สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ปี 2011 มีการรายงานของหน่วยงานที่ปรึกษาอิสระ Ryder Scott ได้ทำการตรวจสอบปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proven Reserves) ของประเทศโบลีเวีย พบว่า ปริมาณสำรองนั้นได้ลดลงถึง 2 ใน 3 ของปริมาณสำรอง 26.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตที่ถูกค้นพบเมื่อปี 2005 เหลืออยู่เพียง 9.94 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตเท่านั้น โดยมีสาเหตุที่เป็นไปได้อยู่ 3 ประการคือ
1) การจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐในอัตราที่สูงมากกว่าเดิมมากจาก 50% มาเป็น 82% ของมูลค่าปิโตรเลียมนั้น ทำให้ส่งผลต่อความสามารถในการกำไรจากการพัฒนาและผลิตก๊าซธรรมชาติของบางแหล่งที่ถูกค้นพบแล้วลดลง กล่าวคือทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น บริษัทเอกชนได้ส่วนแบ่งน้อยลง ทำให้ปริมาณทรัพยากรบางส่วนไม่สามารถผลิตขึ้นมาให้คุ้มทุนได้แบบแต่ก่อน จึงถูกตัดออกไปไม่นับเป็นปริมาณสำรอง แต่ก๊าซส่วนนั้นก็ยังคงอยู่ใต้ดินไม่หายไปไหนแค่ผลิตขึ้นมาให้คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ไม่ได้เท่านั้น
2) ประเทศโบลีเวียมีการพึ่งพาการส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังประเทศบราซิล และ ประเทศอาร์เจนติน่า เพราะยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อบริษัท Petrobas ของบราซิล และ Repsol-YPF ของสเปนและอาร์เจนติน่า ทำให้ยังคงมีการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติอยู่ตลอดมา ปริมาณสำรองส่วนที่ถูกผลิตออกไปก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
3) การที่รัฐบาลโมราเลสไปยึดสัมปทานเมื่อปี 2006 นั้น ทำให้บริษัทต่างชาติหมดความเชื่อมั่นและหมดความสนใจที่จะมาลงทุนในประเทศโบลีเวียอีกต่อไป โดยเฉพาะธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ทำให้ที่ผ่านมาโดยช่วงปี 2011 มีการสำรวจและขุดเจาะหลุมสำรวจปิโตรเลียมเพียงแค่ 1 หลุมเท่านั้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง โคลอมเบียขุดเจาะหลุมสำรวจไป 61 หลุม บราซิล 300 หลุม อาร์เจนติน่า 600 หลุม จึงไม่ได้มีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งใหม่ๆ เพื่อทดแทนปริมาณสำรองที่ถูกผลิตออกไป
ในปี 2012 ความต้องการนำเข้าก๊าซธรรมชาติของประเทศบราซิลและประเทศอาร์เจนติน่าก็เริ่มลดลงเนื่องจากประเทศทั้งสองนี้มีความสามารถหาปริมาณสำรองและผลิตก๊าซธรรมชาติเพื่อบริโภคภายในประเทศได้มากขึ้น จึงทำให้สถานการณ์ของประเทศโบลีเวียแย่ลง เพราะต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกก๊าซธรรมชาติให้กับสองประเทศนี้ โดยในปี 2011 มีการส่งออกก๊าซธรรมชาติ ประมาณเกือบ 5 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต หรือ 1,300 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือ ครั้นจะสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติในประเทศก็ไม่มีตลาดรองรับทั้งในและต่างประเทศ ก็เลยเริ่มมีปัญหา ขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายจากนโยบายประชานิยมก็มีสูงขึ้น จึงต้องการเจรจาสัญญาการซื้อขายก๊าซธรรมชาติและก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับประเทศอุรุกวัยกับปารากวัย เพื่อเปิดตลาดเพิ่มเติม แต่ยังไม่บรรลุผล
แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทน้ำมันแห่งชาติของโบลีเวีย YPFB ได้เริ่มเจรจาสัญญาการขุดเจาะสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่กับทาง Petrobas ของบราซิลเพื่อเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของประเทศให้มากขึ้น และวางแผนส่งออกก๊าซธรรมชาติระยะยาวกับทางประเทศบราซิลให้ได้ยาวนานขึ้น รวมถึงถ้ามีการบรรลุข้อตกลงสัญญาซื้อขายก๊าซจากประเทศอื่นๆเช่น ปารากวัยเพิ่มเติม
ในปี 2013 โบลีเวียได้มีโรงแยกก๊าซธรรมชาติ Rio Grande ซึ่งเป็นโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งแรก โดยมีกำลังการแยกก๊าซ 20% ของก๊าซธรรมชาติที่ส่งออกไปยังประเทศบราซิล โดยโรงแยกก๊าซนี้จะสามารถผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ LPG ได้อย่างเพียงพอการบริโภคในประเทศและเหลือส่งออกไปยังประเทศปารากวัย และมีเป้าหมายจะพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต ขณะที่ประเทศบราซิลเองก็กำลังสร้างโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 2 แห่งเพิ่ม เพื่อใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติของโบลีเวียที่ได้ทำสัญญาฉบับใหม่เพิ่มเติมอีก 20 ปี เพื่อมาสร้างมูลค่าเพิ่มจากไฮโดรคาร์บอนที่มีคุณค่าอย่างอีเทน โพรเพนและบิวเทน
แต่อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ต่างให้ความเห็นว่า ประเทศโบลีเวียอาจจะประสบปัญหาจากสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับบราซิลฉบับนี้ เนื่องจากความต้องการการใช้ก๊าซในประเทศมีการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆแต่ขณะที่ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติกลับน้อยลงกว่าที่คาดไว้ อาจจะเกิดปัญหาผลิตก๊าซธรรมชาติไม่เพียงพอภายในประเทศก่อนการส่งออกก็เป็นไปได้ ถ้าหากประเทศโบลีเวียจะพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศอย่างจริงจัง
ดังนั้นหากประเทศโบลีเวียยังคงต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกทรัพยากรก๊าซธรรมชาติของตัวเองอยู่และมีโครงการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จำเป็นต้องใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบเป็นจำนวนมากเพื่อเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติของตัวเอง ประเทศโบลีเวียจึงจำเป็นต้องเร่งฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่างประเทศ รวมถึงการเจรจาหรือปรับเปลี่ยนการจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนของรัฐเพื่อจูงใจให้มีความสามารถสำรวจ พัฒนาและผลิตแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ๆเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติให้มากขึ้นที่จะสามารถรองรับการพัฒนาประเทศดังกล่าว ทั้งหมดทั้งปวงนี้ได้เกิดขึ้นและพัฒนากับประเทศไทยแล้วเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ประเทศไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง ด้วยการสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นแห่งแรกหลังจากค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรของเราเอง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หมายเหตุ ประเทศโบลีเวียในขณะนั้น ยังไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยังไม่มีโรงแยกก๊าซ ไม่มีฐานการผลิตอะไรเลย ทำให้ความต้องการใช้พลังงานน้อย และไม่จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้บริษัทต่างชาติ ขณะที่ประเทศไทย มีการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีโรงแยกก๊าซ มีฐานการผลิตและเป็นศูนย์การผลิตภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจต่อเนื่องของภูมิภาคอาเซียน ถ้าเราไปยึดกิจการต่างๆกลับมาเป็นของรัฐแบบโบลีเวีย จะทำให้ต่างชาติถอนเงินลงทุนออกจากประเทศไทยทั้งหมด จะเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ เศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ส่งผลทำให้คนไทยทั่วประเทศตกงานเป็นล้านคน (ประเทศไทยว่างงานอัตรา 0.7 ส่วนโบลิเวีย 7.6)
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
BBC, “Bolivia gas under state control”, 2006
Jeffery r. Webber, ZCommunications, “Nationalization of Gas!”, 2006
Carlos Alberto Quiroga, “Bolivia's military takes control of gas fields”, 2006
Petrobras, “New Hydrocarbons Law of Bolivia”, 2007
BRENT Z. KAUP, London School of Economics “Bolivia’s Nationalised Natural Gas: Social and Economic Stability Under Morales”, 2009
AP, “Bolivia's Evo Morales Re-Elected with Ease”, 2009
Sara Shahriari, Bloomberg, “Bolivia Cuts Natural-Gas Reserves to Half of Previous Estimate, AFP Says”, 2010
Javier Aliaga, Latin American Herald Tribune, “Report of Decline in Gas Reserves Shakes Bolivia Energy Sector”, 2011
Carlos Alberto Quiroga, Reuters, “UPDATE 1-Bolivia says proven natural gas reserves fall”, 2011
Sara Shahriari, Bloomberg , “Bolivia Proven Gas Reserves Fall to 9.94 Trillion Cubic Feet”, 2011
Reuters, “Bolivia: YPFB Seeks New Contracts with Petrobras to Explore for Natural Gas”, 2012
John Daly, “Bolivia's Natural Gas Reserves Now on Political Firing Line”, 2012
Bolivia Daily, “Industrializing Bolivia’s Gas in Bolivia, Not Brazil (NACLA)”, 2013
Latin American Herald Tribune, “Morales Inaugurates Bolivia’s 1st Natural Gas Liquids Separation Plant”, 2013
ที่มา
http://on.fb.me/1Bp7v3W
http://on.fb.me/1PJZ2Ek
กราฟ EIA, BP Statistical Review of World Energy June 2014
1) การจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐในอัตราที่สูงมากกว่าเดิมมากจาก 50% มาเป็น 82% ของมูลค่าปิโตรเลียมนั้น ทำให้ส่งผลต่อความสามารถในการกำไรจากการพัฒนาและผลิตก๊าซธรรมชาติของบางแหล่งที่ถูกค้นพบแล้วลดลง กล่าวคือทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น บริษัทเอกชนได้ส่วนแบ่งน้อยลง ทำให้ปริมาณทรัพยากรบางส่วนไม่สามารถผลิตขึ้นมาให้คุ้มทุนได้แบบแต่ก่อน จึงถูกตัดออกไปไม่นับเป็นปริมาณสำรอง แต่ก๊าซส่วนนั้นก็ยังคงอยู่ใต้ดินไม่หายไปไหนแค่ผลิตขึ้นมาให้คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ไม่ได้เท่านั้น
2) ประเทศโบลีเวียมีการพึ่งพาการส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังประเทศบราซิล และ ประเทศอาร์เจนติน่า เพราะยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อบริษัท Petrobas ของบราซิล และ Repsol-YPF ของสเปนและอาร์เจนติน่า ทำให้ยังคงมีการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติอยู่ตลอดมา ปริมาณสำรองส่วนที่ถูกผลิตออกไปก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
3) การที่รัฐบาลโมราเลสไปยึดสัมปทานเมื่อปี 2006 นั้น ทำให้บริษัทต่างชาติหมดความเชื่อมั่นและหมดความสนใจที่จะมาลงทุนในประเทศโบลีเวียอีกต่อไป โดยเฉพาะธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ทำให้ที่ผ่านมาโดยช่วงปี 2011 มีการสำรวจและขุดเจาะหลุมสำรวจปิโตรเลียมเพียงแค่ 1 หลุมเท่านั้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง โคลอมเบียขุดเจาะหลุมสำรวจไป 61 หลุม บราซิล 300 หลุม อาร์เจนติน่า 600 หลุม จึงไม่ได้มีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งใหม่ๆ เพื่อทดแทนปริมาณสำรองที่ถูกผลิตออกไป
ในปี 2012 ความต้องการนำเข้าก๊าซธรรมชาติของประเทศบราซิลและประเทศอาร์เจนติน่าก็เริ่มลดลงเนื่องจากประเทศทั้งสองนี้มีความสามารถหาปริมาณสำรองและผลิตก๊าซธรรมชาติเพื่อบริโภคภายในประเทศได้มากขึ้น จึงทำให้สถานการณ์ของประเทศโบลีเวียแย่ลง เพราะต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกก๊าซธรรมชาติให้กับสองประเทศนี้ โดยในปี 2011 มีการส่งออกก๊าซธรรมชาติ ประมาณเกือบ 5 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต หรือ 1,300 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือ ครั้นจะสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติในประเทศก็ไม่มีตลาดรองรับทั้งในและต่างประเทศ ก็เลยเริ่มมีปัญหา ขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายจากนโยบายประชานิยมก็มีสูงขึ้น จึงต้องการเจรจาสัญญาการซื้อขายก๊าซธรรมชาติและก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับประเทศอุรุกวัยกับปารากวัย เพื่อเปิดตลาดเพิ่มเติม แต่ยังไม่บรรลุผล
แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทน้ำมันแห่งชาติของโบลีเวีย YPFB ได้เริ่มเจรจาสัญญาการขุดเจาะสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่กับทาง Petrobas ของบราซิลเพื่อเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของประเทศให้มากขึ้น และวางแผนส่งออกก๊าซธรรมชาติระยะยาวกับทางประเทศบราซิลให้ได้ยาวนานขึ้น รวมถึงถ้ามีการบรรลุข้อตกลงสัญญาซื้อขายก๊าซจากประเทศอื่นๆเช่น ปารากวัยเพิ่มเติม
ในปี 2013 โบลีเวียได้มีโรงแยกก๊าซธรรมชาติ Rio Grande ซึ่งเป็นโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งแรก โดยมีกำลังการแยกก๊าซ 20% ของก๊าซธรรมชาติที่ส่งออกไปยังประเทศบราซิล โดยโรงแยกก๊าซนี้จะสามารถผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ LPG ได้อย่างเพียงพอการบริโภคในประเทศและเหลือส่งออกไปยังประเทศปารากวัย และมีเป้าหมายจะพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต ขณะที่ประเทศบราซิลเองก็กำลังสร้างโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 2 แห่งเพิ่ม เพื่อใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติของโบลีเวียที่ได้ทำสัญญาฉบับใหม่เพิ่มเติมอีก 20 ปี เพื่อมาสร้างมูลค่าเพิ่มจากไฮโดรคาร์บอนที่มีคุณค่าอย่างอีเทน โพรเพนและบิวเทน
แต่อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ต่างให้ความเห็นว่า ประเทศโบลีเวียอาจจะประสบปัญหาจากสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับบราซิลฉบับนี้ เนื่องจากความต้องการการใช้ก๊าซในประเทศมีการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆแต่ขณะที่ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติกลับน้อยลงกว่าที่คาดไว้ อาจจะเกิดปัญหาผลิตก๊าซธรรมชาติไม่เพียงพอภายในประเทศก่อนการส่งออกก็เป็นไปได้ ถ้าหากประเทศโบลีเวียจะพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศอย่างจริงจัง
ดังนั้นหากประเทศโบลีเวียยังคงต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกทรัพยากรก๊าซธรรมชาติของตัวเองอยู่และมีโครงการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จำเป็นต้องใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบเป็นจำนวนมากเพื่อเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติของตัวเอง ประเทศโบลีเวียจึงจำเป็นต้องเร่งฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่างประเทศ รวมถึงการเจรจาหรือปรับเปลี่ยนการจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนของรัฐเพื่อจูงใจให้มีความสามารถสำรวจ พัฒนาและผลิตแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ๆเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติให้มากขึ้นที่จะสามารถรองรับการพัฒนาประเทศดังกล่าว ทั้งหมดทั้งปวงนี้ได้เกิดขึ้นและพัฒนากับประเทศไทยแล้วเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ประเทศไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง ด้วยการสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นแห่งแรกหลังจากค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรของเราเอง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หมายเหตุ ประเทศโบลีเวียในขณะนั้น ยังไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยังไม่มีโรงแยกก๊าซ ไม่มีฐานการผลิตอะไรเลย ทำให้ความต้องการใช้พลังงานน้อย และไม่จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้บริษัทต่างชาติ ขณะที่ประเทศไทย มีการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีโรงแยกก๊าซ มีฐานการผลิตและเป็นศูนย์การผลิตภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจต่อเนื่องของภูมิภาคอาเซียน ถ้าเราไปยึดกิจการต่างๆกลับมาเป็นของรัฐแบบโบลีเวีย จะทำให้ต่างชาติถอนเงินลงทุนออกจากประเทศไทยทั้งหมด จะเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ เศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ส่งผลทำให้คนไทยทั่วประเทศตกงานเป็นล้านคน (ประเทศไทยว่างงานอัตรา 0.7 ส่วนโบลิเวีย 7.6)
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
BBC, “Bolivia gas under state control”, 2006
Jeffery r. Webber, ZCommunications, “Nationalization of Gas!”, 2006
Carlos Alberto Quiroga, “Bolivia's military takes control of gas fields”, 2006
Petrobras, “New Hydrocarbons Law of Bolivia”, 2007
BRENT Z. KAUP, London School of Economics “Bolivia’s Nationalised Natural Gas: Social and Economic Stability Under Morales”, 2009
AP, “Bolivia's Evo Morales Re-Elected with Ease”, 2009
Sara Shahriari, Bloomberg, “Bolivia Cuts Natural-Gas Reserves to Half of Previous Estimate, AFP Says”, 2010
Javier Aliaga, Latin American Herald Tribune, “Report of Decline in Gas Reserves Shakes Bolivia Energy Sector”, 2011
Carlos Alberto Quiroga, Reuters, “UPDATE 1-Bolivia says proven natural gas reserves fall”, 2011
Sara Shahriari, Bloomberg , “Bolivia Proven Gas Reserves Fall to 9.94 Trillion Cubic Feet”, 2011
Reuters, “Bolivia: YPFB Seeks New Contracts with Petrobras to Explore for Natural Gas”, 2012
John Daly, “Bolivia's Natural Gas Reserves Now on Political Firing Line”, 2012
Bolivia Daily, “Industrializing Bolivia’s Gas in Bolivia, Not Brazil (NACLA)”, 2013
Latin American Herald Tribune, “Morales Inaugurates Bolivia’s 1st Natural Gas Liquids Separation Plant”, 2013
ที่มา
http://on.fb.me/1Bp7v3W
http://on.fb.me/1PJZ2Ek
กราฟ EIA, BP Statistical Review of World Energy June 2014
ความคิดเห็นที่ 1
นอกจากนี้ในปี 1996 ทางรัฐบาลโบลีเวียได้ทำการแปรรูปบริษัทน้ำมันแห่งชาติของโบลีเวียเป็นบริษัทมหาชน (Privatization) คือ YPFB (Yacimientos Petrolíferos Fiscales Bolivianos) โดยจัดสรรหุ้น 50% ให้นักลงทุนที่ประมูลราคาสูงสุด และที่เหลืออีก 50% ก็แบ่งให้พนักงานรัฐและเป็นกองทุนบำนาญของพนักงานรัฐของประเทศโบลีเวีย เพื่อเป็นการเพิ่มทุนในการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่กำลังร้อนแรงในประเทศโบลีเวีย เพราะลำพังเงินทุนที่ YPFB มีอยู่นั้นไม่สามารถลงทุนเพิ่มปริมาณสำรองให้พอเพียงเพื่อรองรับอัตราการบริโภคได้
ตามกฎหมาย Law of Hydrocarbon 1,681 ของประเทศโบลีเวีย นั้นแต่เดิมในส่วนปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proven Reserves หรือ Existing Reserves) เก็บค่าภาคหลวงอยู่ 18% และภาษีปิโตรเลียม 32% ที่เก็บโดยตรงจากมูลค่าปิโตรเลียม (the Impuesto Directo en los Hidrocarburos หรือ IDH) ที่ผลิตได้ 100% จะทำให้รัฐมีส่วนแบ่ง 50% ของมูลค่าปิโตรเลียม เพื่อสนับสนุนการเพิ่มการลงทุนในการสำรวจค้นหาทรัพยากรก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเพิ่มขึ้นทางรัฐบาลมีการลดหย่อนภาษีปิโตรเลียมสำหรับการลงทุนเพิ่มเติมในการสำรวจหรือพัฒนาส่วนที่เป็น Probable Reserves หรือ New Reserves และพื้นที่ที่ยากต่อการสำรวจ ทำให้เกิดความจูงใจให้บริษัทเอกชนต่างชาติระดมการลงทุนเพื่อสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมถึงการลงทุนวางท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซ จนสามารถค้นพบปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proven Reserves) ก๊าซธรรมชาติได้สูงถึง 28.25 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งเป็นรองเพียงแค่ประเทศเวเนซูเอล่าในทวีปอเมริกาใต้ ในปี 2003
และด้วยความที่ทางโบลีเวียค้นพบก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก ทำให้อดีตประธานาธิบดีซานเชส โลซาดา ประธานาธิบดีโบลีเวียในขณะนั้น มีโครงการที่จะส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังสหรัฐฯโดยจะทำเป็นก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ส่งออกทางท่าเรือของประเทศชิลี เพื่อนำรายได้กลับมาประเทศเพื่อสร้างระบบสาธารณูปโภค โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขและการศึกษา แต่ผลสืบเนื่องจากสงครามระหว่างโบลีเวียและชิลีในอดีตยังคงฝังใจกับประชาชนในประเทศ รวมถึงการกระจายรายได้จากสัมปทานก๊าซธรรมชาติยังไม่ทั่วถึงประชาชนชาวโบลีเวียจึงทำให้เกิดการต่อต้านนโยบายของประธานาธิบดีโลซาดา จนบานปลายจนมีผู้ชุมนุมเสียชีวิตประมาณ 80 คนจากการปราบปรามและได้รับการขนานนามว่า “สงครามก๊าซของโบลีเวีย (Bolivian gas war)” จึงเป็นเหตุทำให้ประธานาธิบดีโลซาดาต้องลาออกจากตำแหน่งและรองประธานาธิบดีคาร์ลอส เมซา ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน
หลังจากนั้นประธานาธิบดีเมซา ก็ได้มีความพยายามที่จะประนีประนอมกับประชาชนโดยการทำประชาวิจารณ์ ในปี 2004 ซึ่งผลก็คือประชาชนอยากให้มีการกระจายรายได้ที่ได้จากระบบสัมปทานก๊าซธรรมชาติกลับสู่ประชาชน เพิ่มค่าภาคหลวงและภาษี และแปรรูปบริษัท YPFB กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ 100% แต่ด้วยการทำเช่นนี้จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ และความเชื่อมั่นของประเทศโบลีเวียต่อนักลงทุนในสายตาของต่างประเทศ ทำให้ข้อเรียกร้องนี้ไม่สามารถทำได้สำเร็จ และด้วยแรงกดดันต่างๆนานา ทำให้ประธานาธิบดีเมซาลาออกจากตำแหน่ง และให้นายเอ็ดกวูโด โรดริงเกซ ประธานศาลฎีกา มารักษาการณ์แทนจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในเดือน ธันวาคม ปี 2005 หลังจากนั้น เอโบ โมราเลส ผู้ที่มีนโยบายจะสนองข้อเรียกร้องของประชาชน จึงได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศโบลีเวียด้วยคะแนนเสียง 53.7% เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับเสียงข้างมากในสภา นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ และเป็นผู้นำคนแรกที่มีเชื้อสายอินเดียนแดง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และแล้ววันที่ 1 พฤษภาคม 2006 เป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ของชาติโบลีเวีย ที่ ประธานาธิบดี เอโบ โมราเลส ได้ประกาศว่า “el gas es nuestro” หรือ “ก๊าซเป็นของพวกเรา” และได้มีการออกกฎหมายยึดสัมปทานปิโตรเลียมทั้งหมดกลับมาเป็นของรัฐ โดยมีการส่งกองกำลังไปยึดบ่อก๊าซและน้ำมันทุกแห่ง จำนวน 56 แห่งและบังคับให้บริษัทน้ำมันต่างชาติทำสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมฉบับใหม่ภายใน 180 วัน ถ้าไม่ตกลงก็ต้องออกจากโบลีเวีย โดยสัญญานั้นจะต้องเปิดทางให้บริษัทน้ำมันแห่งชาติโบลีเวีย หรือ YPFB เข้าร่วมหุ้นในสัมปทานนั้นอย่างน้อย 51% และมีการเรียกเก็บผลประโยชน์ของรัฐสูงถึง 82% ของมูลค่าปิโตรเลียม (โดยจำแนกเป็น ค่าภาคหลวง 18% ภาษีโดยตรงจากมูลค่าการขาย (IDH) 32% และส่วนแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียมให้กับ YPFB อีก 32%) สำหรับแหล่งขนาดใหญ่ 2 แหล่งใน San Alberto และ San Antonio ซึ่งถือสัมปทานและดำเนินการโดยบริษัท Petrobras (บราซิล), Repsol YPF (สเปน), และ Total (ฝรั่งเศส) และแหล่งขนาดเล็กๆที่บริษัทอื่นๆดำเนินการอยู่ก็ยังคงเก็บผลประโยชน์ตอบแทนของรัฐอยู่ที่ 50% ของมูลค่าปิโตรเลียมเช่นเดิม (โดยจำแนกเป็น ค่าภาคหลวง 18% ภาษีโดยตรงจากมูลค่าการขาย (IDH) 32%)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในแหล่งขนาดใหญ่ที่มีการจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนสูงถึง 82% ของมูลค่าปิโตรเลียมนั้น ทำให้เอกชนมีส่วนแบ่งแค่เพียง 18% โดยเป็นมูลค่ารวมต้นทุน ส่วนที่เหลือจะเป็นกำไร ซึ่งสุดท้ายจะทำให้บริษัทนั้นๆมีผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 20-25% นั่นหมายความว่า เงินลงทุนสำหรับแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศโบลีเวียอยู่ราวๆ 13.5% - 14.4% ของมูลค่าปิโตรเลียม จึงทำให้บริษัทยังคงมีกำไรอยู่เล็กน้อย ซึ่งลักษณะของระบบนี้คือ ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract หรือ PSC) เป็นการแบ่งปันผลผลิตให้บริษัทด้วยมูลค่า 18% ของมูลค่าปิโตรเลียมนั่นเอง บริษัทต่างๆก็ต้องจำยอมตอบรับสัญญาใหม่ มิเช่นนั้นต้องถูกให้ออกจากประเทศโบลีเวีย
(มีหลายๆท่านได้พยายามเปรียบเทียบการจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนปิโตรเลียมระหว่างประเทศโบลีเวียกับประเทศไทย ต้องทำความเข้าใจข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่าประเทศไทยที่มีต้นทุนสูงกว่ามาก เนื่องจากศักยภาพของแหล่งปิโตรเลียมต่ำกว่า มีโครงสร้างเป็นกระเปาะๆ ทำให้ต้องขุดเจาะหลุมเป็นจำนวนมาก และแหล่งก๊าซหลักๆอยู่กลางทะเลอ่าวไทย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 43% ของมูลค่าปิโตรเลียม จึงไม่สามารถจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนแบบเดียวกันนี้ได้เพราะจะทำให้บริษัทขาดทุน และไม่สามารถดำเนินการได้ อย่างที่ประเทศไทยปรับปรุงระบบสัมปทานเป็น Thailand II หลังจากพบแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมากในอ่าวไทย ที่จะทำให้รัฐจัดเก็บผลประโยชน์สูงถึง 80% ของมูลค่าปิโตรเลียม ผลก็คือ ไม่มีบริษัทไหนมาลงทุนเลย ทำให้ประชาชนเป็นผู้เสียประโยชน์ คือไม่มีรายได้จากการจัดเก็บค่าภาคหลวงและภาษีเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ และไม่มีปิโตรเลียมของตัวเองเพื่อนำมาพัฒนาอุตสาหกรรมและการจ้างงาน จึงต้องปรับปรุงเป็นระบบ Thailand III ที่มีการจัดเก็บผลประโยชน์ที่เหมาะสมกับศักยภาพของแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย โดยทำให้บริษัทผู้รับสัมปทานมีผลตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนที่ IRR เท่ากับ 10-20%) และตามภาพด้านบน แหล่งปิโตรเลียมที่มีก๊าซธรรมชาติของไทยส่วนมากอยู่ในทะเล ตรงข้ามกับโบลิเวียที่อยู่บนบก
ประเทศโบลีเวีย เป็นประเทศส่งออกก๊าซธรรมชาติ ปีๆนึง "ส่งออก" ก๊าซธรรมชาติราวๆ 4-5 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต ไปบราซิล และ อาร์เจนติน่า ขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศ "นำเข้า" ก๊าซธรรมชาติสูงถึง 3-3.5 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต เพื่อผลิตไฟฟ้า ถึงแม้ว่าอัตราการผลิตของประเทศโบลีเวียน้อยกว่าประเทศไทยอยู่ครึ่งนึง แต่มีปริมาณสำรองในขณะนั้นมากกว่าไทย 2.5 เท่าและมีความต้องการใช้ก๊าซของโบลีเวียน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก จึงไม่มีความจำเป็นต้องเร่งผลิตเยอะๆเหมือนประเทศไทย (อย่าลืมว่าจำนวนประชากรต่างคน ผลิตเหลือจึงสามารถส่งออกได้ ประชากรประเทศโบลิเวียประมาณ10.6 ล้านคน(2013) ประชากรประเทศไทยประมาณ 67. ล้านคน(2013))
จากการปรับปรุงการจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนแบบใหม่นี้ ทำให้รัฐสามารถจัดเก็บรายได้ (Government Take) เพิ่มขึ้นจากเดิม 320 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ไปเป็น 780ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปี 2007 และนำรายได้ที่เพิ่มเติมมาเป็นงบประมาณในการสร้างระบบสาธารณูปโภค โรงเรียน และโรงพยาบาล รวมถึงการให้เงินอุดหนุนแก่เด็กนักเรียน ผู้สูงอายุและคุณแม่คนใหม่ด้วย และทำการอุดหนุนราคาน้ำมันเบนซินและดีเซล
ต่อมาในปี 2009 มีการเลือกตั้งใหม่หลังจากประธานาธิบดี เอโบ โมราเลส ดำรงตำแหน่งครบวาระ ผลปรากฎว่า โมราเลส ก็ยังได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นถึง 63% จากนโยบายเอาใจคนจน ด้วยการยึดสัมปทานต่างๆนอกจากก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ก็ยังมีการยึดสัมปทานเหมืองแร่ สัญญาณโทรศัพท์และโรงไฟฟ้า เอากลับมาเป็นของรัฐ เพื่อเอารายได้ที่เพิ่มขึ้นมาทำนโยบายประชานิยมดังกล่าว
แต่อย่าลืมว่า เม็ดเงินที่เอาอุดหนุนราคา subsidies นี้สามารถนำมาพัฒนาประเทศได้หลายอย่าง (ในปี 2010 โบลีเวียเสียเงินเพื่อการอุดหนุนราคาประมาณ 380 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 12,540 ล้านบาท ข้อมูลจาก ISSD) ขณะที่ราคาน้ำมันในไทยแพงเพราะอัตราภาษีและกองทุนน้ำมันที่เก็บในอัตราที่สูงโดยบางส่วนเอาไปอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม ประเทศไทยเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันดิบสุทธิและนำเข้าก๊าซสุทธิไม่มีรายได้ไปอุดหนุนราคาน้ำมันอย่างโบลีเวีย ไม่ใช่ว่าบริษัทน้ำมันอย่าง ปตท. ได้กำไรจากน้ำมันสำเร็จรูปมหาศาลอย่างที่กล่าวอ้าง ส่วนน้ำมันดิบที่ส่งออกก็คือส่วนที่ไม่เหมาะสมกับโรงกลั่นในประเทศไม่ใช่ผลิตเหลือส่งออก
ดูเหมือนว่าทุกๆอย่างจะทำให้ ประธานาธิบดี เอโบ โมราเลส คือ ฮีโร่ของประชาชนโบลีเวีย ที่ทำให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ผลพวงของการยึดบ่อน้ำมันทั้งหมดมาและการเก็บค่าภาคหลวงและภาษีอย่างหฤโหดนี้ รวมถึงนโยบายประชานิยมสุดโต่งและการยึดสัมปทานอื่นๆจากเอกชนนั้น นอกจากนี้ยังมีการเนรเทศทูตสหรัฐฯและขัดขวางการปฏิบัติงานของสำนักงานปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐฯในปี 2008 หลังจากพยายามปราบปรามการปลูกต้นโคคาซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตโคเคน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เริ่มส่งผลเสียในระยะยาวของนโยบายเช่นนี้เช่นเดียวกัน เพราะนโยบายของโมราเลส ไม่สามารถดึงดูดความสนใจและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติกลับมาได้
ตามกฎหมาย Law of Hydrocarbon 1,681 ของประเทศโบลีเวีย นั้นแต่เดิมในส่วนปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proven Reserves หรือ Existing Reserves) เก็บค่าภาคหลวงอยู่ 18% และภาษีปิโตรเลียม 32% ที่เก็บโดยตรงจากมูลค่าปิโตรเลียม (the Impuesto Directo en los Hidrocarburos หรือ IDH) ที่ผลิตได้ 100% จะทำให้รัฐมีส่วนแบ่ง 50% ของมูลค่าปิโตรเลียม เพื่อสนับสนุนการเพิ่มการลงทุนในการสำรวจค้นหาทรัพยากรก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเพิ่มขึ้นทางรัฐบาลมีการลดหย่อนภาษีปิโตรเลียมสำหรับการลงทุนเพิ่มเติมในการสำรวจหรือพัฒนาส่วนที่เป็น Probable Reserves หรือ New Reserves และพื้นที่ที่ยากต่อการสำรวจ ทำให้เกิดความจูงใจให้บริษัทเอกชนต่างชาติระดมการลงทุนเพื่อสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมถึงการลงทุนวางท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซ จนสามารถค้นพบปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proven Reserves) ก๊าซธรรมชาติได้สูงถึง 28.25 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งเป็นรองเพียงแค่ประเทศเวเนซูเอล่าในทวีปอเมริกาใต้ ในปี 2003
และด้วยความที่ทางโบลีเวียค้นพบก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก ทำให้อดีตประธานาธิบดีซานเชส โลซาดา ประธานาธิบดีโบลีเวียในขณะนั้น มีโครงการที่จะส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังสหรัฐฯโดยจะทำเป็นก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ส่งออกทางท่าเรือของประเทศชิลี เพื่อนำรายได้กลับมาประเทศเพื่อสร้างระบบสาธารณูปโภค โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขและการศึกษา แต่ผลสืบเนื่องจากสงครามระหว่างโบลีเวียและชิลีในอดีตยังคงฝังใจกับประชาชนในประเทศ รวมถึงการกระจายรายได้จากสัมปทานก๊าซธรรมชาติยังไม่ทั่วถึงประชาชนชาวโบลีเวียจึงทำให้เกิดการต่อต้านนโยบายของประธานาธิบดีโลซาดา จนบานปลายจนมีผู้ชุมนุมเสียชีวิตประมาณ 80 คนจากการปราบปรามและได้รับการขนานนามว่า “สงครามก๊าซของโบลีเวีย (Bolivian gas war)” จึงเป็นเหตุทำให้ประธานาธิบดีโลซาดาต้องลาออกจากตำแหน่งและรองประธานาธิบดีคาร์ลอส เมซา ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน
หลังจากนั้นประธานาธิบดีเมซา ก็ได้มีความพยายามที่จะประนีประนอมกับประชาชนโดยการทำประชาวิจารณ์ ในปี 2004 ซึ่งผลก็คือประชาชนอยากให้มีการกระจายรายได้ที่ได้จากระบบสัมปทานก๊าซธรรมชาติกลับสู่ประชาชน เพิ่มค่าภาคหลวงและภาษี และแปรรูปบริษัท YPFB กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ 100% แต่ด้วยการทำเช่นนี้จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ และความเชื่อมั่นของประเทศโบลีเวียต่อนักลงทุนในสายตาของต่างประเทศ ทำให้ข้อเรียกร้องนี้ไม่สามารถทำได้สำเร็จ และด้วยแรงกดดันต่างๆนานา ทำให้ประธานาธิบดีเมซาลาออกจากตำแหน่ง และให้นายเอ็ดกวูโด โรดริงเกซ ประธานศาลฎีกา มารักษาการณ์แทนจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในเดือน ธันวาคม ปี 2005 หลังจากนั้น เอโบ โมราเลส ผู้ที่มีนโยบายจะสนองข้อเรียกร้องของประชาชน จึงได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศโบลีเวียด้วยคะแนนเสียง 53.7% เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับเสียงข้างมากในสภา นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ และเป็นผู้นำคนแรกที่มีเชื้อสายอินเดียนแดง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และแล้ววันที่ 1 พฤษภาคม 2006 เป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ของชาติโบลีเวีย ที่ ประธานาธิบดี เอโบ โมราเลส ได้ประกาศว่า “el gas es nuestro” หรือ “ก๊าซเป็นของพวกเรา” และได้มีการออกกฎหมายยึดสัมปทานปิโตรเลียมทั้งหมดกลับมาเป็นของรัฐ โดยมีการส่งกองกำลังไปยึดบ่อก๊าซและน้ำมันทุกแห่ง จำนวน 56 แห่งและบังคับให้บริษัทน้ำมันต่างชาติทำสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมฉบับใหม่ภายใน 180 วัน ถ้าไม่ตกลงก็ต้องออกจากโบลีเวีย โดยสัญญานั้นจะต้องเปิดทางให้บริษัทน้ำมันแห่งชาติโบลีเวีย หรือ YPFB เข้าร่วมหุ้นในสัมปทานนั้นอย่างน้อย 51% และมีการเรียกเก็บผลประโยชน์ของรัฐสูงถึง 82% ของมูลค่าปิโตรเลียม (โดยจำแนกเป็น ค่าภาคหลวง 18% ภาษีโดยตรงจากมูลค่าการขาย (IDH) 32% และส่วนแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียมให้กับ YPFB อีก 32%) สำหรับแหล่งขนาดใหญ่ 2 แหล่งใน San Alberto และ San Antonio ซึ่งถือสัมปทานและดำเนินการโดยบริษัท Petrobras (บราซิล), Repsol YPF (สเปน), และ Total (ฝรั่งเศส) และแหล่งขนาดเล็กๆที่บริษัทอื่นๆดำเนินการอยู่ก็ยังคงเก็บผลประโยชน์ตอบแทนของรัฐอยู่ที่ 50% ของมูลค่าปิโตรเลียมเช่นเดิม (โดยจำแนกเป็น ค่าภาคหลวง 18% ภาษีโดยตรงจากมูลค่าการขาย (IDH) 32%)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในแหล่งขนาดใหญ่ที่มีการจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนสูงถึง 82% ของมูลค่าปิโตรเลียมนั้น ทำให้เอกชนมีส่วนแบ่งแค่เพียง 18% โดยเป็นมูลค่ารวมต้นทุน ส่วนที่เหลือจะเป็นกำไร ซึ่งสุดท้ายจะทำให้บริษัทนั้นๆมีผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 20-25% นั่นหมายความว่า เงินลงทุนสำหรับแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศโบลีเวียอยู่ราวๆ 13.5% - 14.4% ของมูลค่าปิโตรเลียม จึงทำให้บริษัทยังคงมีกำไรอยู่เล็กน้อย ซึ่งลักษณะของระบบนี้คือ ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract หรือ PSC) เป็นการแบ่งปันผลผลิตให้บริษัทด้วยมูลค่า 18% ของมูลค่าปิโตรเลียมนั่นเอง บริษัทต่างๆก็ต้องจำยอมตอบรับสัญญาใหม่ มิเช่นนั้นต้องถูกให้ออกจากประเทศโบลีเวีย
(มีหลายๆท่านได้พยายามเปรียบเทียบการจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนปิโตรเลียมระหว่างประเทศโบลีเวียกับประเทศไทย ต้องทำความเข้าใจข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่าประเทศไทยที่มีต้นทุนสูงกว่ามาก เนื่องจากศักยภาพของแหล่งปิโตรเลียมต่ำกว่า มีโครงสร้างเป็นกระเปาะๆ ทำให้ต้องขุดเจาะหลุมเป็นจำนวนมาก และแหล่งก๊าซหลักๆอยู่กลางทะเลอ่าวไทย โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 43% ของมูลค่าปิโตรเลียม จึงไม่สามารถจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนแบบเดียวกันนี้ได้เพราะจะทำให้บริษัทขาดทุน และไม่สามารถดำเนินการได้ อย่างที่ประเทศไทยปรับปรุงระบบสัมปทานเป็น Thailand II หลังจากพบแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมากในอ่าวไทย ที่จะทำให้รัฐจัดเก็บผลประโยชน์สูงถึง 80% ของมูลค่าปิโตรเลียม ผลก็คือ ไม่มีบริษัทไหนมาลงทุนเลย ทำให้ประชาชนเป็นผู้เสียประโยชน์ คือไม่มีรายได้จากการจัดเก็บค่าภาคหลวงและภาษีเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ และไม่มีปิโตรเลียมของตัวเองเพื่อนำมาพัฒนาอุตสาหกรรมและการจ้างงาน จึงต้องปรับปรุงเป็นระบบ Thailand III ที่มีการจัดเก็บผลประโยชน์ที่เหมาะสมกับศักยภาพของแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย โดยทำให้บริษัทผู้รับสัมปทานมีผลตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนที่ IRR เท่ากับ 10-20%) และตามภาพด้านบน แหล่งปิโตรเลียมที่มีก๊าซธรรมชาติของไทยส่วนมากอยู่ในทะเล ตรงข้ามกับโบลิเวียที่อยู่บนบก
ประเทศโบลีเวีย เป็นประเทศส่งออกก๊าซธรรมชาติ ปีๆนึง "ส่งออก" ก๊าซธรรมชาติราวๆ 4-5 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต ไปบราซิล และ อาร์เจนติน่า ขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศ "นำเข้า" ก๊าซธรรมชาติสูงถึง 3-3.5 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต เพื่อผลิตไฟฟ้า ถึงแม้ว่าอัตราการผลิตของประเทศโบลีเวียน้อยกว่าประเทศไทยอยู่ครึ่งนึง แต่มีปริมาณสำรองในขณะนั้นมากกว่าไทย 2.5 เท่าและมีความต้องการใช้ก๊าซของโบลีเวียน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก จึงไม่มีความจำเป็นต้องเร่งผลิตเยอะๆเหมือนประเทศไทย (อย่าลืมว่าจำนวนประชากรต่างคน ผลิตเหลือจึงสามารถส่งออกได้ ประชากรประเทศโบลิเวียประมาณ10.6 ล้านคน(2013) ประชากรประเทศไทยประมาณ 67. ล้านคน(2013))
จากการปรับปรุงการจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนแบบใหม่นี้ ทำให้รัฐสามารถจัดเก็บรายได้ (Government Take) เพิ่มขึ้นจากเดิม 320 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ไปเป็น 780ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปี 2007 และนำรายได้ที่เพิ่มเติมมาเป็นงบประมาณในการสร้างระบบสาธารณูปโภค โรงเรียน และโรงพยาบาล รวมถึงการให้เงินอุดหนุนแก่เด็กนักเรียน ผู้สูงอายุและคุณแม่คนใหม่ด้วย และทำการอุดหนุนราคาน้ำมันเบนซินและดีเซล
ต่อมาในปี 2009 มีการเลือกตั้งใหม่หลังจากประธานาธิบดี เอโบ โมราเลส ดำรงตำแหน่งครบวาระ ผลปรากฎว่า โมราเลส ก็ยังได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นถึง 63% จากนโยบายเอาใจคนจน ด้วยการยึดสัมปทานต่างๆนอกจากก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ก็ยังมีการยึดสัมปทานเหมืองแร่ สัญญาณโทรศัพท์และโรงไฟฟ้า เอากลับมาเป็นของรัฐ เพื่อเอารายได้ที่เพิ่มขึ้นมาทำนโยบายประชานิยมดังกล่าว
แต่อย่าลืมว่า เม็ดเงินที่เอาอุดหนุนราคา subsidies นี้สามารถนำมาพัฒนาประเทศได้หลายอย่าง (ในปี 2010 โบลีเวียเสียเงินเพื่อการอุดหนุนราคาประมาณ 380 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 12,540 ล้านบาท ข้อมูลจาก ISSD) ขณะที่ราคาน้ำมันในไทยแพงเพราะอัตราภาษีและกองทุนน้ำมันที่เก็บในอัตราที่สูงโดยบางส่วนเอาไปอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม ประเทศไทยเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันดิบสุทธิและนำเข้าก๊าซสุทธิไม่มีรายได้ไปอุดหนุนราคาน้ำมันอย่างโบลีเวีย ไม่ใช่ว่าบริษัทน้ำมันอย่าง ปตท. ได้กำไรจากน้ำมันสำเร็จรูปมหาศาลอย่างที่กล่าวอ้าง ส่วนน้ำมันดิบที่ส่งออกก็คือส่วนที่ไม่เหมาะสมกับโรงกลั่นในประเทศไม่ใช่ผลิตเหลือส่งออก
ดูเหมือนว่าทุกๆอย่างจะทำให้ ประธานาธิบดี เอโบ โมราเลส คือ ฮีโร่ของประชาชนโบลีเวีย ที่ทำให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ผลพวงของการยึดบ่อน้ำมันทั้งหมดมาและการเก็บค่าภาคหลวงและภาษีอย่างหฤโหดนี้ รวมถึงนโยบายประชานิยมสุดโต่งและการยึดสัมปทานอื่นๆจากเอกชนนั้น นอกจากนี้ยังมีการเนรเทศทูตสหรัฐฯและขัดขวางการปฏิบัติงานของสำนักงานปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐฯในปี 2008 หลังจากพยายามปราบปรามการปลูกต้นโคคาซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตโคเคน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เริ่มส่งผลเสียในระยะยาวของนโยบายเช่นนี้เช่นเดียวกัน เพราะนโยบายของโมราเลส ไม่สามารถดึงดูดความสนใจและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติกลับมาได้
แสดงความคิดเห็น
โบลิเวียโมเดล กับ การปฎิรูปพลังงานไทย สร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศจริงหรือ?
ประเทศโบลีเวียเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนและด้อยพัฒนาที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ มีรายได้หลักมาจากการส่งออกก๊าซธรรมชาติ โบลีเวียเคยเป็นประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่ามีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว (Proven Reserves) มหาศาลสูงสุดถึง 26.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต เป็นรองเพียงแค่ประเทศเวเนซูเอล่าเท่านั้นในทวีปอเมริกาใต้ ในปี 2005 ก่อนที่ ประธานาธิบดี เอโบ โมราเลส จะทำการยึดสัมปทานก๊าซและน้ำมันทั้งหมดจากบริษัทเอกชนกับมาเป็นของรัฐทั้งหมด (Nationalization) ในปี 2006 แต่แล้วปริมาณสำรองของประเทศโบลีเวียกลับไม่มีทีท่าจะเพิ่มขึ้นกลับลดลงจนเหลือเพียงแค่ 9.94 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตเท่านั้นในปัจจุบัน (ข้อมูลจาก EIA ปี 2013) คือลดลงไปถึง 2 ใน 3 ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งว่าเกิดอะไรขึ้นกับปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของประเทศโบลีเวีย และประเทศโบลีเวียมีแผนจะทำอะไรต่อไปกับก๊าซธรรมชาติของพวกเค้า
(ข้อมูลจาก BP Statistical Review of World Energy June 2014)
จุดเริ่มของคำประกาศดังกล่าวมาจากกระแสทวงคืนก๊าซธรรมชาติของชาวโบลีเวีย เรียกกันว่า “สงครามก๊าซของโบลีเวีย (Bolivian gas war)” มีการจุดติดทางความคิดและมีการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโลซาดาอย่างรุนแรง จนมีผู้เสียชีวิตมากถึง 80 คน และเป็นเหตุให้รัฐบาลนั้นล้มไป จึงทำให้ เอโบ โมราเลส ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่จากการวางนโยบายยึดแหล่งก๊าซธรรมชาติกลับมาสู่รัฐดังกล่าว
(แต่สุดท้ายผลของนโยบายดังกล่าวของโมราเลสส่งผลถึงในปี 2011 คือทำให้โบลีเวียมีปริมาณสำรองลดลงเหลือเพียง 9.94 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และไม่มีบริษัทไหนอยากมาลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอีก ขณะที่โบลีเวียต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมขึ้นในประเทศจึงต้องเริ่มมีการปรับนโยบายให้เป็นมิตรต่อต่างชาติมากขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในโบลีเวียต่อไป ซึ่งข้อมูลนี้กลุ่มทวงคืนพลังงานไทยไม่เคยพูดถึง)
มีการกล่าวหาว่า รัฐได้ผลประโยชน์ตอบแทนสัมปทานปิโตรเลียมน้อยที่สุดในโลกแค่ 34% โดยเทียบกับประเทศโบลีเวียที่ได้ถึง 82% กล่าวหาว่า และกล่าวอ้างว่าประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติมหาศาลติดถึงอันดับที่ 24 ของโลก (แต่ไม่บอกว่า เราใช้ประมาณ อันดับที่ 19 ของโลก) ผลิตน้ำมันมหาศาลเหลือถึงขั้นส่งออก ราคาน้ำมันประเทศไทยแพงที่สุดในโลก ถ้าหากเรื่องนี้ถูกจุดติดขึ้นมาเป็นกระแสขั้นรุนแรงเหมือนอย่างประเทศโบลีเวีย ก็จะกลายว่าจะมีผู้ที่ได้ประโยชน์จากการเล่นเรื่องนี้ เป็นพล็อตเรื่องเหมือน “โบลีเวียโมเดล”
บทเรียนจากประเทศโบลิเวียก็คือ ภายหลังการนำนโยบายของประธานาธิบดีโมราเลสมาใช้ ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ ลดลงถึง 2 ใน 3 ในปี 2011 หลังจากเพิ่มการจัดเก็บค่าภาคหลวงและภาษีเปลี่ยนจาก 50% ไปเป็น 82% การขุดเจาะหลุมสำรวจเพียงแค่ 1 หลุมตั้งแต่ปี 2006 – 2011 เอกชนต่างชาติหลายรายถอนการลงทุนออกไปหลังจาก Nationalization ในปี 2006 ปริมาณสำรองลดลง เนื่องจากไม่คุ้มค่าการผลิต อย่าลืมว่า ประเทศไทยไม่ได้มีแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่เท่ากับโบลิเวีย และ หากเราไปใช้วิธีการแบบโบลิเวียจะส่งผลกับปริมาณสำรองที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
ปริมาณสำรองของก๊าซธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว 2 ใน 3 ภายใน 1 ปี
หมายเหตุ ประเทศโบลีเวีย ขณะที่ทำการยึดแหล่งก๊าซฯกลับมาเป็นของรัฐในปี 2006 นั้นมีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proven Reserves) สูงถึง 24.71 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต (ขณะมีการจัดเก็บผลประโยชน์ของรัฐอยู่ที่ 50% ของมูลค่าปิโตรเลียม ไม่รวมต้นทุน) ขณะที่ประเทศไทยมีอยู่ราวๆ 12 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต (ขณะมีการจัดเก็บผลประโยชน์ของรัฐอยู่ที่ราวๆ 30% ของมูลค่าปิโตรเลียม ไม่รวมต้นทุน) ซึ่งขนาดเงื่อนไขการจัดเก็บผลประโยชน์ขณะนั้นของโบลีเวียสูงกว่ายังมีปริมาณสำรองที่สูงมากกว่า 2 เท่า และในขณะที่ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของแหล่งประเทศโบลีเวียอยู่ที่ประมาณ 13-14% ของมูลค่าปิโตรเลียมเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนของแหล่งประเทศไทยอยู่ที่ 43% นั่นหมายความแหล่งปิโตรเลียมในโบลีเวียมีศักยภาพสูงกว่าแต่แหล่งปิโตรเลียมในไทยมีศักยภาพต่ำกว่า หลังจากหักต้นทุนไปแล้ว 43% จะเหลือให้แบ่งผลตอบแทนกัน 57% เท่านั้น ดังนั้นการที่จะให้รัฐเก็บผลตอบแทนสูงถึง 82% อย่างโบลีเวียแบบที่นักทวงคืนเรียกร้องนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งประเทศไทยเคยล้มเหลวไปแล้วในระบบ Thailand II ที่อาจจะเก็บผลประโยชน์ให้รัฐได้ถึง 80%
ทีนี้ต้องมาดูข้อมูลอีกด้านโบลีเวียกับไทยกันว่าทำไมถึงเทียบกันไม่ได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ประเทศโบลีเวียเป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ที่ไม่มีทางออกทะเล หรือ Landlocked มีอาณาเขตติดประเทศบราซิลทางทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดประเทศปารากวัยและอาร์เจนตินาทางทิศใต้ และติดประเทศชิลีและเปรูทางทิศตะวันตก มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงลาปาซ มีพื้นที่ 1,098,581 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 10,907,778 คน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (ราคาตลาด) หรือ GDP (nominal) ในปี 2012 ราวๆเพียง 27,429 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือ 2,532 ดอลล่าร์สหรัฐฯต่อหัวเท่านั้น โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญคือ ก๊าซธรรมชาติ แร่สังกะสีและดีบุก ในบทความนี้จะพูดถึงเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติของประเทศโบลีเวียเป็นหลัก
สมัยก่อนในยุค 1970 ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศโบลีเวียนั้นเป็นผลพลอยได้ที่มาจากการผลิตน้ำมัน เรียกกันว่า “associated gas” แต่หลังจากนั้นก็เริ่มมีการสำรวจและค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติ (natural gas) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงยุค 1990 ที่ทางรัฐบาลโบลีเวียได้เปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนต่างชาติที่มีประสบการณ์สูงอย่าง Petrobras ของบราซิล, Total ของฝรั่งเศส, BP และ BG ของอังกฤษ, Repsol-YPF ของสเปนและอาร์เจนติน่า, และ Exxon Mobil ของสหรัฐฯ เข้าทำลงทุนสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น รวมถึงเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติของประเทศโบลีเวียเป็นแหล่งที่อยู่บนบก (onshore) ทั้งหมดจึงมีการต้นทุนที่ต่ำกว่าแหล่งในทะเล (offshore) มากทำให้เกิดการจูงใจให้บริษัทเอกชนต่างชาติทั่วโลกหันมาสนใจลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศโบลีเวียกันอย่างมากมาย