ภิกษุ : ผู้จะต้องเลี้ยงชีพด้วยการขอข้าวชาวบ้าน
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเพื่อน นิสิต ลูกศิษย์เรียนภาษาบาลี ทั้งโทรศัพท์ ทั้งส่งข้อความในสื่อออนไลน์อื่น ๆ ที่มีผู้กล่าวพาดพิงหลักสูตรการเรียนการสอน และการเป็นอยู่ของพระนิสิตในมหาวิทยาลัยสงฆ์ และเชิญให้เข้าไปดูรายละเอียด “... ต้องปฏิรูป มจร เร่งด่วน เพราะเน้นสอนทางโลกมากเกินไป ไม่เรียนทางธรรมเลย... นิสิตอยู่ฟรีกินฟรีทุกอย่าง...เอาเปรียบเยาวชน” ขอเรียนตามตรงว่า ทัศนะความเห็นเช่นนี้ ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่คำพูดใหม่ และไม่ใช่ประเด็นใหม่อะไร เป็นเพียงคำพูดที่ทำให้ดูเหมือนว่า ตัวเองเป็นผู้มองสภาพการณ์กิจการพระศาสนาได้อย่างทะลุปรุโปร่ง และหวังผลให้คนชื่นชมว่า ตัวเองเป็นผู้กล้าเป็นอัศวินม้าขาวที่จะเข้ามาจัดการปฏิรูปกิจการพระศาสนา ผู้เขียนไม่ใช่นักวิพากษ์สังคม ไม่ค่อยชอบอ่านงานเขียนหรือบทวิจารณ์ทางสังคม แต่เห็นคำพูดนี้แล้วเกรงจะเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการใช้คำที่แสดงออกต่อพระสงฆ์ไปในทางไม่ถูกต้องตามหลักการ จึงอยากจะแสดงทัศนะในฐานะของผู้ถูกถาม ข้อคิดเห็นที่แสดงต่อสาธารณะในตอนที่ 1 นี้ เป็นข้อคิดเห็นในประเด็น “.... อยู่ฟรีกินฟรีทุกอย่าง เอาเปรียบเยาวชน” ซึ่งเป็นคำพูดที่เกี่ยวข้องกับตัวหลักการของพระพุทธศาสนาโดยตรง ส่วนประเด็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีหลักสูตรการเรียนการสอนทางโลกอะไรอย่างไร ไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่เป็นข้อเท็จจริงเชิงประวัติศาสตร์ และข้อเท็จจริงเชิงบริบททางสังคม ถ้าหากจะมีการพูดถึงมหาวิทยาลัยสงฆ์ ก็ควรทำความเข้าใจในตัวหลักการความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ที่พระพุทธองค์ได้บัญญัติไว้ เป็นอันดับแรก
อยู่ฟรีกินฟรีทุกอย่าง ... : อาหารบิณฑบาต กิจของสงฆ์
ทัศนะหลักการเรื่อง “...อยู่ฟรี กินฟรีทุกอย่าง...” ผู้เขียนเห็นว่า เป็นประเด็นของเรื่องหลักการ หลักขั้นปฏิบัติพื้นฐานของชาวพุทธ หากเข้าใจในเรื่องนี้ไม่ถูกต้องแล้ว ก็ไม่สามารถเข้าใจบทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์ ไม่เข้าใจวิถีชีวิตของพระภิกษุสามเณร หรือ พระนิสิตของมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้เลย คำพูดที่เห็นว่า อยู่ฟรี กินฟรีทุกอย่าง เอาเปรียบเยาวชน เป็นคำพูดที่แสดงถึงความไม่ประสาในเรื่องของพุทธศาสนา พูดด้วยมิจฉาทิฐิ ไม่เข้าใจในหลักการที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เพื่อการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันของพุทธบริษัท 4 หรือแม้หากจะเข้าใจอย่างดี แต่ก็พูดเพื่อจ้องทำลายหลักการของพระพุทธเจ้า ในเรื่องดังกล่าวนี้
คำพูดว่า “....อยู่ฟรีกินฟรีทุกอย่าง....” เป็นคำพูดที่ระบุถึงการเป็นอยู่ของพระนิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์ หรืออาจจะเหมารวมการเป็นอยู่ของพระสงฆ์ทั้งหมด ที่มองเห็นภาพของการออกบิณฑบาต การรับกิจนิมนต์ หรือ การที่มีพุทธศาสนิกชนนำอาหารบิณฑบาตไปถวายในวัด หรือ ในมหาวิทยาลัยสงฆ์ มองเลยเถิดไปจนเกิดทัศนคติที่เห็นว่า พระนิสิตเหล่านี้ เรียนฟรี อยู่ฟรี กินฟรี เอาเปรียบชาวบ้าน ซึ่งเป็นทัศนคติที่ไม่เข้าใจสถานะและบริบททางสังคม ไม่เข้าใจแม้กระทั่งหลักการขั้นพื้นฐานที่พุทธบริษัทจะพึงปฏิบัติต่อกัน ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า ถ้าผู้พูดมีทัศนคติที่อยู่บนพื้นฐานความไม่เข้าใจในหลักการปฏิบัติขั้นพื้นฐานของพุทธบริษัทเช่นนี้ อาสารับหน้าที่ที่จะปฏิรูปหรือปรับปรุงกิจการอะไรบางอย่างของคณะสงฆ์ นอกจากจะมิใช่เป็นการปรับปรุงแล้ว แต่จะเป็นการทำลายหลักการขั้นพื้นฐานที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้อีกต่างหาก
อาหารบิณฑบาต : หลักสงเคราะห์บริษัท
หลักการหรือข้อปฏิบัติพุทธบริษัท ทั้ง 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา จะพึงปฏิบัติต่อกันในระดับขั้นพื้นฐานคือชีวิตความเป็นอยู่ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันนั้น มีปรากฏข้อความพุทธดำรัสมากมายหลายแห่งในพระไตรปิฎก เช่น กรณียกิจ 4 (ดูรายละเอียดในพระวินัยปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ ภาษาบาลี เล่มที่ 4 ข้อ 128 หน้า 139 ฉบับภาษาไทย หน้า 197) พระพุทธองค์ทรงวางหลักปฏิบัติให้ฝ่ายภิกษุต้องเลี้ยงชีพด้วยอาศัยอาหารบิณฑบาตของชาวบ้าน เป็นคำสอนที่พระอุปัชฌาย์ พึงบอกแก่ภิกษุผู้อุปสมบทใหม่ เรียกว่า กรณียกิจ คือ กิจหรือหน้าที่ที่พระภิกษุต้องกระทำเป็นกิจวัตร จัดเป็นกิจของสงฆ์ อาหารบิณฑบาตโภชนะ ทั้งส่วนที่ต้องเดินตามลำดับตรอก หมู่บ้าน คามนิคม ภาษาชาวบ้านคือออกบิณฑบาต หรืออติเรกลาภ คือ ภัตรถวายสงฆ์ การนิมนต์ สลากภัตร หรือภัตรที่เกิดขึ้นในวันอุโบสถเป็นต้นเหล่านี้ จัดอยู่ในรูปของอาหารบิณฑบาตทั้งหมด การรับอาหารบิณฑบาต จัดเป็นกรณียกิจ ข้อปฏิบัติข้อแรกในกรณียกิจ 4 ประการ ด้วยนิยามตามข้อวัตรปฏิบัติ คือ เลี้ยงชีพด้วยการขอข้าวชาวบ้าน ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาจึงพบว่า พระพุทธองค์ตรัสเรียกสาวกว่า “ภิกฺขุ” แปลว่า ผู้ขอข้าวชาวบ้าน (ดูรายละเอียดในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ 415) คำถามคือ เหตุใดพระพุทธองค์จึงทรงวางหลักการให้ภิกษุเลี้ยงชีพด้วยอาศัยอาหารบิณฑบาตของชาวบ้าน
อาหารบิณฑบาต : มีคุณและโทษในตัวเอง
มุมมองของศาสนา การรับหรือการให้อาหารบิณฑบาต เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าเป็นพุทธกิจอย่างหนึ่ง คือ รุ่งเช้าจะต้องเสด็จออกบิณฑบาต และเป็นกรณียกิจสำหรับสาวก ดังปรากฏข้อความในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท (ดูรายละเอียดในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา ฉบับบาลี ภาค 6 หน้า 30 – 33 ฉบับภาษาไทย หน้า 49 – 52) เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพุทธบิดาและประยูรญาติ เช้าวันแรกที่เสด็จถึงพระนคร พระองค์ทรงออกรับบิณฑบาตจากชาวบ้านทั่วไป ทำให้พระเจ้าสุทโธ ทนะ ทรงพิโรธอย่างมาก ได้เสด็จตามและทูลพระพุทธองค์ เป็นถึงลูกเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์เหตุใดจึงต้องขอข้าวชาวบ้าน ทำให้พระบิดาต้องอับอายด้วยเล่า พระพุทธองค์ได้ตรัสสอน พระเจ้าสุทโธทนะและพระสาวกว่า การออกรับบิณฑบาตเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ (ในมุมมองของผู้เขียน เรื่องดังกล่าวนี้หากมองในแง่ของความสัมพันธ์ทางสังคม พระพุทธองค์เคยเป็นเจ้าชาย เป็นรัชทายาท มีพระเมตตาเปี่ยมล้นต่อพสกนิกร ทรงเป็นที่รักของปวงชนพสกนิกร ได้เสด็จออกจากบ้านเมืองนี้เป็นเวลานาน การที่พระพุทธองค์ออกรับบิณฑบาตเช่นนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าได้เข้าเฝ้าได้ชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด) พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนพระเจ้าสุทโธทนพุทธบิดาและหมู่สาวกที่ติดตามว่า ”บรรพชิตไม่พึงประมาทในก้อนข้าว อันตนพึงลุกขึ้นยืนรับ, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต, ผู้มีปกติประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต, ไม่พึงประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต, ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า” พุทธดำรัสดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า พระภิกษุเมื่อรับอาหารบิณฑบาตของชาวบ้านแล้ว ควรประพฤติดีปฏิบัติชอบ ไม่ควรมีชีวิตอยู่ด้วยความประมาท หากประพฤติผิดศีลธรรมแต่ยังปฏิญาณตนและรับอาหารบิณฑบาต ในทางพระพุทธศาสนาก็มีบทลงโทษไว้แล้ว มีพระพุทธพจน์ ที่ตรัสถึงโทษของการประพฤติผิดศีล ไร้สังวรไว้ว่า “กินก้อนเหล็กเผาไฟ ที่ลุกไหม้เป็นเปลวเพลิง ดีกว่าเป็นผู้ทุศีลไร้สังวร บริโภคอาหารของชาวบ้าน” เพราะการกลืนก้อนเหล็กอันร้อนเป็นไฟ ก็ทุกข์ทรมานเฉพาะในชาตินี้เท่านั้น แต่ภิกษุผู้ประพฤติผิดศีลธรรม ย่อมตกนรกหมกไหม้หลายร้อยชาติ (ดูรายละเอียดในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา ฉบับบาลี ภาค 7 หน้า 124 – 125 ฉบับภาษาไทย หน้า 192-193)
อาหารบิณฑบาต : การเผยแผ่ศาสนา
ในแวดวงของพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีสติปัญญาฝึกอบรมตนมักจะไม่เกิดคำถามใด ๆ ในประเด็นนี้เพราะเข้าใจในหลักการที่พึงปฏิบัติต่อกันอยู่แล้ว แต่จะเกิดคำถามอย่างมากมายสำหรับผู้เป็นชาวพุทธแค่ตามบัตรประชาชน หรือ ผู้ที่จ้องทำลายสถาบันพระศาสนาของชาติ มักจะมองเห็นว่า การเป็นอยู่ของพระสงฆ์เอาเปรียบชาวบ้านแล้วสร้างกระแสปลุกปั่นให้คนเห็นคล้อยตาม หารู้ไม่ว่า หลักการที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้พระภิกษุสามเณรต้องเลี้ยงชีพด้วยอาหารบิณฑบาตนั้น เมื่อมองในเชิงสังคมที่ประกอบด้วยหลายกลุ่มหลายคณะเป็นพุทธบริษัท การให้และการรับอาหารบิณฑบาต นับเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่ายที่สุดที่พุทธบริษัทจะปฏิบัติต่อกัน และนับเป็นการวางเงื่อนไขให้ชีวิตของภิกษุต้องอาศัยชาวบ้าน นับเป็นประโยชน์ในการเผยแผ่และรักษาพระศาสนา ทำให้ภิกษุต้องมีชีวิตผูกพันอยู่กับชาวบ้าน ว่าโดยหลักการ คือ เมื่อพระภิกษุได้รับการสงเคราะห์ด้วยอาหารบิณฑบาตแล้ว ก็ย่อมคิดหาทางช่วยเหลือชาวบ้าน คือ ศึกษาพระธรรมคำสอน รู้หลักธรรมดีแล้ว ก็นำหลักพระธรรมคำสอนออกไปเสนอ ออกไปเผยแผ่ ต้องคิดสงเคราะห์อนุเคราะห์ชาวบ้านในรูปแบบต่างๆ หลักการของการให้การรับบิณฑบาต เป็นหลักของกตัญญูกตเวที เป็นหลักธรรมพื้นฐานของพุทธบริษัท ต่างฝ่ายต่างเกื้อกูลกันอย่างนี้ นี่คือ หลักการขั้นพื้นฐาน หากไม่มีการให้การรับอาหารบิณฑบาต ต่างคนต่างอยู่ กิจการพระศาสนา จะยั่งยืนอยู่มาได้อย่างไร
ผู้คนทั้งหลายมักจะมองตัวปัญหากับคนสร้างปัญหาเป็นอย่างเดียวกัน แท้ที่จริงแล้ว การรับอาหารบิณฑบาต หรือที่พูดกันแบบคะนองปากว่า “อยู่ฟรี กินฟรี เอาเปรียบชาวบ้าน” ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด
แต่ที่เป็นปัญหา คือ ผู้รับอาหารบิณฑบาตที่มักจะเป็นข่าวคราวในทางไม่เป็นมงคล หรือ ฉันอาหารบิณฑบาตของชาวบ้านแล้ว ก็ยังประพฤตินอกธรรมวินัย ปัญหาดังกล่าวนี้ ผู้เขียนขอยอมรับว่า ยังมีผู้ทุศีลเข้ามาบวชหลอกลวงพุทธบริษัท อาศัยพระศาสนาดำรงชีพ ในขณะเดียวกัน ขอถามกลับว่า ข้าราชการ การเมือง ข้าราชการประจำ พนักงานของรัฐ หรือ กลุ่มแรงงานใดๆ ก็ตามที่รับเงินค่าจ้างซึ่งเป็นสมบัติของชาวบ้าน เป็นภาษีอากรของหลวง มีบ้างไหม? ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เบียดบังเวลาราชการ ทำการทุจริตคอรัปชั่น ประเทศชาติแทบล่มสลาย ท่านเหล่านี้ จะแตกต่างอะไรกันเล่ากับผู้รับอาหารบิณฑบาตของชาวบ้านแล้วยังประพฤตินอกธรรมนอกวินัย ผู้เขียน ไม่ได้เข้าข้างพระภิกษุสงฆ์ ไม่ได้มีความพอใจกับสภาพการณ์ที่เป็นปัญหาเช่นนี้ ยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขสภาพการณ์ของพระสงฆ์อีกมากมาย ผู้เขียนและศิษย์เก่ามหาจุฬาฯ หรืออดีตมหาเปรียญมากมายหลายหมื่นคน ที่จบการศึกษาของคณะสงฆ์ มีจิตสำนึกแห่งความเป็นหนี้บุญคุณข้าวก้นบาตร ปฏิญาณตนรักษาศีล 5 ตลอดชีวิต ทำงานในหน้าที่อย่างสุดความสามารถเท่าที่จะทำได้ เพียงผู้เขียนนึกถึงข้าวก้นบาตรของชาวบ้านที่เคยพึ่งพาอาศัยเมื่อคราวบวชเรียน แค่นี้ก็สามารถสร้างจิตสำนึกที่จะเป็นคนดีได้แล้วครับ
รองศาสตราจารย์เวทย์ บรรณกรกุล
อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มา : http://alittlebuddha.com/
พระ..ผู้เอาเปรียบสังคม อยู่ฟรี กินฟรี !
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเพื่อน นิสิต ลูกศิษย์เรียนภาษาบาลี ทั้งโทรศัพท์ ทั้งส่งข้อความในสื่อออนไลน์อื่น ๆ ที่มีผู้กล่าวพาดพิงหลักสูตรการเรียนการสอน และการเป็นอยู่ของพระนิสิตในมหาวิทยาลัยสงฆ์ และเชิญให้เข้าไปดูรายละเอียด “... ต้องปฏิรูป มจร เร่งด่วน เพราะเน้นสอนทางโลกมากเกินไป ไม่เรียนทางธรรมเลย... นิสิตอยู่ฟรีกินฟรีทุกอย่าง...เอาเปรียบเยาวชน” ขอเรียนตามตรงว่า ทัศนะความเห็นเช่นนี้ ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่คำพูดใหม่ และไม่ใช่ประเด็นใหม่อะไร เป็นเพียงคำพูดที่ทำให้ดูเหมือนว่า ตัวเองเป็นผู้มองสภาพการณ์กิจการพระศาสนาได้อย่างทะลุปรุโปร่ง และหวังผลให้คนชื่นชมว่า ตัวเองเป็นผู้กล้าเป็นอัศวินม้าขาวที่จะเข้ามาจัดการปฏิรูปกิจการพระศาสนา ผู้เขียนไม่ใช่นักวิพากษ์สังคม ไม่ค่อยชอบอ่านงานเขียนหรือบทวิจารณ์ทางสังคม แต่เห็นคำพูดนี้แล้วเกรงจะเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการใช้คำที่แสดงออกต่อพระสงฆ์ไปในทางไม่ถูกต้องตามหลักการ จึงอยากจะแสดงทัศนะในฐานะของผู้ถูกถาม ข้อคิดเห็นที่แสดงต่อสาธารณะในตอนที่ 1 นี้ เป็นข้อคิดเห็นในประเด็น “.... อยู่ฟรีกินฟรีทุกอย่าง เอาเปรียบเยาวชน” ซึ่งเป็นคำพูดที่เกี่ยวข้องกับตัวหลักการของพระพุทธศาสนาโดยตรง ส่วนประเด็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีหลักสูตรการเรียนการสอนทางโลกอะไรอย่างไร ไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่เป็นข้อเท็จจริงเชิงประวัติศาสตร์ และข้อเท็จจริงเชิงบริบททางสังคม ถ้าหากจะมีการพูดถึงมหาวิทยาลัยสงฆ์ ก็ควรทำความเข้าใจในตัวหลักการความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ที่พระพุทธองค์ได้บัญญัติไว้ เป็นอันดับแรก
อยู่ฟรีกินฟรีทุกอย่าง ... : อาหารบิณฑบาต กิจของสงฆ์
ทัศนะหลักการเรื่อง “...อยู่ฟรี กินฟรีทุกอย่าง...” ผู้เขียนเห็นว่า เป็นประเด็นของเรื่องหลักการ หลักขั้นปฏิบัติพื้นฐานของชาวพุทธ หากเข้าใจในเรื่องนี้ไม่ถูกต้องแล้ว ก็ไม่สามารถเข้าใจบทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์ ไม่เข้าใจวิถีชีวิตของพระภิกษุสามเณร หรือ พระนิสิตของมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้เลย คำพูดที่เห็นว่า อยู่ฟรี กินฟรีทุกอย่าง เอาเปรียบเยาวชน เป็นคำพูดที่แสดงถึงความไม่ประสาในเรื่องของพุทธศาสนา พูดด้วยมิจฉาทิฐิ ไม่เข้าใจในหลักการที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เพื่อการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันของพุทธบริษัท 4 หรือแม้หากจะเข้าใจอย่างดี แต่ก็พูดเพื่อจ้องทำลายหลักการของพระพุทธเจ้า ในเรื่องดังกล่าวนี้
คำพูดว่า “....อยู่ฟรีกินฟรีทุกอย่าง....” เป็นคำพูดที่ระบุถึงการเป็นอยู่ของพระนิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์ หรืออาจจะเหมารวมการเป็นอยู่ของพระสงฆ์ทั้งหมด ที่มองเห็นภาพของการออกบิณฑบาต การรับกิจนิมนต์ หรือ การที่มีพุทธศาสนิกชนนำอาหารบิณฑบาตไปถวายในวัด หรือ ในมหาวิทยาลัยสงฆ์ มองเลยเถิดไปจนเกิดทัศนคติที่เห็นว่า พระนิสิตเหล่านี้ เรียนฟรี อยู่ฟรี กินฟรี เอาเปรียบชาวบ้าน ซึ่งเป็นทัศนคติที่ไม่เข้าใจสถานะและบริบททางสังคม ไม่เข้าใจแม้กระทั่งหลักการขั้นพื้นฐานที่พุทธบริษัทจะพึงปฏิบัติต่อกัน ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า ถ้าผู้พูดมีทัศนคติที่อยู่บนพื้นฐานความไม่เข้าใจในหลักการปฏิบัติขั้นพื้นฐานของพุทธบริษัทเช่นนี้ อาสารับหน้าที่ที่จะปฏิรูปหรือปรับปรุงกิจการอะไรบางอย่างของคณะสงฆ์ นอกจากจะมิใช่เป็นการปรับปรุงแล้ว แต่จะเป็นการทำลายหลักการขั้นพื้นฐานที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้อีกต่างหาก
อาหารบิณฑบาต : หลักสงเคราะห์บริษัท
หลักการหรือข้อปฏิบัติพุทธบริษัท ทั้ง 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา จะพึงปฏิบัติต่อกันในระดับขั้นพื้นฐานคือชีวิตความเป็นอยู่ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันนั้น มีปรากฏข้อความพุทธดำรัสมากมายหลายแห่งในพระไตรปิฎก เช่น กรณียกิจ 4 (ดูรายละเอียดในพระวินัยปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ ภาษาบาลี เล่มที่ 4 ข้อ 128 หน้า 139 ฉบับภาษาไทย หน้า 197) พระพุทธองค์ทรงวางหลักปฏิบัติให้ฝ่ายภิกษุต้องเลี้ยงชีพด้วยอาศัยอาหารบิณฑบาตของชาวบ้าน เป็นคำสอนที่พระอุปัชฌาย์ พึงบอกแก่ภิกษุผู้อุปสมบทใหม่ เรียกว่า กรณียกิจ คือ กิจหรือหน้าที่ที่พระภิกษุต้องกระทำเป็นกิจวัตร จัดเป็นกิจของสงฆ์ อาหารบิณฑบาตโภชนะ ทั้งส่วนที่ต้องเดินตามลำดับตรอก หมู่บ้าน คามนิคม ภาษาชาวบ้านคือออกบิณฑบาต หรืออติเรกลาภ คือ ภัตรถวายสงฆ์ การนิมนต์ สลากภัตร หรือภัตรที่เกิดขึ้นในวันอุโบสถเป็นต้นเหล่านี้ จัดอยู่ในรูปของอาหารบิณฑบาตทั้งหมด การรับอาหารบิณฑบาต จัดเป็นกรณียกิจ ข้อปฏิบัติข้อแรกในกรณียกิจ 4 ประการ ด้วยนิยามตามข้อวัตรปฏิบัติ คือ เลี้ยงชีพด้วยการขอข้าวชาวบ้าน ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาจึงพบว่า พระพุทธองค์ตรัสเรียกสาวกว่า “ภิกฺขุ” แปลว่า ผู้ขอข้าวชาวบ้าน (ดูรายละเอียดในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ 415) คำถามคือ เหตุใดพระพุทธองค์จึงทรงวางหลักการให้ภิกษุเลี้ยงชีพด้วยอาศัยอาหารบิณฑบาตของชาวบ้าน
อาหารบิณฑบาต : มีคุณและโทษในตัวเอง
มุมมองของศาสนา การรับหรือการให้อาหารบิณฑบาต เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าเป็นพุทธกิจอย่างหนึ่ง คือ รุ่งเช้าจะต้องเสด็จออกบิณฑบาต และเป็นกรณียกิจสำหรับสาวก ดังปรากฏข้อความในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท (ดูรายละเอียดในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา ฉบับบาลี ภาค 6 หน้า 30 – 33 ฉบับภาษาไทย หน้า 49 – 52) เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพุทธบิดาและประยูรญาติ เช้าวันแรกที่เสด็จถึงพระนคร พระองค์ทรงออกรับบิณฑบาตจากชาวบ้านทั่วไป ทำให้พระเจ้าสุทโธ ทนะ ทรงพิโรธอย่างมาก ได้เสด็จตามและทูลพระพุทธองค์ เป็นถึงลูกเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์เหตุใดจึงต้องขอข้าวชาวบ้าน ทำให้พระบิดาต้องอับอายด้วยเล่า พระพุทธองค์ได้ตรัสสอน พระเจ้าสุทโธทนะและพระสาวกว่า การออกรับบิณฑบาตเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ (ในมุมมองของผู้เขียน เรื่องดังกล่าวนี้หากมองในแง่ของความสัมพันธ์ทางสังคม พระพุทธองค์เคยเป็นเจ้าชาย เป็นรัชทายาท มีพระเมตตาเปี่ยมล้นต่อพสกนิกร ทรงเป็นที่รักของปวงชนพสกนิกร ได้เสด็จออกจากบ้านเมืองนี้เป็นเวลานาน การที่พระพุทธองค์ออกรับบิณฑบาตเช่นนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าได้เข้าเฝ้าได้ชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด) พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนพระเจ้าสุทโธทนพุทธบิดาและหมู่สาวกที่ติดตามว่า ”บรรพชิตไม่พึงประมาทในก้อนข้าว อันตนพึงลุกขึ้นยืนรับ, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต, ผู้มีปกติประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต, ไม่พึงประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต, ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า” พุทธดำรัสดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า พระภิกษุเมื่อรับอาหารบิณฑบาตของชาวบ้านแล้ว ควรประพฤติดีปฏิบัติชอบ ไม่ควรมีชีวิตอยู่ด้วยความประมาท หากประพฤติผิดศีลธรรมแต่ยังปฏิญาณตนและรับอาหารบิณฑบาต ในทางพระพุทธศาสนาก็มีบทลงโทษไว้แล้ว มีพระพุทธพจน์ ที่ตรัสถึงโทษของการประพฤติผิดศีล ไร้สังวรไว้ว่า “กินก้อนเหล็กเผาไฟ ที่ลุกไหม้เป็นเปลวเพลิง ดีกว่าเป็นผู้ทุศีลไร้สังวร บริโภคอาหารของชาวบ้าน” เพราะการกลืนก้อนเหล็กอันร้อนเป็นไฟ ก็ทุกข์ทรมานเฉพาะในชาตินี้เท่านั้น แต่ภิกษุผู้ประพฤติผิดศีลธรรม ย่อมตกนรกหมกไหม้หลายร้อยชาติ (ดูรายละเอียดในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา ฉบับบาลี ภาค 7 หน้า 124 – 125 ฉบับภาษาไทย หน้า 192-193)
อาหารบิณฑบาต : การเผยแผ่ศาสนา
ในแวดวงของพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีสติปัญญาฝึกอบรมตนมักจะไม่เกิดคำถามใด ๆ ในประเด็นนี้เพราะเข้าใจในหลักการที่พึงปฏิบัติต่อกันอยู่แล้ว แต่จะเกิดคำถามอย่างมากมายสำหรับผู้เป็นชาวพุทธแค่ตามบัตรประชาชน หรือ ผู้ที่จ้องทำลายสถาบันพระศาสนาของชาติ มักจะมองเห็นว่า การเป็นอยู่ของพระสงฆ์เอาเปรียบชาวบ้านแล้วสร้างกระแสปลุกปั่นให้คนเห็นคล้อยตาม หารู้ไม่ว่า หลักการที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้พระภิกษุสามเณรต้องเลี้ยงชีพด้วยอาหารบิณฑบาตนั้น เมื่อมองในเชิงสังคมที่ประกอบด้วยหลายกลุ่มหลายคณะเป็นพุทธบริษัท การให้และการรับอาหารบิณฑบาต นับเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่ายที่สุดที่พุทธบริษัทจะปฏิบัติต่อกัน และนับเป็นการวางเงื่อนไขให้ชีวิตของภิกษุต้องอาศัยชาวบ้าน นับเป็นประโยชน์ในการเผยแผ่และรักษาพระศาสนา ทำให้ภิกษุต้องมีชีวิตผูกพันอยู่กับชาวบ้าน ว่าโดยหลักการ คือ เมื่อพระภิกษุได้รับการสงเคราะห์ด้วยอาหารบิณฑบาตแล้ว ก็ย่อมคิดหาทางช่วยเหลือชาวบ้าน คือ ศึกษาพระธรรมคำสอน รู้หลักธรรมดีแล้ว ก็นำหลักพระธรรมคำสอนออกไปเสนอ ออกไปเผยแผ่ ต้องคิดสงเคราะห์อนุเคราะห์ชาวบ้านในรูปแบบต่างๆ หลักการของการให้การรับบิณฑบาต เป็นหลักของกตัญญูกตเวที เป็นหลักธรรมพื้นฐานของพุทธบริษัท ต่างฝ่ายต่างเกื้อกูลกันอย่างนี้ นี่คือ หลักการขั้นพื้นฐาน หากไม่มีการให้การรับอาหารบิณฑบาต ต่างคนต่างอยู่ กิจการพระศาสนา จะยั่งยืนอยู่มาได้อย่างไร
ผู้คนทั้งหลายมักจะมองตัวปัญหากับคนสร้างปัญหาเป็นอย่างเดียวกัน แท้ที่จริงแล้ว การรับอาหารบิณฑบาต หรือที่พูดกันแบบคะนองปากว่า “อยู่ฟรี กินฟรี เอาเปรียบชาวบ้าน” ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด
แต่ที่เป็นปัญหา คือ ผู้รับอาหารบิณฑบาตที่มักจะเป็นข่าวคราวในทางไม่เป็นมงคล หรือ ฉันอาหารบิณฑบาตของชาวบ้านแล้ว ก็ยังประพฤตินอกธรรมวินัย ปัญหาดังกล่าวนี้ ผู้เขียนขอยอมรับว่า ยังมีผู้ทุศีลเข้ามาบวชหลอกลวงพุทธบริษัท อาศัยพระศาสนาดำรงชีพ ในขณะเดียวกัน ขอถามกลับว่า ข้าราชการ การเมือง ข้าราชการประจำ พนักงานของรัฐ หรือ กลุ่มแรงงานใดๆ ก็ตามที่รับเงินค่าจ้างซึ่งเป็นสมบัติของชาวบ้าน เป็นภาษีอากรของหลวง มีบ้างไหม? ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เบียดบังเวลาราชการ ทำการทุจริตคอรัปชั่น ประเทศชาติแทบล่มสลาย ท่านเหล่านี้ จะแตกต่างอะไรกันเล่ากับผู้รับอาหารบิณฑบาตของชาวบ้านแล้วยังประพฤตินอกธรรมนอกวินัย ผู้เขียน ไม่ได้เข้าข้างพระภิกษุสงฆ์ ไม่ได้มีความพอใจกับสภาพการณ์ที่เป็นปัญหาเช่นนี้ ยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขสภาพการณ์ของพระสงฆ์อีกมากมาย ผู้เขียนและศิษย์เก่ามหาจุฬาฯ หรืออดีตมหาเปรียญมากมายหลายหมื่นคน ที่จบการศึกษาของคณะสงฆ์ มีจิตสำนึกแห่งความเป็นหนี้บุญคุณข้าวก้นบาตร ปฏิญาณตนรักษาศีล 5 ตลอดชีวิต ทำงานในหน้าที่อย่างสุดความสามารถเท่าที่จะทำได้ เพียงผู้เขียนนึกถึงข้าวก้นบาตรของชาวบ้านที่เคยพึ่งพาอาศัยเมื่อคราวบวชเรียน แค่นี้ก็สามารถสร้างจิตสำนึกที่จะเป็นคนดีได้แล้วครับ
รองศาสตราจารย์เวทย์ บรรณกรกุล
อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้