สวัสดีค่ะ วันนี้เราอยากแชร์ประสบการณ์ ที่ได้ร่วมเป็นสมาชิกของ LOKAHI CANOE CLUB ที่ ฮาวาย ส่วนตัวเราย้ายมาอยู่ที่ โฮโนลูลู ฮาวาย ได้สักพักหนึ่ง จากนั้นก็ได้ไปสมัครเป็นสมาชิก ของ LOKAHI CANOE CLUB การพายเรือแคนูที่ฮาวาย ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของคนที่นี่ สมัยก่อนคนฮาวายเดินทางจากเกาะหนึ่ง ไปอีกเกาะหนึ่ง ด้วยเรือแคนู เรือที่เราพายในคลับนี้ เรียกว่า six-man canoe ซึ่งก็เข้าใจได้ว่า ต้องใช้นักพายเรือทั้งหมด ๖ คน ต่อเรือ ๑ ลำ
เพื่อนๆ ดูภาพประกอบนะ เรานั่งอยู่คนที่ ๕ นับจากด้านหน้านะคะ ตัวเล็กๆ ดำๆ แหะๆ ภาพนี้เป็นภาพวันที่ไปแข่ง พายเรือระยะไกลที่ Magic Island ประเภท mixed crew (ประเภทที่ต้องมี ผู้หญิง ๓ คน และ ผู้ชาย ๓ คน ในเรือ) ได้ที่ ๒ ด้วยนะ (แอบอวดนิดนึง) ด้านหลังที่เห็นเป็นท่าเรือ Alawai Harbor ค่ะกลับมาที่เรือแคนูกันต่อ เรือ six-man canoe ที่ว่านี้ ในแต่ละตำแหน่งที่นักพายเรือนั่ง ก็จะมีหน้าที่และความสำคัญ ต่างๆ กัน ตอนแรกที่เรามาร่วมเป็นสมาชิกในคลับ ก็จะมีโค้ชมาคอยสอน สิ่งต่างๆ เกี่ยวกับเรือแคนู ซึ่งเราอาจจะอธิบายในบล๊อคต่อๆไปนะ มาพูดถึงตำแหน่งต่างๆ ในเรือ ในเรือจะมีนักพายเรือ (ต่อไปขอเรียกว่าฝีพาย เราเปิดพจนานุกรมดู ใช้คำนี้น่าจะเหมาะ ไทยๆ เข้าใจง่ายดีค่ะ) มีทั้งหมด ๖ คน ตำแหน่งที่ ๑ ด้านหน้าสุด ปกติเราเรียกว่า stroker มีหน้าที่ตามนั้นเลย คือเป็นคนควบคุมจังหวะการพายเรือ ส่วนใหญ่แล้ว โค้ชจะให้คนที่มีทักษะการพายเรือเก่งๆ นั่งตำแหน่งที่ ๑ ซึ่งสำคัญมาก เพราะทุกคนในเรือ จะพายตามจังหวะฝีพายคนที่ ๑ ต่อมาตำแหน่งที่ ๒ ไม่มีชือเรียกหรอกค่ะ แต่มีความสำคัญที่จะเป็นคนให้สัญญาณการเปลี่ยนข้างการพาย โดยปกติแล้วเราจะพายข้างละประมาณ ๑๒ ถึง ๑๕ ครั้ง จากนั้นฝีพายที่ ๒ จะส่งสัญญาณว่า "hut" ฝีพายทุกคนเป็นอันเข้าใจได้ว่า เราจะสลับข้างการพายเรือ ฝีพายในตำแหน่งที่ ๓, ๔ และ ๕ ถือว่าเป็นกำลังหลักของเรือ ทำหน้าที่พายอย่างเต็มที่เพื่อให้เรือขับเคลื่อนไปข้างหน้า ส่วนตำแหน่งสุดท้าย ตำแหน่งที่ ๖ เรียกว่า เป็นคนบังคับทิศทางของเรือ และ ออกคำสั่ง ให้หยุด หรือ พาย เรียกว่า steersman
อธิบายมายืดยาวละ เดี๋ยวจะเบื่อกันซะก่อน เราพักเรื่อง ทฤษฏี กฎ กติกา มารยาท กันไว้ก่อนนะ เดี๋ยวจะเล่าในครั้งต่อๆไปค่ะ มาว่าเรื่องการแข่งขันกันสักนิดดีกว่า เรามีโอกาสร่วมแข่งการพายเรือระยะไกล มาสองครั้ง วั้นนั้นแข่งที่ Magic Island รวมระยะทางก็ประมาณ ๑๐ ไมล์ค่ะ พายกันอยู่ประมาณ ๑ ชั่วโมง มีคลับต่างๆ มาร่วมแข่งขันกันเยอะมาก การออกสตาร์ท ก็จะแข่งรวมกันในหลายๆ ประเภท พายไปตามเส้นทางที่กำหนด การแข่งขันสนุกมาก ระหว่างที่เราพายไป ก็จะมีเรือคู่แข่งที่พายไล่กันมา ได้ยินเสียง steersman บอกกับลูกเรือว่า "พายไป อย่าหยุด" , " เราใกล้ถึงเส้นชัยแล้ว" , "เราทำได้" หรือ "ใช้เทคนิคที่เราฝึกมา" อาจจะดูเชยๆนะคะ เราแปลเป็นภาษาไทยน่ะ
มีอยู่จังหวะหนึ่งที่เรือของเรา ต้องไปยูเทริ์น แต่เนื่องจากมีเรืออีกลำ ที่พายสูสีกันมา ระหว่างที่กลับเรือ หัวเรือเรืออีกลำมาชนที่ซี่โครงเรา โชคดีที่ไม่แรงมาก แต่เราหยุดพายเรือไม่ได้เลย เพราะถ้าคนใดคนนึงหยุด สามารถทำมให้เรือช้าลงไปได้ โอกาสชนะน้อยลง เป็นความรู้สึกที่เกินบรรยายค่ะ กัดฟันพายต่อ ลืมความเจ็บไปเลย
มีจังหวะนึงที่เราสามารถแซง เรือที่มีเด็กหนุ่มอายุ ๑๖ ปี ได้ ความรู้สึกมันเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มากๆ โค้ชเคยบอกว่า การพายเรือ ความแข็งแรงของร่างกายเป็นเรื่องรอง เป็นเรื่องรอง ทุกอย่างอยู่ที่ จังหวะการพายที่พร้อมเพรียงกัน , เทคนิค และ ทักษะ โค้ชพูดถูกค่ะ วันนั้น เรือเราเขาเส้นชัยเป็นที่ ๒
การถ่ายภาพระหว่างการแข่งค่อนข้างยากค่ะ ภาพส่วนใหญ่ ก็จะเป็นตอนที่เราเตรียมตัวลงแข่ง หรือหลังจากเข้าเส้นชัยมาแล้ว
นี่เป็นตอนที่เรากำลังเข้าเส้นชัย เราชอบภาพนี้มาก ขอบคุณเพื่อนในคลับที่เก็บภาพดีๆ ไว้เป็นความประทับใจนะคะ ภูเขาที่เพื่อนๆเห็นด้านหลัง ชื่อว่า Diamond Head ค่ะ
ก่อนแข่งโค้ชก็เรียกขวัญกำลังใจกันก่อน
เราใส่เสื้อสีขาว แขนยาวๆ ค่ะ
ออกสตาร์ท
พายเสร็จก็มายืนเมาท์กับเพื่อนหน่อย
นี่เป็นรุ่นใหญ่ แต่ละคนใจเกินร้อยมาก เข้าเส้นชัยแล้วหายเหนื่อยกันเลยทีเดียว
สาวๆในทีม ตอนแข่งประเภท มือใหม่ ด้วยกันค่ะ
เพื่อนๆในคลับบางส่วนค่ะ
บางคู่ก็ให้กำลังใจกันก่อนแข่ง แอบฟินเลย
คนนี้ คุณลุงบิล หนึ่งในโค้ชที่ฝึกสอนพวกเราค่ะ อายุเยอะแล้ว แต่ยังแข็งแรงอยู่ แกพายเรือแคนูตั้งแค่เรายังไม่เกิด
นี่รุ่น Senior Men แข็งแรงที่สุดในคลับละรุ่นนี้
เล่าเรื่องด้วยภาพมาซะเพลินเลย ขอบคุณเพื่อนๆที่สละเวลามาอ่านนะคะ ช่วงเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม เป็นฤดูกาลแข่งขัน พายเรือ แบบ สปรินส์ ระยะ สั้น เราจะพยายามเก็บภาพบรรยากาศมาให้เพื่อนๆดูอีกนะ ช่วงนี้ก็ยังซ้อมทุกวันค่ะ
ลากันด้วยบรรยากาศพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่ฮาวายกันค่ะ
คิดถึงเมืองไทย..
จากบ้านเมืองไทย มาพายเรือแคนูที่ฮาวาย
เพื่อนๆ ดูภาพประกอบนะ เรานั่งอยู่คนที่ ๕ นับจากด้านหน้านะคะ ตัวเล็กๆ ดำๆ แหะๆ ภาพนี้เป็นภาพวันที่ไปแข่ง พายเรือระยะไกลที่ Magic Island ประเภท mixed crew (ประเภทที่ต้องมี ผู้หญิง ๓ คน และ ผู้ชาย ๓ คน ในเรือ) ได้ที่ ๒ ด้วยนะ (แอบอวดนิดนึง) ด้านหลังที่เห็นเป็นท่าเรือ Alawai Harbor ค่ะกลับมาที่เรือแคนูกันต่อ เรือ six-man canoe ที่ว่านี้ ในแต่ละตำแหน่งที่นักพายเรือนั่ง ก็จะมีหน้าที่และความสำคัญ ต่างๆ กัน ตอนแรกที่เรามาร่วมเป็นสมาชิกในคลับ ก็จะมีโค้ชมาคอยสอน สิ่งต่างๆ เกี่ยวกับเรือแคนู ซึ่งเราอาจจะอธิบายในบล๊อคต่อๆไปนะ มาพูดถึงตำแหน่งต่างๆ ในเรือ ในเรือจะมีนักพายเรือ (ต่อไปขอเรียกว่าฝีพาย เราเปิดพจนานุกรมดู ใช้คำนี้น่าจะเหมาะ ไทยๆ เข้าใจง่ายดีค่ะ) มีทั้งหมด ๖ คน ตำแหน่งที่ ๑ ด้านหน้าสุด ปกติเราเรียกว่า stroker มีหน้าที่ตามนั้นเลย คือเป็นคนควบคุมจังหวะการพายเรือ ส่วนใหญ่แล้ว โค้ชจะให้คนที่มีทักษะการพายเรือเก่งๆ นั่งตำแหน่งที่ ๑ ซึ่งสำคัญมาก เพราะทุกคนในเรือ จะพายตามจังหวะฝีพายคนที่ ๑ ต่อมาตำแหน่งที่ ๒ ไม่มีชือเรียกหรอกค่ะ แต่มีความสำคัญที่จะเป็นคนให้สัญญาณการเปลี่ยนข้างการพาย โดยปกติแล้วเราจะพายข้างละประมาณ ๑๒ ถึง ๑๕ ครั้ง จากนั้นฝีพายที่ ๒ จะส่งสัญญาณว่า "hut" ฝีพายทุกคนเป็นอันเข้าใจได้ว่า เราจะสลับข้างการพายเรือ ฝีพายในตำแหน่งที่ ๓, ๔ และ ๕ ถือว่าเป็นกำลังหลักของเรือ ทำหน้าที่พายอย่างเต็มที่เพื่อให้เรือขับเคลื่อนไปข้างหน้า ส่วนตำแหน่งสุดท้าย ตำแหน่งที่ ๖ เรียกว่า เป็นคนบังคับทิศทางของเรือ และ ออกคำสั่ง ให้หยุด หรือ พาย เรียกว่า steersman
อธิบายมายืดยาวละ เดี๋ยวจะเบื่อกันซะก่อน เราพักเรื่อง ทฤษฏี กฎ กติกา มารยาท กันไว้ก่อนนะ เดี๋ยวจะเล่าในครั้งต่อๆไปค่ะ มาว่าเรื่องการแข่งขันกันสักนิดดีกว่า เรามีโอกาสร่วมแข่งการพายเรือระยะไกล มาสองครั้ง วั้นนั้นแข่งที่ Magic Island รวมระยะทางก็ประมาณ ๑๐ ไมล์ค่ะ พายกันอยู่ประมาณ ๑ ชั่วโมง มีคลับต่างๆ มาร่วมแข่งขันกันเยอะมาก การออกสตาร์ท ก็จะแข่งรวมกันในหลายๆ ประเภท พายไปตามเส้นทางที่กำหนด การแข่งขันสนุกมาก ระหว่างที่เราพายไป ก็จะมีเรือคู่แข่งที่พายไล่กันมา ได้ยินเสียง steersman บอกกับลูกเรือว่า "พายไป อย่าหยุด" , " เราใกล้ถึงเส้นชัยแล้ว" , "เราทำได้" หรือ "ใช้เทคนิคที่เราฝึกมา" อาจจะดูเชยๆนะคะ เราแปลเป็นภาษาไทยน่ะ
มีอยู่จังหวะหนึ่งที่เรือของเรา ต้องไปยูเทริ์น แต่เนื่องจากมีเรืออีกลำ ที่พายสูสีกันมา ระหว่างที่กลับเรือ หัวเรือเรืออีกลำมาชนที่ซี่โครงเรา โชคดีที่ไม่แรงมาก แต่เราหยุดพายเรือไม่ได้เลย เพราะถ้าคนใดคนนึงหยุด สามารถทำมให้เรือช้าลงไปได้ โอกาสชนะน้อยลง เป็นความรู้สึกที่เกินบรรยายค่ะ กัดฟันพายต่อ ลืมความเจ็บไปเลย
มีจังหวะนึงที่เราสามารถแซง เรือที่มีเด็กหนุ่มอายุ ๑๖ ปี ได้ ความรู้สึกมันเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มากๆ โค้ชเคยบอกว่า การพายเรือ ความแข็งแรงของร่างกายเป็นเรื่องรอง เป็นเรื่องรอง ทุกอย่างอยู่ที่ จังหวะการพายที่พร้อมเพรียงกัน , เทคนิค และ ทักษะ โค้ชพูดถูกค่ะ วันนั้น เรือเราเขาเส้นชัยเป็นที่ ๒
การถ่ายภาพระหว่างการแข่งค่อนข้างยากค่ะ ภาพส่วนใหญ่ ก็จะเป็นตอนที่เราเตรียมตัวลงแข่ง หรือหลังจากเข้าเส้นชัยมาแล้ว
นี่เป็นตอนที่เรากำลังเข้าเส้นชัย เราชอบภาพนี้มาก ขอบคุณเพื่อนในคลับที่เก็บภาพดีๆ ไว้เป็นความประทับใจนะคะ ภูเขาที่เพื่อนๆเห็นด้านหลัง ชื่อว่า Diamond Head ค่ะ
ก่อนแข่งโค้ชก็เรียกขวัญกำลังใจกันก่อน เราใส่เสื้อสีขาว แขนยาวๆ ค่ะ
ออกสตาร์ท
พายเสร็จก็มายืนเมาท์กับเพื่อนหน่อย
นี่เป็นรุ่นใหญ่ แต่ละคนใจเกินร้อยมาก เข้าเส้นชัยแล้วหายเหนื่อยกันเลยทีเดียว
สาวๆในทีม ตอนแข่งประเภท มือใหม่ ด้วยกันค่ะ
เพื่อนๆในคลับบางส่วนค่ะ
บางคู่ก็ให้กำลังใจกันก่อนแข่ง แอบฟินเลย
คนนี้ คุณลุงบิล หนึ่งในโค้ชที่ฝึกสอนพวกเราค่ะ อายุเยอะแล้ว แต่ยังแข็งแรงอยู่ แกพายเรือแคนูตั้งแค่เรายังไม่เกิด
นี่รุ่น Senior Men แข็งแรงที่สุดในคลับละรุ่นนี้
เล่าเรื่องด้วยภาพมาซะเพลินเลย ขอบคุณเพื่อนๆที่สละเวลามาอ่านนะคะ ช่วงเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม เป็นฤดูกาลแข่งขัน พายเรือ แบบ สปรินส์ ระยะ สั้น เราจะพยายามเก็บภาพบรรยากาศมาให้เพื่อนๆดูอีกนะ ช่วงนี้ก็ยังซ้อมทุกวันค่ะ
ลากันด้วยบรรยากาศพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่ฮาวายกันค่ะ
คิดถึงเมืองไทย..