ขอแชร์ประสบการณ์การปลูกผักไฮโดรครั้งแรก *ปลูกกันแบบอินดี้ๆ #ทานผักกันรึยัง #ผักสลัดอินดี้

สวัสดีครับเพื่อนชาวพันทิป

ปล.ก่อนออกตัวพิมพ์ ขอออกตัวก่อนเลยนะครับว่าผมเองไม่ได้เป็นผู้เชียวชาญในสิ่งที่จะเขียนนี้แต่อย่างใด ถ้ามีข้อผิดถูกประการใดแนะนำกันแชร์กันได้ครับ

เท้าความกันสักหน่อย คือส่วนตัวผมชอบทานผักสลัดมาก เนื่องด้วยเคยอิ่มอวบกับการกินช่วงสมัยเรียนต่อทำให้นน.จาก 64 พุ่งทะลุไปจนแตะ 77 ตอนกลับมาก็พยายามออกกำลัง+กับทานผักสลัดแทนข้าว *ย้ำว่าแทนข้าวเพราะยังคงทานกับข้าวอยู่เหมือนเดิม และแล้วนน.ก็กลับลงมาแตะ62 (แอบดีใจเบาๆ) ช่วงนั้นทานผักสลัดที่ซื้อตามวิลล่าถุงนึงก็ตก 55-75 บาท *ก็แล้วแต่ยี่ห้อนะครับ ถุงหนึ่งสำหรับผมก็จะอยู่ได้ประมาณ 2-3วัน นั้นเลยเป็นความคิดว่าอยากลองปลูกผักกินเองจัง (แหม่…กว่าจะเข้าประเด็น) ยังครับยังก่อน เจ้าพ่อโปรเจคอย่างผมก็ทำนู้นนี่นั้นจนโปรเจคปลูกผักก็เงียบหายไป หลังจากนั้นสักปีครึ่งถึง2ปี ก็มีโอกาสได้ขี่จักรยานไปกับรุ่นพี่คนนึง ขอเอ่ยนามเลยว่าพี่เค *เจ้าของร้านกาแฟอินดี้ชื่อดังย่านถนนร่มเกล้า ร้านCafe Du Coq ก็คือร้านอาหารบ้านปีระกาแหล่ะครับ ที่เดียวกัน ร้านอาหารชื่อดังของย่านนี้ เรา2คนก็ปั่นไปซื้อผักไฮโดรที่ฟาร์มใกล้ๆแถวๆนั้น ซึ่งพอผมเห็นก็ตะลึงกับความเขียว สดสะอาดของผักหลากหลายชนิด นั้นก็เลยมาจุดประกายในหัวอีกครั้งก็เลยว่าจะเริ่มๆทำๆดู

มะ!! เข้าเรื่องกันซะที ก็เลยนั่งศึกษาด้วยการอ่านข้อมูลจากอากู๋เกิ้ลเอานี่แหล่ะซึ่งมีให้อ่านตระการตาเยอะมาก แต่ก็ไปเจอบทความนึงซึ่งดูไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไปอ่านง่ายดี http://agri.wu.ac.th/mso…/Soilless/Chapter03/Hydroponics.htm ลองอ่านๆกันดูครับประดับความรู้ ก็เลยพอทำให้รู้เรื่องรู้ราวบ้างในระดับนึงว่าสิ่งที่เราอยากทำมันคืออะไรยังไง

ที่เราๆเรียกกันว่าการปลูกผักไฮโดรนั้น แท้จริงแล้วมันคือการปลูกด้วยน้ำนั้นเองครับ แต่มันก็จะมีวิธีการปลูกแยกย่อยออกไปอีก ซึ่งเท่าที่อ่านที่ศึกษามาผมคิดว่าวิธีที่จะเหมาะกับผมมากสุดก็คือวิธี Nutrient Film Technique (NFT) ชื่องงๆอะไรก็ไม่รู้เนอะ เอาเป็นว่าอย่างนี้ครับ มันก็คือการปลูกผักไฮโดรด้วยน้ำทั่วๆไปแหล่ะครับ แต่มันจะมีความแตกต่างในเรื่องของอากาศที่ถ่ายเทได้มากขึ้นซึ่งจะทำให้ปุ๋ยเราได้รับO2มากขึ้นให้ผักให้รากผักได้โดนอากาศบ้างไรงี้ อันนี้แบบชาวบ้านๆเข้าใจง่ายดีและก็คงเป็นเรื่องของอุปกรณ์ในการทำครับ ข้อดีของวิธีนี้คือสารอาหารรึปุ๋ยจะโดนรากได้ดีเพราะรางไม่ลึกมากเพราะวิธีนี้เราใช้ระบบน้ำวนด้วยปั๊มน้ำปุ๋ยรึสารอาหารก็จะจนในระบบอย่างทั่วถึง และพอรางไม่ลึกมากแปลงผักเราก็ไม่จำเป็นต้องใหญ่โตอะไร นั้นทำให้ค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ไม่พุ่งแรงมาก แต่วิธีนี้จะเปลืองปุ๋ยหน่อยนะครับเพราะเป็นระบบหมุนเวียนต้นไม้ก็จะกินปุ๋ยทุกวันๆเราก็ต้องอาศัยการสังเกตุหน่อยว่าน้ำปุ๋ยลดลงมาระดับไหนแล้ว ควรจะต้องเติมปุ๋ยเมื่อไหร่ (ของผมบอกก่อนเลยครับว่าไม่รู้เรื่องไม่รู้ราวเท่าไหร่ ที่บอกตั้งแต่ต้นว่าปลูกแบบอินดี้ ก็ตามนั้นแหล่ะครับ ผมอาศัยการจดการสังเกตุคือถ้ารู้สึกว่าน้ำปุ๋ยในระบบหมดผมก็เติมตามสัดส่วน) ขอยังไม่ลงรายละเอียดการปลูกแล้วกันนะครับ วันนี้ขอเน้นๆเรื่องอุปกรณ์ก่อนดีกว่า

จากการสำรวจตลาด อุปกรณ์การปลูกผักขายกันแพงมาก ผมเคยเจอในลักษณะปลูกได้ 9ต้น รวมปั๊มรวมไรขายกันชุดละ 2700 บาท แม่เจ้าไมมันแพงจัง นั้นแหล่ะผมเลยว่าผมจะต่อเอง ด้วยความโชคดีที่มีโรงงานของที่บ้านพอจะมีลูกไม้ลูกมือให้พอช่วยหยิบจับได้ เลยลองไปถามๆเรื่องราคาอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นในการต่อรางผัก หลักเลยก็จะมีดังนี้ครับ
- ท่อPVC *ัอันนี้ขนาดแล้วแต่ละบุคคลครับ ผมใช้ท่อ 3นิ้ว ดูอลังการเลยทีเดียว (แต่ขอแนะนำนะครับว่าไม่จำเป็นต้องใช้ใหญ่ขนาดผมเพราะจากการลองปลูกครั้งแรกแล้ว น้ำในระบบมันใช้มากจนเกินไป มันก็จะเปลืองๆปุ๋ยด้วยครับไม่จำเป็น แต่ใครพื้นที่เยอะอยากอลังก็ไม่ว่ากันครับ)
- ท่อPVC ท่อเล็กสำหรับปล่อยน้ำจากปั๊มเข้าระบบ
- ข้องอข้อต่อต่างๆ อันนี้ก็ดูกันครับว่าจะปลูกกันกี่หัวกี่ต้น จะมีแยกกี่แยก ก็ใช้ตามนั้น
- ตัวล็อค/ยึดท่อ กรณีนี้ผมนำมาล็อคยึดระหว่างท่อที่ปล่อยน้ำเข้าระบบครับและก็นำมายึดตัวมุ่งด้วย
- ปั๊มน้ำ ที่ใช้กับพวกตู้ปลานั้นแหล่ะครับ ใช้ขนาดไหนนี่ต้องแล้วแต่แปลงผักครับ
- กาวรึอิบ๊อกซี่
- โครงเหล็ก โครงเหล็กนี้ผมไม่ได้ไปซื้อครับเอาเศษๆเหลือของที่โรงงานผมมานั่งประกอบๆดู
- มุ่งรึสแลง
- ถังน้ำ *ของผมใช้กล่องเก็บของที่ขายกันตามห้างทั่วไปเพราะมันใหญ่จุน้ำเยอะดีครับ
- อุปกรณ์ในการเจาะสว่าน ไขควง น็อตต่างๆด้วยนะครับ



วิธีการ
ผมก็เน้นตามแบบฉบับที่ได้เอ่ยไปตั้งแต่ต้นครับอินดี้เข้าว่า ก็คำนวนๆว่าอยากให้แปลงผักยาวสัก 4ม. ก็สั่งท่อมา แล้วก็เจาะเลยครับ ของผมเจาะท่อนึงได้ 16รู ครับมีทั้งหมด 6แถว และมีท่อแนวนอนที่ยึดตรงปลายแปลงอีก 4รู รวมเป็น 100รู ท่อที่ใช้ในรูปคือท่อขนาด 3นิ้วนะครับ


*แนะนิดนึงครับตอนเจาะควรจะต้องมีคนช่วยจับหรือมีเครื่องมือช่วยยึดก็จะดีมากครับไม่งั้นท่อจะไม่ตรงเบี้ยวมาทีจะยุ่งครับมันจะกระทบกับการไหลของน้ำคืออาจจะเป็นได้ว่าน้ำอาจจะไหลเอียงออกจากระบบประมาณนั้นครับ (ใช้หัวเจาะพลาสติกนะครับ) และก็เรื่องความสวยงามการเจาะรูไม่ตรงจะทำให้ผักเอียงกะเท่เล่ด้วยนะครับ เมื่อเจาะท่อทั้งหมดเสร็จแล้วเราก็นำข้องอข้อต่อต่างๆมายำรวมกันครับ





*ระบบของผมตอนนี้คือต้นแปลงผักผมจะใช้ข้องอต่อไว้อย่างเดียวซึ่งผมจะเจาะรูส่วนบนของข้องอไว้เพื่อจะยัดท่อเล็ก (ท่อขนาด6หุน) เข้าไปอีกครั้งหนึ่ง ท่อนี้แหล่ะครับที่ผมจะปล่อยน้ำเข้าสู้ระบบหลังจากใส่ท่อนี้เสร็จเรียบร้อยแล้วเจาะรูสัก 2-3รูปนะครับเพื่อให้น้ำไหลลงท่อแยกแต่ละท่อ





อันนี้ก็ดูจะเสร็จเกี่ยวกับเรื่องระบบน้ำเข้าไปแล้วนะครับส่วนต่อไปคือระบบน้ำออก



สำหรับระบบน้ำออกด้านท้ายแปลง ตอนแรกเริ่มเลยผมคิดจะปล่อยท่อลงปกติแต่ลืมคิดไปว่าถ้าน้ำมา100 มันก็ออก100น่ะซิ ก็เลยคิดเรื่องระบบลูกลอยง่ายๆอินดีๆขึ้นมาครับก็ออกมาดังภาพ



ทีนี้หมายความว่ายังไงรึครับ ก็หมายความว่าตอนนี้เราจะมีน้ำคงไว้ในระบบด้วย *คงไว้ในที่นี้คือเยอะเกินครึ่งท่อนะครับเพราะต้องคิดเผื่อไว้ตั้งแต่เริ่มปลูกเลยว่าน้ำต้องเยอะต้องให้ผักได้รับความชื้นตลอดเวลาครับ ผมเลยทำลูกลอยง่ายๆเก็บไว้ 2อัน ให้มีระดับต่างกันนิดๆนะครับ



อันแรกผมจะใช้ตอนที่เพิ่งนำผีกลงแปลงอันนี้ให้ระดับน้ำเยอะหน่อย อีกอันผมจะเปลี่ยนตอนที่ผักเริ่มมีรากที่ยาวพอควรคือระดับน้ำไม่ต้องมากเหมือนกับวันแรกๆก็ได้



เรื่องระบบน้ำออกนี่แล้วแต่ชอบกันเลยนะครับบาง่ทานอาจจะมีวิธีที่ดีกว่านี้ก็ได้ ผมนี่แบบบ้านๆตามแบบฉบับอินดี้ครับ  

ปล.เล็กน้อยท่อท้ายแปลงมันใช้ตัวข้อต่อหมดเลยนะครับถ้าจะสังเกตุจากรูปซึ่งผมจะไม่ทากาวเลยนะครับตรงข้อต่อ จะมาทากาวก็ตรงตำแหน่งตรงกลางที่ปล่อยน้ำออกจะใช้กาวแค่ตำแหน่งนั้นที่เดียว ซึ่งก็ไม่ได้มีน้ำรั่วซึมออกมามากนะครับคือมีบ้างแบบเล็กๆน้อยๆ

หลังจากประกอบท่อเรื่องระบบน้ำเสร็จแล้วก็ขอมาต่อที่ตัวโครงสร้างที่จะใช้วางแปลงผักครับ ผมใช้โครงเหล็กเหลือๆจากโรงงานครับเลยประหยัดตรงนี้ไป ถ้าไปซื้อเหล็กเองก็คงจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในระดับนึงครับ และบอกก่อนเลยว่าโครงเหล็กผมประกอบเพียงแค่วัดความยาว ความกว้างขนาดที่ต้องการใช้น็อตยึด ต่อยกความสูงขึ้นมาระดับเกือบเอว แล้วก็ต่อโครงหลังคาไว้เผื่อเลยทีเดียวครับ หลังจากนั้นลองยกท่อขึ้นว่าเอนเอียงไหมยังไง ซึ่งก็มีครับผมก็นำเหล็กที่เหลือๆมาค้ำยันไว้เพื่อให้มั่นใจว่าแข็งแรงเอาอยู่





หมายเหตุกันสักเล็กน้อย* ข้องอข้อต่อและเรื่องของการจัดระบบการวางท่อนั้นผมดัดแปลงเอาทุกอย่างตามหน้างานนะครับเพราะบางทีแผนการรูปแบบที่เตรียมไว้พอเจอหน้างานจริงก็หงายเงิบกันไป เอาเป็นว่าดัดแปลงกันตามความพอใจครับแบบของผมอาจจะเหมาะกับพื้นที่ผม แบบของ่ทาอื่นๆอาจจะเหมาะกับการจัดวางท่อและระบบแบบอื่นก็ได้

ช่วงทดสอบโครงสร้างแปลงผักทั้งหมด
เมื่อโครงเหล็กเสร็จแล้ว ท่อแปลงก็เสร็จแล้วก็ถึงเวลาเอาน้ำเปล่าธรรมดาๆใส่เข้าไปในระบบครับ และแน่นอนสิ่งที่ได้คือน้ำรั่วครับฮ่าๆ ก็แก้ปัญกากันที่หน้างานครับ ตรงไหนรั่วเราก็เอากาวรึอิบ็อกซี่จัดการซะ ท้ายสุดก็คือการเทสปั๊มน้ำครับ ซึ่งก็ลื่นฉลุยดี



วันนี้ฝากไว้ในเรื่องของการทำแปลงครับ เด๋วจะเอาข้อมูลเรื่องการปลูกมาลงๆไว้เรื่อยๆครับ

ผิดถูกประการใดชี้แนะด้วยครับมือใหม่ครับผม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่