เคยนึกอยู่ว่า จะใช้คำว่า อะไรดี ระหว่าง
MELODY OF LIGHT
หรือ
MELODY OF LIGHTING
แต่เอาเถอะ มันก็คงให้ความหมายในภาษาไทยในท่วงทำนองเดียวกัน
ซึ่งจะใช้ บอกถึงความสวยงามของ แสง เมื่อเทียบกับ “บันไดเสียงของตัวโน้ต”
ซึ่งขอใช้เป็นคำศัพท์ในภาษาไทยว่า “บันไดแสง”
---
ก่อนอื่น ต้องขออธิบาย เกริ่นนำก่อน
เนื่องจากไปเจอ บทความ บางบทความ ในเว็บไซต์ ที่พูดถึง คำจำกัดความของ “บันไดแสง” ที่ผมใช้
ที่ยังคงไม่ชัดเจนว่า ผมหมายถึงอะไร
เป็นความถูกต้องที่สุด ตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่บอกว่า
คลื่นแสง และ คลื่นเสียง เป็นอะนาล็อก
อะนาล็อก เป็นคำอธิบายถึง ---- ลักษณะความต่อเนื่อง Continuous ---
ดังนั้น หากมองตรงคำอธิบายตามกฎเกณฑ์ทางฟิสิกซ์แล้ว
“แสง” จึงเป็นอะนาล็อก ส่องผ่านอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งผมไม่ได้ให้ความหมายของแสงในศิลปการถ่ายภาพ ในลักษณะคำจำกัดความของวิทยาศาสตร์เชิงฟิสิกซ์
(ตรงนี้ ต้องแยกออกจาก เมื่อผมอธิบายเรื่องของแสง ในเชิงการวัดแสง เพราะมันคนละจุดมุ่งหมายกัน)
“บันไดแสง“ ที่ผมว่า นี้ เทียบเคียงได้กับ “Scale” ของ บันไดเสียงดนตรี
ซึ่ง เป็นความจริงที่ว่า เสียงก็เป็นอนาล็อค
แต่ในทางด้านศิลปแห่งดนตรี เขากำหนด เสียงเป็น ขั้นบันได เพื่อใช้เล่นเป็นตัวโน้ต ทำเป็น Melody - ทำเป็นลำดับขั้นเสียงสูงต่ำของดนตรี
ก็เช่นเดียวกัน ผมได้อ้างอิง ในทำนองเดียวกันว่า ศิลปการถ่ายภาพ ความงามของแสง มาจาก “บันไดแสง”
ทั้งนี้ ผมไม่ได้ตั้งทฤษฎีขึ้นมาเอง
เป็นเรื่องที่คนถ่ายภาพรุ่นก่อนๆ รู้จักมันนานมาแล้ว ในชื่อว่า Zone System
ด้วยการกำหนดระดับแสง ออกเป็นโซนๆ
ดังนั้น ในทางศิลปภาพถ่าย “บันไดแสง“ จึงมีอยู่จริง
(มีต่อ)
MELODY OF LIGHT --- ศิลปของภาพถ่าย บันไดเสียงแห่งแสง
MELODY OF LIGHT
หรือ
MELODY OF LIGHTING
แต่เอาเถอะ มันก็คงให้ความหมายในภาษาไทยในท่วงทำนองเดียวกัน
ซึ่งจะใช้ บอกถึงความสวยงามของ แสง เมื่อเทียบกับ “บันไดเสียงของตัวโน้ต”
ซึ่งขอใช้เป็นคำศัพท์ในภาษาไทยว่า “บันไดแสง”
---
ก่อนอื่น ต้องขออธิบาย เกริ่นนำก่อน
เนื่องจากไปเจอ บทความ บางบทความ ในเว็บไซต์ ที่พูดถึง คำจำกัดความของ “บันไดแสง” ที่ผมใช้
ที่ยังคงไม่ชัดเจนว่า ผมหมายถึงอะไร
เป็นความถูกต้องที่สุด ตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่บอกว่า
คลื่นแสง และ คลื่นเสียง เป็นอะนาล็อก
อะนาล็อก เป็นคำอธิบายถึง ---- ลักษณะความต่อเนื่อง Continuous ---
ดังนั้น หากมองตรงคำอธิบายตามกฎเกณฑ์ทางฟิสิกซ์แล้ว
“แสง” จึงเป็นอะนาล็อก ส่องผ่านอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งผมไม่ได้ให้ความหมายของแสงในศิลปการถ่ายภาพ ในลักษณะคำจำกัดความของวิทยาศาสตร์เชิงฟิสิกซ์
(ตรงนี้ ต้องแยกออกจาก เมื่อผมอธิบายเรื่องของแสง ในเชิงการวัดแสง เพราะมันคนละจุดมุ่งหมายกัน)
“บันไดแสง“ ที่ผมว่า นี้ เทียบเคียงได้กับ “Scale” ของ บันไดเสียงดนตรี
ซึ่ง เป็นความจริงที่ว่า เสียงก็เป็นอนาล็อค
แต่ในทางด้านศิลปแห่งดนตรี เขากำหนด เสียงเป็น ขั้นบันได เพื่อใช้เล่นเป็นตัวโน้ต ทำเป็น Melody - ทำเป็นลำดับขั้นเสียงสูงต่ำของดนตรี
ก็เช่นเดียวกัน ผมได้อ้างอิง ในทำนองเดียวกันว่า ศิลปการถ่ายภาพ ความงามของแสง มาจาก “บันไดแสง”
ทั้งนี้ ผมไม่ได้ตั้งทฤษฎีขึ้นมาเอง
เป็นเรื่องที่คนถ่ายภาพรุ่นก่อนๆ รู้จักมันนานมาแล้ว ในชื่อว่า Zone System
ด้วยการกำหนดระดับแสง ออกเป็นโซนๆ
ดังนั้น ในทางศิลปภาพถ่าย “บันไดแสง“ จึงมีอยู่จริง
(มีต่อ)