{O}ความเข้าใจใน การเข้าสู่นามรูป และ วิญญาน โดยปรมัตถ์ธรรม{O}

อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Neoworld อ่านข้อความ
ใครเป็นผู้เห็นรูปนามก่อนใครอื่นครับ
และเห็นตอนไหนฮะ?!?


ตั้งใจพิจารณาตามเราให้ดีๆ

คันธัพพะ มันคือตัวทุกข์ ในบุรุษ รังไข่เป็นตัวทุกข์ ในสตรี ต่างคนต่างเอาขันธ์๕ ของตนมาประชุมกัน จึงเป็นทุกข์คูณ ๓๔๕๖๗๘๙๑๐ฯ
ขันธ์๕คือทุกข์รูปนามเป็นเช่นเดียวกับ มหาไตรลักษณะคือ ธรรมชาติธรรมดาของมันอย่างนั้น ! เป็นอยู่แล้ว แต่มันจะเป็นช่องว่างระหว่าง การจะเป็นรูปนามจริงๆ อุปมาเสมือนผู้เดินทาง แต่ยังเดินทางไม่ถึง ทุกข์นี้จึงหมดไปก่อน คันธัพพะจึงจัดอยู่ในสิ่งที่ไม่เที่ยงด้วย คันธัพพะจึงเป็นสิ่งอยู่ระหว่างการเกิด และการไม่เกิด คันธัพพะก็คือกามด้วย เป็นสิ่งที่ควรละ เพราะคันธัพพะนั้นเกิดจากกาม หลั่งเอง ฝันเปียกก็ว่า นี่เป็นผู้ไม่มีสติ ท่านก็ทรงตรัสไว้แล้ว ว่าผู้มีสติย่อมไม่หลั่งอสุจิ ที่สุดของคันธัพพะคือทุกข์

คันธัพพะจะเริ่มมีวิญญานเมื่อปฎิสนธิ จึงจะสามารถเป็น นาม ก่อนเป็นรูป หรืออาจเป็นรูป ก่อนนามก็ได้ แล้วแต่ว่า จองครรภ์ไว้หรือยัง ?
จำไว้นะ จองครรภ์ คือ รู้ว่าจะต้องไปเกิดกับคนนั้นคนนี้ คือรู้ก่อนและเลือกได้สำหรับผู้มีบุญฯ ไม่มีบุญฯก็เลือกไม่ได้ จองไม่ได้ มีแต่เขาไล่ไปเกิดและผลักไสจำใจไปเกิด


เดี๋ยวหาว่ามั่วมา นี่คือการจองครรภ์
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้
เพื่อความตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้าง(ยังเวียนว่ายในสังสารวัฏ)
อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? อาหาร ๔ อย่าง คือ
กวฬิงการาหาร อันหยาบหรือละเอียด เป็นที่ ๑
ผัสสาหารเป็นที่ ๒
มโนสัญเจตนาหารเป็นที่ ๓
วิญญาณาหารเป็นที่ ๔.)


พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ
เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติ ดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น
แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ
(ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรม ฝ่ายสมุทยวารหรือฝ่ายเกิดทุกข์ )
เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม รูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี
ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.

ชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยขันธ์ ๕ แต่ย่อลงคงได้แก่รูปกับนาม

ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่,ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์
คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ ๕ ส่วน หรือ ๕ ขันธ์ คือ

๑. รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
๒. เวทนา ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
๓. สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
๔. สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
๕. วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ต้องแยก
ขันธ์นี้ รูปจัดเป็นรูปธรรม เวทนา,สัญญา,สังขาร,  ( จะมีได้ต้องแยกสภาวะที่รองรับก่อน เมื่อมีขันธ์ จึงมีวิญญานมาจุติได้ )  วิญญาณจัดเป็นนามธรรม เมื่อจัดขันธ์เข้าในปรมัตถธรรม
วิญญาณขันธ์ จัดเข้าใน จิต ๘๙
เวทนาขันธ์ ,สัญญาขันธ์ ,สังขารขันธ์ จัดเข้าในเจตสิก ๕๒
รูปขันธ์ จัดเข้าในรูป ๒๘
การหมดเหตุปัจจัยของนามรูป จัดเข้าในนิพพาน

การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่ออะไรต้องเข้าใจ ก็เป็นการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์
ทุกข์นั้น คือ อะไร ได้แก่ ขันธ์ ๕ (รูปนามที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย และวนเวียนอยู่ในขณะนี้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น)

จะพ้นทุกข็ได้ด้วยการเห็นอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้
อริยสัจจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
จะเห็นอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ได้ต้องทำกิจ คือ

ทุกข์ ได้แก่ ขันธ์ หรือ รูปนาม เป็นกิจที่ควรกำหนดรู้อย่างเดียว
สมุทัย ได้แก่ กิเลส ตัณหา ๓ เป็นกิจที่ควรทำให้หมดไป
นิโรธ ได้แก่ นิพพาน เป็นกิจที่ควรทำให้แจ้งด้วยการเรียนคันถธุระ และทำให้ถึงด้วยการปฏิบัติ
มรรค ได้แก่ มรรค ๘ เป็นกิจที่ควรเจริญให้เกิดขึ้น


ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Neoworld อ่านข้อความ
แล้วเราจะมีโอกาสรู้ตอนไหนว่าธาตุรู้ ได้ทำงานแล้ว
เพราะตัวเราเองคือธาตุดิน น้ำ ไฟลม !?!


รู้โดยปรมัตถ์
ก่อนจุติ ขณะจุติ หลังจุติ
รู้ตัวมีสติก่อนก้าวลงสู่ครรภ์ อาศัยในครรภ์ก็รู้ตัวมีสติ ออกจากครรภ์ก็รู้ตัวมีสติ จนเข้าสู่พระนิพพานก็รู้ว่าเป็นบรมสุข
นี่คือรู้แบบสุดยอดแบบพระมหาโพธิสัตว์

อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Neoworld อ่านข้อความ
ใครเป็นผู้เห็นรูปนามก่อนใครอื่นครับ ลุงหมาน
และเห็นตอนไหนฮะ?!?


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่าวิญญาณอาศัย ปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี.


ที่สำคัญคือเห็นเพื่ออะไรต่างหาก! เห็นเพื่อจะทำอะไร? เห็นเพื่อประโยชน์อะไร? เห็นเพื่อหยั่งรู้อะไร?

เห็นตอนมีขันธ์ ๕ ขันธปัญจก แล้วเท่านั้น!

สฬายตนะ หมาย ถึง อายตนะภายในหกอย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้
เพื่อความตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้าง(ยังเวียนว่ายในสังสารวัฏ)
อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? อาหาร ๔ อย่าง คือ
กวฬิงการาหาร อันหยาบหรือละเอียด เป็นที่ ๑
ผัสสาหารเป็นที่ ๒
มโนสัญเจตนาหารเป็นที่ ๓
วิญญาณาหารเป็นที่ ๔.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นชาติ มีตัณหาเป็นแดนเกิด.
(กล่าวคือ อาหาร ๔ มีตัณหาที่เป็นเหตุหรือสิ่งที่เป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น กล่าวคือจึงเกิดการแสวงหาอาหาร ๔ ต่างๆขึ้น, อาหาร ๔ มีตัณหาเป็นเหตุหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น, อาหาร ๔ มีตัณหาเป็นสิ่งที่ทำให้เกิด(ชาติ)ขึ้น, อาหาร ๔ ต้องอาศัยตัณหาป็นถิ่นหรือแดนเกิด)
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นชาติ มีเวทนาเป็นแดนเกิด.
(กล่าวคือ ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุหรือสิ่งที่เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้น, ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น, ตัณหา มีเวทนาสิ่งที่ทำให้เกิด(ชาติ)ขึ้น, ตัณหา ต้องอาศัยเวทนาเป็นถิ่นหรือแดนเกิด)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
เวทนา มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นสมุทัย มีสฬายตนะเป็นชาติ มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
สฬายตนะ มีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นสมุทัย มีนามรูปเป็นชาติ มีนามรูปเป็นแดนเกิด.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
นามรูป มีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นสมุทัย มีวิญญาณเป็นชาติ มีวิญญาณเป็นแดนเกิด.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
วิญญาณ มีสังขารเป็น เหตุ มีสังขารเป็นสมุทัย มีสังขารเป็นชาติ มีสังขารเป็นแดนเกิด.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขาร ทั้งหลายนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
สังขาร ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นชาติ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
ผัสสะมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ภพมี เพราะอุปทานเป็นปัจจัย
ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
ด้วยประการ ฉะนี้แล ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้.


ถ้าคิดว่ามีธาตุรู้อื่นที่รู้ก่อนมีขันธ์และไม่มีขันธ์ นั่น อนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว คิดซะใหม่

ที่สำคัญ ธาตุรู้ที่ว่า ต้องมาจากขันธ์๕ เป็น ขันธปัญจกแล้วเท่านั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆเกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
กล่าวคือ วิญญาณเกิดแต่เหตุมาเป็นปัจจัยกันดังนี้ อายตนะภายใน ไปกระทบกับ อายตนะภายนอก การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ วิญญาณ๖
อันเป็นกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ที่แจงไว้ในเรื่องขันธ์ ๕ อยู่เสมอๆ กล่าวคือ
วิญญาณ อาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ หรือเป็นไปดังนี้ จักษุ(ตา) ไปกระทบกับ รูป การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ จักษุวิญญาณ
วิญญาณ อาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ โสต(หู) ไปกระทบกับ เสียง การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ โสตวิญญาณ
วิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ ฆานะ(จมูก) ไปกระทบกับ กลิ่น การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ ฆานวิญญาณ
วิญญาณ อาศัยชิวหาและรส ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ ชิวหา(ลิ้น) ไปกระทบกับ รส การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
วิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ กาย ไปกระทบกับ โผฏฐัพพะ การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ กายวิญญาณ
วิญญาณ อาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ มนะ(ใจ) ไปกระทบกับ ธรรมารมณ์ การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ มโนวิญญาณ
เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ
ไฟอาศัยไม้ ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้
ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า
ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า
ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟโคมัย
ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ
ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ
วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ
วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ
วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ
วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ
วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ.

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่