมีอคติต่อพม่า จึงเป็นไปได้ว่างานที่พระพิมลธรรมได้ริเริ่มขึ้นนี้ คงมีฆราวาสและพระเถระหลายรูปที่นึกค้านไม่เห็นด้วย แต่ไม่กล้าออกมาต่อต้านขัดขวางโดยตรงในตอนนั้น

การส่งพระภิกษุไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ

งาน ประการที่สอง คือ การส่งพระภิกษุนักเรียนพุทธศาสนบัณฑิตไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เมื่อพระพิมลธรรมได้ประกาศถึงความตั้งใจในการนี้ออกไปในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ปรากฏว่ามีเสียงคัดค้านอย่างหนักหน่วง เพราะเป็นงานใหม่ที่ผู้บริหารคณะสงฆ์ไทยไม่เคยคิดมาก่อน และมองไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ได้อย่างไร แต่พระพิมลธรรมยังคงยืนยันในเจตนาเดิมต่อคณะสังฆมนตรี เพราะเห็นว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อการศาสนา และยังอาจได้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนิกในประเทศต่าง ๆ อีกด้วย (แม้จะมีผู้พบในภายหลังว่า การส่งพระเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศจะให้ทั้งคุณและโทษไม่ยิ่งหย่อนไป กว่ากัน แต่ข้าพเจ้าไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดไว้ ณ ที่นี้ หากท่านสนใจประเด็นดังกล่าวสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ความเข้าใจในเรื่องพระรัตนตรัย จากมุมมองของ ส.ศิวรักษ์ –ผู้เขียน)

เมื่อ พระพิมลธรรมซึ่งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีในขณะนั้นได้แสดงเจตจำนง และแจ้งเรื่องไปว่า จะเดินทางไปส่งพระภิกษุสามเณรไปศึกษาวิชาพระพุทธศาสนายังประเทศพม่า อธิบดีกรมการศาสนา (นายบุญช่วย สมพงศ์) กับท่านสังมนตรีในสมัยนั้นต่างพากันคัดค้านโดยอ้างเหตุผลหลายประการ อาทิเช่น

“ประเทศพม่าเพิ่งหลุดจากความเป็นทาสของอังกฤษมาไม่นาน (คือเมื่อ ๔ มกราคม ๒๔๙๑) ส่วนประเทศไทยมีเอกราชสมบูรณ์เป็นประเทศอิสระมาเป็นเวลานาน ตามรูปการณ์นี้แสดงว่า สถาบันของประเทศพม่าย่อมต่ำกว่าของประเทศไทย ไม่ควรไปศึกษาในประเทศที่ต่ำกว่า” ๑

เหตุผลอีกประการที่นำมาอ้างก็ คือ “พระพุทธศาสนาของประเทศไทย มีค่าสูงกว่าพระพุทธศาสนาของประเทศใดในโลก ไม่มีชาติใดสู้ได้ การนำนักศึกษาของเราไปศึกษาพระพุทธศาสนาของเขา จึงไม่เป็นการสมควร แต่ควรให้คนอื่นมาศึกษาในประเทศของเราจึงจะถูก ข้อสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การที่ท่านเจ้าคุณสังฆมนตรีนำพระภิกษุไปศึกษาในประเทศพม่าคราวนี้ จะเป็นการเสียสถาบันของประเทศ...” ๒

พระพิมลธรรมมิได้ต่อรองเป็น ทำนองหักล้างข้ออ้างของอธิบดี กรมการศาสนามากนัก ท่านปรารภเพียงแต่ว่า การเดินทางในครั้งนี้ได้รับความเห็นชอบจากกรรมสัมปาทิก ของสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพร้อมกันแล้ว และได้เตรียมการทุกอย่าง พร้อมทั้งติดต่อเป็นการส่วนตัวกับผู้รู้จักในประเทศพม่า โดยการช่วยเหลือของอุปฑูตพม่าไว้พร้อมแล้ว จึงยากที่จะระงับการเดินทางได้ และท่านยังได้ยืนยันการเดินทางต่ออธิบดีกรมการศาสนาเป็นครั้งสุดท้ายว่า การเดินทางครั้งนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของตำแหน่งและทางราชการแต่อย่างใด

ครั้นเมื่อพระพิมล ธรรมได้นำพระภิกษุที่จะเดินทางไปศึกษาต่อ ไปกราบลาท่านสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) เพื่อรับโอวาทและอนุโมทนา แต่แทนที่ท่านสังฆนายกจะให้โอวาทอันไพเราะ ท่านกลับแสดงข้อขัดแย้งที่ท่านมีอยู่ออกมาให้พระหนุ่มที่จะเดินทางไปศึกษา ต่อได้ฟังว่า “ท่านพิมลธรรมเอ๋ย ท่านจะเอาดีไปถึงไหน การพระศาสนาในเมืองไทยเราดีที่สุดอยู่แล้ว” ๓

แต่กระนั้นการที่พระ พิมลธรรมนำพระภิกษุไปศึกษาต่อยังประเทศ พม่านี้ก็ประสบความสำเร็จ และได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่และรัฐบาลพม่าเป็นอย่างดี และในกาลต่อมา ท่านยังได้ขยายขอบเขตในการส่งพระภิกษุไปศึกษาต่อไปยังประเทศอินเดีย ที่สถาบันนวนาลันทา และประเทศศรีลังกา ที่สถาบันธรรมฑูตวิทยาลัย เหล่านี้เป็นต้น นับว่าเป็นการทำงานชนิดท้าทายความคิดของสงฆ์และฆราวาสในยุคนั้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีการส่งภิกษุไปศึกษาต่อยังต่างประเทศที่พระพิมลธรรมได้วางรากฐาน ไว้ในสมัยนั้น ก็ยังคงดำเนินการสืบเนื่องมาจนปัจจุบันนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่