อิเหนาเป็น
วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ้างอิง: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2
คุณค่าในวรรณคดี
๑.
คุณค่าในด้านเนื้อเรื่อง บทละครเรื่องอิเหนา มีโครงเรื่องและเนื้อเรื่องที่สนุก โครงเรื่องสำคัญเป็นเรื่องการชิงบุษบาระหว่างอิเหนากับจรกา เรื่องความรักระหว่างอิเหนากับบุษบา เนื้อเรื่องสำคัญก็คือ อิเหนาไปหลงรักจินตะหรา ทั้งที่มีคู่หมั้นอยู่แล้วซึ่งก็คือบุษบา ทำให้เกิดปมปัญหาต่างๆ
๒.
คุณค่าในด้านวรรณศิลป์
๒.๑ ความเหมาะสมของเนื้อเรื่องและรูปแบบ บทละครอิเหนาเป็นบทละครใน มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์ กลวิธีการดำเนินเรื่องจึงยึดรูปแบบอย่างเคร่งครัด อากัปกิริยาของตัวละครต้องมีสง่า มีลีลางดงามตามแบบแผนของละครใน โดยเฉพาะการแสดงศิลปะการร่ายรำจะต้องมีความงดงาม ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับตัวละคร จะใช้ถ้อยคำไพเราะ แสดงออกถึงอารมณ์ของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นความอาลัยอาวรณ์ ความโกรธ ความรัก การประชดประชัน กระบวนกลอนตลอดจนเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์มีความไพเราะอย่างยิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นบทละครในที่เพียบพร้อมด้วยรูปแบบของการละครอย่างครบถ้วน
๒.๒ การบรรยายและการพรรณนามีความละเอียดชัดเจน ทำให้เกิดจินตภาพ ไม่ว่าจะเป็นฉาก เหตุการณ์ สภาพบ้านเมือง ภูมิประเทศ รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร ผู้อ่านเกิดความรู้สึกและความเกิดความเข้าใจในบทละครเป็นอย่างดี เนื่องจากการใช้โวหารเรียบเรียงอย่างประณีต เรียบง่าย และชัดเจน
๒.๓ การเลือกใช้ถ้อยคำดีเด่นและไพเราะกินใจ การใช้ถ้อยคำง่าย แสดงความหมายลึกซึ้ง กระบวนกลอนมีความไพเราะ เข้ากับบทบาทของตัวละคร โดยใช้กลวิธีต่างๆ ในการแต่ง
๒.๔ การใช้ถ้อยคำให้เกิดเสียงเสนาะ คำสัมผัสในบทกลอนทำให้เกิดเสียงเสนาะ มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ทำให้กลอนเกิดความไพเราะ
๓.
คุณค่าในด้านความรู้
๓.๑ สังคมและวัฒนธรรมไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างฉากและบรรยากาศในเรื่องให้เป็นสังคม วัฒนธรรม และบ้านเมืองของคนไทย แม้ว่าบทละครเรื่องอิเหนาจะได้เค้าเรื่องเดิมมาจากชวา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีไทยในพระราชสำนักและของชาวบ้านหลายประการ
๔.
คุณค่าทางด้านการละครและศิลปกรรม
๔.๑ การละคร บทละครเรื่องอิเหนาเป็นยอดของละครรำ เพราะใช้คำประณีต ไพเราะ เครื่องแต่งตัวละครงดงาม ท่ารำงาม บทเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์กลมกลืนกับเนื้อเรื่องและท่ารำ จึงนับว่าดีเด่นในศิลปะการแสดงละคร
๔.๒ การขับร้องและดนตรี วงดนตรีไทยนิยมนำกลอนจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาไปขับร้องกันมาก เช่น ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน และตอนประสันตาต่อนก เป็นต้น
๔.๓ การช่างของไทย ผู้อ่านจะได้เห็นศิลปะการแกะสลักลวดลายการปิดทองล่องชาด และลวดลายกระหนกที่งดงามอันเป็นความงามของศิลปะไทย ซึ่งจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ
อิเหนา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คุณค่าในวรรณคดี
๑. คุณค่าในด้านเนื้อเรื่อง บทละครเรื่องอิเหนา มีโครงเรื่องและเนื้อเรื่องที่สนุก โครงเรื่องสำคัญเป็นเรื่องการชิงบุษบาระหว่างอิเหนากับจรกา เรื่องความรักระหว่างอิเหนากับบุษบา เนื้อเรื่องสำคัญก็คือ อิเหนาไปหลงรักจินตะหรา ทั้งที่มีคู่หมั้นอยู่แล้วซึ่งก็คือบุษบา ทำให้เกิดปมปัญหาต่างๆ
๒. คุณค่าในด้านวรรณศิลป์
๒.๑ ความเหมาะสมของเนื้อเรื่องและรูปแบบ บทละครอิเหนาเป็นบทละครใน มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์ กลวิธีการดำเนินเรื่องจึงยึดรูปแบบอย่างเคร่งครัด อากัปกิริยาของตัวละครต้องมีสง่า มีลีลางดงามตามแบบแผนของละครใน โดยเฉพาะการแสดงศิลปะการร่ายรำจะต้องมีความงดงาม ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับตัวละคร จะใช้ถ้อยคำไพเราะ แสดงออกถึงอารมณ์ของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นความอาลัยอาวรณ์ ความโกรธ ความรัก การประชดประชัน กระบวนกลอนตลอดจนเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์มีความไพเราะอย่างยิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นบทละครในที่เพียบพร้อมด้วยรูปแบบของการละครอย่างครบถ้วน
๒.๒ การบรรยายและการพรรณนามีความละเอียดชัดเจน ทำให้เกิดจินตภาพ ไม่ว่าจะเป็นฉาก เหตุการณ์ สภาพบ้านเมือง ภูมิประเทศ รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร ผู้อ่านเกิดความรู้สึกและความเกิดความเข้าใจในบทละครเป็นอย่างดี เนื่องจากการใช้โวหารเรียบเรียงอย่างประณีต เรียบง่าย และชัดเจน
๒.๓ การเลือกใช้ถ้อยคำดีเด่นและไพเราะกินใจ การใช้ถ้อยคำง่าย แสดงความหมายลึกซึ้ง กระบวนกลอนมีความไพเราะ เข้ากับบทบาทของตัวละคร โดยใช้กลวิธีต่างๆ ในการแต่ง
๒.๔ การใช้ถ้อยคำให้เกิดเสียงเสนาะ คำสัมผัสในบทกลอนทำให้เกิดเสียงเสนาะ มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ทำให้กลอนเกิดความไพเราะ
๓. คุณค่าในด้านความรู้
๓.๑ สังคมและวัฒนธรรมไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างฉากและบรรยากาศในเรื่องให้เป็นสังคม วัฒนธรรม และบ้านเมืองของคนไทย แม้ว่าบทละครเรื่องอิเหนาจะได้เค้าเรื่องเดิมมาจากชวา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีไทยในพระราชสำนักและของชาวบ้านหลายประการ
๔. คุณค่าทางด้านการละครและศิลปกรรม
๔.๑ การละคร บทละครเรื่องอิเหนาเป็นยอดของละครรำ เพราะใช้คำประณีต ไพเราะ เครื่องแต่งตัวละครงดงาม ท่ารำงาม บทเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์กลมกลืนกับเนื้อเรื่องและท่ารำ จึงนับว่าดีเด่นในศิลปะการแสดงละคร
๔.๒ การขับร้องและดนตรี วงดนตรีไทยนิยมนำกลอนจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาไปขับร้องกันมาก เช่น ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน และตอนประสันตาต่อนก เป็นต้น
๔.๓ การช่างของไทย ผู้อ่านจะได้เห็นศิลปะการแกะสลักลวดลายการปิดทองล่องชาด และลวดลายกระหนกที่งดงามอันเป็นความงามของศิลปะไทย ซึ่งจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ