จุดเด่นของพุทธศาสนาที่ต่างจากศาสนาส่วนใหญ่ก็คือความเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด กรรมบางกรรมที่ทำไว้ชาตินี้จะส่งผลในชาติหน้า การ “ทำบุญ” ในพระพุทธศาสนาในเมืองไทยปัจจุบันนี้นิยมแต่เรื่อง “ทาน” ซึ่งง่าย สะดวก รวดเร็ว แตกต่างจากการปฏิบัติ ยิ่งทานเยอะก็ยิ่งได้บุญมาก(ความเชื่อ) ทั้งๆ ที่พุทธศาสนาได้ปูแนวทางการทำบุญ “บุญกิริยาวัตถุ๑๐” ไว้อย่างชัดเจนแล้ว ง่ายๆ เลย... เช่นว่าการน้อมจิตอนุโมทนายินดีกับคนที่ทำบุญ(โดยไม่ต้องเสียเงินเสียทอง)ก็ถือว่าเป็นกุศลแล้ว
โดยส่วนตัวแล้ว...รู้สึกสองจิตสองใจกับกฏหมายว่าด้วยภาษีพระ ส่วนหนึ่งเห็นด้วยที่ควรจะมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้คณะสงฆ์หรือบางวัดที่มีลาภสักการะมากมายตระหนักเรื่องเงินทอง โดยเฉพาะพระสงฆ์หรือวัดในกรุงเทพฯ .....ทั้งเคยประสบกับตัวเองและเคยได้ยินมาว่า บางวัด(ที่มีศาลาสวดฌาปนกิจหลายศาลา)จะไม่รับพระเณรเข้าวัดง่ายๆ ว่ากันว่ามีการเซ้งห้องในกุฏิเป็นเลขหลายหลักทีเดียว การมีมีมาตรการดูแลเรื่องเงินทองของพระสงฆ์อาจจะช่วยให้พระคุณท่านได้ย้อนกลับมามองกิเลสของตัวเองได้
แต่อีกในแง่หนึ่ง เงินปัจจัยที่พุทธศาสนิกชนได้ถวายให้พระคุณเจ้าก็ถือว่าให้ด้วยศรัทธา ให้เพื่อขจัดความตระหนี่แก่ตัวเอง(แต่อาจจะไปเพิ่มกิเลศให้พระคุณเจ้าบางรูป??) ตรงนี้แหละที่ละเอียดอ่อน เพราะเมื่อผู้ให้เกิดสงสัยเสียแล้วว่าเงินที่ถวายไปนั้นจะไม่ถึงพระเต็มเม็ดเต็มหน่วย มันก็เหมือนว่ากฏหมายนี้กำลัง “ขัดศรัทธา” หรือขัดขวางไม่ให้คนทำบุญได้ แต่จะว่าไปแล้ว....ถึงแม้กฏหมายนี้จะออกมาควบคุม เชื่อว่ายังมี “ช่องโหว่” มากมายที่จะเลี่ยงภาษีของผู้รับ หรือวิธีให้ทานของผู้ถวาย
ผมแคลงใจว่ากฏหมายนี้ออกมาเล่นงานวัดแถวๆ ปทุมธานีที่เป็นพุทธพานิชย์ที่เติบโตและขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ถ้ากฏหมายนี้เป็นเสมือนแห “ตาห่าง” ที่จับเฉพาะปลาตัวใหญ่ก็น่าจะเป็นผลดีต่อพุทธศาสนา(ความเห็นส่วนตัว) สวนพระหรือวัดแถวบ้านนอกชนบท อย่างบางวัดที่คิดจะรื้อพื้นศาลาแล้วปูพื้นใหม่ต้องหาปัจจัยเป็นปีๆ นั้นอย่าไปแตะท่านเลย
ในแง่การเมือง......ผมคิดว่ารัฐบาลกำลังแหย่รังแตน หรือแกว่งเท้าหาเสี้ยนครับ เงินวัดก้อนใหญ่อีกก้อนหนึ่งก็คือการให้เช่าที่(ธรณีสงฆ์)โดยเฉพาะวัดในกรุงเทพฯ จำนวนมาก มีที่ให้เช่าจอดรถ ขายของ ฯลฯ รายได้ตรงนี้รวมๆ แล้วหลักร้อยล้านถึงพันล้านขึ้นทีเดียว ลองแตะตรงนี้ก่อนไม่ดีกว่าหรือ??
..........เก็บภาษีพระ/วัด .......
โดยส่วนตัวแล้ว...รู้สึกสองจิตสองใจกับกฏหมายว่าด้วยภาษีพระ ส่วนหนึ่งเห็นด้วยที่ควรจะมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้คณะสงฆ์หรือบางวัดที่มีลาภสักการะมากมายตระหนักเรื่องเงินทอง โดยเฉพาะพระสงฆ์หรือวัดในกรุงเทพฯ .....ทั้งเคยประสบกับตัวเองและเคยได้ยินมาว่า บางวัด(ที่มีศาลาสวดฌาปนกิจหลายศาลา)จะไม่รับพระเณรเข้าวัดง่ายๆ ว่ากันว่ามีการเซ้งห้องในกุฏิเป็นเลขหลายหลักทีเดียว การมีมีมาตรการดูแลเรื่องเงินทองของพระสงฆ์อาจจะช่วยให้พระคุณท่านได้ย้อนกลับมามองกิเลสของตัวเองได้
แต่อีกในแง่หนึ่ง เงินปัจจัยที่พุทธศาสนิกชนได้ถวายให้พระคุณเจ้าก็ถือว่าให้ด้วยศรัทธา ให้เพื่อขจัดความตระหนี่แก่ตัวเอง(แต่อาจจะไปเพิ่มกิเลศให้พระคุณเจ้าบางรูป??) ตรงนี้แหละที่ละเอียดอ่อน เพราะเมื่อผู้ให้เกิดสงสัยเสียแล้วว่าเงินที่ถวายไปนั้นจะไม่ถึงพระเต็มเม็ดเต็มหน่วย มันก็เหมือนว่ากฏหมายนี้กำลัง “ขัดศรัทธา” หรือขัดขวางไม่ให้คนทำบุญได้ แต่จะว่าไปแล้ว....ถึงแม้กฏหมายนี้จะออกมาควบคุม เชื่อว่ายังมี “ช่องโหว่” มากมายที่จะเลี่ยงภาษีของผู้รับ หรือวิธีให้ทานของผู้ถวาย
ผมแคลงใจว่ากฏหมายนี้ออกมาเล่นงานวัดแถวๆ ปทุมธานีที่เป็นพุทธพานิชย์ที่เติบโตและขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ถ้ากฏหมายนี้เป็นเสมือนแห “ตาห่าง” ที่จับเฉพาะปลาตัวใหญ่ก็น่าจะเป็นผลดีต่อพุทธศาสนา(ความเห็นส่วนตัว) สวนพระหรือวัดแถวบ้านนอกชนบท อย่างบางวัดที่คิดจะรื้อพื้นศาลาแล้วปูพื้นใหม่ต้องหาปัจจัยเป็นปีๆ นั้นอย่าไปแตะท่านเลย
ในแง่การเมือง......ผมคิดว่ารัฐบาลกำลังแหย่รังแตน หรือแกว่งเท้าหาเสี้ยนครับ เงินวัดก้อนใหญ่อีกก้อนหนึ่งก็คือการให้เช่าที่(ธรณีสงฆ์)โดยเฉพาะวัดในกรุงเทพฯ จำนวนมาก มีที่ให้เช่าจอดรถ ขายของ ฯลฯ รายได้ตรงนี้รวมๆ แล้วหลักร้อยล้านถึงพันล้านขึ้นทีเดียว ลองแตะตรงนี้ก่อนไม่ดีกว่าหรือ??