การเรียนในพระพุทธศาสนา และ การสืบทอดพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ?

การสืบทอดพระพุทธศาสนาในสังคมไทย กุลบุตร ในสังคมไทยเมื่อ ครบกำหนด อายุ 20 ปี ก็ได้ครบกำหนดบวช เป็นวัฒนธรรมของคนไทยมาช้านาน
เมื่อครบกำหนด โดยส่วนมาก ก็จะต้องให้ได้ 1 พรรษา แล้วจึงลาสิกขา หรือมากว่านั้น
        
   ในระหว่างนั้น ก็จะถือเรียนพระปริยัติธรรม       และในหลักธรรมก็มี หลักธรรมของ ฆราวาสสี่ อยู่ด้วย การอยู่ในสมณะเพศ ก็ไม่ได้สะดวก สบาย เพราะต้อง ปฏิบัติตามพระะวินัย และมีวัตรปฏิบัติ ในการทำวัตรสวดมนต์ เช้า-เย็น และมีกิจของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติอีก
        
      ในปัจจุบันการบวช นั้น ก็ไม่นิยมบวช ให้ได้ 1 พรรษา เหมือนสมัยก่อน เนื่องจาก รูปแบบการประกอบอาชีพที่เปลี่ยนไป การเรียนรู้ปริยัติธรรม ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ แตกต่างจากสมัยก่อน
         ถามว่า มีใคร ล่วงรู้ ได้บ้าง ว่า พระทุกรูปที่บวชเข้ามาด้วย ศรัทธา ทุกรูปสามารถ สำเร็จ อรหันต์ได้ทั้งหมด การที่ พระภิกษุที่ท่านบวชเข้ามา แล้วปฏิบัติ ในพระะธรรมวินัย เป็นเนื้อนาบุญที่ดี ก็เป็น ความดีของท่านแล้ว  และสิทธิ์ที่พระภิกษุท่านที่จะ สืบทอดพระธรรมคำสอน หรือลาสิกขา ก็เป็นสิทธิ์ส่วนตัว ของท่าน ที่จะ พิจารณา ตัดสินใจ
        
        ถามว่า ถ้า ไม่ให้ท่าน เรียนความรู้ทางโลก ถ้าท่านสึกออกมา จะให้ท่านประกอบอาชีพอะไร หากท่านมีความรู้ทางโลก ท่านก็สามารถที่จะประกอบ สัมมาอาชีวะได้  เป็นบุคลากรคุณภาพ ที่เป็นกำลังของประเทศชาติ นั้นเป็นการ เปิดโอกาสที่หลากหลาย ในเรื่องอาชีพตาม สิทธิ เสรีภาพ ที่ถูกต้อง
         ถ้าไม่สามารถ ล่วงรู้ได้ว่า ท่านใด จะสำเร็จ อรหันต์ หรือไม่ ก็อย่าไปตัดสิน ในพระธรรมวินัย ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่าน ไม่ได้บัญญัติห้าม หรือ อนุญาติ เลยดีกว่าครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่