พอดีเพิ่งอ่านจบครบซีรีย์ครับ เลยขอเขียนถึงซักหน่อย
แต่คงเป็นการเขียนถึงที่พร่ามัวและงงๆ
เพราะถึงแม้จะเพิ่งอ่านเล่ม 4 จบไปเมื่อคืน
แต่เล่มหนึ่งนั้น ได้อ่านจบไปตั้งแต่เมื่อราวๆ 4-5 ปีก่อน
เพราะตัดสินใจพลาด ตอนหนังสือซื้อมาแค่ 2 เล่มแรก
จากนั้นพอจะซื้อเล่ม 3-4 ก็ หนังสือนี้ก็ไม่มีจำหน่ายในไทยแล้ว
สุดท้ายก็ต้องหายืมเพื่อนๆ น้องๆ มาอ่านเอา
เพราะฉะนั้นต้องขออภัยล่วงหน้าหากรีวิวได้ขาดตกบกพร่องไป
The Ender's Game เป็นหนังสือชุดมีทั้งหมด 4 เล่ม คือ
Ender's Game (เกมพลิกโลก)
Speaker for the Dead (วาทกะแด่ผู้ล่วงลับ)
Xenocide (วิถีล้างพันธุ์)
Children of the Mind (จิตาวตาร)
บอกตรงๆ ว่าแค่ชื่อภาษาไทยนี่ก็ทำเอามึนแล้ว
ซื้อมาอ่านครั้งแรก เพราะอยากอ่านนวนิยายไซไฟ เพื่อนเลยแนะนำเรื่องนี้มา
แล้วก็ไม่ผิดหวัง เป็นนิยายไซไฟ+กลยุทธ์การรบ ที่สนุกจนอ่านจบในคราวเดียว
แต่พออ่านจบครบสี่เล่มนั่นแหละ ถึงได้รู้ว่าการรบและการทหารเป็นเพียงตัวหลอก
เพราะเนื้อเรื่องหลักมันคือนิยายไซ-ไฟ เชิงปรัชญา
ที่เข้มข้นไปด้วยปรัชญาการเมือง อภิปรัชญา จริยศาสตร์ หลักคิคแบบจิตนิยม
และปรัชญาอีกสารพัดสาขาที่เรียงรายอยู่ตลอดเรื่อง
หนังสือซีรีย์นี้พยายามเล่าถึงตัวเอกที่พยายามอยู่ร่วมกับทุกเผ่าพันธ์ต่างดาวด้วยสันติ
แต่ถูกท้าทายด้วยเหตุการณ์ที่ส่งผลถึงขึ้นเผ่าพันธ์ล่มสลาย
การยืนหยัดในหลักการ ท่ามกลางสัญชาติเอาตัวรอดของทุกเผ่าพันธ์จึงน่าสนใจ
ในหนังสือแบ่งสิ่งมีชีวิตในจักรวาลออกเป็น 4 ระดับ
- สปีชีย์เดียวกัน ดาวดวงเดียวกัน
- สปีชีย์เดียวกัน ดาวคนละดวง
- คนละสปีชีย์ แต่ยังสื่อสารกันรู้เรื่อง
- คนละสปีชีส์ที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้เลย
เราจะปฏิบัติตนต่อความแตกต่างนั้นอย่างไร
เราจะยึดมั้นในหลักปรัชญาจริยศาสตร์ไปได้นานแค่ไหน
เมื่อเผชิญกับภัยคุกคามและคำถามนานัปประการทั้งจากตัวเองและคนรอบข้าง
เมื่อคำถามเชิงปรัชญาอันเข้มข้นมารวมเข้ากับเนื้อเรื่องไซ-ไฟ ที่เหนือจินตนาการ
มันเลยทำให้เรื่องนี้สนุกและน่าสนใจเอามากๆ
และหากตีกรอบให้แคบลง เปลี่ยนจากมนุษย์กับชาวต่างดาว
เป็นแค่มนุษย์ชาติหนึ่งกับชาติหนึ่งที่ต่างกัน
มันก็จะกลายเป็นเรื่องที่เราเห็นกันอยู่ทุกวี่วัน
ที่แม้เป็นมนุษย์เหมือกันแค่ต่างถิ่น(คนละดาว) กลับไม่สามารถเข้าใจกันได้
และนั้นบางครั้งก็เป็นชนวนแห่งสงคราม
ภาพประกอบจากตอนหนึ่งในจิตาวตาร
"นั่นแหละชีวิต มันเจ็บปวด โสโครก และรู้สึกดีเสียเหลือเกิน"
"The Ender's Game Series" นวนิยายไซไฟ-ปรัชญา
แต่คงเป็นการเขียนถึงที่พร่ามัวและงงๆ
เพราะถึงแม้จะเพิ่งอ่านเล่ม 4 จบไปเมื่อคืน
แต่เล่มหนึ่งนั้น ได้อ่านจบไปตั้งแต่เมื่อราวๆ 4-5 ปีก่อน
เพราะตัดสินใจพลาด ตอนหนังสือซื้อมาแค่ 2 เล่มแรก
จากนั้นพอจะซื้อเล่ม 3-4 ก็ หนังสือนี้ก็ไม่มีจำหน่ายในไทยแล้ว
สุดท้ายก็ต้องหายืมเพื่อนๆ น้องๆ มาอ่านเอา
เพราะฉะนั้นต้องขออภัยล่วงหน้าหากรีวิวได้ขาดตกบกพร่องไป
The Ender's Game เป็นหนังสือชุดมีทั้งหมด 4 เล่ม คือ
Ender's Game (เกมพลิกโลก)
Speaker for the Dead (วาทกะแด่ผู้ล่วงลับ)
Xenocide (วิถีล้างพันธุ์)
Children of the Mind (จิตาวตาร)
บอกตรงๆ ว่าแค่ชื่อภาษาไทยนี่ก็ทำเอามึนแล้ว
ซื้อมาอ่านครั้งแรก เพราะอยากอ่านนวนิยายไซไฟ เพื่อนเลยแนะนำเรื่องนี้มา
แล้วก็ไม่ผิดหวัง เป็นนิยายไซไฟ+กลยุทธ์การรบ ที่สนุกจนอ่านจบในคราวเดียว
แต่พออ่านจบครบสี่เล่มนั่นแหละ ถึงได้รู้ว่าการรบและการทหารเป็นเพียงตัวหลอก
เพราะเนื้อเรื่องหลักมันคือนิยายไซ-ไฟ เชิงปรัชญา
ที่เข้มข้นไปด้วยปรัชญาการเมือง อภิปรัชญา จริยศาสตร์ หลักคิคแบบจิตนิยม
และปรัชญาอีกสารพัดสาขาที่เรียงรายอยู่ตลอดเรื่อง
หนังสือซีรีย์นี้พยายามเล่าถึงตัวเอกที่พยายามอยู่ร่วมกับทุกเผ่าพันธ์ต่างดาวด้วยสันติ
แต่ถูกท้าทายด้วยเหตุการณ์ที่ส่งผลถึงขึ้นเผ่าพันธ์ล่มสลาย
การยืนหยัดในหลักการ ท่ามกลางสัญชาติเอาตัวรอดของทุกเผ่าพันธ์จึงน่าสนใจ
ในหนังสือแบ่งสิ่งมีชีวิตในจักรวาลออกเป็น 4 ระดับ
- สปีชีย์เดียวกัน ดาวดวงเดียวกัน
- สปีชีย์เดียวกัน ดาวคนละดวง
- คนละสปีชีย์ แต่ยังสื่อสารกันรู้เรื่อง
- คนละสปีชีส์ที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้เลย
เราจะปฏิบัติตนต่อความแตกต่างนั้นอย่างไร
เราจะยึดมั้นในหลักปรัชญาจริยศาสตร์ไปได้นานแค่ไหน
เมื่อเผชิญกับภัยคุกคามและคำถามนานัปประการทั้งจากตัวเองและคนรอบข้าง
เมื่อคำถามเชิงปรัชญาอันเข้มข้นมารวมเข้ากับเนื้อเรื่องไซ-ไฟ ที่เหนือจินตนาการ
มันเลยทำให้เรื่องนี้สนุกและน่าสนใจเอามากๆ
และหากตีกรอบให้แคบลง เปลี่ยนจากมนุษย์กับชาวต่างดาว
เป็นแค่มนุษย์ชาติหนึ่งกับชาติหนึ่งที่ต่างกัน
มันก็จะกลายเป็นเรื่องที่เราเห็นกันอยู่ทุกวี่วัน
ที่แม้เป็นมนุษย์เหมือกันแค่ต่างถิ่น(คนละดาว) กลับไม่สามารถเข้าใจกันได้
และนั้นบางครั้งก็เป็นชนวนแห่งสงคราม
ภาพประกอบจากตอนหนึ่งในจิตาวตาร
"นั่นแหละชีวิต มันเจ็บปวด โสโครก และรู้สึกดีเสียเหลือเกิน"