http://waymagazine.org/sunscreentips/
อย่าไว้ใจครีมกันแดด
May 30, 2015 Consumer, Movement
ครีมกันแดดที่ใช้อยู่อาจไม่ช่วยกันแดด ซ้ำยังอาจเป็นอันตราย จากการสำรวจผลิตภัณฑ์กันแดดในตลาดสหรัฐอเมริกากว่า 1,700 ชนิดพบว่ามีเพียง 21 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีประสิทธิภาพกันแดดและใช้ได้อย่างปลอดภัย
Environmental Working Group’s (EWG) กลุ่มองค์กรอิสระที่ทำงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสารเคมีเป็นพิษในสหรัฐอเมริกา ได้สำรวจผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่ามีคุณสมบัติกันแดด 1,700 ชนิด (รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ นอกจากครีมกันแดด เช่น มอยซ์เจอไรเซอร์,ลิปบาล์ม ที่โฆษณาว่ามีส่วนผสมของสารกันแดด) เพื่อเป็นคู่มือผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต(ยูวี) ได้จริง
เดฟ แอนดรูวส์ นักวิทยาศาสต์อาวุโสประจำ EWG ให้ข้อมูลว่า ครีมกันแดดทุกตัวไม่ได้มีประสิทธิภาพกันแดดเท่ากันหมด การซื้อจากคำโฆษณาจึงไม่เพียงพอ
“ผลิตภัณฑ์กันแดดหลายชนิด ไม่ได้ช่วยป้องกันรังสียูวีได้เพียงพอ บางชนิดมีส่วนผสมของสารเคมีอันตรายเช่น Oxybenzone และ retinyl palmitate ที่เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน ที่มาในรูปแบบของวิตามินเอ ซี่งอาจทำลายผิว”
EWG พบว่าผู้ผลิตบิดเบือนข้อมูลหลายอย่างผ่านคำโฆษณาสรรพคุณ เช่น ครีมกันแดดแบบสเปรย์ที่ถูกยกให้เป็น Hall of shame ไม่สามารถปกป้องผิวได้เพียงพอ โดยเฉพาะกับเด็กๆ ผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดสเปรย์ถือเป็นอันตรายอย่างยิ่งเมื่อสูดดมเข้าไป แต่ก็ยังนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกาเพราะง่าย สะดวก รวดเร็ว องค์การอาหารและยาสหรัฐหรือFDA ก็เคยออกมาตั้งข้อสงสัยถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่แบนสักที

รวมถึงการใส่ส่วนผสมที่อันตรายลงไป เช่น oxybenzone ที่เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน งานวิจัยบางชิ้นพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิดโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในสตรีสูงอายุ
อีกส่วนผสมสำคัญที่ผลิตภัณฑ์กันแดดมาใส่ลงไปคือ retinyl palmitate ซึ่งมาในรูปของวิตามิน A ที่มีส่วนก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง
หรือๆผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่ามีค่า SPF เกิน 50 เพราะจากข้อมูลของ EWG ค่า SPF สูงสุดอยู่ที่ 30-50 เท่านั้น และ ค่า SPF สูงๆ เหล่านี้ไม่เคยโฆษณาโดยการบอกว่าป้องกันได้แค่รังสียูวีบี แต่ปกป้องผิวจากรังสียูวีเอได้น้อยมาก ซึ่งเมื่อรังสียูวีเอซึมลงไปในผิวหนัง จะไปก่อกวนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังได้
จากข้อมูลของ Watchdog (องค์กรอิสระที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เอกชน และองค์กรอิสระด้วยกันเพื่อประโยชน์สาธารณะ) เผยว่า เมื่อพิจารณาจากส่วนผสมและวิธีการโฆษณาแล้ว ผลิตภัณฑ์กันแดดประมาณครึ่งหนึ่ง “ไม่สามารถวางขายในยุโรปได้” อันเนื่องมาจากกฎระเบียบของสหภาพยุโรปที่เข้มงวด อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐอเมริกา กฎระเบียบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเองในปัจจุบัน อนุญาตให้ผู้ผลิตเติมส่วนผสมประเภทสารไม่ออกฤทธิ์ลงไปในผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งรวมถึงสารเคมีต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนต่างๆ ของร่างกาย หรือทำลายผิว และก่อให้เกิดอาการแพ้
EWG ยังเสริมอีกว่า งานวิจัยหลายชิ้น แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเชื่อคำของสรรพคุณในโฆษณา เกี่ยวกับการป้องกันแสงแดด และ ผลก็คือ คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF สูง มีแนวโน้มที่จะออกแดดนานกว่า และ มีโอกาสผิวไหม้ได้มากกว่า
อย่าไว้ใจครีมกันแดด
อย่าไว้ใจครีมกันแดด
May 30, 2015 Consumer, Movement
ครีมกันแดดที่ใช้อยู่อาจไม่ช่วยกันแดด ซ้ำยังอาจเป็นอันตราย จากการสำรวจผลิตภัณฑ์กันแดดในตลาดสหรัฐอเมริกากว่า 1,700 ชนิดพบว่ามีเพียง 21 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีประสิทธิภาพกันแดดและใช้ได้อย่างปลอดภัย
Environmental Working Group’s (EWG) กลุ่มองค์กรอิสระที่ทำงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสารเคมีเป็นพิษในสหรัฐอเมริกา ได้สำรวจผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่ามีคุณสมบัติกันแดด 1,700 ชนิด (รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ นอกจากครีมกันแดด เช่น มอยซ์เจอไรเซอร์,ลิปบาล์ม ที่โฆษณาว่ามีส่วนผสมของสารกันแดด) เพื่อเป็นคู่มือผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต(ยูวี) ได้จริง
เดฟ แอนดรูวส์ นักวิทยาศาสต์อาวุโสประจำ EWG ให้ข้อมูลว่า ครีมกันแดดทุกตัวไม่ได้มีประสิทธิภาพกันแดดเท่ากันหมด การซื้อจากคำโฆษณาจึงไม่เพียงพอ
“ผลิตภัณฑ์กันแดดหลายชนิด ไม่ได้ช่วยป้องกันรังสียูวีได้เพียงพอ บางชนิดมีส่วนผสมของสารเคมีอันตรายเช่น Oxybenzone และ retinyl palmitate ที่เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน ที่มาในรูปแบบของวิตามินเอ ซี่งอาจทำลายผิว”
EWG พบว่าผู้ผลิตบิดเบือนข้อมูลหลายอย่างผ่านคำโฆษณาสรรพคุณ เช่น ครีมกันแดดแบบสเปรย์ที่ถูกยกให้เป็น Hall of shame ไม่สามารถปกป้องผิวได้เพียงพอ โดยเฉพาะกับเด็กๆ ผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดสเปรย์ถือเป็นอันตรายอย่างยิ่งเมื่อสูดดมเข้าไป แต่ก็ยังนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกาเพราะง่าย สะดวก รวดเร็ว องค์การอาหารและยาสหรัฐหรือFDA ก็เคยออกมาตั้งข้อสงสัยถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่แบนสักที

รวมถึงการใส่ส่วนผสมที่อันตรายลงไป เช่น oxybenzone ที่เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน งานวิจัยบางชิ้นพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิดโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในสตรีสูงอายุ
อีกส่วนผสมสำคัญที่ผลิตภัณฑ์กันแดดมาใส่ลงไปคือ retinyl palmitate ซึ่งมาในรูปของวิตามิน A ที่มีส่วนก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง
หรือๆผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่ามีค่า SPF เกิน 50 เพราะจากข้อมูลของ EWG ค่า SPF สูงสุดอยู่ที่ 30-50 เท่านั้น และ ค่า SPF สูงๆ เหล่านี้ไม่เคยโฆษณาโดยการบอกว่าป้องกันได้แค่รังสียูวีบี แต่ปกป้องผิวจากรังสียูวีเอได้น้อยมาก ซึ่งเมื่อรังสียูวีเอซึมลงไปในผิวหนัง จะไปก่อกวนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังได้
จากข้อมูลของ Watchdog (องค์กรอิสระที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เอกชน และองค์กรอิสระด้วยกันเพื่อประโยชน์สาธารณะ) เผยว่า เมื่อพิจารณาจากส่วนผสมและวิธีการโฆษณาแล้ว ผลิตภัณฑ์กันแดดประมาณครึ่งหนึ่ง “ไม่สามารถวางขายในยุโรปได้” อันเนื่องมาจากกฎระเบียบของสหภาพยุโรปที่เข้มงวด อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐอเมริกา กฎระเบียบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเองในปัจจุบัน อนุญาตให้ผู้ผลิตเติมส่วนผสมประเภทสารไม่ออกฤทธิ์ลงไปในผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งรวมถึงสารเคมีต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนต่างๆ ของร่างกาย หรือทำลายผิว และก่อให้เกิดอาการแพ้
EWG ยังเสริมอีกว่า งานวิจัยหลายชิ้น แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเชื่อคำของสรรพคุณในโฆษณา เกี่ยวกับการป้องกันแสงแดด และ ผลก็คือ คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF สูง มีแนวโน้มที่จะออกแดดนานกว่า และ มีโอกาสผิวไหม้ได้มากกว่า