เตรียมตัวอย่างไร?ยื่นสินเชื่อแบ้งผ่าน(จากอดีตคนเคยทำงานฝ่ายอนุมัติสินเชื่อแบ้ง)

กระทู้สนทนา
1.เครดิตบูโรต้องดีจริงๆ อาจจะมีเสียหายบ้างเล็กๆน้อยๆๆยังพอได้อยู่ คร่าวๆๆมีดังนี้
1.1 สถานะทุกบัญชี ต้องมีสถานะปกติ ห้ามนอกเหนือจากนี้ครับ อาจจะมีล่าช้าบ้าง
ในเครดิตบูโรค้างจ่ายเกิน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ดิวจ่าย จึงจะมีฟ้องในบัญชีเครดิตบูโร
บางแบ้งให้มีการล่าช้า เกิน 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ได้ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง ในรอบปีที่ผ่านมา
ดูทุกบัญชีรวมกัน แต่ถ้าเกิน 60 วัน แต่ไม่ถึง 90 วัน อาจจะไม่ได้แล้ว หรือบางแบ้งอาจจะได้
แต่ต้องไม่เกิน 1 ครั้งในรอบปี แต่ถ้าประวัติล่าช้าเกินกว่า 90 วัน หมดโอกาสแล้วครับ ต้องรออีก2 ปี
จึงจะไม่เห็นในเครดิตบูโรแล้ว แต่นั่นหมายความว่าหลังจากคุณจ่ายช้าคุณต้องจ่ายตรงตามปกติ
แต่ถ้าประเภทเกิน 90 วัน ไม่จ่ายหรือจ่ายไม่ตรง นับ3 ปีเลยครับ โดยนับจากวันที่ปิดบัญชีไปอีก 3 ปี
แต่ถ้าเคยถูกศาลฟ้อง หมดสิทธิทั้งชาติเลยครับ(อาจจะบางแบ้งได้มั้ง) มันจะติดคดีแดง
อันนี้แบ้งไม่ได้เชคจากเครดิตบูโรนะ เชคจากประวัติทางคดีครับ
สรุป:ถ้าเครดิตดีจริง โอกาสสูง ข้ามไป 1 ขั้นแล้ว
2.ภาระหนี้:แบ้งมีวิธีคิดภาระหนี้ดังนี้
2.1.บัตรเครดิตคิด10%จากยอดหนี้บัตรเครดิตรวมกัน เช่นรวมบัตรเครดิต3 ใบยอดหนี้รวมกัน 100,000 บาท
แบ้งคิดภาระหนี้ 10,000 บาทต่อเดือน
2.2.บัตรกดเงินสด คิด5%จากยอดหนี้บัตรกดเงินสดรวมกัน เช่นรวมบัตรกดเงินส 3 ใบดยอดหนี้รวมกัน 100,000 บาท
แบ้งคิดภาระหนี้ 5,000 บาทต่อเดือน
2.3 ยอดหนี้ที่จ่ายเท่ากันทุกเดือน เช่น ยอดจ่ายสินเชื่อบุคคลต่อเดือน,ยอดจ่ายสินเชื่อรถยนต์ต่อเดือน,
ยอดจ่ายสินเชื่อบ้านต่อเดือน,ยอดจ่ายสินเชื่อธุรกิจต่อเดือน ถ้ามนุษย์เงินเดือนยอดหนี้ที่โชว์ในสลิปแต่ละเดือนก็นำมาคิด
ถ้าไม่โชว์ในสลิปก็ไม่นำมาคิด เช่นจ่ายสินเชื่อบ้านเดือนละ 9,000 บาท
2.4โอดี แบ้งจะคิดโดยการเอายอดหนี้โอดีคูณด้วย 10% หารด้วย 30วัน เช่น มียอดหนี้โอดี 10 ล้านบาท
คิดเป็นหนี้แบ้งเอา10%คูณ เหลือ 1 ล้าน แล้ว เอา 30 วันหาร หนี้ที่แท้จริงจากโอดีคือ 33,333
3.รายได้ ถ้ามนุษย์เงินเดือน
3.1รายได้ที่ได้เท่ากันทุกเดือน เช่นเงินเดือน 30,000 ค่าครองชีพ 2,000
3.2 รายได้ที่ได้ไม่เท่ากันทุกเดือน เช่น ค่าโอที ค่าคอมมิชชั่น คิดให้ 50%จากค่าเฉลี่ย เช่น ได้ค่าคอมดังนี้ เดือนแรก10,000
เดือนที่สอง 5,000 เดือนที่สาม 7,000 เฉลี่ย 3 เดือนคือ 7,333 แบ้งคิด 50%เหลือ3,666 แต่ละแบ้งวิธีคิดรายได้ข้อนี้ไม่เหมือนกัน
รายได้รวมสุทธิเคสนี้คือ39,333 บาท
3.3 รายได้จากโบนัส อันนี้สอบถามจากเจ้าหน้าที่แบ้งเอง ว่าคิดให้เท่าไหร่ บางแบ้ง 80% บางแบ้ง 50%
4.รายได้จากเจ้าของกิจการ
4.1อันนี้ขึ้นกับวิธีคำนวณรายได้แต่ละแบ้ง เขาจะดูรายได้ วันต่อวัน เช่นบางแบ้งวันนั้นลูกค้าเงินเข้าบัญชี 100,000
ในวันนั้นมีการถอนออกทั้งหมดรวมกัน ไม่ถึง 100,000 บาท เขาก็จะคิดรายได้วันนั้น 100,000 บาท(ถอนรวมกัน100,000บาท
รายได้วันนั้น 0 บาท) แต่บางแบ้งถ้าวันนั้น มียอดถอนรวม 90,000 บาท วันนั้น เขาคิดรายได้ให้แค่ 10,000 บาท
แบ้งจะคิดรายได้ให้ทุกวันรวมกัน 6 เดือน แล้วหารด้วย 6 เป็นค่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือน
เช่น คิดรายได้ตามเกณฑ์แบ้งต่อเดือนได้ดังนี้ 1ล้านบาท ,1.2 ล้านบาท, 2 ล้านบาท,1.5ล้านบาท,1.4 ล้านบาท,1.8ล้านบาท
เฉลี่ยรายได้ต่อเดือนเบื้องต้นคือ 1.483ล้านบาท
4.2 แบ้งจะเอามาจิ้น(สัดส่วนกำไรจากธุรกิจ)มาคูณรายได้เฉลี่ยเบื้องต้นอีกทีหนึ่ง แต่ละแบ้งคิดมาจิ้นต่างกันบ้าง
แต่ก็ไม่มากนัก เช่นธุรกิจค้าส่ง แบ้งให้มาจิ้น 10% ค้าปลีกให้15% สูงสุดไม่น่าจะเกิน 20%คือธุรกิจบริการ
4.3ยกตัวอย่าง เจ้าของธุรกิจมีรายได้ต่อเดือนแบบข้อ4.1 คือรายได้เฉลี่ยเบื้องต้น 1.483 ล้านบาทต่อเดือน
ลูกค้าทำธุรกิจค้าส่ง แบ้งคิดรายได้สุทธิคือ 148,3000 บาท(เทียบเป็นรายได้มนุษย์เงินเดือนคือมีเงินเดือน 148,300บาท)
วิธีคิดว่าภาระหนี้(DTI)คุณเท่าไหร่ ผ่านเกณฑ์แบ้งมั้ย(สินเชื่อแต่ละประเภทให้ภาระหนี้ต่างกันและแต่ละธนาคารให้ไม่เหมือนกัน
บางแบ้งให้สูง100% (อันนี้สอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารเอาเองครับ)
ยกตัวอย่างเคสมนุษย์เงินเดือน
เอารายได้มาจากข้อ3รวมกันคือ39,333บาท และภาระหนี้จากข้อ2.1,2.2,2.3 รวมกันคือ24,000 บาท
เอาภาระหนี้สุทธิคูณ100 หารด้วยรายได้สุทธิ เคสนี้มีภาระหนี้(DTI)=61%(ยังไม่รวมยอดหนี้ที่จะผ่อนในครั้งนี้ต่อเดือนซึ่งDTI อาจะเป็น 70%)
ยกตัวอย่างเจ้าของกิจการ
เอารายได้สุทธิจากข้อ4.3 คือ148,3000 บาท เอาภาระหนี้ข้อ 2.1,2.2,2.3,2.4 คือ57,333
เคสนี้มีภาระหนี้(DTI)=38.66%(ยังไม่รวมยอดหนี้ที่จะผ่อนในครั้งนี้ต่อเดือน ซึ่งDTI อาจะเป็น43%)
ข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลเบื้องต้น เกณฑ์บางอย่างของแต่ละธนาคารอาจจะไม่เหมือนกับที่ผู้เขียน เขียนขึ้นมา แต่ผู้เขียน
เขียนมาจากประสบการณ์ตรงจากอดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายอนุมัติสินเชื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่