เครื่องมือลมที่ใช้ ต้องใช้ปั๊มลมขนาดไหนกัน มาดูคำตอบกันคะ ....
ปกติ การวัดความสามารถการใช้ปริมาณลมจริงๆที่ถูกปั๊มลมบีบอัดและส่งออกไปยังท่อลมหรือถังลม
มีหน่วยวัดเป็นลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM or Cubic feet per minute) และลิตรต่อนาที (L/min or litre per minute)
หรือลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min or cubic metre per minute) เหมือนหน่วยวัดอัตราการไหลของของเหลว
สูตรคำนวณ จึงมีดังนี้
วิธีการคำนวณหาปริมาณการใช้ลม
1 CFM = 28.3L/min
ค่า CFM x 28.3 = .…………
อาจจะดูตัวเลขแล้ว งงสักหน่อย เรามาดูตัวอย่างของจริงเวลา คำนวนการใช้งานกันเลยคะ
ตัวอย่าง 1 การใช้ปั๊มลม 1ตัวกับเครื่องมือลมจำนวน 1ตัว
ชุดบล็อกลม KUKEN½” KW-19HP ปริมาณการใช้ลมเท่ากับ 14.3CFM. (ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
= 14.3 * 28.3
= 404.69 L/min
ดังนั้น ปั๊มลมที่ควรเลือกใช้กับ ชุดบล็อกลม KUKEN½” KW-19HP คือ ปั๊มที่สามารถทำลมได้ตั้งแต่ 405 L/min ขั้นไปคะ
***การคำนวณควรคิดลมเพิ่มเติมอย่างน้อย 35% นะคะ
(ในตัวอย่างที่ 1 ดูรูปสเป็คปั๊มลมที่แนบท้ายสุด เราจะทราบว่า ควรเลือกใช้ปั๊มลมสายพาน PUMA ตั้งแต่รุ่น PP-23 ขึ้นไป )
ตัวอย่าง 2 การใช้ปั๊มลม 1ตัวกับเครื่องมือลมจำนวนหลายตัว
- เครื่องย้ำรีเวท PUMA AT-6135 ( ปริมาณใช้ลม 0.03 CFM >> 0.85L/min) ใช้งาน 2 ตัว
- ไขควงลม PUMA AT-4060K ( ปริมาณใช้ลม 6 CFM >> 170L/min) ใช้งาน 3 ตัว
0.85 * 2 = 1.7 L/min
170 * 3 = 510 L/min
รวมปริมาณการใช้ลมทั้งหมด 510+1.7 = 512 L/min
ดังนั้น การเลือกปั๊มลมที่ควรเลือก ปั๊มที่สามารถทำลมได้ตั้งแต่ 512 L/min
***การคำนวณควรคิดลมเพิ่มเติมอย่างน้อย 35%
(ในตัวอย่างที่ 2 ดูรูปสเป็คปั๊มลมที่แนบท้ายสุด เราจะทราบว่า ควรเลือกใช้ปั๊มลมสายพาน PUMA ตั้งแต่รุ่น PP-35A ขึ้นไป )
ข้อแนะนำ ควรเลือกปั๊มลมที่มีความสามารถในการทำลมมากกว่าจำนวนที่คำนวณได้ เพื่อเป็นการป้องกันการทำงานหนักของปั๊มลม
และเพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของปั๊มลมเนื่องจากค่าที่คำนวณที่ได้เป็นค่าโดยประมาณ/ใกล้เคียง***
***ตัวอย่างการคำนวณยึดตามปริมาณการใช้ลมเป็นหลัก ยังไม่ได้คำนวนโดยคำนึงถึงแรงดันนะคะ
หากสนใจข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม สามารถ follow เราได้ที่
https://www.facebook.com/pages/Chotiwat-Hardware-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%A1/287039174641967
พบกันใหม่ครั้งหน้ากับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่างต่างๆ ในหัวข้ออื่นๆกันคะ
TOOLs TIPS ตอนที่ 2 เครื่องมือลมที่ใช้ ต้องใช้ปั๊มลมขนาดไหนกัน??
ปกติ การวัดความสามารถการใช้ปริมาณลมจริงๆที่ถูกปั๊มลมบีบอัดและส่งออกไปยังท่อลมหรือถังลม
มีหน่วยวัดเป็นลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM or Cubic feet per minute) และลิตรต่อนาที (L/min or litre per minute)
หรือลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min or cubic metre per minute) เหมือนหน่วยวัดอัตราการไหลของของเหลว
สูตรคำนวณ จึงมีดังนี้
วิธีการคำนวณหาปริมาณการใช้ลม
1 CFM = 28.3L/min
ค่า CFM x 28.3 = .…………
อาจจะดูตัวเลขแล้ว งงสักหน่อย เรามาดูตัวอย่างของจริงเวลา คำนวนการใช้งานกันเลยคะ
ตัวอย่าง 1 การใช้ปั๊มลม 1ตัวกับเครื่องมือลมจำนวน 1ตัว
ชุดบล็อกลม KUKEN½” KW-19HP ปริมาณการใช้ลมเท่ากับ 14.3CFM. (ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
= 14.3 * 28.3
= 404.69 L/min
ดังนั้น ปั๊มลมที่ควรเลือกใช้กับ ชุดบล็อกลม KUKEN½” KW-19HP คือ ปั๊มที่สามารถทำลมได้ตั้งแต่ 405 L/min ขั้นไปคะ
***การคำนวณควรคิดลมเพิ่มเติมอย่างน้อย 35% นะคะ
(ในตัวอย่างที่ 1 ดูรูปสเป็คปั๊มลมที่แนบท้ายสุด เราจะทราบว่า ควรเลือกใช้ปั๊มลมสายพาน PUMA ตั้งแต่รุ่น PP-23 ขึ้นไป )
ตัวอย่าง 2 การใช้ปั๊มลม 1ตัวกับเครื่องมือลมจำนวนหลายตัว
- เครื่องย้ำรีเวท PUMA AT-6135 ( ปริมาณใช้ลม 0.03 CFM >> 0.85L/min) ใช้งาน 2 ตัว
- ไขควงลม PUMA AT-4060K ( ปริมาณใช้ลม 6 CFM >> 170L/min) ใช้งาน 3 ตัว
0.85 * 2 = 1.7 L/min
170 * 3 = 510 L/min
รวมปริมาณการใช้ลมทั้งหมด 510+1.7 = 512 L/min
ดังนั้น การเลือกปั๊มลมที่ควรเลือก ปั๊มที่สามารถทำลมได้ตั้งแต่ 512 L/min
***การคำนวณควรคิดลมเพิ่มเติมอย่างน้อย 35%
(ในตัวอย่างที่ 2 ดูรูปสเป็คปั๊มลมที่แนบท้ายสุด เราจะทราบว่า ควรเลือกใช้ปั๊มลมสายพาน PUMA ตั้งแต่รุ่น PP-35A ขึ้นไป )
ข้อแนะนำ ควรเลือกปั๊มลมที่มีความสามารถในการทำลมมากกว่าจำนวนที่คำนวณได้ เพื่อเป็นการป้องกันการทำงานหนักของปั๊มลม
และเพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของปั๊มลมเนื่องจากค่าที่คำนวณที่ได้เป็นค่าโดยประมาณ/ใกล้เคียง***
***ตัวอย่างการคำนวณยึดตามปริมาณการใช้ลมเป็นหลัก ยังไม่ได้คำนวนโดยคำนึงถึงแรงดันนะคะ
หากสนใจข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม สามารถ follow เราได้ที่
https://www.facebook.com/pages/Chotiwat-Hardware-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%A1/287039174641967
พบกันใหม่ครั้งหน้ากับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่างต่างๆ ในหัวข้ออื่นๆกันคะ