.
คุณไพบูลย์ นิติตะวัน (ขออนุญาตเอ่ยนาม) ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์พระพุทธศาสนา
สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ออกมาแถลงว่า
๑ ควรจะปฏิรูป มจร. เพราะ -
๒ มจร.สอน/เรียนวิชาทางโลกมากเกินไป และ -
๓ พระเณรอยู่ฟรี กินฟรี เรียนฟรี
สรุปเอาแต่แก่นๆ ว่าอย่างนั้น
ก่อนหน้านี้ท่านผู้นี้ก็ออกมาแถลงว่าควรจะเก็บภาษีพระ
ตอนนั้นมีผู้แก้แทนว่าไม่ใช่ความคิดของท่าน เป็นความคิดของสมาชิกสภาปฏิรูปฯ บางท่าน
แต่การที่ท่านเอาความคิดนั้นมาแถลงย่อมมีผลเท่ากับเป็นความคิดของท่านเองนั่นเอง
ตอนนั้นก็มีผู้ออกมาต่อต้านทีหนึ่งแล้ว
เรื่องปฏิรูป มจร.คราวนี้ก็มีผู้ออกมาต่อต้านอย่างหนัก-โดยเฉพาะชาว มจร.ทั้งหลาย
-----------
มจร.ย่อมาจาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เรียกกันสั้นๆ ว่า “มหาจุฬาฯ”
อีกชื่อหนึ่งที่ควรทราบไว้ด้วย คือ
มมร.ย่อมาจาก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เรียกกันสั้นๆ ว่า “มหามกุฏฯ”
ทั้งสองแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทย
มจร. ดำเนินการโดยคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
มมร.ดำเนินการโดยคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต
แต่เดิมสถาบันทั้งสองนี้ดำเนินการโดยคณะสงฆ์เพียงลำพัง รัฐบาลไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย
พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่รัฐบาลไม่ได้รับรอง ถึงกับมีคำเสียดสีว่าปริญญาจากสถาบันทั้งสองนี้เป็น “ปริญญาเถื่อน”
ต่อมารัฐบาลจึงออกกฎหมายรับรองปริญญา แต่คงปล่อยให้คณะสงฆ์ดำเนินการบริหารกันไปเองเช่นเดิม
ปัจจุบันสถาบันทั้งสองเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ได้รับงบประมาณจากรัฐ และบริหารจัดการตามระบบมหาวิทยาลัยของรัฐไปเรียบร้อยแล้ว
แต่คณะผู้บริหารยังคงเป็นพระสงฆ์อยู่ (เป็นส่วนใหญ่)
------------
ผมขอทำความเข้าใจตามคำกล่าวของคุณไพบูลย์จากข้างล่างขึ้นไปดังนี้ -
๓ พระเณรอยู่ฟรี กินฟรี เรียนฟรี
ข้อนี้ไม่จริงอย่างยิ่ง พระเณรที่เรียน มจร. ไม่ฟรีครับ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเหมือนกับที่ชาวบ้านเรียนในมหาวิทยาลัยทั่วไป
คุณไพบูลย์อาจพูดในภาพรวมที่เห็นว่า พระเณรบวชเข้ามาแล้วบ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ คือเห็นไปว่าพระเณรเป็นพวกได้รับบริการฟรี
จึงพูดเพลินไปว่าเรียน มจร.ก็ฟรีด้วย
พูดถึงพระเณรเป็นพวกบ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ ควรรู้ข้อเท็จจริงด้วยว่า พระเณรในกรุงเทพฯ นั้นเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก
ผมเคยเป็นพระอยู่ในกรุงเทพฯ ๒ ปี ออกบิณฑบาตแต่ละวันได้อาหารไม่พอฉัน ได้พอมื้อเช้า แต่มื้อกลางวันต้องซื้อฉัน
และถ้าไม่มีเงินก็ต้องยอมอด-นี่เป็นเรื่องจริงครับ
สมัยนี้อาหารบิณฑบาตอาจสมบูรณ์ขึ้น แต่ขอยืนยันว่าในย่านหลายๆ แห่งพระเณรในกรุงเทพฯ ยังฝืดเคืองอยู่
และพระเณรที่เรียน มจร.นั้นส่วนใหญ่อยู่อย่างฝืดเคือง แต่ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ค่อยกังวลกับเรื่องเป็นอยู่ ท่านกังวลกับเรื่องเรียนมากกว่า
เรื่องที่อยู่นั้น ถึงจะไม่ต้องเช่า แต่ก็ไม่สุขสบายมากนัก ปัญหาเรื่องพระเณรที่เข้ามาเรียน มจร. หาวัดอยู่ไม่ได้อาจมีน้อยลงไม่เหมือนสมัยก่อน
แต่ยืนยันได้ว่ากุฏิที่อยู่ส่วนมากพอเป็น “ที่ซุกหัวนอน” เท่านั้น บางวัด (อาจจะหลายวัดหรือแทบทุกวัด) พระเณรต้องเสียค่าน้ำค่าไฟเองด้วยครับ
โปรดเข้าใจให้ตรงกับข้อเท็จจริงนะครับ
๒ มจร.สอน/เรียนวิชาทางโลกมากเกินไป
ข้อนี้ต้องไปดูหลักสูตร พูดกันลอยๆ ไม่ได้
ผมไม่มีหลักสูตรของ มจร.อยู่ในมือ เพราะฉะนั้นไม่ขอตอบ ยกให้ตัวหลักสูตรเป็นผู้ตอบเอง
แต่ไม่ว่าพระเณรที่เรียน มจร. จะเรียนอะไรมากเรียนอะไรน้อยก็ตาม สิ่งที่ควรเข้าใจให้ถูกต้องก็คือ
พระเณรที่เรียน มจร.ต้องแบกรับภารกิจยกกำลังสอง
หมายความว่า ผู้ที่บวชเข้ามาแล้ว จะเรียน มจร.หรือไม่เรียนก็ตาม มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัยและจารีตประเพณีของสงฆ์
เช่นต้องปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของสงฆ์ มีทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็นเป็นต้น ถ้าในพรรษาก็เพิ่มสวดมนต์เวลาตีสี่ขึ้นอีกรอบหนึ่ง
วัดต่างๆ จะมีระบบตรวจเช็ครายชื่อ พระภิกษุสามเณรรูปไหนขาดทำวัตรสวดมนต์ จะถูกเพ่งเล็ง อาจถึงกับถูกไล่ออกจากวัดได้ง่ายๆ
นอกจากนี้ยังต้องช่วยทำกิจกรรมต่างๆ ของวัดตามที่ได้รับมอบหมาย ไม่จำต้องกล่าวถึงการปฏิบัติตนอยู่ในกรอบพระธรรมวินัยที่นับว่า
เป็นเนื้อเป็นตัวของพระเณรอันจะต้องระวังรักษาอย่างเคร่งครัดตลอดเวลา
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือการศึกษาทางธรรม เป็นการศึกษาโดยการลงมือฝึกหัดขัดเกลาโดยตรงที่พระเณรต้องทำตลอดเวลาอยู่แล้ว
แต่พระเณรรูปไหนไปเรียน มจร.ด้วย นั่นหมายความว่าท่านจะต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นอีกเท่าหนึ่ง
นั่นคือ กิจวัตรของสงฆ์ดังที่กล่าวมานั้นก็ต้องไม่บกพร่อง การศึกษาใน มจร. ก็ต้องเอาตัวให้รอด
สมัยที่การศึกษาใน มจร.และ มมร. ยังไม่เป็นที่ยอมรับของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ เจ้าอาวาสหลายวัดประกาศว่า
พระเณรในวัดจะไปเรียนมหาจุฬาฯ มหามกุฏฯ ก็เชิญ แต่ถ้าขาดทำวัตรสวดมนต์เกินกำหนดเมื่อไรก็เชิญออกจากวัดไปด้วยเลย
ลองนึกดูเถิดว่า พระเณรที่เรียนมหาวิทยาลัยสงฆ์จะต้องเหน็ดเหนื่อยสาหัสสักปานไร เลิกเรียนแต่ละวันต้องรีบกลับวัดให้ทันเวลาทำวัตรสวดมนต์
ต้องทำการบ้าน (เป็นที่รู้กันว่าเรียน มจร./มมร. การบ้านท่วมหัวแค่ไหน) กว่าจะได้จำวัดก็ดึกดื่น ถ้าในพรรษาก็ต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่
ทำวัตรสวดมนต์เช้ามืด พอสว่างก็ออกบิณฑบาตเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตัวเอง จากนั้นก็เข้าวงรอบกิจประจำวันของสงฆ์ต่อไปอีก
สรุปว่า ระบบของวัด บังคับให้พระเณรต้องเรียนทางธรรมโดยการปฏิบัติจริงอยู่แล้ว จึงไม่ต้องห่วงว่าท่านจะไปเรียนทางโลกมากขึ้น
ขอเพียงให้แต่ละวัดกวดขันระบบของวัดให้จริงจังเถิด
๑ ควรจะปฏิรูป มจร.
ข้อนี้เป็นข้อเดียวที่ผมเห็นด้วยกับคุณไพบูลย์ แต่-ความหมายของคำว่า “ปฏิรูป” ของเราอาจจะไม่ตรงกัน
“ปฏิรูป” ของผมหมายความว่า “กลับมาอยู่ในรูปเดิม”
มจร.นั้น ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ท่านสถาปนาขึ้นเพื่อให้พระเณรเล่าเรียน “พระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง”
จะเข้าใจเจตนาข้อนี้ได้ต้องถอยไปมองที่ข้อเท็จจริง
ข้อเท็จจริงคือ ชาวบ้านที่มีการศึกษาหน่อยมองพระเณรว่าเป็นพวกไม่ทันโลก
พูดอย่างไม่เกรงใจก็คือ-เป็นพวกโง่ๆ เซ่อๆ
ไปสอนธรรมะอะไร เขาก็หัวเราะเยาะเอา
ถึงกับมีเรื่องโจ๊กเย้ยหยันว่า-ท่านมหารูปหนึ่งสึกไปสมัครงาน คนรับสมัครพอรู้ว่าจบมาทางภาษาบาลีก็แนะนำว่า
“ท่านควรไปสมัครที่เมืองพาราณสีนะครับ”
รัชกาลที่ ๕ ท่านต้องการให้พระเณรมีความรู้-ทันชาวบ้าน จึงตั้ง มจร.ขึ้นมา
ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ไปพูดที่แผนกธรรมวิจัยของ มจร.ว่า
“วิชาชั้นสูง” เปรียบเหมือนรางรถสำหรับให้รถบรรทุกธรรมะเล่นไปถึงชาวโลกได้
ปฏิรูป มจร. ในความหมายของผมก็คือ มจร.ต้องกลับมาสู่รูปเดิม คือ -
๑ เรียนพระไตรปิฎกให้มีความเป็นเลิศทางพระพุทธศาสนาทั้งทางวิชาการและการปฏิบัติ
๒ แล้วให้พระเณรเรียนวิทยาการทางโลกเพื่อใช้เป็นเครื่องมือนำเอาพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่สู่ชาวโลกต่อไป
นี่คือเจตนารมณ์ของรัชกาลที่ ๕ ที่ตั้ง มจร. ขึ้นมา
มจร.ต้องยืนอยู่ในแนวทางนี้ให้ได้ ให้มั่นคง และทำให้เป็นผลสำเร็จให้จงได้
ลองสำรวจตัวเองว่าทุกวันนี้ มจร.ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางพระพุทธศาสนาได้หรือเปล่า
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุกวันนี้จะมีผู้มองว่า มจร. คือโอกาสทองของผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในสังคม
แต่ มจร. ก็ควรทำให้ได้มากกว่าการผลิตบัณฑิตธรรมดาๆ เหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไป แต่ควรผลิตบัณฑิตที่มี “อัตลักษณ์” ของมหาวิทยาลัยสงฆ์
นั่นคือ ต้องทำให้โลกทั้งโลกพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า บัณฑิตที่จบไปจาก มจร. เป็น
“บุคคลที่ทำชั่วได้ยากอย่างยิ่ง”
“บุคคลที่ทำชั่วได้ยากอย่างยิ่ง” เป็นบุคคลที่โลกกำลังขาดแคลนอย่างยิ่ง
ฟังดูเป็นอุดมการณ์
แต่มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องมีอุดมการณ์ของตัวเอง และพยายามไปให้ถึงอุดมการณ์นั้น
มจร. ควรมีอุดมการณ์ดังที่ว่ามานั้น แล้วปฏิรูปตัวเองให้บรรลุถึงเป้าหมายตามอุดมการณ์นั้นให้จงได้
ผลิต “บุคคลที่ทำชั่วได้ยากอย่างยิ่ง” ซึ่งเป็นบุคคลที่โลกกำลังขาดแคลนอย่างยิ่ง
เมื่อใด มจร. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติเช่นว่านั้นออกสู่สังคมได้เต็มภาคภูมิ
เมื่อนั้นก็เท่ากับ go inter ไปแล้วในตัว
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๘
-----------------------
หมายเหตุ
ท่านทองย้อย ไม่ได้กล่าวถึงหลักสูตรใน มจร. เจ้าของกระทู้จึงนำบทความของผู้ที่มีความรู้เรื่องหลักสูตร มาต่อท้ายดังข้างล่างนี้
〰 ปฏิรูป มจร. go inter (นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย) และ วาจาของประจักษ์พยาน (คุณณัฐนันท์ สุดประเสริฐ) 〰
คุณไพบูลย์ นิติตะวัน (ขออนุญาตเอ่ยนาม) ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์พระพุทธศาสนา
สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ออกมาแถลงว่า
๑ ควรจะปฏิรูป มจร. เพราะ -
๒ มจร.สอน/เรียนวิชาทางโลกมากเกินไป และ -
๓ พระเณรอยู่ฟรี กินฟรี เรียนฟรี
สรุปเอาแต่แก่นๆ ว่าอย่างนั้น
ก่อนหน้านี้ท่านผู้นี้ก็ออกมาแถลงว่าควรจะเก็บภาษีพระ
ตอนนั้นมีผู้แก้แทนว่าไม่ใช่ความคิดของท่าน เป็นความคิดของสมาชิกสภาปฏิรูปฯ บางท่าน
แต่การที่ท่านเอาความคิดนั้นมาแถลงย่อมมีผลเท่ากับเป็นความคิดของท่านเองนั่นเอง
ตอนนั้นก็มีผู้ออกมาต่อต้านทีหนึ่งแล้ว
เรื่องปฏิรูป มจร.คราวนี้ก็มีผู้ออกมาต่อต้านอย่างหนัก-โดยเฉพาะชาว มจร.ทั้งหลาย
-----------
มจร.ย่อมาจาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เรียกกันสั้นๆ ว่า “มหาจุฬาฯ”
อีกชื่อหนึ่งที่ควรทราบไว้ด้วย คือ มมร.ย่อมาจาก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เรียกกันสั้นๆ ว่า “มหามกุฏฯ”
ทั้งสองแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทย
มจร. ดำเนินการโดยคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
มมร.ดำเนินการโดยคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต
แต่เดิมสถาบันทั้งสองนี้ดำเนินการโดยคณะสงฆ์เพียงลำพัง รัฐบาลไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย
พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่รัฐบาลไม่ได้รับรอง ถึงกับมีคำเสียดสีว่าปริญญาจากสถาบันทั้งสองนี้เป็น “ปริญญาเถื่อน”
ต่อมารัฐบาลจึงออกกฎหมายรับรองปริญญา แต่คงปล่อยให้คณะสงฆ์ดำเนินการบริหารกันไปเองเช่นเดิม
ปัจจุบันสถาบันทั้งสองเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ได้รับงบประมาณจากรัฐ และบริหารจัดการตามระบบมหาวิทยาลัยของรัฐไปเรียบร้อยแล้ว
แต่คณะผู้บริหารยังคงเป็นพระสงฆ์อยู่ (เป็นส่วนใหญ่)
------------
ผมขอทำความเข้าใจตามคำกล่าวของคุณไพบูลย์จากข้างล่างขึ้นไปดังนี้ -
๓ พระเณรอยู่ฟรี กินฟรี เรียนฟรี
ข้อนี้ไม่จริงอย่างยิ่ง พระเณรที่เรียน มจร. ไม่ฟรีครับ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเหมือนกับที่ชาวบ้านเรียนในมหาวิทยาลัยทั่วไป
คุณไพบูลย์อาจพูดในภาพรวมที่เห็นว่า พระเณรบวชเข้ามาแล้วบ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ คือเห็นไปว่าพระเณรเป็นพวกได้รับบริการฟรี
จึงพูดเพลินไปว่าเรียน มจร.ก็ฟรีด้วย
พูดถึงพระเณรเป็นพวกบ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ ควรรู้ข้อเท็จจริงด้วยว่า พระเณรในกรุงเทพฯ นั้นเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก
ผมเคยเป็นพระอยู่ในกรุงเทพฯ ๒ ปี ออกบิณฑบาตแต่ละวันได้อาหารไม่พอฉัน ได้พอมื้อเช้า แต่มื้อกลางวันต้องซื้อฉัน
และถ้าไม่มีเงินก็ต้องยอมอด-นี่เป็นเรื่องจริงครับ
สมัยนี้อาหารบิณฑบาตอาจสมบูรณ์ขึ้น แต่ขอยืนยันว่าในย่านหลายๆ แห่งพระเณรในกรุงเทพฯ ยังฝืดเคืองอยู่
และพระเณรที่เรียน มจร.นั้นส่วนใหญ่อยู่อย่างฝืดเคือง แต่ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ค่อยกังวลกับเรื่องเป็นอยู่ ท่านกังวลกับเรื่องเรียนมากกว่า
เรื่องที่อยู่นั้น ถึงจะไม่ต้องเช่า แต่ก็ไม่สุขสบายมากนัก ปัญหาเรื่องพระเณรที่เข้ามาเรียน มจร. หาวัดอยู่ไม่ได้อาจมีน้อยลงไม่เหมือนสมัยก่อน
แต่ยืนยันได้ว่ากุฏิที่อยู่ส่วนมากพอเป็น “ที่ซุกหัวนอน” เท่านั้น บางวัด (อาจจะหลายวัดหรือแทบทุกวัด) พระเณรต้องเสียค่าน้ำค่าไฟเองด้วยครับ
โปรดเข้าใจให้ตรงกับข้อเท็จจริงนะครับ
๒ มจร.สอน/เรียนวิชาทางโลกมากเกินไป
ข้อนี้ต้องไปดูหลักสูตร พูดกันลอยๆ ไม่ได้
ผมไม่มีหลักสูตรของ มจร.อยู่ในมือ เพราะฉะนั้นไม่ขอตอบ ยกให้ตัวหลักสูตรเป็นผู้ตอบเอง
แต่ไม่ว่าพระเณรที่เรียน มจร. จะเรียนอะไรมากเรียนอะไรน้อยก็ตาม สิ่งที่ควรเข้าใจให้ถูกต้องก็คือ
พระเณรที่เรียน มจร.ต้องแบกรับภารกิจยกกำลังสอง
หมายความว่า ผู้ที่บวชเข้ามาแล้ว จะเรียน มจร.หรือไม่เรียนก็ตาม มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัยและจารีตประเพณีของสงฆ์
เช่นต้องปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของสงฆ์ มีทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็นเป็นต้น ถ้าในพรรษาก็เพิ่มสวดมนต์เวลาตีสี่ขึ้นอีกรอบหนึ่ง
วัดต่างๆ จะมีระบบตรวจเช็ครายชื่อ พระภิกษุสามเณรรูปไหนขาดทำวัตรสวดมนต์ จะถูกเพ่งเล็ง อาจถึงกับถูกไล่ออกจากวัดได้ง่ายๆ
นอกจากนี้ยังต้องช่วยทำกิจกรรมต่างๆ ของวัดตามที่ได้รับมอบหมาย ไม่จำต้องกล่าวถึงการปฏิบัติตนอยู่ในกรอบพระธรรมวินัยที่นับว่า
เป็นเนื้อเป็นตัวของพระเณรอันจะต้องระวังรักษาอย่างเคร่งครัดตลอดเวลา
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือการศึกษาทางธรรม เป็นการศึกษาโดยการลงมือฝึกหัดขัดเกลาโดยตรงที่พระเณรต้องทำตลอดเวลาอยู่แล้ว
แต่พระเณรรูปไหนไปเรียน มจร.ด้วย นั่นหมายความว่าท่านจะต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นอีกเท่าหนึ่ง
นั่นคือ กิจวัตรของสงฆ์ดังที่กล่าวมานั้นก็ต้องไม่บกพร่อง การศึกษาใน มจร. ก็ต้องเอาตัวให้รอด
สมัยที่การศึกษาใน มจร.และ มมร. ยังไม่เป็นที่ยอมรับของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ เจ้าอาวาสหลายวัดประกาศว่า
พระเณรในวัดจะไปเรียนมหาจุฬาฯ มหามกุฏฯ ก็เชิญ แต่ถ้าขาดทำวัตรสวดมนต์เกินกำหนดเมื่อไรก็เชิญออกจากวัดไปด้วยเลย
ลองนึกดูเถิดว่า พระเณรที่เรียนมหาวิทยาลัยสงฆ์จะต้องเหน็ดเหนื่อยสาหัสสักปานไร เลิกเรียนแต่ละวันต้องรีบกลับวัดให้ทันเวลาทำวัตรสวดมนต์
ต้องทำการบ้าน (เป็นที่รู้กันว่าเรียน มจร./มมร. การบ้านท่วมหัวแค่ไหน) กว่าจะได้จำวัดก็ดึกดื่น ถ้าในพรรษาก็ต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่
ทำวัตรสวดมนต์เช้ามืด พอสว่างก็ออกบิณฑบาตเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตัวเอง จากนั้นก็เข้าวงรอบกิจประจำวันของสงฆ์ต่อไปอีก
สรุปว่า ระบบของวัด บังคับให้พระเณรต้องเรียนทางธรรมโดยการปฏิบัติจริงอยู่แล้ว จึงไม่ต้องห่วงว่าท่านจะไปเรียนทางโลกมากขึ้น
ขอเพียงให้แต่ละวัดกวดขันระบบของวัดให้จริงจังเถิด
๑ ควรจะปฏิรูป มจร.
ข้อนี้เป็นข้อเดียวที่ผมเห็นด้วยกับคุณไพบูลย์ แต่-ความหมายของคำว่า “ปฏิรูป” ของเราอาจจะไม่ตรงกัน
“ปฏิรูป” ของผมหมายความว่า “กลับมาอยู่ในรูปเดิม”
มจร.นั้น ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ท่านสถาปนาขึ้นเพื่อให้พระเณรเล่าเรียน “พระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง”
จะเข้าใจเจตนาข้อนี้ได้ต้องถอยไปมองที่ข้อเท็จจริง
ข้อเท็จจริงคือ ชาวบ้านที่มีการศึกษาหน่อยมองพระเณรว่าเป็นพวกไม่ทันโลก
พูดอย่างไม่เกรงใจก็คือ-เป็นพวกโง่ๆ เซ่อๆ
ไปสอนธรรมะอะไร เขาก็หัวเราะเยาะเอา
ถึงกับมีเรื่องโจ๊กเย้ยหยันว่า-ท่านมหารูปหนึ่งสึกไปสมัครงาน คนรับสมัครพอรู้ว่าจบมาทางภาษาบาลีก็แนะนำว่า
“ท่านควรไปสมัครที่เมืองพาราณสีนะครับ”
รัชกาลที่ ๕ ท่านต้องการให้พระเณรมีความรู้-ทันชาวบ้าน จึงตั้ง มจร.ขึ้นมา
ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ไปพูดที่แผนกธรรมวิจัยของ มจร.ว่า
“วิชาชั้นสูง” เปรียบเหมือนรางรถสำหรับให้รถบรรทุกธรรมะเล่นไปถึงชาวโลกได้
ปฏิรูป มจร. ในความหมายของผมก็คือ มจร.ต้องกลับมาสู่รูปเดิม คือ -
๑ เรียนพระไตรปิฎกให้มีความเป็นเลิศทางพระพุทธศาสนาทั้งทางวิชาการและการปฏิบัติ
๒ แล้วให้พระเณรเรียนวิทยาการทางโลกเพื่อใช้เป็นเครื่องมือนำเอาพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่สู่ชาวโลกต่อไป
นี่คือเจตนารมณ์ของรัชกาลที่ ๕ ที่ตั้ง มจร. ขึ้นมา
มจร.ต้องยืนอยู่ในแนวทางนี้ให้ได้ ให้มั่นคง และทำให้เป็นผลสำเร็จให้จงได้
ลองสำรวจตัวเองว่าทุกวันนี้ มจร.ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางพระพุทธศาสนาได้หรือเปล่า
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุกวันนี้จะมีผู้มองว่า มจร. คือโอกาสทองของผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในสังคม
แต่ มจร. ก็ควรทำให้ได้มากกว่าการผลิตบัณฑิตธรรมดาๆ เหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไป แต่ควรผลิตบัณฑิตที่มี “อัตลักษณ์” ของมหาวิทยาลัยสงฆ์
นั่นคือ ต้องทำให้โลกทั้งโลกพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า บัณฑิตที่จบไปจาก มจร. เป็น “บุคคลที่ทำชั่วได้ยากอย่างยิ่ง”
“บุคคลที่ทำชั่วได้ยากอย่างยิ่ง” เป็นบุคคลที่โลกกำลังขาดแคลนอย่างยิ่ง
ฟังดูเป็นอุดมการณ์
แต่มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องมีอุดมการณ์ของตัวเอง และพยายามไปให้ถึงอุดมการณ์นั้น
มจร. ควรมีอุดมการณ์ดังที่ว่ามานั้น แล้วปฏิรูปตัวเองให้บรรลุถึงเป้าหมายตามอุดมการณ์นั้นให้จงได้
ผลิต “บุคคลที่ทำชั่วได้ยากอย่างยิ่ง” ซึ่งเป็นบุคคลที่โลกกำลังขาดแคลนอย่างยิ่ง
เมื่อใด มจร. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติเช่นว่านั้นออกสู่สังคมได้เต็มภาคภูมิ
เมื่อนั้นก็เท่ากับ go inter ไปแล้วในตัว
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๘
-----------------------
หมายเหตุ
ท่านทองย้อย ไม่ได้กล่าวถึงหลักสูตรใน มจร. เจ้าของกระทู้จึงนำบทความของผู้ที่มีความรู้เรื่องหลักสูตร มาต่อท้ายดังข้างล่างนี้