เกริ่นนำ
การเริ่มต้นเที่ยวประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกของผมก็คงไม่ต่างจากหลายๆ คน คือเริ่มเที่ยวเฉพาะในเขตโตเกียวและเมืองบริวารที่สามารถเดินทางไป-กลับจากโตเกียวภายในวันเดียวได้ เช่น Nikko, Hakone พอครั้งที่สอง จึงเริ่มปีกกล้าขาแข็ง เริ่มเที่ยวไกลออกไป ลองค้างที่เมืองอี่นดูบ้าง โดยหนที่สองนี้ตระเวณเที่ยวอยู่ในเขตคาบสมุทร Izu (Izu Hanto)
ทั้งสองทริปที่ผ่านมา ทำให้รู้ว่าตัวเองไม่ชอบความพลุกพล่านของเมืองใหญ่อย่างโตเกียวหรือโยโกฮาม่าเลยสักนิด รวมถึงเมืองท่องเที่ยวอย่าง Hakone, Kawaguchiko ที่มีนักท่องเที่ยววุ่นวาย และทุกอย่างดูประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการท่องเที่ยว แต่กลับติดใจบรรยากาศและความสงบของเมืองเล็กๆ ทั้งหลายที่ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม
หลังจากทริปที่ 2 เมื่อ 3 ปีก่อน ผมก็ยังไม่มีแผนจะไปเที่ยวญี่ปุ่นอีก จนวันนึงระหว่างที่ใช้อินเตอร์เนตเหลือบไปเห็นโฆษณาโปรโมชั่นของ Malaysia Airline ที่ราคาแค่ 13,700 บาท บวกกับค่าเงินเยนที่อ่อนลงจากเดิมมาก อาการอยากจึงกำเริบขึ้นเดี๋ยวนั้น แต่ด้วยความที่มัวแต่เอ้อระเหย ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะไปไหนดี ทำให้เลยกำหนดวันที่ต้องออกตั๋ว สุดท้ายเลยไปกับ Cathay Pacific แทน
การไปเที่ยวสองครั้งก่อนตรงกับกลาง-ปลายเดือนกุมภาพันธ์ทั้งคู่ ซึ่งยังเป็นช่วงฤดูหนาวอยู่ ซึ่งแม้จะมีข้อดีว่าท้องฟ้าใสเป็นสีน้ำเงินสด (ถ้าไม่มีฝน ไม่มีหิมะ) แต่บรรยากาศโดยรวมก็ดูแห้งแล้งเพราะต้นไม้ยังทิ้งใบกันอยู่ ทริปครั้งที่ 3 นี้จึงลองเปลี่ยนเดือนดูบ้าง โดยขยับให้พ้นหลังวันหยุด Golden Week ของญี่ปุ่นและวันหยุดยาวต้นเดือนพฤษภาคมของไทย เพื่อหลีกเลี่ยงผู้คน และที่สำคัญอากาศน่าจะยังไม่ร้อนนัก (กรุงเทพร้อนพอแล้วครับ)
รายละเอียดการเดินทางคร่าวๆ
(1)
สายการบิน Cathay Pacific
ราคาสุทธิ 14,040 บาท (ราคาอาจขึ้นๆ ลงๆ) โปรโมชั่นนี้บังคับให้เที่ยวบินขาออกจากกรุงเทพ - ฮ่องกงต้องเป็นเที่ยว CX706 (01:20 น.) หรือ CX616 (06:40 น.) เท่านั้นครับ
http://www.cathaypacific.com/cx/th_TH/flightoffer.flight-offers-to-japan.special-fares-japan-fixed-flights.html
ขาไป : กรุงเทพ - ฮ่องกง CX706 (01:20 -> 05:10) ฮ่องกง - นาริตะ CX504 (09:15 -> 14:40)
ขากลับ: นาริตะ - ฮ่องกง CX501 (10:50 -> 14:40) ฮ่องกง - กรุงเทพ CX703 (17:05 -> 19:00)
(2)
ใช้ JR Pass 7 วัน
ก่อนไปผมสำรองที่นั่งล่วงหน้าของ Tohoku / Akita Shinkansen และ NEX กับเว็บของ JR East โดยตรงครับ จองเสร็จก็ปริ๊นรายละเอียดออกมา
http://www.eki-net.com/pc/jreast-shinkansen-reservation/English/wb/common/Menu/Menu.aspx
ถาม: จำเป็นต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้าจากเว็บก่อนไปญี่ปุ่นไหม ?
ตอบ: จริงๆ ก็ไม่จำเป็นครับ ไปจองที่นั่งตอนถึงญี่ปุ่นแล้วก็ได้ พอดีผมทำแผนไว้หมดแล้วว่าวันไหนต้องเดินทางด้วยรถไฟขบวนอะไร และแผนค่อนข้างตายตัว ก็เลยจองให้เสร็จไปก่อนเลย
ถาม: ต้องเสียค่าใช้จ่ายไหม ?
ตอบ: ไม่เสียครับ แต่ถ้าคุณไม่ไปรับตั๋วภายในเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะโดนค่าปรับครับ (คุณต้องกรอกหมายเลขบัตรเครดิตตอนจอง ก็คงหักจากตรงนี้)
ถาม: พอถึงวันจริงดันตื่นสาย ไปไม่ทันรถไฟขบวนที่จองไว้ หรือเปลี่ยนแผน จะโดนค่าปรับไหม ?
ตอบ: ไม่โดนครับ คุณก็แค่ไปสำรองที่นั่งใหม่ที่สถานีได้เลย
การสำรองที่นั่งจากเว็บนี้ ใช้ได้กับเฉพาะรถไฟที่ดำเนินการโดย JR East เท่านั้น รถไฟที่ดำเนินการโดย JR Central, JR West, JR Hokkaido, JR Kyushu, JR Shikoku และรถไฟเอกชนต่างๆ ไม่สามารถสำรองที่นั่งจากเว็บนี้ได้ครับ ฉะนั้น Tokaido Shinkansen ที่ไป Osaka หรือ Hokuriku Shinkansen ที่พ้นจากสถานี Joetsumyoko ไปแล้ว ไม่สามารถจองจากเว็บนี้ได้ครับ
รถไฟของ JR East เอง ก็สำรองที่นั่งได้แค่เฉพาะขบวนเหล่านี้ครับ
-- Shinkansen (Tohoku, Akita, Yamagata, Joetsu, และ Hokuriku เฉพาะที่ไปไม่เกินสถานี Joetsumyoko)
-- NEX
-- Odoriko/Superview Odoriko สำหรับผู้ที่อยากไป Izu Peninsula เพื่อดู Kawazu Sakura
-- Hitachi/Tokiwa สำหรับผู้ที่อยากจะเดินทางไปดูดอกไม้ที่ Hitachi Seaside Park ที่ Ibaraki
-- Super Asuza, Asuza, Kaiji สำหรับผู้ที่จะเดินทางจาก Shinjuku ไปลงสถานี Otsuki เพื่อต่อรถไฟ Fujikyu ไป Kawaguchiko (สำรองที่นั่งได้เฉพาะของขบวน Super Asuza, Asuza, Kaiji นะครับ รถไฟ Fujikyu เป็นของเอกชนไม่เกี่ยวกัน)
-- Nikko, Spacia-Nikko, Kinugawa, "Spacia-Kinugawa สำหรับผู้ที่จะเดินทางไป Nikko
แต่อันนี้ผมยังไม่แน่ใจรายละเอียด เพราะ Spacia Nikko เป็นของ Tobu Railway แต่เข้าใจว่า ตรงนี้น่าจะขึ้นประเภทของ Pass ที่ผู้จองจะใช้ในการเดินทางด้วยครับ เพราะแต่ละ Pass เงื่อนไขครอบคลุมไม่เท่ากัน
ส่วนรถไฟขบวนอื่นๆ เช่น Resort Shirakami (Aomori - Akita), Limited Express Inaho (Niigata - Akita), Limited Express Tsugaru (Aomori - Akita) พวกนี้ต้องไปสำรองด้วยตนเองที่สถานีครับ
สามารถสำรองที่นั่งจากเว็บนี้ได้ไม่เกิน 30 วันก่อนวันเดินทาง และวันสุดท้ายที่สามารถสำรองที่นั่งออนไลน์จากเว็บนี้ได้ คือ 17:00 น. 3 วันก่อนเดินทาง โดยผู้จองต้องเลือกว่าจะไปรับตั๋วที่สถานีใด ถ้าสะดวกสุดก็คือสนามบิน Narita, Haneda หรือสถานีใหญ่ๆ ในโตเกียวครับ ผู้จองไม่จำเป็นต้องซื้อพาสใดๆ เตรียมไว้ก่อน เพราะในขั้นตอนการจอง ไม่มีการถามหมายเลข Exchange Order หรือหมายเลขอ้างอิงใดๆ ครับ นอกจากหมายเลขบัตรเครดิต
(3)
เดินทางจากนาริตะเข้าเมืองโดยใช้ Keisei Skyliner (ขาเดียว)
ซื้อตั๋วล่วงหน้าออนไลน์ ลดจาก 2470 เยน เหลือ 2200 เยน
http://www.keisei.co.jp/keisei/tetudou/skyliner/e-ticket/en/ticket/91/
(4)
ระยะเวลาเดินทาง: 9 วัน
(5)
ส่งกระเป๋าโดยแมวดำ
ผมส่งจากสนามบินนาริตะไปรอที่ Aomori โดยแมวดำ แนะนำว่าควรปริ๊นท์ชื่อ/ที่อยู่โรงแรมที่เป็นภาษาญี่ปุ่นมาด้วยครับ แล้วยื่นให้พนักงานช่วยกรอกส่วนนี้ให้ จิ้มปฏิทินตรงเคาน์เตอร์ให้พนักงานรู้ว่า เราจะเช็คอินที่โรงแรมนั้นวันที่เท่าไหร่
(6)
Pocket Wifi
ผมไม่ได้ใช้ Pocket Wifi ใดๆ ครับ ไม่เปิดบริการข้ามแดนใดๆ เตรียมข้อมูลทุกอย่างให้พร้อมก่อนเดินทาง ปริ๊นท์ทุกอย่างเผื่อไว้ 2 ชุดจากเมืองไทย ใช้เฉพาะ Free-Wifi ในโรงแรม หรือสนามบิน แต่ส่วนมากก็ไม่ค่อยใช้ ปกติมาเที่ยวจะไม่ออนไลน์ใดๆ ครับ ตัดการติดต่อ
(7)
แผนการเดินทางคร่าวๆ
Tokyo --> Sendai (Sendai & Yamadera) --> Hachinohe (Kabushima & Tanesashi Kaigan) --> Aomori (Omasaki, Osorezan, Mount Hakkoda, Aomori Contemporary Art Centre, ASPAM building) --> Furofushi Onsen --> Juniko --> Chiba (Narita, Sawara, Choshi) --> Ibaraki (Itako)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันที่ 1 ของการเดินทาง (BKK - HKG - NRT)
CX706 เที่ยวที่ผมไป ขาออกจากกรุงเทพดีเลย์ไปชั่วโมงนึงครับ จาก 1:20 เลื่อนเป็น 2:20 แต่มีเวลาต่อเครื่องที่ฮ่องกงเหลือเฟือจึงไม่ห่วงอะไร อาหารที่เสิร์ฟในไฟลท์นี้เป็นพวกขนมปัง, ครัวซองต์ชิ้นเล็กๆ แค่นั้นครับ ไม่มีอาหารร้อน ส่วน CX616 ขาไปญี่ปุ่น มีให้เลือกระหว่างออมเล็ตกับโจ๊กไก่ครับ เลือกโจ๊กไก่ไป ผลคือไม่รู้สึกอะไรกับกระเพาะเลย หิวจนอยากจะกินหัวผู้โดยสารข้างๆ
เครื่องถึงสนามบินนาริตะเทอร์มินัล 2 ตามกำหนด อากาศดี แดดดี ผ่านพิธีการต่างๆ เสร็จ จัดการส่งกระเป๋า ลงชั้นล่างเอา Exchange Order ไปแลก JR Pass และยื่นใบสำรองที่นั่งล่วงหน้าที่ปริ๊นมาให้พนักงาน พนักงานก็รับไปแล้วจัดการจิ้มๆ กดๆ ก่อนจะยื่นตั๋วทั้งหมดให้ แต่เนื่องจากก่อนเดินทาง 1 วันผมพึ่งตัดสินใจเปลี่ยนแผนว่าจะแวะ Hachinohe ระหว่างทาง ทำให้สำรองที่นั่งออนไลน์ไม่ได้แล้ว และ Resort Shirakami ยังไงก็ต้องมาจองที่นั่งเอง ก็เลยแจ้งให้พนักงานจองที่นั่งเพิ่มเติมให้ด้วย ใช้เวลาไม่นานครับ ช่วงบ่ายคนไม่เยอะ ใช้เวลาไม่นานก็เสร็จเรียบร้อย จากนั้นก็เดินไปเคาน์เตอร์ Keisei เอาใบรับตั๋ว Sky Access ไปแสดง เพื่อรับตั๋วจริง
ภายใน Keisei Sky Access ครับ
นั่ง Sky Access มาแค่ 36 นาที ก็ถึง Nippori (เร็วกว่านั่ง NEX มากครับ ระยะทางสั้นกว่า) แวะลงที่นี่ เพื่อออกทางออก North Gate Exit แวะดูรถไฟสักครู่ จุดนี้คือจุดที่เห็นรถไฟวิ่งผ่านได้มากที่สุดในโตเกียว (มีประมาณ 11 - 13 ราง) มีคนมายืนเกาะราวสะพาน ดูรถไฟ ถ่ายรูปอยู่พอควร
Shimogoindenbashi - Nipport Station North Gate Exit
รูปถ่ายที่แปะไว้ตรง North Gate Exit ครับ
จากนั้นนั่ง JR สายไหนก็ได้ ที่มุ่งหน้าไปสถานีโตเกียว เพื่อลงที่
Ueno (140 เยน) จัดการเช็คอินที่โรงแรม
Hotel New Park Ueno บริเวณโรงแรมเงียบสงบไม่พลุกพล่าน เดินไม่ไกลจากสถานี Ueno ห้องพักเล็กตามมาตรฐานโตเกียว
http://www.suntargas.co.jp/eng/newpark/guest_room.html
จากโรงแรม เดินทางต่อไป
สถานี Ochanomizu (Ueno -> Akihabara -> Ochanomizu) (140 เยน) แวะถ่ายรูปจุดดูรถไฟขึ้นชื่ออีกแห่งของโตเกียว จากสถานี Ochanomizu เดินออกมาเลี้ยวซ้ายจะเป็น
สะพาน Hijiri (Hijiribashi) ทอดข้ามแม่น้ำ Kanda ขบวนสีแดงคือ Metro Marunouchi Line สีเหลืองคือ Chuo-Sobu Line สีส้มคือ Chuo Line ครับ
ใกล้ๆ กันเป็นโบสถ์นิกาย Orthodox,
The Holy Resurrection Cathedral (Nikolai-do)
จากนั้นเดินทางต่อไป
สถานี Kaminoge (Ochanomizu -> Kanda -> Oimachi -> Kaminoge) แวะถ่ายรูปสถานี Kaminoge ที่ออกแบบโดย Tadao Ando
เสร็จแล้วเดินทางต่อไปยัง
สถานี Shibuya (Kaminoge -> Jiyugaoka -> Shibuya) แวะดูผลงานออกแบบสถานี Shibuya ของ Tadao Ando อีกเช่นกัน ก่อนเดินทางกลับโรงแรม แวะซื้อ French Fries ทั้งใน Lawson และ Family Mart กินให้หายอยาก ทำไมไม่เอาเข้ามาสาขาในไทยบ้าง
แผนเดิมเผื่อไว้ว่าถ้ามีเวลาพอ จะแวะไปชั้น 7 ตึก Shin-Marunouchi เพื่อนั่งเล่น และดูสถานีโตเกียวตอนกลางคืน หรือไปชั้น 8 ตึก Asakusa Culture Tourist Information Center เพื่อดูวิววัด Sensoji ตอนกลางคืน แต่ก็ต้องล้มพับไป เพราะดึกเกินและหมดแรงแล้ว กลับโรงแรมนอนดีกว่า
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://blog.gaijinpot.com/three-terrific-tokyo-terraces/
http://www.marunouchi.com/e/feature_jp/tokyo-view/
ชื่อสินค้า: ญี่ปุ่น Yamadera, Kabushima, Tanesashi Kaigan, Aomori Contemporary Art Center, Oma, Osorezan, Mount Hakkoda, Furofushi Onsen, Choshi, Inubosaki, Sawara, Itako, Resort Shirakami, Juniko, Shirakami Sanchi
คะแนน:
[CR] [CR] บางส่วนของ Aomori บางเสี้ยวของ Chiba และ Ibaraki (1)
การเริ่มต้นเที่ยวประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกของผมก็คงไม่ต่างจากหลายๆ คน คือเริ่มเที่ยวเฉพาะในเขตโตเกียวและเมืองบริวารที่สามารถเดินทางไป-กลับจากโตเกียวภายในวันเดียวได้ เช่น Nikko, Hakone พอครั้งที่สอง จึงเริ่มปีกกล้าขาแข็ง เริ่มเที่ยวไกลออกไป ลองค้างที่เมืองอี่นดูบ้าง โดยหนที่สองนี้ตระเวณเที่ยวอยู่ในเขตคาบสมุทร Izu (Izu Hanto)
ทั้งสองทริปที่ผ่านมา ทำให้รู้ว่าตัวเองไม่ชอบความพลุกพล่านของเมืองใหญ่อย่างโตเกียวหรือโยโกฮาม่าเลยสักนิด รวมถึงเมืองท่องเที่ยวอย่าง Hakone, Kawaguchiko ที่มีนักท่องเที่ยววุ่นวาย และทุกอย่างดูประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการท่องเที่ยว แต่กลับติดใจบรรยากาศและความสงบของเมืองเล็กๆ ทั้งหลายที่ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม
หลังจากทริปที่ 2 เมื่อ 3 ปีก่อน ผมก็ยังไม่มีแผนจะไปเที่ยวญี่ปุ่นอีก จนวันนึงระหว่างที่ใช้อินเตอร์เนตเหลือบไปเห็นโฆษณาโปรโมชั่นของ Malaysia Airline ที่ราคาแค่ 13,700 บาท บวกกับค่าเงินเยนที่อ่อนลงจากเดิมมาก อาการอยากจึงกำเริบขึ้นเดี๋ยวนั้น แต่ด้วยความที่มัวแต่เอ้อระเหย ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะไปไหนดี ทำให้เลยกำหนดวันที่ต้องออกตั๋ว สุดท้ายเลยไปกับ Cathay Pacific แทน
การไปเที่ยวสองครั้งก่อนตรงกับกลาง-ปลายเดือนกุมภาพันธ์ทั้งคู่ ซึ่งยังเป็นช่วงฤดูหนาวอยู่ ซึ่งแม้จะมีข้อดีว่าท้องฟ้าใสเป็นสีน้ำเงินสด (ถ้าไม่มีฝน ไม่มีหิมะ) แต่บรรยากาศโดยรวมก็ดูแห้งแล้งเพราะต้นไม้ยังทิ้งใบกันอยู่ ทริปครั้งที่ 3 นี้จึงลองเปลี่ยนเดือนดูบ้าง โดยขยับให้พ้นหลังวันหยุด Golden Week ของญี่ปุ่นและวันหยุดยาวต้นเดือนพฤษภาคมของไทย เพื่อหลีกเลี่ยงผู้คน และที่สำคัญอากาศน่าจะยังไม่ร้อนนัก (กรุงเทพร้อนพอแล้วครับ)
รายละเอียดการเดินทางคร่าวๆ
(1) สายการบิน Cathay Pacific
ราคาสุทธิ 14,040 บาท (ราคาอาจขึ้นๆ ลงๆ) โปรโมชั่นนี้บังคับให้เที่ยวบินขาออกจากกรุงเทพ - ฮ่องกงต้องเป็นเที่ยว CX706 (01:20 น.) หรือ CX616 (06:40 น.) เท่านั้นครับ
http://www.cathaypacific.com/cx/th_TH/flightoffer.flight-offers-to-japan.special-fares-japan-fixed-flights.html
ขาไป : กรุงเทพ - ฮ่องกง CX706 (01:20 -> 05:10) ฮ่องกง - นาริตะ CX504 (09:15 -> 14:40)
ขากลับ: นาริตะ - ฮ่องกง CX501 (10:50 -> 14:40) ฮ่องกง - กรุงเทพ CX703 (17:05 -> 19:00)
(2) ใช้ JR Pass 7 วัน
ก่อนไปผมสำรองที่นั่งล่วงหน้าของ Tohoku / Akita Shinkansen และ NEX กับเว็บของ JR East โดยตรงครับ จองเสร็จก็ปริ๊นรายละเอียดออกมา
http://www.eki-net.com/pc/jreast-shinkansen-reservation/English/wb/common/Menu/Menu.aspx
ถาม: จำเป็นต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้าจากเว็บก่อนไปญี่ปุ่นไหม ?
ตอบ: จริงๆ ก็ไม่จำเป็นครับ ไปจองที่นั่งตอนถึงญี่ปุ่นแล้วก็ได้ พอดีผมทำแผนไว้หมดแล้วว่าวันไหนต้องเดินทางด้วยรถไฟขบวนอะไร และแผนค่อนข้างตายตัว ก็เลยจองให้เสร็จไปก่อนเลย
ถาม: ต้องเสียค่าใช้จ่ายไหม ?
ตอบ: ไม่เสียครับ แต่ถ้าคุณไม่ไปรับตั๋วภายในเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะโดนค่าปรับครับ (คุณต้องกรอกหมายเลขบัตรเครดิตตอนจอง ก็คงหักจากตรงนี้)
ถาม: พอถึงวันจริงดันตื่นสาย ไปไม่ทันรถไฟขบวนที่จองไว้ หรือเปลี่ยนแผน จะโดนค่าปรับไหม ?
ตอบ: ไม่โดนครับ คุณก็แค่ไปสำรองที่นั่งใหม่ที่สถานีได้เลย
การสำรองที่นั่งจากเว็บนี้ ใช้ได้กับเฉพาะรถไฟที่ดำเนินการโดย JR East เท่านั้น รถไฟที่ดำเนินการโดย JR Central, JR West, JR Hokkaido, JR Kyushu, JR Shikoku และรถไฟเอกชนต่างๆ ไม่สามารถสำรองที่นั่งจากเว็บนี้ได้ครับ ฉะนั้น Tokaido Shinkansen ที่ไป Osaka หรือ Hokuriku Shinkansen ที่พ้นจากสถานี Joetsumyoko ไปแล้ว ไม่สามารถจองจากเว็บนี้ได้ครับ
รถไฟของ JR East เอง ก็สำรองที่นั่งได้แค่เฉพาะขบวนเหล่านี้ครับ
-- Shinkansen (Tohoku, Akita, Yamagata, Joetsu, และ Hokuriku เฉพาะที่ไปไม่เกินสถานี Joetsumyoko)
-- NEX
-- Odoriko/Superview Odoriko สำหรับผู้ที่อยากไป Izu Peninsula เพื่อดู Kawazu Sakura
-- Hitachi/Tokiwa สำหรับผู้ที่อยากจะเดินทางไปดูดอกไม้ที่ Hitachi Seaside Park ที่ Ibaraki
-- Super Asuza, Asuza, Kaiji สำหรับผู้ที่จะเดินทางจาก Shinjuku ไปลงสถานี Otsuki เพื่อต่อรถไฟ Fujikyu ไป Kawaguchiko (สำรองที่นั่งได้เฉพาะของขบวน Super Asuza, Asuza, Kaiji นะครับ รถไฟ Fujikyu เป็นของเอกชนไม่เกี่ยวกัน)
-- Nikko, Spacia-Nikko, Kinugawa, "Spacia-Kinugawa สำหรับผู้ที่จะเดินทางไป Nikko
แต่อันนี้ผมยังไม่แน่ใจรายละเอียด เพราะ Spacia Nikko เป็นของ Tobu Railway แต่เข้าใจว่า ตรงนี้น่าจะขึ้นประเภทของ Pass ที่ผู้จองจะใช้ในการเดินทางด้วยครับ เพราะแต่ละ Pass เงื่อนไขครอบคลุมไม่เท่ากัน
ส่วนรถไฟขบวนอื่นๆ เช่น Resort Shirakami (Aomori - Akita), Limited Express Inaho (Niigata - Akita), Limited Express Tsugaru (Aomori - Akita) พวกนี้ต้องไปสำรองด้วยตนเองที่สถานีครับ
สามารถสำรองที่นั่งจากเว็บนี้ได้ไม่เกิน 30 วันก่อนวันเดินทาง และวันสุดท้ายที่สามารถสำรองที่นั่งออนไลน์จากเว็บนี้ได้ คือ 17:00 น. 3 วันก่อนเดินทาง โดยผู้จองต้องเลือกว่าจะไปรับตั๋วที่สถานีใด ถ้าสะดวกสุดก็คือสนามบิน Narita, Haneda หรือสถานีใหญ่ๆ ในโตเกียวครับ ผู้จองไม่จำเป็นต้องซื้อพาสใดๆ เตรียมไว้ก่อน เพราะในขั้นตอนการจอง ไม่มีการถามหมายเลข Exchange Order หรือหมายเลขอ้างอิงใดๆ ครับ นอกจากหมายเลขบัตรเครดิต
(3) เดินทางจากนาริตะเข้าเมืองโดยใช้ Keisei Skyliner (ขาเดียว)
ซื้อตั๋วล่วงหน้าออนไลน์ ลดจาก 2470 เยน เหลือ 2200 เยน
http://www.keisei.co.jp/keisei/tetudou/skyliner/e-ticket/en/ticket/91/
(4) ระยะเวลาเดินทาง: 9 วัน
(5) ส่งกระเป๋าโดยแมวดำ
ผมส่งจากสนามบินนาริตะไปรอที่ Aomori โดยแมวดำ แนะนำว่าควรปริ๊นท์ชื่อ/ที่อยู่โรงแรมที่เป็นภาษาญี่ปุ่นมาด้วยครับ แล้วยื่นให้พนักงานช่วยกรอกส่วนนี้ให้ จิ้มปฏิทินตรงเคาน์เตอร์ให้พนักงานรู้ว่า เราจะเช็คอินที่โรงแรมนั้นวันที่เท่าไหร่
(6) Pocket Wifi
ผมไม่ได้ใช้ Pocket Wifi ใดๆ ครับ ไม่เปิดบริการข้ามแดนใดๆ เตรียมข้อมูลทุกอย่างให้พร้อมก่อนเดินทาง ปริ๊นท์ทุกอย่างเผื่อไว้ 2 ชุดจากเมืองไทย ใช้เฉพาะ Free-Wifi ในโรงแรม หรือสนามบิน แต่ส่วนมากก็ไม่ค่อยใช้ ปกติมาเที่ยวจะไม่ออนไลน์ใดๆ ครับ ตัดการติดต่อ
(7) แผนการเดินทางคร่าวๆ
Tokyo --> Sendai (Sendai & Yamadera) --> Hachinohe (Kabushima & Tanesashi Kaigan) --> Aomori (Omasaki, Osorezan, Mount Hakkoda, Aomori Contemporary Art Centre, ASPAM building) --> Furofushi Onsen --> Juniko --> Chiba (Narita, Sawara, Choshi) --> Ibaraki (Itako)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันที่ 1 ของการเดินทาง (BKK - HKG - NRT)
CX706 เที่ยวที่ผมไป ขาออกจากกรุงเทพดีเลย์ไปชั่วโมงนึงครับ จาก 1:20 เลื่อนเป็น 2:20 แต่มีเวลาต่อเครื่องที่ฮ่องกงเหลือเฟือจึงไม่ห่วงอะไร อาหารที่เสิร์ฟในไฟลท์นี้เป็นพวกขนมปัง, ครัวซองต์ชิ้นเล็กๆ แค่นั้นครับ ไม่มีอาหารร้อน ส่วน CX616 ขาไปญี่ปุ่น มีให้เลือกระหว่างออมเล็ตกับโจ๊กไก่ครับ เลือกโจ๊กไก่ไป ผลคือไม่รู้สึกอะไรกับกระเพาะเลย หิวจนอยากจะกินหัวผู้โดยสารข้างๆ
เครื่องถึงสนามบินนาริตะเทอร์มินัล 2 ตามกำหนด อากาศดี แดดดี ผ่านพิธีการต่างๆ เสร็จ จัดการส่งกระเป๋า ลงชั้นล่างเอา Exchange Order ไปแลก JR Pass และยื่นใบสำรองที่นั่งล่วงหน้าที่ปริ๊นมาให้พนักงาน พนักงานก็รับไปแล้วจัดการจิ้มๆ กดๆ ก่อนจะยื่นตั๋วทั้งหมดให้ แต่เนื่องจากก่อนเดินทาง 1 วันผมพึ่งตัดสินใจเปลี่ยนแผนว่าจะแวะ Hachinohe ระหว่างทาง ทำให้สำรองที่นั่งออนไลน์ไม่ได้แล้ว และ Resort Shirakami ยังไงก็ต้องมาจองที่นั่งเอง ก็เลยแจ้งให้พนักงานจองที่นั่งเพิ่มเติมให้ด้วย ใช้เวลาไม่นานครับ ช่วงบ่ายคนไม่เยอะ ใช้เวลาไม่นานก็เสร็จเรียบร้อย จากนั้นก็เดินไปเคาน์เตอร์ Keisei เอาใบรับตั๋ว Sky Access ไปแสดง เพื่อรับตั๋วจริง
ภายใน Keisei Sky Access ครับ
นั่ง Sky Access มาแค่ 36 นาที ก็ถึง Nippori (เร็วกว่านั่ง NEX มากครับ ระยะทางสั้นกว่า) แวะลงที่นี่ เพื่อออกทางออก North Gate Exit แวะดูรถไฟสักครู่ จุดนี้คือจุดที่เห็นรถไฟวิ่งผ่านได้มากที่สุดในโตเกียว (มีประมาณ 11 - 13 ราง) มีคนมายืนเกาะราวสะพาน ดูรถไฟ ถ่ายรูปอยู่พอควร
Shimogoindenbashi - Nipport Station North Gate Exit
รูปถ่ายที่แปะไว้ตรง North Gate Exit ครับ
จากนั้นนั่ง JR สายไหนก็ได้ ที่มุ่งหน้าไปสถานีโตเกียว เพื่อลงที่ Ueno (140 เยน) จัดการเช็คอินที่โรงแรม Hotel New Park Ueno บริเวณโรงแรมเงียบสงบไม่พลุกพล่าน เดินไม่ไกลจากสถานี Ueno ห้องพักเล็กตามมาตรฐานโตเกียว
http://www.suntargas.co.jp/eng/newpark/guest_room.html
จากโรงแรม เดินทางต่อไปสถานี Ochanomizu (Ueno -> Akihabara -> Ochanomizu) (140 เยน) แวะถ่ายรูปจุดดูรถไฟขึ้นชื่ออีกแห่งของโตเกียว จากสถานี Ochanomizu เดินออกมาเลี้ยวซ้ายจะเป็นสะพาน Hijiri (Hijiribashi) ทอดข้ามแม่น้ำ Kanda ขบวนสีแดงคือ Metro Marunouchi Line สีเหลืองคือ Chuo-Sobu Line สีส้มคือ Chuo Line ครับ
ใกล้ๆ กันเป็นโบสถ์นิกาย Orthodox, The Holy Resurrection Cathedral (Nikolai-do)
จากนั้นเดินทางต่อไปสถานี Kaminoge (Ochanomizu -> Kanda -> Oimachi -> Kaminoge) แวะถ่ายรูปสถานี Kaminoge ที่ออกแบบโดย Tadao Ando
เสร็จแล้วเดินทางต่อไปยังสถานี Shibuya (Kaminoge -> Jiyugaoka -> Shibuya) แวะดูผลงานออกแบบสถานี Shibuya ของ Tadao Ando อีกเช่นกัน ก่อนเดินทางกลับโรงแรม แวะซื้อ French Fries ทั้งใน Lawson และ Family Mart กินให้หายอยาก ทำไมไม่เอาเข้ามาสาขาในไทยบ้าง
แผนเดิมเผื่อไว้ว่าถ้ามีเวลาพอ จะแวะไปชั้น 7 ตึก Shin-Marunouchi เพื่อนั่งเล่น และดูสถานีโตเกียวตอนกลางคืน หรือไปชั้น 8 ตึก Asakusa Culture Tourist Information Center เพื่อดูวิววัด Sensoji ตอนกลางคืน แต่ก็ต้องล้มพับไป เพราะดึกเกินและหมดแรงแล้ว กลับโรงแรมนอนดีกว่า
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://blog.gaijinpot.com/three-terrific-tokyo-terraces/
http://www.marunouchi.com/e/feature_jp/tokyo-view/