Puma แบรนด์ที่มีฐานแฟนลับๆ มากพอสมควรในบ้านเรา ที่บอกว่าลับๆ เพราะสินค้า Puma หลายรุ่นต้องลุ้นว่าผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยจะนำเข้ามาหรือไม่ ส่วนใหญ่ผู้แทนจำหน่ายมักไปเน้นด้านมอเตอร์สปอร์ตมากกว่า หากเป็นสินค้าเกี่ยวกับ Running ก็ดันเป็นของผู้หญิงเสียส่วนใหญ่ ส่วนสินค้าประเภท Running ของผู้ชาย นำมาขายเพียงแค่ 1/10 ของที่ Puma มี มันนำเข้ามาขายน้อยอย่างนี้จริงๆไม่ได้พูดเกินเลย
ต้องเท้าความสักนิด แม้แต่รองเท้าวิ่งก็มีการแบ่งสายการใช้งานนอกเหนือจากแบ่งตามรูปแบบเท้า ซึ่งไอ้เจ้า Puma Ignite จัดอยู่ในสาย Energy Return นั่นคือยิ่งเราออกแรงวิ่งลงไปที่เท้า เมื่อเท้าปะทะกับพื้นก็จะมีแรงส่งให้เราเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ดีขึ้นโดยใช้แรงลดลง ถ้าผมจำไม่ผิด แบรนด์พี่น้องของ Puma อย่าง Adidas จะริเริ่มเอาจริงเอาจังกับสายนี้ก่อน แต่มาดังมากๆ กับการคิดค้น Boost Foam
ผมไม่มั่นใจว่า Puma เริ่มเอาจริงเอาจังกับสาย Energy Return ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่มาโปรโมทมากๆ ก็ตอนที่ออกแบบรุ่น Puma Mobium เมื่อประมาณ 2 ปีก่อน ซึ่งก็อยู่ในช่วงลองผิดลองถูก แม้ยอดขายจะดีแต่รุ่น Mobium ก็มีจุดอ่อนให้เห็นอยู่มาก ดังนั้นเมื่อต้องการคิดค้นรุ่นใหม่ออกมา Puma จึงเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีในเนื้อยางแทน
ตอนที่รุ่นนี้ออกมาประมาณ 3 เดือน แต่ผู้จัดจำหน่ายในไทยก็ไม่นำเข้ามาซักที จึงพยายามหาช่องทางการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งที่อเมริกาขายราคาต่ำสุดเมื่อเทียบกับโซนอื่นๆ คืออยู่ที่ $100 คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 3,300 บาท (สำหรับรุ่นธรรมดา ส่วนรุ่น PWRCool ราคาอยู่ที่ $110) แต่โชคร้ายที่สินค้าประเภทอุปกรณ์กีฬา ไม่จัดส่งออกนอกประเทศ ระหว่างที่หาช่องทางอยู่นั้น ผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยก็ทดลองนำเจ้า Puma Ignite มาขายจำนวนจำกัดเพื่อดูกระแสตอบรับ แต่กลับนำเข้ามาเป็นรุ่น PWRCool แทน
น้ำหนักตัวของรองเท้ารุ่นนี้อยู่ที่ประมาณ 285 g
PWRCool เป็นเทคโนโลยีหน้าผ้าชนิดพิเศษช่วยในการระบายความร้อนและรักษาอุณหภูมิภายในรองเท้าให้อยู่ที่ 28 °C
ต้องออกตัวก่อนว่า ผมไม่ใช่นักวิ่ง กีฬาที่ผมเล่นคือฟุตบอล แต่ช่วงหลังเริ่มหันมาวิ่งมากขึ้นเนื่องจากเพื่อนที่เตะบอลด้วยกันเขาแยกย้ายกันไปทำงานหมด ส่วนใหญ่ก็จะวิ่งแค่ 3 - 4 กม. ต่อครั้ง สัปดาห์ละ 2 - 3 วัน เวลาร่วมงานวิ่งก็จะลงแค่รุ่น 10 กม. ดังนั้นการที่ผมซื้อรองเท้าวิ่งส่วนใหญ่จะเน้นใช้งานในชีวิตประจำวันเสียมากกว่า เกณฑ์ในการเลือกซื้อผมจึงมาจาก 1.) รูปลักษณ์ภายนอก 2.) ความนุ่มสบาย 3.) ยี่ห้อ
เข้าสู่ช่วงรีวิวการใช้งาน ผมจะรีวิวควบคู่กับเทคโนโลยีที่ตัวรองเท้ากล่าวอ้างมานะครับ
ส่วน upper
รุ่นที่ผมใช้งานเป็นรุ่น PWRCool ดังนั้นหน้าผ้าจึงเป็นลักษณะมีรูพรุนเป็นลิ่มๆ ดังรูป ส่วนตัวรู้สึกว่ามันแข็งกระด้างและสาก ไม่เหมาะกับการใช้งานแบบเท้าเปล่าไม่สวมถุงเท้า ข้อเสียหลักคือ "ทรงมันเรียวเกินไป" แถมวัสดุก็ไม่สามารถขยายได้ คนเท้าบานหมดสิทธิใส่แน่นอน ในบริเวณ Toe Box ถูกเฟล็กให้อยู่ทรงด้วยวัสดุที่คล้ายกับยางแต่กลับไม่มีความยืดหยุ่นทำให้กลายเป็นจุดอ่อนหลักของรองเท้ารุ่นนี้ ตอนที่ผมใส่เที่ยวมันก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่พอลองนำมันมาลงวิ่ง 10 กม. ผลคือ นิ้วก้อยเท้าขวาขึ้นเป็นตุ่มน้ำใส จากการเสียดสี นี่ขนาดสวมถุงเท้าด้วย แต่เท้าซ้ายไม่เป็นไร อาจเพราะเท้าขวาผมบานกว่าเท้าซ้ายเล็กน้อย
แต่เรื่องการระบายอากาศทำได้สุดยอดมาก ผมเคยลองใช้รองเท้าวิ่งเกรดท็อปๆ มาหลายรุ่น ยังต้องยอมรับว่าเทคโนโลยี PWRCool ของ Puma ที่ทำได้น่าประทับใจมากๆ ระบายอากาศได้ดี ไม่รู้สึกร้อนหรืออับเลย
ลิ้นรองเท้าค่อนข้างบางมาก มีปัญหาตอนสวมเนื่องจากลิ้นบางจนพับไปพับมา สวมยาก แต่เมื่อรัดเชือกก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
แผ่นพื้นรอง
Puma กลับมาใช้เทคโนโลยี EVA Foam แทนโฟมฟองน้ำแบบเก่า ซึ่งช่วยในเรื่องความเบา สามารถหล่อทรงให้เข้ารูปเท้ามากกว่าโฟมแบบเก่า แต่ได้ความนุ่มยิ่งขึ้น ถ้าข้อมูลไม่ผิดพลาด Puma เริ่มหันมาใช้ EVA Foam แทนโฟมแบบเก่าตั้งแต่รองเท้าวิ่งรุ่น Faas 300 v.3
ชุดพื้นรองเท้า
เริ่มจากเทคโนโลยี Ignite Foam คือเจ้ายางสีขาวๆ ในรูปคุณสมบัติหลักๆ คือให้แรงกระเด้งกลับที่สูงมาก แต่อาจเพราะเนื้อโฟมที่มีความแน่นทำให้รู้สึกว่าไม่นุ่มเท่าไหร่ หากเทียบกับ Boost Foam ของ Adidas ก็ประมาณว่า Ignite ไม่นุ่มเท่า Boost แต่กินขาดเรื่องความเด้ง
ซึ่ง Ignite Foam ดังกล่าวจะทำงานควบคู่กับ Forever Foam ภายในที่จะช่วยดูดซับแรงกระแทกซึ่งสะท้อนเข้าสู่เท้า (คล้ายๆกับเทคโนโลยี Gel ของ Asics) แต่แอบขัดใจตรงทีทำไมทำมาชิ้นกระจึ๋งเดียว ทำให้ใหญ่ๆ กว่านี้ไม่ได้หรือไง แถมรู้สึกขัดๆ เหมือนมีแผ่นอะไรอยู่ที่ส้นเท้าเป็นบางครั้ง
พื้น outsole ยังคงเป็นเทคโนโลยียาง EverTrack ช่วยเพิ่มความทนทาน ชะลอการสึกหรอ
แถบสะท้อนแสงใหญ่เห็นชัดเจน
สรุปการใช้งานรวม
ข้อดี
- รองเท้าจัดอยู่ในกลุ่มสำหรับผู้มีเท้าแบบ normal arch
- กระชับเท้า พื้นรองแบบ EVA Foam เข้ารูปเท้ามั่นคงดีมาก
- วิ่งโดยใช้สปีดทำได้อย่างที่เทคโนโลยีโม้ไว้ คือ วิ่งสปีดได้นานขึ้นแต่เหนื่อยน้อยลง รู้สึกได้ถึงแรงส่งที่มากขึ้น วัดได้จากเวลารวมจากการวิ่ง 10 กม. ของผมดีขึ้นจากรายการก่อนหน้านี้ที่ผมใช้รองเท้าสาย support ลงวิ่งถึง 15 นาที!!!
- การรองรับแรงกระแทกอยู่ในเกณฑ์ปานกลางค่อนข้างดี หลังจากวิ่ง 10 กม. ไม่รู้สึกถึงอาการปวดบริเวณข้อเท้าหรือหัวเข่าแต่อย่างใด
- ดีไซน์สวยเฉียบ สามารถใส่เที่ยวได้สบายๆ
ข้อเสีย
- น้ำหนักพื้นที่มาก ทำให้จัดอยู่ในสาย reponsive แทนที่จะเป็น lightweight (285 g)
- รูปทรงเรียวเกินไป ส่วนของ Toe Box การขยายตัวให้เข้ากับรูปเท้าทำได้ไม่ดี จึงไม่เหมาะกับคนหน้าเท้ากว้าง และไม่เหมาะกับการใส่เล่นฟิตเนสที่ต้องการพื้นที่ว่างบริเวณหัวรองเท้าให้นิ้วเท้าแบะออกได้
- ยางพื้น midsole (ยาง Ignite Foam สีขาวในภาพ) สกปรกง่ายมากๆ
- ยางพื้น outsole (ยาง EverTrack สีดำในภาพ) ค่อนข้างลื่นเมื่อวิ่งบนถนนที่เปียก
- ราคาในไทยแพงมาก อยู่ที่ 4,990 บาท ในขณะที่เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นเมื่อแปลงเป็นเงินบาท เช่น อเมริกา 3,600 บาท ($100)
- รองเท้าจัดอยู่ในระดับรองท็อปเมื่อเทียบกับแบรนด์ดังๆ ด้านรองเท้าวิ่ง ทำให้รู้สึกได้ว่าเทคโนโลยีของรองเท้ารุ่นนี้ยังไม่สุด ยังสามารถพัฒนาได้อีก เพียงแต่ Puma มักทำตลาดรองเท้าวิ่งอยู่ในเกณฑ์ราคาปานกลาง ($80 - $120) จึงกลายเป็นต้องจำกัดเทคโนโลยีให้ขายได้ในเกณฑ์ราคาดังกล่าวด้วย
หมายเหตุ : รีวิวชุดนี้เป็นการรีวิวจากการใช้งานส่วนตัวเพื่อโพสใน pantip เป็นการแชร์ประสบการณ์การใช้งาน ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับทางบริษัทผู้จำหน่ายหรือห้างร้านหรือเวปเพจใดๆ ทั้งสิ้น
[CR] [CR] รีวิว Puma Ignite PWRCool
Puma แบรนด์ที่มีฐานแฟนลับๆ มากพอสมควรในบ้านเรา ที่บอกว่าลับๆ เพราะสินค้า Puma หลายรุ่นต้องลุ้นว่าผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยจะนำเข้ามาหรือไม่ ส่วนใหญ่ผู้แทนจำหน่ายมักไปเน้นด้านมอเตอร์สปอร์ตมากกว่า หากเป็นสินค้าเกี่ยวกับ Running ก็ดันเป็นของผู้หญิงเสียส่วนใหญ่ ส่วนสินค้าประเภท Running ของผู้ชาย นำมาขายเพียงแค่ 1/10 ของที่ Puma มี มันนำเข้ามาขายน้อยอย่างนี้จริงๆไม่ได้พูดเกินเลย
ต้องเท้าความสักนิด แม้แต่รองเท้าวิ่งก็มีการแบ่งสายการใช้งานนอกเหนือจากแบ่งตามรูปแบบเท้า ซึ่งไอ้เจ้า Puma Ignite จัดอยู่ในสาย Energy Return นั่นคือยิ่งเราออกแรงวิ่งลงไปที่เท้า เมื่อเท้าปะทะกับพื้นก็จะมีแรงส่งให้เราเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ดีขึ้นโดยใช้แรงลดลง ถ้าผมจำไม่ผิด แบรนด์พี่น้องของ Puma อย่าง Adidas จะริเริ่มเอาจริงเอาจังกับสายนี้ก่อน แต่มาดังมากๆ กับการคิดค้น Boost Foam
ผมไม่มั่นใจว่า Puma เริ่มเอาจริงเอาจังกับสาย Energy Return ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่มาโปรโมทมากๆ ก็ตอนที่ออกแบบรุ่น Puma Mobium เมื่อประมาณ 2 ปีก่อน ซึ่งก็อยู่ในช่วงลองผิดลองถูก แม้ยอดขายจะดีแต่รุ่น Mobium ก็มีจุดอ่อนให้เห็นอยู่มาก ดังนั้นเมื่อต้องการคิดค้นรุ่นใหม่ออกมา Puma จึงเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีในเนื้อยางแทน
ตอนที่รุ่นนี้ออกมาประมาณ 3 เดือน แต่ผู้จัดจำหน่ายในไทยก็ไม่นำเข้ามาซักที จึงพยายามหาช่องทางการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งที่อเมริกาขายราคาต่ำสุดเมื่อเทียบกับโซนอื่นๆ คืออยู่ที่ $100 คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 3,300 บาท (สำหรับรุ่นธรรมดา ส่วนรุ่น PWRCool ราคาอยู่ที่ $110) แต่โชคร้ายที่สินค้าประเภทอุปกรณ์กีฬา ไม่จัดส่งออกนอกประเทศ ระหว่างที่หาช่องทางอยู่นั้น ผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยก็ทดลองนำเจ้า Puma Ignite มาขายจำนวนจำกัดเพื่อดูกระแสตอบรับ แต่กลับนำเข้ามาเป็นรุ่น PWRCool แทน
น้ำหนักตัวของรองเท้ารุ่นนี้อยู่ที่ประมาณ 285 g
PWRCool เป็นเทคโนโลยีหน้าผ้าชนิดพิเศษช่วยในการระบายความร้อนและรักษาอุณหภูมิภายในรองเท้าให้อยู่ที่ 28 °C
ต้องออกตัวก่อนว่า ผมไม่ใช่นักวิ่ง กีฬาที่ผมเล่นคือฟุตบอล แต่ช่วงหลังเริ่มหันมาวิ่งมากขึ้นเนื่องจากเพื่อนที่เตะบอลด้วยกันเขาแยกย้ายกันไปทำงานหมด ส่วนใหญ่ก็จะวิ่งแค่ 3 - 4 กม. ต่อครั้ง สัปดาห์ละ 2 - 3 วัน เวลาร่วมงานวิ่งก็จะลงแค่รุ่น 10 กม. ดังนั้นการที่ผมซื้อรองเท้าวิ่งส่วนใหญ่จะเน้นใช้งานในชีวิตประจำวันเสียมากกว่า เกณฑ์ในการเลือกซื้อผมจึงมาจาก 1.) รูปลักษณ์ภายนอก 2.) ความนุ่มสบาย 3.) ยี่ห้อ
เข้าสู่ช่วงรีวิวการใช้งาน ผมจะรีวิวควบคู่กับเทคโนโลยีที่ตัวรองเท้ากล่าวอ้างมานะครับ
ส่วน upper
รุ่นที่ผมใช้งานเป็นรุ่น PWRCool ดังนั้นหน้าผ้าจึงเป็นลักษณะมีรูพรุนเป็นลิ่มๆ ดังรูป ส่วนตัวรู้สึกว่ามันแข็งกระด้างและสาก ไม่เหมาะกับการใช้งานแบบเท้าเปล่าไม่สวมถุงเท้า ข้อเสียหลักคือ "ทรงมันเรียวเกินไป" แถมวัสดุก็ไม่สามารถขยายได้ คนเท้าบานหมดสิทธิใส่แน่นอน ในบริเวณ Toe Box ถูกเฟล็กให้อยู่ทรงด้วยวัสดุที่คล้ายกับยางแต่กลับไม่มีความยืดหยุ่นทำให้กลายเป็นจุดอ่อนหลักของรองเท้ารุ่นนี้ ตอนที่ผมใส่เที่ยวมันก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่พอลองนำมันมาลงวิ่ง 10 กม. ผลคือ นิ้วก้อยเท้าขวาขึ้นเป็นตุ่มน้ำใส จากการเสียดสี นี่ขนาดสวมถุงเท้าด้วย แต่เท้าซ้ายไม่เป็นไร อาจเพราะเท้าขวาผมบานกว่าเท้าซ้ายเล็กน้อย
แต่เรื่องการระบายอากาศทำได้สุดยอดมาก ผมเคยลองใช้รองเท้าวิ่งเกรดท็อปๆ มาหลายรุ่น ยังต้องยอมรับว่าเทคโนโลยี PWRCool ของ Puma ที่ทำได้น่าประทับใจมากๆ ระบายอากาศได้ดี ไม่รู้สึกร้อนหรืออับเลย
ลิ้นรองเท้าค่อนข้างบางมาก มีปัญหาตอนสวมเนื่องจากลิ้นบางจนพับไปพับมา สวมยาก แต่เมื่อรัดเชือกก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
แผ่นพื้นรอง
Puma กลับมาใช้เทคโนโลยี EVA Foam แทนโฟมฟองน้ำแบบเก่า ซึ่งช่วยในเรื่องความเบา สามารถหล่อทรงให้เข้ารูปเท้ามากกว่าโฟมแบบเก่า แต่ได้ความนุ่มยิ่งขึ้น ถ้าข้อมูลไม่ผิดพลาด Puma เริ่มหันมาใช้ EVA Foam แทนโฟมแบบเก่าตั้งแต่รองเท้าวิ่งรุ่น Faas 300 v.3
ชุดพื้นรองเท้า
เริ่มจากเทคโนโลยี Ignite Foam คือเจ้ายางสีขาวๆ ในรูปคุณสมบัติหลักๆ คือให้แรงกระเด้งกลับที่สูงมาก แต่อาจเพราะเนื้อโฟมที่มีความแน่นทำให้รู้สึกว่าไม่นุ่มเท่าไหร่ หากเทียบกับ Boost Foam ของ Adidas ก็ประมาณว่า Ignite ไม่นุ่มเท่า Boost แต่กินขาดเรื่องความเด้ง
ซึ่ง Ignite Foam ดังกล่าวจะทำงานควบคู่กับ Forever Foam ภายในที่จะช่วยดูดซับแรงกระแทกซึ่งสะท้อนเข้าสู่เท้า (คล้ายๆกับเทคโนโลยี Gel ของ Asics) แต่แอบขัดใจตรงทีทำไมทำมาชิ้นกระจึ๋งเดียว ทำให้ใหญ่ๆ กว่านี้ไม่ได้หรือไง แถมรู้สึกขัดๆ เหมือนมีแผ่นอะไรอยู่ที่ส้นเท้าเป็นบางครั้ง
พื้น outsole ยังคงเป็นเทคโนโลยียาง EverTrack ช่วยเพิ่มความทนทาน ชะลอการสึกหรอ
แถบสะท้อนแสงใหญ่เห็นชัดเจน
สรุปการใช้งานรวม
ข้อดี
- รองเท้าจัดอยู่ในกลุ่มสำหรับผู้มีเท้าแบบ normal arch
- กระชับเท้า พื้นรองแบบ EVA Foam เข้ารูปเท้ามั่นคงดีมาก
- วิ่งโดยใช้สปีดทำได้อย่างที่เทคโนโลยีโม้ไว้ คือ วิ่งสปีดได้นานขึ้นแต่เหนื่อยน้อยลง รู้สึกได้ถึงแรงส่งที่มากขึ้น วัดได้จากเวลารวมจากการวิ่ง 10 กม. ของผมดีขึ้นจากรายการก่อนหน้านี้ที่ผมใช้รองเท้าสาย support ลงวิ่งถึง 15 นาที!!!
- การรองรับแรงกระแทกอยู่ในเกณฑ์ปานกลางค่อนข้างดี หลังจากวิ่ง 10 กม. ไม่รู้สึกถึงอาการปวดบริเวณข้อเท้าหรือหัวเข่าแต่อย่างใด
- ดีไซน์สวยเฉียบ สามารถใส่เที่ยวได้สบายๆ
ข้อเสีย
- น้ำหนักพื้นที่มาก ทำให้จัดอยู่ในสาย reponsive แทนที่จะเป็น lightweight (285 g)
- รูปทรงเรียวเกินไป ส่วนของ Toe Box การขยายตัวให้เข้ากับรูปเท้าทำได้ไม่ดี จึงไม่เหมาะกับคนหน้าเท้ากว้าง และไม่เหมาะกับการใส่เล่นฟิตเนสที่ต้องการพื้นที่ว่างบริเวณหัวรองเท้าให้นิ้วเท้าแบะออกได้
- ยางพื้น midsole (ยาง Ignite Foam สีขาวในภาพ) สกปรกง่ายมากๆ
- ยางพื้น outsole (ยาง EverTrack สีดำในภาพ) ค่อนข้างลื่นเมื่อวิ่งบนถนนที่เปียก
- ราคาในไทยแพงมาก อยู่ที่ 4,990 บาท ในขณะที่เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นเมื่อแปลงเป็นเงินบาท เช่น อเมริกา 3,600 บาท ($100)
- รองเท้าจัดอยู่ในระดับรองท็อปเมื่อเทียบกับแบรนด์ดังๆ ด้านรองเท้าวิ่ง ทำให้รู้สึกได้ว่าเทคโนโลยีของรองเท้ารุ่นนี้ยังไม่สุด ยังสามารถพัฒนาได้อีก เพียงแต่ Puma มักทำตลาดรองเท้าวิ่งอยู่ในเกณฑ์ราคาปานกลาง ($80 - $120) จึงกลายเป็นต้องจำกัดเทคโนโลยีให้ขายได้ในเกณฑ์ราคาดังกล่าวด้วย
หมายเหตุ : รีวิวชุดนี้เป็นการรีวิวจากการใช้งานส่วนตัวเพื่อโพสใน pantip เป็นการแชร์ประสบการณ์การใช้งาน ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับทางบริษัทผู้จำหน่ายหรือห้างร้านหรือเวปเพจใดๆ ทั้งสิ้น