คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
.
[๑๕๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าอุบาสก?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรมหาบพิตร บุคคลผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่า เป็นอุบาสก.
[๑๕๙๑] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล?
พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทาน
เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท เป็นผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
บางส่วนจาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
มหานามสูตร สมบัติของอุบาสก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=19&A=9403
--------------------------
[๑๕๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าอุบาสก?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรมหาบพิตร บุคคลผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่า เป็นอุบาสก.
[๑๕๙๑] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล?
พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทาน
เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท เป็นผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
บางส่วนจาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
มหานามสูตร สมบัติของอุบาสก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=19&A=9403
--------------------------
แสดงความคิดเห็น
☆ บาลีวันละคำ ... มํสวิรติ - คำที่ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก☆
คำนี้ประสมขึ้นจากศัพท์ว่า มํส (= เนื้อสัตว์) + วิรติ ( = การงดเว้น)
เขียนในภาษาไทยว่า "มังสวิรัติ" (มัง สะ วิ รัด)
มังสวิรัติ หมายถึงการงดเว้นกินเนื้อสัตว์ และเป็นคำเรียกอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ มีแต่พืชผักว่า อาหารมังสวิรัติ
คำว่า "มํสวิรติ" ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก เป็นคำที่บัญญัติขึ้นใหม่ เกิดจากคติความเชื่อว่า กินเนื้อสัตว์เป็นบาป
แล้วเพิ่มเหตุผลอีกว่า กินเนื้อสัตว์มีโทษต่อร่างกาย กินพืชผักมีผลดีต่อร่างกาย
พระพุทธศาสนาเถรวาทไม่มีข้อห้ามกินเนื้อสัตว์ แต่มีข้อจำกัด ๓ ข้อคือ1
(๑) ไม่เห็น - (๒) ไม่รู้ - (๓) ไม่ระแวง - ว่า "สัตว์นั้นถูกฆ่าสำหรับตนโดยเฉพาะ"
ข้อคิด
มังสวิรัติ ดี, แต่การรังเกียจหรือดูถูกดูหมิ่นคนที่กินเนื้อสัตว์ ไม่ดี
บาลีวันละคำ
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
-----------------------
1อ้างอิง ชีวกสูตร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=13&A=950
ศึกษาเพิ่มเติม เนื้อต้องห้าม ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=1372&Z=1508&pagebreak=0