สิ่งที่เป็นปัญหากับผมมากในวันนี้ คือ ฟิล์มสไลด์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
มีเพียงส่วนน้อยที่ผ่านการ “ดรัมสแกน” เพื่อให้ได้คุณภาพดีที่สุด
มีบางสไลด์ ที่สแกนมาจาก เครื่องสแกนแบบ Flatbed ซึ่งพอได้คุณภาพระดับหนึ่ง
และไม่เคยเอาไปสแกนตามร้านอัดขยายทั่วไป
เพราะเมื่อสมัยก่อนไม่เคยไว้ใจคุณภาพการสแกนจากร้านอัดขยายทั่วไป
(ตอนนี้ ไม่รู้ว่าดีขึ้นไหม ?)
เมื่อสมัยเกือบสิบปีก่อนเคยซื้อเครื่องสแกนฟิล์มมาใช้เอง เอาที่ราคาตั้งแต่ 2-3 หมื่น หรือ หลักหมื่นกว่า มาใช้
แต่ก็เหนื่อยมาก เสียเวลา กว่าจะได้ทีละรูป และต้องตั้งค่าการสแกนเป็นด้วย ไม่งั้นไม่ได้คุณภาพ
จนเดี๋ยวนี้ ไม่รู้ว่าเครื่องสแกนสองสามตัวนั้นไปอยู่ที่ไหนแล้ว
นี่คือปัญหาที่ผมมีอยู่
สมัยก่อน
ผมจะมีโต๊ะไฟ กับ กล่องไฟ เอาไว้ดูสไลด์
loop ที่ใช้ดู อันละ 4 พันกว่า (ซื้อเมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน) ของเยอรมัน จะได้ส่องมองเห็นสไลด์แบบเน้นๆ เนื้อๆ
ยังมีกล่องดูสไลด์สอดได้ทีละสไลด์เดียว ราคาถุกๆ
เวลาดูก็หันไปทางที่มีแสงอาทิตย์ส่อง
แต่เอามาดูในห้องที่เป็นไฟฟลูออเรสเซนซ์ ไม่ได้ เพราะ WB สีเพี้ยน
นอกจาก ใช้โต๊ะไฟดูสไลด์ ผมทำในสิ่งที่เขาไม่ค่อยทำกัน คือ การรีทัชสไลด์
สีที่ใช้ เป็นของฝรั่ง ซื้อมาชุดละเป็นหมื่นบาท
ที่ว่าเขาไม่ค่อยทำกัน เพราะเขาจะรีทัชกับฟิล์มขนาดใหญ่ แต่นี่ผมทำกับฟิล์ม 35-135
จนนัยน์ตาเดี๋ยวนี้มีปัญหา เพราะตอนนี้ทำกันทั้งคืน ใช้พู่กันตั้งแต่เบอร์ 0-1-2 เป็นหลัก
ก็ขำ เพราะใช้หลอกกรรมการตัดสินภาพระดับอาวุโสได้ โดยเขานึกว่าเป็นการถ่ายภาพด้วยเอฟเฟค จัดแสงถ่าย
ถ้าจะดูสไลด์อีกแบบ ก็ ใช้เครื่องฉาย ตอนนั้นใช้เครื่องฉายของโกดัก ตัวละ 4-5 หมื่น
กับของ ไลก้า ตัวละประมาณ หนึ่งหมื่น
การดูก็ทุลักทุเลเต็มที เพราะต้องปิดห้องให้มืดพอเหมาะ ต้องมีจอรับภาพขึงเข้ากับฝาห้อง
และจอก็ต้องเลือกพื้นผิวขอด้วยว่า จะใช้จอแบบดูในที่มืด หรือจอแบบดูที่สว่าง
มันวุ่นวายมาก
ความรู้สึกอิ่มใจที่ได้ดูสไลด์ด้วยตาเปล่า หรือจาก loop นั้น
บางทีสวรรค์ล่ม เพราะพอเอามาฉายขยายใหญ่บนจอจริงๆแล้ว มันไม่เหมือนกัน
และก็ทำได้แค่นั้น กับการได้ชมเชยฟิล์มสไลด์ ที่อุตส่าห์ไปถ่ายมา
จึงต้องเก็บเอาไว้ในซอง หรือในกล่อง
อันไหนเป็นสไลด์ดีๆ ของหวง ต้องหากล่องใส่แบบพิเศษ สนนราคาของมัน -- เหนียวคอ
ถูกลงมาหน่อยก็ใส่ซองที่เป็นซองกระดาษ เป็นแฟ้มๆ
หรือไม่ก็ตัดเป็นเฟรมๆ แล้วใส่กรอบ ที่เรียกว่า Mount เก็บในกล่องอีกที
มาถึงยุคดิจิตอล เอาสไลด์มาสแกนอย่างที่บอกข้างบน
เจอร้านสแกนตามร้านอัดขยายรูปทั่วไป จะได้คุณภาพที่กลายเป็นรูปไฟล์ดิจิตอล ที่คุณภาพแค่ระดับหนึ่ง
อย่าไปถามหา ดรัมสแกน ทั้งแพง และเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร หาร้านที่รับทำไม่ได้ (ดีไม่ดี โดนแหกตา --ใช้เครื่องสแกนอย่างอื่น !)
วันนี้ การถ่ายฟิล์มสไลด์
จึงเป็นเรื่องของความสุข ของคนที่ใช้กล้องฟิล์ม เพื่อสนุก และเพื่ออะไรๆ แล้วแต่ละคน
แต่ อย่างอื่นๆ --- ย้อนไปอ่านข้างบนครับ ---
เราดูภาพจากฟิล์มสไลด์ กันยังไง ?
มีเพียงส่วนน้อยที่ผ่านการ “ดรัมสแกน” เพื่อให้ได้คุณภาพดีที่สุด
มีบางสไลด์ ที่สแกนมาจาก เครื่องสแกนแบบ Flatbed ซึ่งพอได้คุณภาพระดับหนึ่ง
และไม่เคยเอาไปสแกนตามร้านอัดขยายทั่วไป
เพราะเมื่อสมัยก่อนไม่เคยไว้ใจคุณภาพการสแกนจากร้านอัดขยายทั่วไป
(ตอนนี้ ไม่รู้ว่าดีขึ้นไหม ?)
เมื่อสมัยเกือบสิบปีก่อนเคยซื้อเครื่องสแกนฟิล์มมาใช้เอง เอาที่ราคาตั้งแต่ 2-3 หมื่น หรือ หลักหมื่นกว่า มาใช้
แต่ก็เหนื่อยมาก เสียเวลา กว่าจะได้ทีละรูป และต้องตั้งค่าการสแกนเป็นด้วย ไม่งั้นไม่ได้คุณภาพ
จนเดี๋ยวนี้ ไม่รู้ว่าเครื่องสแกนสองสามตัวนั้นไปอยู่ที่ไหนแล้ว
นี่คือปัญหาที่ผมมีอยู่
สมัยก่อน
ผมจะมีโต๊ะไฟ กับ กล่องไฟ เอาไว้ดูสไลด์
loop ที่ใช้ดู อันละ 4 พันกว่า (ซื้อเมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน) ของเยอรมัน จะได้ส่องมองเห็นสไลด์แบบเน้นๆ เนื้อๆ
ยังมีกล่องดูสไลด์สอดได้ทีละสไลด์เดียว ราคาถุกๆ
เวลาดูก็หันไปทางที่มีแสงอาทิตย์ส่อง
แต่เอามาดูในห้องที่เป็นไฟฟลูออเรสเซนซ์ ไม่ได้ เพราะ WB สีเพี้ยน
นอกจาก ใช้โต๊ะไฟดูสไลด์ ผมทำในสิ่งที่เขาไม่ค่อยทำกัน คือ การรีทัชสไลด์
สีที่ใช้ เป็นของฝรั่ง ซื้อมาชุดละเป็นหมื่นบาท
ที่ว่าเขาไม่ค่อยทำกัน เพราะเขาจะรีทัชกับฟิล์มขนาดใหญ่ แต่นี่ผมทำกับฟิล์ม 35-135
จนนัยน์ตาเดี๋ยวนี้มีปัญหา เพราะตอนนี้ทำกันทั้งคืน ใช้พู่กันตั้งแต่เบอร์ 0-1-2 เป็นหลัก
ก็ขำ เพราะใช้หลอกกรรมการตัดสินภาพระดับอาวุโสได้ โดยเขานึกว่าเป็นการถ่ายภาพด้วยเอฟเฟค จัดแสงถ่าย
ถ้าจะดูสไลด์อีกแบบ ก็ ใช้เครื่องฉาย ตอนนั้นใช้เครื่องฉายของโกดัก ตัวละ 4-5 หมื่น
กับของ ไลก้า ตัวละประมาณ หนึ่งหมื่น
การดูก็ทุลักทุเลเต็มที เพราะต้องปิดห้องให้มืดพอเหมาะ ต้องมีจอรับภาพขึงเข้ากับฝาห้อง
และจอก็ต้องเลือกพื้นผิวขอด้วยว่า จะใช้จอแบบดูในที่มืด หรือจอแบบดูที่สว่าง
มันวุ่นวายมาก
ความรู้สึกอิ่มใจที่ได้ดูสไลด์ด้วยตาเปล่า หรือจาก loop นั้น
บางทีสวรรค์ล่ม เพราะพอเอามาฉายขยายใหญ่บนจอจริงๆแล้ว มันไม่เหมือนกัน
และก็ทำได้แค่นั้น กับการได้ชมเชยฟิล์มสไลด์ ที่อุตส่าห์ไปถ่ายมา
จึงต้องเก็บเอาไว้ในซอง หรือในกล่อง
อันไหนเป็นสไลด์ดีๆ ของหวง ต้องหากล่องใส่แบบพิเศษ สนนราคาของมัน -- เหนียวคอ
ถูกลงมาหน่อยก็ใส่ซองที่เป็นซองกระดาษ เป็นแฟ้มๆ
หรือไม่ก็ตัดเป็นเฟรมๆ แล้วใส่กรอบ ที่เรียกว่า Mount เก็บในกล่องอีกที
มาถึงยุคดิจิตอล เอาสไลด์มาสแกนอย่างที่บอกข้างบน
เจอร้านสแกนตามร้านอัดขยายรูปทั่วไป จะได้คุณภาพที่กลายเป็นรูปไฟล์ดิจิตอล ที่คุณภาพแค่ระดับหนึ่ง
อย่าไปถามหา ดรัมสแกน ทั้งแพง และเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร หาร้านที่รับทำไม่ได้ (ดีไม่ดี โดนแหกตา --ใช้เครื่องสแกนอย่างอื่น !)
วันนี้ การถ่ายฟิล์มสไลด์
จึงเป็นเรื่องของความสุข ของคนที่ใช้กล้องฟิล์ม เพื่อสนุก และเพื่ออะไรๆ แล้วแต่ละคน
แต่ อย่างอื่นๆ --- ย้อนไปอ่านข้างบนครับ ---