ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 39
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นนะครับ
แม้ว่ากรุงศรีอยุทธยา โดยเฉพาะรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จะเป็นอาณาจักรที่ให้เสรีภาพแก่ชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าขายและตั้งถิ่นฐานในระดับสูง แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถแต่งงานหรืออยู่กินกับชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายได้อย่างเสรีครับ เพราะมีการออกพระราชกำหนดห้ามหญิงชาวไทย มอญ และลาว (หมายถึงล้านนาและล้านช้าง) ซึ่งเป็นประชากรในระบบไพร่ของอยุทธยา (และหลักฐานร่วมสมัยของฝรั่งเศสเช่น ลาลูแบร์หรือนิโกลาส์ แชร์แวล ระบุว่าถูกกลืนจนเกือยจะเป็นชาติเดียวกับชาวสยาม) เป็นเมียชาวต่างชาติ รวมถึงห้ามยกลูกสาวหลานสาวให้ชาวต่างชาติ เหตุผลเนื่องมาจากเรื่องความมั่นคงทางการปกครอง การควบคุมไพร่ไม่ให้หลุดไปจากระบบ รวมถึงเรื่องศาสนาซึ่งในสมัยโบราณมีค่านิยมมองชาวต่างชาติที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธว่าเป็น "มิจฉาทิษฐิ" ถ้าละเมิดจะถูกระวางโทษอย่างหนัก
การยกสตรีเป็น "เมีย" นี้ไม่ได้จำเป็นว่าต้องมีการแต่งงานสมรสกันตามกฎหมาย แต่แค่อยู่กินร่วมกันก็ถือว่าเข้าข่ายครับ
ที่สำคัญคือพระราชกำหนดนี้ประกาศใช้ในจุลศักราช ๑๐๒๕ (พ.ศ.๒๒๐๖) ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์เองครับ
นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติในกฎหมายอาญาหลวง เมื่อปีกุนศักราช ๑๙๗๖ สันนิษฐานว่าที่ถูกคือจุลศักราช ๙๗๖ (พ.ศ. ๒๑๕๗) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีเนื้อหาตามนี้ครับ
กฎหมายนี้ยังมีผลใช้งานมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕
แต่หลายครั้งกฎหมายก็ไม่ได้เคร่งหรือมีประสิทธิภาพมาก ดังปรากฏว่ามีชาวมอญที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของระบบไพร่หลายคนแต่งงานกับชาวต่างชาติตามที่ปรากฏในหลักฐานของลา ลูแบร์ บ้างก็มีปรากฏว่ารับอาชีพเป็น "เมียเช่า" หรือแต่งงานเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าถึงขั้นอยู่กินจนมีบุตร
มีหลักฐานกล่าวถึงหญิงมอญในรัชกาลพระเจ้าปราสาททองชื่อ ออสุต (Osoet) ซึ่งอยู่กินเป็นเมียของะพ่อค้าชาวดัตช์ถึงสาม ๓ คน โดยมีสองคนเป็นหัวหน้าสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (VOC) และเป็นสตรีที่มีเครือข่ายใกล้ชิดกับราชสำนักมาก ภายหลังก็มีบุตรสาวด้วยกัน แต่เมื่อฝั่งบิดาที่เป็นชาวดัตช์ต้องการนำบุตรไปยังเมืองปัตตาเวีย จึงมีการฟ้องร้องแย่งชิงสิทธิการเลี้ยงดูบุตร แต่ราชสำนัก (ผ่านการล็อบบี้ของออสุต) ไม่ยินยอมให้นำบุตรของจากสยาม เพราะถือว่าเป็นประชากรของสยาม
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ก็มีการผ่อนปรนมากขึ้น หรืออาจจะเห็นว่าห้ามปรามฝรั่งมีเมียเป็นคนพื้นเมืองไม่ได้ จึงปรากฏในสนธิ-สัญญากับ VOC เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๗ ว่าอนุญาตให้เด็กลูกครึ่งชาวดัตช์ที่มีอายุไม่เกิน ๖-๗ ปีเดินทางไปปัตตาเวียได้ สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ ทรงอนุญาตให้ชาวฝรั่งเศสที่มีลูกเมียในอาณาจักรสามารถเอาลูกเมียติดตามออกนอกประเทศไปด้วยได้
"๑๐ ข้อนึงว่าถ้าฝรังเสดผูได ๆ มีลูกเมียในจังหวัดดิกรุงศรีอ่ยุทธยาแลเมีองขึ้น แลฟ้องจ่ฃ่อออกไปจากแผ่นดีน แลเงืนทองของผูได ๆ มีได้อ่ยูแลมีใด้เบ์นถ้อยคงามด้วยผูได ๆ ใซ้ สํมเดจพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอ่ยุทธยาผู้ไหญ่ พระราชทานให้ออกไปทังลูกแลเมีย แลทาษแลทรัพยสิ่งของตามใจนั้นเทีด"
แต่ถึงกระนั้นก็มีหลักฐานชั้นของชาวต่างประเทศระบุว่า ว่าชาวไทยก็ไม่นิยมแต่งงานกับชาวต่างชาติตามค่านิยมของตน บางครั้งหญิงที่แต่งงานกับชาวต่างชาติหรือแม้แต่พูดจาก็อาจถูกตราหน้าว่า "หญิงแพศยา"
ชาติที่ไม่ได้ปรากฏกฏหมายห้ามแต่งงานอยู่กินกัน คือชาติใกล้เคียงที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน เช่น มอญ ลาว พม่า เขมร ญวน จาม ฯลฯ และชาติที่ห่างไกลเช่น จีน แขกพราหมณ์จากอินเดีย ที่มีการติดต่อค้าขายและการอพยพในภูมิภาคอุษาคเนย์ตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยาและมี ไม่มีปัญหาเรื่องการเมืองกับศาสนามาเกี่ยวข้อง และน่าจะมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งมีชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานในไทยอีกระลอกใหญ่ จนมีการคำนวณประชากรว่าชาวไทยกับจีนยุคนั้น มีจำนวนแทบจะพอๆ กัน (ถ้าจำไม่ผิดมีข้อมูลว่าชาวจีนกระจุกอยู่ในแถบกรุงเทพฯ เป็นหลัก)
จึงปรากฏว่าเจ้านายและชนชั้นสูงส่วนใหญ่ของไทยตั้งแต่ยุคอยุทธยาจนถึงยุครัตนโกสินทร์มีเชื้อสายหลายชนชาติ เช่น ราชวงศ์จักรี อ้างอิงจากพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงเซอร์จอห์น บาวริ่ง (Sir John Bowring) ระบุว่าทรงสืบสกุลมาจากชาวมอญที่อพยพเข้ามาในไทยสมัยสมเด็จพระนเรศวร พระราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเกิดในตระกูลคหบดีชาวจีน พระภัสดาของกรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางในรัชกาลที่ ๑ คือเจ้าขรัวเงินแซ่ตัน สืบเชื้อสายจากชาวจีนที่อพยพหนีชาวแมนจูมาอยู่เมืองไทย เป็น "จีนอย่างเก่า" ไม่ไว้เปียอย่างแมนจู
นอกจากนี้สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ ๑ ก็ทรงเป็นเชื้อสายมอญจากบางช้าง สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีเชื้อแขกมุสลิมจากพระยาราชวังสัน (หวัง) ผู้เป็นตา ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากสุลต่านสุลัยมานแห่งสงขลา
สกุลผู้ดีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาหลายตระกูลสืบเชื้อสายมาจากพราหมณ์ชาวอินเดีย เช่น เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ เสนาบดีกรมพระคลังในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเป็นเชื้อสายของพระมหาราชครูศิริวัฒนในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเป็นเชื้อสายพราหมณ์เทศจากอินเดีย ภรรยาคนหนึ่งของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์เป็นพี่สาวมารดาของเจ้าขรัวเงิน มีสายสกุลที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหาราชครูศิริวัฒนจำนวนมาก เช่น บุณยรัตพันธุ์ สิงหเสนี จันทโรจวงศ์ ภูมิรัตน ศิริวัฒนกุล บูรณศิริ
ส่วนการแต่งงานอยู่กินระหว่างหญิงไทยกับข้าราชการชาวต่างชาติที่ห่างไกลออกไป เช่น กลุ่มฝรั่งจากยุโรป หคือ มุสลิมจากตะวันตกจากอินโด-เปอร์เซีย ออตโตมัน อาหรับ ฯลฯ ส่วนตัวคิดว่าไม่ผิดกฎหมาย เพราะข้าราชการชาวต่างชาติเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานและมีพันธะผูกพันกับระบบราชการของไทย ไม่ใช่พ่อค้าที่เข้ามาค้าขายเพียงชั่วคราว เรื่องที่ห่วงว่าไพร่จะหลุดไปจากระบบราชการไทยจึงอาจจะไม่เป็นประเด็นมากนัก
อีกประการ ขุนนางต่างประเทศเหล่านี้อาจได้ภรรยาชาวพื้นเมืองที่เป็น "เมียพระราชทาน" ซึ่งกษัตริย์อาจจะพระราชทานให้ขุนนางต่างชาติตามพระราชอัธยาศัย มีปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยระบุว่าเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพพระราชทานนางข้าหลวงคนหนึ่งให้เป็นเมียของฟอลคอนเป็นต้น (แต่เพื่อจะแต่งงานกับท้าวทองกีบม้า ฟอลคอนเลยส่งนางไปอยู่เมืองพิษณุโลก) จึงมีหลักฐานถึงกลุ่มขุนนางต่างชาติที่มีภรรยาชาวไทยจำนวนมาก เช่น เฉกอะหมัด ชาวเปอร์เซียผู้เป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกของสยาม และเป็นต้นสกุลบุนนาค
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ ดาเนียล โบรเชอโบร์ด (Daniel Brocheboorde) ศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศสสัญชาติดัตช์ซึ่งรับราชการเป็นแพทย์หลวงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชามีบรรดาศักดิ์เป็น "ออกพระแพทย์โอสถ" (Petosat หรือ Pitoesut) ได้หญิงชาวเมืองนครศรีธรรมราชเป็นภรรยา มีบุตรชายชื่อ โมเสส (Moses) รับราชการเป็นศัลยแพทย์หลวงเหมือนบิดา จนมีบรรดาศักดิ์เป็น "ออกหลวงศรีสิทธิแพทย์" (Sirisitipid หรือ Sisitthiphaet) และยังทำงานเป็นล่ามภาษาไทยให้ VOC ด้วย บุตรชายอีกคนชื่อ เปาลุส (Paulus) ทำงานเป็นศัลยแพทย์ให้ VOC โดยอยู่ในฐานะ "ลูกจ้างชนพื้นเมือง" หลังจากดาเนียลเสียชีวิตใน ค.ศ. ๑๖๙๗ (พ.ศ. ๒๒๔๐) โมเสสได้รับบรรดาศักดิ์ออกพระแพทย์โอสถแทนบิดา เขามีภรรยาเป็นหญิงชาวมอญ มีบุตรอย่างน้อยสองคนชื่อ เยเรเมียส (Jeremias) กับ ฟิเลมง (Philemon) ทั้งสองรับราชการเป็นแพทย์หลวงมาถึงรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ
ด้วยเหตุนี้จึงมีหลักฐานที่กล่าวถึงกลุ่มลูกครึ่ง (mestizo) ชาวยุโรปที่ไทยเรียกว่า "ฝรั่ง" กับชนพื้นเมืองของสยามพอสมควร แต่หากเทียบสัดส่วนระหว่างชาวยุโรปที่ไทยเรียกว่า "ฝรั่ง" กับชาวต่างชาติกลุ่มอื่น การแต่งงานอยู่กินระหว่างชาวไทยกับ "ฝรั่ง" นั้นน่าจะมีน้อยครับ
สำหรับชนชั้นสูงระดับพระราชวงศ์ของไทยตั้งแต่สมัยอยุทธยาไม่ปรากฏเลยว่ามีการแต่งงานกับฝรั่ง มีแต่ขุนนางต่างประเทศบางคนที่ได้ภรรยาเป็นชาวพื้นเมือง สำหรับชนชั้นล่างอย่างไพร่ก็มีกฎหมายห้ามบวกกับค่านิยม เพิ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนที่กล่าวถึงการแต่งงานของเจ้านายชาวไทยกับหญิงฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังที่พบจากกรณีของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรกับหม่อมเอลิซาเบทชาวเยอรมัน กับสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถกับหม่อมคัทรินชาวรัสเซียครับ
สำหรับเรื่องความเห็นส่วนตัวเรื่องหน้าตาคนไทยสมัยโบราณ แม้ว่าอาจจะมีเชื้อสายเป็นแขก ฝรั่งหรือจีน แต่หลายกรณีเป็นการผ่านการสืบเชื้อสายผสมกับคนพื้นเมืองมาหลายรุ่นแล้วอย่างสกุลบุนนาค (ซึ่งหลายคน เช่น สมเด็จเจ้าพระยาทั้ง ๓ ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนเป็นแขกขาวเลย) หน้าตาอาจจะไม่ได้เป็นแบบลูกครึ่งชนชาตินั้นๆ ชัดเจนแบบพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ที่มีพระมารดาเป็นชาวรัสเซีย ทำให้พระองค์ทรงดูเป็นลูกครึ่งยุโรปแบบชัดเจน
สำหรับประชากรส่วนใหญ่ที่ไม่ได้แต่งงานกับชาวต่างชาติที่ห่างไกล น่าจะมีรูปร่างหน้าตาไม่ต่างจากชนพื้นเมืองทั่วไป ในขณะที่ประชากรลูกครึ่งที่มีหน้าตาเป็นต่างชาติชัดเจนแบบลูกครึ่งฝรั่ง (mestizo) น่าจะมีส่วนน้อยเท่านั้น เพราะฝรั่งในสมัยนั้นก็ยังไม่ได้มีเยอะมากและกระจุกตัวอยู่ในราชธานีหรือเมืองท่าเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจจะไม่สามารถใช้เป็นภาพแทนหน้าตาประชากรส่วนใหญ่ของดินแดนสยามทั้งหมดได้ครับ
แม้แต่หลักฐานชั้นต้นของ ลา ลูแบร์ ก็บรรยายหน้าตาคนไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์ไว้ว่ามีใบหน้ากว้างเป็นสี่เหลี่ยม ผิวคล้ำ ตามแบบชาวพื้นเมือง ดังที่ระบุว่า
"วงหน้าของชาวสยามทั้งชายและหญิง กระเดียดไปข้างรูปขนมเปียกปูน (หรือข้าวหลามตัด) มากกว่าที่จะเป็นรูปไข่ ใบหน้ากว้าง ผายขึ้นไปทางโหนกแก้ม แล้วทันใดก็ถึงหน้าผากอันแคบ รวมเข้าเป็นรูปมนเหมือนปลายคาง อนึ่งนัยน์ตาซึ่งหาตาค่อนข้างจะยกสูงขึ้นไปข้างบนนั้นเล็กและไม่สู้แจ่มใสแวววาวนัก และตาขาวซึ่งควรจะขาวนั้นก็ออกสีเหลืองๆ แก้มของพวกเขานั่นตอบค่าที่โหนกแก้มสูงเกินไปนั่นเอง ปากนั้นกว้าง ริมปากหนาซีดๆ และฟันดำ ผิวนั้นหยาบสีน้ำตาลปนแดง"
แม้ว่ากรุงศรีอยุทธยา โดยเฉพาะรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จะเป็นอาณาจักรที่ให้เสรีภาพแก่ชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าขายและตั้งถิ่นฐานในระดับสูง แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถแต่งงานหรืออยู่กินกับชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายได้อย่างเสรีครับ เพราะมีการออกพระราชกำหนดห้ามหญิงชาวไทย มอญ และลาว (หมายถึงล้านนาและล้านช้าง) ซึ่งเป็นประชากรในระบบไพร่ของอยุทธยา (และหลักฐานร่วมสมัยของฝรั่งเศสเช่น ลาลูแบร์หรือนิโกลาส์ แชร์แวล ระบุว่าถูกกลืนจนเกือยจะเป็นชาติเดียวกับชาวสยาม) เป็นเมียชาวต่างชาติ รวมถึงห้ามยกลูกสาวหลานสาวให้ชาวต่างชาติ เหตุผลเนื่องมาจากเรื่องความมั่นคงทางการปกครอง การควบคุมไพร่ไม่ให้หลุดไปจากระบบ รวมถึงเรื่องศาสนาซึ่งในสมัยโบราณมีค่านิยมมองชาวต่างชาติที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธว่าเป็น "มิจฉาทิษฐิ" ถ้าละเมิดจะถูกระวางโทษอย่างหนัก
การยกสตรีเป็น "เมีย" นี้ไม่ได้จำเป็นว่าต้องมีการแต่งงานสมรสกันตามกฎหมาย แต่แค่อยู่กินร่วมกันก็ถือว่าเข้าข่ายครับ
ที่สำคัญคือพระราชกำหนดนี้ประกาศใช้ในจุลศักราช ๑๐๒๕ (พ.ศ.๒๒๐๖) ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์เองครับ
นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติในกฎหมายอาญาหลวง เมื่อปีกุนศักราช ๑๙๗๖ สันนิษฐานว่าที่ถูกคือจุลศักราช ๙๗๖ (พ.ศ. ๒๑๕๗) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีเนื้อหาตามนี้ครับ
กฎหมายนี้ยังมีผลใช้งานมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕
แต่หลายครั้งกฎหมายก็ไม่ได้เคร่งหรือมีประสิทธิภาพมาก ดังปรากฏว่ามีชาวมอญที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของระบบไพร่หลายคนแต่งงานกับชาวต่างชาติตามที่ปรากฏในหลักฐานของลา ลูแบร์ บ้างก็มีปรากฏว่ารับอาชีพเป็น "เมียเช่า" หรือแต่งงานเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าถึงขั้นอยู่กินจนมีบุตร
มีหลักฐานกล่าวถึงหญิงมอญในรัชกาลพระเจ้าปราสาททองชื่อ ออสุต (Osoet) ซึ่งอยู่กินเป็นเมียของะพ่อค้าชาวดัตช์ถึงสาม ๓ คน โดยมีสองคนเป็นหัวหน้าสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (VOC) และเป็นสตรีที่มีเครือข่ายใกล้ชิดกับราชสำนักมาก ภายหลังก็มีบุตรสาวด้วยกัน แต่เมื่อฝั่งบิดาที่เป็นชาวดัตช์ต้องการนำบุตรไปยังเมืองปัตตาเวีย จึงมีการฟ้องร้องแย่งชิงสิทธิการเลี้ยงดูบุตร แต่ราชสำนัก (ผ่านการล็อบบี้ของออสุต) ไม่ยินยอมให้นำบุตรของจากสยาม เพราะถือว่าเป็นประชากรของสยาม
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ก็มีการผ่อนปรนมากขึ้น หรืออาจจะเห็นว่าห้ามปรามฝรั่งมีเมียเป็นคนพื้นเมืองไม่ได้ จึงปรากฏในสนธิ-สัญญากับ VOC เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๗ ว่าอนุญาตให้เด็กลูกครึ่งชาวดัตช์ที่มีอายุไม่เกิน ๖-๗ ปีเดินทางไปปัตตาเวียได้ สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ ทรงอนุญาตให้ชาวฝรั่งเศสที่มีลูกเมียในอาณาจักรสามารถเอาลูกเมียติดตามออกนอกประเทศไปด้วยได้
"๑๐ ข้อนึงว่าถ้าฝรังเสดผูได ๆ มีลูกเมียในจังหวัดดิกรุงศรีอ่ยุทธยาแลเมีองขึ้น แลฟ้องจ่ฃ่อออกไปจากแผ่นดีน แลเงืนทองของผูได ๆ มีได้อ่ยูแลมีใด้เบ์นถ้อยคงามด้วยผูได ๆ ใซ้ สํมเดจพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอ่ยุทธยาผู้ไหญ่ พระราชทานให้ออกไปทังลูกแลเมีย แลทาษแลทรัพยสิ่งของตามใจนั้นเทีด"
แต่ถึงกระนั้นก็มีหลักฐานชั้นของชาวต่างประเทศระบุว่า ว่าชาวไทยก็ไม่นิยมแต่งงานกับชาวต่างชาติตามค่านิยมของตน บางครั้งหญิงที่แต่งงานกับชาวต่างชาติหรือแม้แต่พูดจาก็อาจถูกตราหน้าว่า "หญิงแพศยา"
ชาติที่ไม่ได้ปรากฏกฏหมายห้ามแต่งงานอยู่กินกัน คือชาติใกล้เคียงที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน เช่น มอญ ลาว พม่า เขมร ญวน จาม ฯลฯ และชาติที่ห่างไกลเช่น จีน แขกพราหมณ์จากอินเดีย ที่มีการติดต่อค้าขายและการอพยพในภูมิภาคอุษาคเนย์ตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยาและมี ไม่มีปัญหาเรื่องการเมืองกับศาสนามาเกี่ยวข้อง และน่าจะมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งมีชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานในไทยอีกระลอกใหญ่ จนมีการคำนวณประชากรว่าชาวไทยกับจีนยุคนั้น มีจำนวนแทบจะพอๆ กัน (ถ้าจำไม่ผิดมีข้อมูลว่าชาวจีนกระจุกอยู่ในแถบกรุงเทพฯ เป็นหลัก)
จึงปรากฏว่าเจ้านายและชนชั้นสูงส่วนใหญ่ของไทยตั้งแต่ยุคอยุทธยาจนถึงยุครัตนโกสินทร์มีเชื้อสายหลายชนชาติ เช่น ราชวงศ์จักรี อ้างอิงจากพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงเซอร์จอห์น บาวริ่ง (Sir John Bowring) ระบุว่าทรงสืบสกุลมาจากชาวมอญที่อพยพเข้ามาในไทยสมัยสมเด็จพระนเรศวร พระราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเกิดในตระกูลคหบดีชาวจีน พระภัสดาของกรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางในรัชกาลที่ ๑ คือเจ้าขรัวเงินแซ่ตัน สืบเชื้อสายจากชาวจีนที่อพยพหนีชาวแมนจูมาอยู่เมืองไทย เป็น "จีนอย่างเก่า" ไม่ไว้เปียอย่างแมนจู
นอกจากนี้สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ ๑ ก็ทรงเป็นเชื้อสายมอญจากบางช้าง สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีเชื้อแขกมุสลิมจากพระยาราชวังสัน (หวัง) ผู้เป็นตา ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากสุลต่านสุลัยมานแห่งสงขลา
สกุลผู้ดีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาหลายตระกูลสืบเชื้อสายมาจากพราหมณ์ชาวอินเดีย เช่น เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ เสนาบดีกรมพระคลังในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเป็นเชื้อสายของพระมหาราชครูศิริวัฒนในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเป็นเชื้อสายพราหมณ์เทศจากอินเดีย ภรรยาคนหนึ่งของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์เป็นพี่สาวมารดาของเจ้าขรัวเงิน มีสายสกุลที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหาราชครูศิริวัฒนจำนวนมาก เช่น บุณยรัตพันธุ์ สิงหเสนี จันทโรจวงศ์ ภูมิรัตน ศิริวัฒนกุล บูรณศิริ
ส่วนการแต่งงานอยู่กินระหว่างหญิงไทยกับข้าราชการชาวต่างชาติที่ห่างไกลออกไป เช่น กลุ่มฝรั่งจากยุโรป หคือ มุสลิมจากตะวันตกจากอินโด-เปอร์เซีย ออตโตมัน อาหรับ ฯลฯ ส่วนตัวคิดว่าไม่ผิดกฎหมาย เพราะข้าราชการชาวต่างชาติเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานและมีพันธะผูกพันกับระบบราชการของไทย ไม่ใช่พ่อค้าที่เข้ามาค้าขายเพียงชั่วคราว เรื่องที่ห่วงว่าไพร่จะหลุดไปจากระบบราชการไทยจึงอาจจะไม่เป็นประเด็นมากนัก
อีกประการ ขุนนางต่างประเทศเหล่านี้อาจได้ภรรยาชาวพื้นเมืองที่เป็น "เมียพระราชทาน" ซึ่งกษัตริย์อาจจะพระราชทานให้ขุนนางต่างชาติตามพระราชอัธยาศัย มีปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยระบุว่าเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพพระราชทานนางข้าหลวงคนหนึ่งให้เป็นเมียของฟอลคอนเป็นต้น (แต่เพื่อจะแต่งงานกับท้าวทองกีบม้า ฟอลคอนเลยส่งนางไปอยู่เมืองพิษณุโลก) จึงมีหลักฐานถึงกลุ่มขุนนางต่างชาติที่มีภรรยาชาวไทยจำนวนมาก เช่น เฉกอะหมัด ชาวเปอร์เซียผู้เป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกของสยาม และเป็นต้นสกุลบุนนาค
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ ดาเนียล โบรเชอโบร์ด (Daniel Brocheboorde) ศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศสสัญชาติดัตช์ซึ่งรับราชการเป็นแพทย์หลวงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชามีบรรดาศักดิ์เป็น "ออกพระแพทย์โอสถ" (Petosat หรือ Pitoesut) ได้หญิงชาวเมืองนครศรีธรรมราชเป็นภรรยา มีบุตรชายชื่อ โมเสส (Moses) รับราชการเป็นศัลยแพทย์หลวงเหมือนบิดา จนมีบรรดาศักดิ์เป็น "ออกหลวงศรีสิทธิแพทย์" (Sirisitipid หรือ Sisitthiphaet) และยังทำงานเป็นล่ามภาษาไทยให้ VOC ด้วย บุตรชายอีกคนชื่อ เปาลุส (Paulus) ทำงานเป็นศัลยแพทย์ให้ VOC โดยอยู่ในฐานะ "ลูกจ้างชนพื้นเมือง" หลังจากดาเนียลเสียชีวิตใน ค.ศ. ๑๖๙๗ (พ.ศ. ๒๒๔๐) โมเสสได้รับบรรดาศักดิ์ออกพระแพทย์โอสถแทนบิดา เขามีภรรยาเป็นหญิงชาวมอญ มีบุตรอย่างน้อยสองคนชื่อ เยเรเมียส (Jeremias) กับ ฟิเลมง (Philemon) ทั้งสองรับราชการเป็นแพทย์หลวงมาถึงรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ
ด้วยเหตุนี้จึงมีหลักฐานที่กล่าวถึงกลุ่มลูกครึ่ง (mestizo) ชาวยุโรปที่ไทยเรียกว่า "ฝรั่ง" กับชนพื้นเมืองของสยามพอสมควร แต่หากเทียบสัดส่วนระหว่างชาวยุโรปที่ไทยเรียกว่า "ฝรั่ง" กับชาวต่างชาติกลุ่มอื่น การแต่งงานอยู่กินระหว่างชาวไทยกับ "ฝรั่ง" นั้นน่าจะมีน้อยครับ
สำหรับชนชั้นสูงระดับพระราชวงศ์ของไทยตั้งแต่สมัยอยุทธยาไม่ปรากฏเลยว่ามีการแต่งงานกับฝรั่ง มีแต่ขุนนางต่างประเทศบางคนที่ได้ภรรยาเป็นชาวพื้นเมือง สำหรับชนชั้นล่างอย่างไพร่ก็มีกฎหมายห้ามบวกกับค่านิยม เพิ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนที่กล่าวถึงการแต่งงานของเจ้านายชาวไทยกับหญิงฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังที่พบจากกรณีของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรกับหม่อมเอลิซาเบทชาวเยอรมัน กับสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถกับหม่อมคัทรินชาวรัสเซียครับ
สำหรับเรื่องความเห็นส่วนตัวเรื่องหน้าตาคนไทยสมัยโบราณ แม้ว่าอาจจะมีเชื้อสายเป็นแขก ฝรั่งหรือจีน แต่หลายกรณีเป็นการผ่านการสืบเชื้อสายผสมกับคนพื้นเมืองมาหลายรุ่นแล้วอย่างสกุลบุนนาค (ซึ่งหลายคน เช่น สมเด็จเจ้าพระยาทั้ง ๓ ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนเป็นแขกขาวเลย) หน้าตาอาจจะไม่ได้เป็นแบบลูกครึ่งชนชาตินั้นๆ ชัดเจนแบบพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ที่มีพระมารดาเป็นชาวรัสเซีย ทำให้พระองค์ทรงดูเป็นลูกครึ่งยุโรปแบบชัดเจน
สำหรับประชากรส่วนใหญ่ที่ไม่ได้แต่งงานกับชาวต่างชาติที่ห่างไกล น่าจะมีรูปร่างหน้าตาไม่ต่างจากชนพื้นเมืองทั่วไป ในขณะที่ประชากรลูกครึ่งที่มีหน้าตาเป็นต่างชาติชัดเจนแบบลูกครึ่งฝรั่ง (mestizo) น่าจะมีส่วนน้อยเท่านั้น เพราะฝรั่งในสมัยนั้นก็ยังไม่ได้มีเยอะมากและกระจุกตัวอยู่ในราชธานีหรือเมืองท่าเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจจะไม่สามารถใช้เป็นภาพแทนหน้าตาประชากรส่วนใหญ่ของดินแดนสยามทั้งหมดได้ครับ
แม้แต่หลักฐานชั้นต้นของ ลา ลูแบร์ ก็บรรยายหน้าตาคนไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์ไว้ว่ามีใบหน้ากว้างเป็นสี่เหลี่ยม ผิวคล้ำ ตามแบบชาวพื้นเมือง ดังที่ระบุว่า
"วงหน้าของชาวสยามทั้งชายและหญิง กระเดียดไปข้างรูปขนมเปียกปูน (หรือข้าวหลามตัด) มากกว่าที่จะเป็นรูปไข่ ใบหน้ากว้าง ผายขึ้นไปทางโหนกแก้ม แล้วทันใดก็ถึงหน้าผากอันแคบ รวมเข้าเป็นรูปมนเหมือนปลายคาง อนึ่งนัยน์ตาซึ่งหาตาค่อนข้างจะยกสูงขึ้นไปข้างบนนั้นเล็กและไม่สู้แจ่มใสแวววาวนัก และตาขาวซึ่งควรจะขาวนั้นก็ออกสีเหลืองๆ แก้มของพวกเขานั่นตอบค่าที่โหนกแก้มสูงเกินไปนั่นเอง ปากนั้นกว้าง ริมปากหนาซีดๆ และฟันดำ ผิวนั้นหยาบสีน้ำตาลปนแดง"
แสดงความคิดเห็น
รูปร่างหน้าตาของคนไทยสมัยโบราณ ในมุมมองของนักประวัติศาสตร์ (ข้าบดินทร์)
เพลานี้มีละครพีเรียดออกมาค่อนข้างมาก แลมักมีเสียงวิจารณ์ว่าดาราไม่เหมาะกับบท เช่น พอเหม มาร์ หน้าตี๋ไม่เหมาะ
จะเป็นชายหนุ่มสมัยรัชกาลที่ 3 หรือ คุณหนูลำดวนแมท เหตุใดจึงหน้าละม้ายไปทางพวกวิลาส
ก่อนหน้านี้ คราจะสร้างละครเวทีเรื่องสี่แผ่นดิน แลมีข่าวว่าคุณโตโน่จะเล่นเป็นบุตรคุณเปรม ครานั้นก็เกิดเสียงวิจารณ์กันขรม
ว่าไม่เหมาะ เพราะคุณโตโน่หน้าตี๋ จะเล่นเป็นบุตรคุณเปรมได้เยี่ยงไร
แลก่อนนู้น.นนนน คราที่มีข่าวว่าจะมีการรีเมค "ปริศนา" ครานั้นก็มีการเสนอว่าคุณอนันดา น่าจะเหมาะกับบทท่านชายพจน์ปรีชา
แต่ก็มีเสียงค้านว่าท่านชายจะหน้าฝรั่งได้กระไร ต้องหาคนหน้าไทยๆ มาเล่นสิ
อิฉันได้รับฟังเสียงวิจารณ์แล้วก็อดคิดไม่ได้ว่า ผู้วิจารณ์ได้ศึกษาบทประพันธ์อย่างถ่องแท้แล้วหรือยัง แลเข้าใจประวัติศาสตร์
ชาติพันธุ์ของเรามากแค่ไหน มันจริงหรือที่ว่าคนโบราณจะต้อง "หน้าไทย" เท่านั้น
วันนี้นักประวัติศาสตร์มึนๆอย่างอิฉัน จึงอยากจะขอมาแชร์ความรู้ที่พอจะหลงเหลืออยู่บ้าง เชิญมารับชมกันนะเจ้าคะ
ก่อนอื่นมาชมภาพหลักฐานที่อิฉันจะใช้กันก่อน
ภาพเหล่านี้อิฉันเอามาจากกูเกิ้ลนะ เป็นของท่านใดถ่ายไว้ก็เข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของได้เลยจ้า อิฉันเองมีครบทุกเล่มแต่ขี้เกียจรื้อตู้หนังสือ