หาหุ้นแบบ “Top Down”
มิถุนายน 9, 2015 Filed under บทความ Posted by ประภาคาร ภราดรภิบาล
บทความตอนที่แล้ว ผมเขียนถึงการหาหุ้นแบบ “Bottom up” ซึ่งเป็นการหาหุ้นโดยอาศัยการจุดประกายจาก “สิ่งเล็กๆ” ที่โดนใจเรา แล้วนำไปสู่การ “ขยายผล” ด้วยการหาข้อมูลที่กว้างขึ้น รอบด้านขึ้น เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน
คราวนี้ผมจะขอกล่าวถึงการหาหุ้นแบบ “Top Down” ซึ่งใช้มุมมองที่ต่างไป คือเป็นการหาหุ้นโดยมองจาก “ภาพใหญ่” ที่น่าสนใจ แล้วค่อยๆ เจาะลึกลงไปถึง “ภาพเล็ก” ซึ่งก็คือตัวกิจการหรือตัวหุ้นที่เชื่อมโยงมาจากภาพใหญ่นั้น
“ภาพใหญ่” ที่นักลงทุนใช้ในการวิเคราะห์เพื่อการลงทุนนั้นมีหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
ภาพใหญ่ทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่นานนี้ นโยบายจากภาครัฐบาลที่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ อย่างนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การขึ้นเงินเดือนราชการ นโยบายเพิ่มหรือลดการจัดเก็บภาษี
ภาพใหญ่ทางด้านสังคม เช่น การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุในเวลาอันใกล้ การกระจายความเจริญจากในเมืองออกสู่พื้นที่รอบนอก หรือ Urbanization
ภาพใหญ่ทางด้านพฤติกรรมมนุษย์ เช่น การกิน การอยู่อาศัย การดูแลรักษาสุขภาพ การเดินทาง การติดต่อสื่อสาร และอื่นๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ภาพใหญ่ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมที่จะก้าวผ่านจากยุค 3G เข้าสู่ 4G การคิดค้นวิทยาการใหม่ๆ การสร้างนวัตกรรมหรือประดิษฐกรรมใหม่ๆ การค้นพบแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ๆ ฯลฯ
จากภาพใหญ่ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น นักลงทุนที่ใช้วิธีการแบบ “Top Down” จะทำการวิเคราะห์ว่ามันจะส่งผลกระทบใน “ทางบวก” หรือ “ทางลบ” ต่ออุตสาหกรรมใดบ้าง
ถ้าอุตสาหกรรมใดได้รับผลกระทบในทางลบ นักลงทุนก็จะได้หลีกเลี่ยงการลงทุนในอุตสาหกรรมนั้น ส่วนถ้าอุตสาหกรรมใดได้รับผลบวกหรือได้ประโยชน์ นักลงทุนก็จะได้พิจารณาลงทุนต่อ โดยจะเจาะลึกลงไปอีกว่า ในอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากภาพใหญ่นั้น มีหุ้นของกิจการหรือบริษัทใดบ้างที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด ได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจมากที่สุด หรือมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นกิจการที่โดดเด่นที่สุดจากประเด็นดังกล่าว นั่นก็เป็นโอกาสที่จะพิจารณาลงทุน
แต่ไม่ว่าจะเป็นการหาหุ้นแบบ “Top Down” หรือ “Bottom up” ก็ตาม คงไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะได้หุ้นที่น่าลงทุนเสมอไป บางทีเมื่อเราไป “ทำการบ้าน” เพิ่มเติมแล้วอาจจะพบจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องบางประการที่ทำให้หุ้นตัวนั้นไม่น่าสนใจ เช่น เป็นธุรกิจที่ผู้อื่นสามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่ายเกินไป ผู้บริหารเคยมีประวัติหรือพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ กิจการมีภาระหนี้สินมากเกินไป เป็นต้น
แต่ถ้าหาข้อมูลแล้วพบว่าหุ้นตัวนั้นเข้าข่ายที่น่าสนใจ เราสามารถจัดบริษัทดังกล่าวไว้ใน Watch List ของเราได้ แม้บางทีในตอนนี้อาจจะยังไม่เหมาะที่จะเข้าไปลงทุน เช่น อาจจะต้องรอให้ผลลัพธ์บางอย่างทางธุรกิจมีความชัดเจนมากกว่านี้ หรือรอให้ราคาหุ้นมีความเหมาะสมที่จะเข้าลงทุนมากกว่านี้ เมื่อโอกาสดีๆ ในการลงทุนมาถึง การมี Watch List อยู่ในมือก็จะทำให้เราสามารถตัดสินใจลงทุนได้อย่างทันท่วงที
credit :
http://www.thaivi.org/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-top-down/
หาหุ้นแบบ "Top Down" (Thaivi.org)
มิถุนายน 9, 2015 Filed under บทความ Posted by ประภาคาร ภราดรภิบาล
บทความตอนที่แล้ว ผมเขียนถึงการหาหุ้นแบบ “Bottom up” ซึ่งเป็นการหาหุ้นโดยอาศัยการจุดประกายจาก “สิ่งเล็กๆ” ที่โดนใจเรา แล้วนำไปสู่การ “ขยายผล” ด้วยการหาข้อมูลที่กว้างขึ้น รอบด้านขึ้น เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน
คราวนี้ผมจะขอกล่าวถึงการหาหุ้นแบบ “Top Down” ซึ่งใช้มุมมองที่ต่างไป คือเป็นการหาหุ้นโดยมองจาก “ภาพใหญ่” ที่น่าสนใจ แล้วค่อยๆ เจาะลึกลงไปถึง “ภาพเล็ก” ซึ่งก็คือตัวกิจการหรือตัวหุ้นที่เชื่อมโยงมาจากภาพใหญ่นั้น
“ภาพใหญ่” ที่นักลงทุนใช้ในการวิเคราะห์เพื่อการลงทุนนั้นมีหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
ภาพใหญ่ทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่นานนี้ นโยบายจากภาครัฐบาลที่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ อย่างนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การขึ้นเงินเดือนราชการ นโยบายเพิ่มหรือลดการจัดเก็บภาษี
ภาพใหญ่ทางด้านสังคม เช่น การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุในเวลาอันใกล้ การกระจายความเจริญจากในเมืองออกสู่พื้นที่รอบนอก หรือ Urbanization
ภาพใหญ่ทางด้านพฤติกรรมมนุษย์ เช่น การกิน การอยู่อาศัย การดูแลรักษาสุขภาพ การเดินทาง การติดต่อสื่อสาร และอื่นๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ภาพใหญ่ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมที่จะก้าวผ่านจากยุค 3G เข้าสู่ 4G การคิดค้นวิทยาการใหม่ๆ การสร้างนวัตกรรมหรือประดิษฐกรรมใหม่ๆ การค้นพบแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ๆ ฯลฯ
จากภาพใหญ่ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น นักลงทุนที่ใช้วิธีการแบบ “Top Down” จะทำการวิเคราะห์ว่ามันจะส่งผลกระทบใน “ทางบวก” หรือ “ทางลบ” ต่ออุตสาหกรรมใดบ้าง
ถ้าอุตสาหกรรมใดได้รับผลกระทบในทางลบ นักลงทุนก็จะได้หลีกเลี่ยงการลงทุนในอุตสาหกรรมนั้น ส่วนถ้าอุตสาหกรรมใดได้รับผลบวกหรือได้ประโยชน์ นักลงทุนก็จะได้พิจารณาลงทุนต่อ โดยจะเจาะลึกลงไปอีกว่า ในอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากภาพใหญ่นั้น มีหุ้นของกิจการหรือบริษัทใดบ้างที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด ได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจมากที่สุด หรือมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นกิจการที่โดดเด่นที่สุดจากประเด็นดังกล่าว นั่นก็เป็นโอกาสที่จะพิจารณาลงทุน
แต่ไม่ว่าจะเป็นการหาหุ้นแบบ “Top Down” หรือ “Bottom up” ก็ตาม คงไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะได้หุ้นที่น่าลงทุนเสมอไป บางทีเมื่อเราไป “ทำการบ้าน” เพิ่มเติมแล้วอาจจะพบจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องบางประการที่ทำให้หุ้นตัวนั้นไม่น่าสนใจ เช่น เป็นธุรกิจที่ผู้อื่นสามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่ายเกินไป ผู้บริหารเคยมีประวัติหรือพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ กิจการมีภาระหนี้สินมากเกินไป เป็นต้น
แต่ถ้าหาข้อมูลแล้วพบว่าหุ้นตัวนั้นเข้าข่ายที่น่าสนใจ เราสามารถจัดบริษัทดังกล่าวไว้ใน Watch List ของเราได้ แม้บางทีในตอนนี้อาจจะยังไม่เหมาะที่จะเข้าไปลงทุน เช่น อาจจะต้องรอให้ผลลัพธ์บางอย่างทางธุรกิจมีความชัดเจนมากกว่านี้ หรือรอให้ราคาหุ้นมีความเหมาะสมที่จะเข้าลงทุนมากกว่านี้ เมื่อโอกาสดีๆ ในการลงทุนมาถึง การมี Watch List อยู่ในมือก็จะทำให้เราสามารถตัดสินใจลงทุนได้อย่างทันท่วงที
credit : http://www.thaivi.org/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-top-down/