ก่อนหน้านี้เจ้าของกระทู้ได้รีวิวถึงการเดินทางมายังอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า กับกระทู้ที่ชื่อว่า “การเดินทางมาสวนสมเด็จย่า...คุณต้องลองมาด้วยตัวเอง (สักครั้ง)” และกระทู้“เยือนถิ่นบ้านเดิมสมเด็จย่า (เริ่มต้นเดินทางจากสนามหลวง)” และกระทู้นี้ขอรีวิวถึงบรรยากาศภายในอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ที่มีความร่มรื่นจากต้นไม้ใหญ่หลากหลายต้นในอุทยาน รวมถึงสถาปัตยกรรมต่างๆ ในอุทยานอีกด้วยค่ะ
อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯแห่งนี้ เป็นสวนสาธารณะพระราชทาน ที่ในหลวงทรงพระราชทานให้กับพสกนิกรชาวไทย ได้น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า สถานที่แห่งนี้จึงเปิดให้เข้าเยี่ยมชมฟรี!!! ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นเลยค่ะ
หลังจากที่เลี้ยวรถเข้ามาใน ซ. สมเด็จเจ้าพระยา 3 และตรงขึ้นมาจนสุดซอยประมาณ 200 เมตร อุทยานจะอยู่ด้านซ้ายมือ สามารถเลี้ยวรถเข้ามาจอดด้านในได้เลยค่ะ แค่บอกพี่ รปภ. หน้าประตูว่า “มาเยี่ยมชมอุทยานสมเด็จย่า” แค่นี้เองค่ะ ^^
เข้ามาถึงด้านในอุทยานแล้ว พอลงรถมาเท่านั้นแหละค่ะ ก็เริ่มสัมผัสได้ถึงบรรยากาศที่เย็นสบาย และอากาศที่บริสุทธิ์ ย่านฝั่งธนบุรีเลย (เว่อร์ไปไหม ฮ่าฮ่าฮ่า...)
ประตูทางเข้าอุทยาน
เข้ามาถึงภายในอุทยานแล้ว บริเวณสวนส่วนหน้าจะมีรูปปั้นสมเด็จย่าประดิษฐานอยู่ เรียกว่า
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงดำรงไว้ซึ่งพระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ พระราชจริยาวัตร และพระราชกรณียกิจทั้งปวงล้วนเป็นคุณแก่บ้านเมือง เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในฐานะที่ทรงมีพระราชคุณูปการแก่ประเทศชาติ และประชาชนอย่างใหญ่หลวง จึงมีการสร้างพระราชานุสาวรีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระศรีฯไว้หลายแห่ง เช่นที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ มีลักษณะเป็นพระรูปสมเด็จพระศรีฯ ขนาดเท่าพระองค์จริง ประทับนั่งในพระอิริยาบถสบายๆ ประดิษฐานภายในสวนส่วนหน้าของอุทยาน ดินใต้ฐานพระราชานุสาวรีย์นั้นนำมาจากสถานที่ต่างๆ ที่พระองค์เคยเสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชกรณียกิจ เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเปิดพระราชานุสาวรีย์แห่งนี้
บรรยากาศล้อมรอบไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ด้านทางเข้าอาคารพิพิธภัณฑ์ จะมีป้ายบอกประวัติความเป็นมาของอุทยาน บอกให้เรารู้ถึงเรื่องราวต่างๆของอุทยาน สามารถศึกษาได้จากป้ายนี้ค่ะ
ต้องออกตัวว่าเราถ่ายรูปไม่เก่งนะคะ มุมมองอาจจะยังได้ไม่ดีเท่าไร แต่อยากให้ทุกคนมาสัมผัสที่นี่ด้วยตาตัวเองจริงๆ คือธรรมชาติมันสวยมากๆ ค่ะ
ต้นโพธิ์รากยักษ์ที่อยู่ในสวนส่วนหน้า
ต้นไกรต้นกร่างที่ลานกิจกรรม
ต้นไทรรากใหญ่ข้างป้อม รปภ.
พี่ๆเจ้าหน้าที่บอกว่า ต้นไม้ประจำอุทยานที่เป็นยักษ์ใหญ่ มีอยู่ 4 ต้น อยู่ที่บริเวณส่วนสวนหน้า นั่นก็คือ โพธิ์>>>ไทร>>>ไกร>>>กร่าง...(ชื่อคล้องกันมาก ทำให้จำได้ง่ายดีจัง) และแต่ละต้นก็มีอายุเป็น 100 ปี ค่ะ
นอกจากต้นไม้ 4 ยักษ์ใหญ่แล้ว เราว่าที่นี่ก็มีต้นไม้อีกหลายต้นที่ใหญ่ๆทั้งนั้น...มันเลยเป็นที่มาของอากาศบริสุทธิ์ ที่เราสามารถสัมผัสได้ดี และที่นี่ไม่ได้มีแค่ต้นไม้เท่านั้นนะคะ ยังมีดอกไม้อีกหลายชนิดให้ได้แชะภาพสวยๆกัน
มาดูดอกไม้ในอุทยานกันเถอะ
นี่แค่ดอกไม้บางส่วนเท่านั้นนะคะ ของจริงมีเยอะมากๆเลย
ต่อจากการชมต้นไม้ดอกไม้กันแล้ว ก็เข้ามาสู่อาคารพิพิธภัณฑ์ทั้ง 2 หลัง กันค่ะ หลังที่ 1 จะอยู่ด้านขวามือ ส่วนหลังที่ 2 อยู่ด้านซ้ายมือ ค่ะ
อาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 1 จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จย่า ตลอดจนประวัติของชุมชนย่านวัดอนงคาราม ค่ะ
บรรยากาศรอบอาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 1
หลังจากที่ชมอาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 1 แล้ว ก็มาชมอาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 2 ต่อกันเลยดีกว่าค่ะ
อาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 2 จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจพระราชจริยวัตรและงานฝีพระหัตถ์ รวมถึงกีฬาโปรดของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
จริงๆอยากถ่ายรูปด้านในพิพิธภัณฑ์มาให้ชมกัน แต่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของการเข้าเยี่ยมชมค่ะ ด้านในอาคารพิพิธภัณฑ์ทั้ง 2 หลัง ห้ามถ่ายภาพ แต่ด้านนอกสามารถถ่ายภาพได้ตามสบายเลย ^^
ออกจากอาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 2 ก็เข้าสู่สวนส่วนในกันค่ะ ด้านข้างอาคารพิพิธภัณฑ์จะมีบ้านจำลองตั้งอยู่
บ้านจำลอง
ภายในสวนส่วนใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จำลอง "บ้านเดิม" ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครั้งเคยประทับที่ชุมชนแห่งนี้ ซึ่งอยู่ห่างไปทางวัดอนงคาราม ไม่เกิน 200 เมตร ตกแต่งภายในตามหนังสือ "แม่เล่าให้ฟัง" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
บ้านจำลองที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยประทับ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์เป็นเรือนแถวที่จำลองมาเพียง 1 ห้อง ด้านในบ้านจำลองจัดองค์ประกอบตามหนังสือ “แม่เล่าให้ฟัง” พระนิพนธ์ของสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กลมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ลักษณะบ้านจำลองที่สร้างขึ้น ณ มุมหนึ่งของสวนแห่งนี้ ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน มีชาน ระเบียงด้านหน้าบ้าน และด้านข้างปูด้วยไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผา หลังคาด้านหน้ามุงจาก ผนังด้านข้างกรุด้วยกระจกใส (เพื่อให้ผู้เข้าชมมองเห็นภายในได้) ด้านข้างอาคารมีการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ของเดิมไว้ หลังคาจึงเว้นสำหรับต้นไม้ มีทางเข้าบ้าน ประตูด้านหน้าทางเดียว เมื่อเข้าไปในบ้านแล้วจะเห็นทางเดินถึงหลังบ้าน ด้านขวามียกพื้นไม้และใช้ไม้ปิดแบ่งห้อง เป็น 3 ห้อง มีห้องพระ ห้องทำทอง ซึ่งเป็นที่ประกอบอาชีพของพระชนกชู (พ่อของสมเด็จย่า) ถัดไปเป็นห้องนอน ด้านหลังเป็นห้องครัวตลอดกำแพงหลังบ้าน
ห้องที่ 1 ห้องทำทอง หรือห้องประกอบอาชีพของพระชนกชู ในห้องนี้จะมีห้องพระเล็กๆอยู่ในห้องด้วยค่ะ (อาจมองภาพไม่ค่อยชัดนะคะ เพราะมันมีเงาสะท้อนกับกระจก)
ห้องที่ 2 ห้องนอน สะท้อนวิถีชีวิตถึงความเรียบง่ายและพอเพียง ในห้องนอนนี้มีของใช้ที่จำเป็นเพียงไม่กี่อย่าง
ห้องที่ 3 ห้องครัว เป็นห้องครัวที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด ซึ่ง ในห้องนี้ก็มีการนำข้าวของเครื่องใช้หรือวัตถุดิบการปรุงอาหารมาจัดแสดงให้ได้ชมกันค่ะ
ถัดมาจากบ้านจำลอง จะพบ แผ่นหินแกะสลัก ขนาดใหญ่แสดงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ภาพสลักแผ่นหินทราย 2 ด้าน ด้านแรก แสดงพระราชกรณียกิจสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในท้องถิ่นทุรกันดาร และด้านที่สอง แสดงกระบวนแห่ไหว้สาแม่ฟ้าหลวงของชาวล้านนา (ซึ่งเป็นวิธีที่ชาวไทยภูเขาในถิ่นทุรกันดารใน จ. เชียงราย ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า จึงได้พร้อมใจกันจัดพิธีไหว้สาแม่ฟ้าหลวงอย่างยิ่งใหญ่ขึ้น เพื่อน้องรำลึกถึงพระองค์ท่าน ทุกวันที่ 21 ต.ค. เป็นประจำทุกปี)
ภาพแกะสลักพระราชกรณียกิจของสมเด็จย่า
ภาพแกะสลักกระบวนแห่ไหว้สาแม่ฟ้าหลวงของชาวล้านนา
ศาลาแปดเหลี่ยม สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสครบ 8 รอบ วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แต่ได้ด่วนสวรรคตก่อนสร้างเสร็จ และเมื่อวันอังคารที่ 21 มกราคม 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอย่างเป็นทางการ และประทับนั่งด้านในศาลาแปดเหลี่ยมแห่งนี้
[CR] ในที่สุดก็มาถึง... “อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า”
อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯแห่งนี้ เป็นสวนสาธารณะพระราชทาน ที่ในหลวงทรงพระราชทานให้กับพสกนิกรชาวไทย ได้น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า สถานที่แห่งนี้จึงเปิดให้เข้าเยี่ยมชมฟรี!!! ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นเลยค่ะ
หลังจากที่เลี้ยวรถเข้ามาใน ซ. สมเด็จเจ้าพระยา 3 และตรงขึ้นมาจนสุดซอยประมาณ 200 เมตร อุทยานจะอยู่ด้านซ้ายมือ สามารถเลี้ยวรถเข้ามาจอดด้านในได้เลยค่ะ แค่บอกพี่ รปภ. หน้าประตูว่า “มาเยี่ยมชมอุทยานสมเด็จย่า” แค่นี้เองค่ะ ^^
เข้ามาถึงด้านในอุทยานแล้ว พอลงรถมาเท่านั้นแหละค่ะ ก็เริ่มสัมผัสได้ถึงบรรยากาศที่เย็นสบาย และอากาศที่บริสุทธิ์ ย่านฝั่งธนบุรีเลย (เว่อร์ไปไหม ฮ่าฮ่าฮ่า...)
ประตูทางเข้าอุทยาน
เข้ามาถึงภายในอุทยานแล้ว บริเวณสวนส่วนหน้าจะมีรูปปั้นสมเด็จย่าประดิษฐานอยู่ เรียกว่า พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ต้องออกตัวว่าเราถ่ายรูปไม่เก่งนะคะ มุมมองอาจจะยังได้ไม่ดีเท่าไร แต่อยากให้ทุกคนมาสัมผัสที่นี่ด้วยตาตัวเองจริงๆ คือธรรมชาติมันสวยมากๆ ค่ะ
ต้นโพธิ์รากยักษ์ที่อยู่ในสวนส่วนหน้า
ต้นไกรต้นกร่างที่ลานกิจกรรม
ต้นไทรรากใหญ่ข้างป้อม รปภ.
มาดูดอกไม้ในอุทยานกันเถอะ
นี่แค่ดอกไม้บางส่วนเท่านั้นนะคะ ของจริงมีเยอะมากๆเลย
อาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 1 จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จย่า ตลอดจนประวัติของชุมชนย่านวัดอนงคาราม ค่ะ
บรรยากาศรอบอาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 1
จริงๆอยากถ่ายรูปด้านในพิพิธภัณฑ์มาให้ชมกัน แต่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของการเข้าเยี่ยมชมค่ะ ด้านในอาคารพิพิธภัณฑ์ทั้ง 2 หลัง ห้ามถ่ายภาพ แต่ด้านนอกสามารถถ่ายภาพได้ตามสบายเลย ^^
ออกจากอาคารพิพิธภัณฑ์หลังที่ 2 ก็เข้าสู่สวนส่วนในกันค่ะ ด้านข้างอาคารพิพิธภัณฑ์จะมีบ้านจำลองตั้งอยู่
บ้านจำลอง
ภายในสวนส่วนใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จำลอง "บ้านเดิม" ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครั้งเคยประทับที่ชุมชนแห่งนี้ ซึ่งอยู่ห่างไปทางวัดอนงคาราม ไม่เกิน 200 เมตร ตกแต่งภายในตามหนังสือ "แม่เล่าให้ฟัง" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
บ้านจำลองที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยประทับ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์เป็นเรือนแถวที่จำลองมาเพียง 1 ห้อง ด้านในบ้านจำลองจัดองค์ประกอบตามหนังสือ “แม่เล่าให้ฟัง” พระนิพนธ์ของสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กลมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ลักษณะบ้านจำลองที่สร้างขึ้น ณ มุมหนึ่งของสวนแห่งนี้ ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน มีชาน ระเบียงด้านหน้าบ้าน และด้านข้างปูด้วยไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผา หลังคาด้านหน้ามุงจาก ผนังด้านข้างกรุด้วยกระจกใส (เพื่อให้ผู้เข้าชมมองเห็นภายในได้) ด้านข้างอาคารมีการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ของเดิมไว้ หลังคาจึงเว้นสำหรับต้นไม้ มีทางเข้าบ้าน ประตูด้านหน้าทางเดียว เมื่อเข้าไปในบ้านแล้วจะเห็นทางเดินถึงหลังบ้าน ด้านขวามียกพื้นไม้และใช้ไม้ปิดแบ่งห้อง เป็น 3 ห้อง มีห้องพระ ห้องทำทอง ซึ่งเป็นที่ประกอบอาชีพของพระชนกชู (พ่อของสมเด็จย่า) ถัดไปเป็นห้องนอน ด้านหลังเป็นห้องครัวตลอดกำแพงหลังบ้าน
ห้องที่ 1 ห้องทำทอง หรือห้องประกอบอาชีพของพระชนกชู ในห้องนี้จะมีห้องพระเล็กๆอยู่ในห้องด้วยค่ะ (อาจมองภาพไม่ค่อยชัดนะคะ เพราะมันมีเงาสะท้อนกับกระจก)
ห้องที่ 2 ห้องนอน สะท้อนวิถีชีวิตถึงความเรียบง่ายและพอเพียง ในห้องนอนนี้มีของใช้ที่จำเป็นเพียงไม่กี่อย่าง
ห้องที่ 3 ห้องครัว เป็นห้องครัวที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด ซึ่ง ในห้องนี้ก็มีการนำข้าวของเครื่องใช้หรือวัตถุดิบการปรุงอาหารมาจัดแสดงให้ได้ชมกันค่ะ
ถัดมาจากบ้านจำลอง จะพบ แผ่นหินแกะสลัก ขนาดใหญ่แสดงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ภาพสลักแผ่นหินทราย 2 ด้าน ด้านแรก แสดงพระราชกรณียกิจสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในท้องถิ่นทุรกันดาร และด้านที่สอง แสดงกระบวนแห่ไหว้สาแม่ฟ้าหลวงของชาวล้านนา (ซึ่งเป็นวิธีที่ชาวไทยภูเขาในถิ่นทุรกันดารใน จ. เชียงราย ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า จึงได้พร้อมใจกันจัดพิธีไหว้สาแม่ฟ้าหลวงอย่างยิ่งใหญ่ขึ้น เพื่อน้องรำลึกถึงพระองค์ท่าน ทุกวันที่ 21 ต.ค. เป็นประจำทุกปี)
ภาพแกะสลักพระราชกรณียกิจของสมเด็จย่า
ภาพแกะสลักกระบวนแห่ไหว้สาแม่ฟ้าหลวงของชาวล้านนา
ศาลาแปดเหลี่ยม สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสครบ 8 รอบ วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แต่ได้ด่วนสวรรคตก่อนสร้างเสร็จ และเมื่อวันอังคารที่ 21 มกราคม 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอย่างเป็นทางการ และประทับนั่งด้านในศาลาแปดเหลี่ยมแห่งนี้
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น