ขรก.เบิกกลูโคซามีนได้แล้ว หลังศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนเกณฑ์ ก.คลัง
Thu, 2015-05-21 15:33 -- hfocus
http://www.hfocus.org/content/2015/05/10007
คำสั่งศาลปกครองเพิกถอนหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังปี 53 ที่ห้ามเบิกยารักษาข้อเข่าเสื่อม “กลูโคซามีน” ในสิทธิสวัสดิการข้าราชการแล้ว มีผลตั้งแต่ 20 พ.ค.58 เป็นต้นไป หลังสมาคมข้าราชการพลเรือนอาวุโสได้เข้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครอง โดยระบุว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย
เมื่อวันที่ 20 พ.ค.58 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศสํานักงานศาลปกครองเรื่อง ศาลปกครองพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ
ด้วยศาลปกครองกลางได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีหมายเลขแดงที่ ๕๐๒/๒๕๕๘ ระหว่าง นางสาวปิติ กาญจนโหติ ผู้ฟ้องคดี กับ กระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดี และคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีหมายเลขแดงที่ ๕๐๓/๒๕๕๘ ระหว่าง นายบัญชา สหเกียรติมนตรี ผู้ฟ้องคดี กับกระทรวงการคลังผู้ถูกฟ้องคดี
โดยพิพากษาเพิกถอนหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง แจ้งตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค0422.2/ว127 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ที่กําหนดให้กลุ่มยา SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต และไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) เป็นรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและไม่ให้คณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลออกหนังสือรับรองการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติกลุ่มดังกล่าว
โดยให้การเพิกถอน มีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศผลแห่งคําพิพากษาในราชกิจจานุเบกษา
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม
เลขาธิการสํานักงานศาลปกครอง”
"""""""""""""""""""""""""""""""
ทั้งนี้ การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟตสำหรับผู้ป่วยสวัสดิการข้าราชการนั้น กรมบัญชีกลางได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว127 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 แจ้งเวียน หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อานวยการสถานพยาบาลของทางราชการ /สถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อทราบและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ เรื่องการกาหนดรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการโดยได้กำหนดให้ กลุ่มยา SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยติน ซัลเฟตและไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบและกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทา อาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) เป็นรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และไม่ให้คณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลออกหนังสือรับรองการใช้ ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้ผู้มีสิทธิใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกเงินจากส่วนราชการต้นสังกัด เนื่องจากกลุ่มยาดังกล่าวไม่มีความคุ้มค่าและมีประสิทธิผลไม่ชัดเจน
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับการเบิกค่ายากลุ่ม SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟตและไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) ที่มีการสั่งใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ดีหากแพทย์ผู้รักษาเห็นสมควรสั่งยากลุ่มดังกล่าว เพื่อบรรเทาอาการหรือเพื่อเป็นวิตามินเสริมให้แก่ผู้ป่วยก็สามารถสั่งใช้ยาได้ โดยผู้ป่วยต้องชำระค่าใช้จ่ายเองจะนำมาเบิกจ่ายในระบบสวัสดิการฯ ไม่ได้
ซึ่งประเด็นดังกล่าวนั้น มีข้าราชการไม่เห็นด้วย รวมถึงแพทยสภา โดยเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วย กระทั่ง สมาคมข้าราชการพลเรือนอาวุโสได้เข้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ศาลปกครองพิพากษา จึงมีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว127 ที่ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 และวันที่ 20 พ.ค.58 ก็มีผลตามวันประกาศผลแห่งคําพิพากษาในราชกิจจานุเบกษา
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ความเห็นส่วนตัวของผม..
๑.ถึงแม้จะเบิกได้ ก็ขอให้ใช้ยาตามข้อบ่งชี้ แนวทาง ที่ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ได้จัดทำไว้ นอกจากเป็นการใช้ยา ตามมาตรฐาน อย่างเหมาะสมคุ้มค่า แล้วยังช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศอีกด้วย
๒.ยากูลโคซามีน หรือ ยากลุ่มอื่น ๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดอักเสบ และช่วยชะลอความเสื่อมของข้อ ถือว่าเป้น “ ส่วนเสริม “ เท่านั้น การรักษาหลักยังเป็นเรื่องของการดูแลตนเอง บริหาร ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ป่วยและญาติต้องช่วยกัน
๓.ยา อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) มีข้อดี และ มีข้อเสีย ก่อนที่จะซื้อหามาใช้ก็ควรศึกษาหาความรู้ เพื่อที่จะได้ใช้อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป อย่าไปยึดติดกับ “การโฆษณา” หรือ คำพูดของบางคน ไม่ใช่ว่า เขา(เธอ) พูดอะไรก็เชื่อ เพราะ ผู้ที่จะได้รับผลเสีย ก็คือ ตัวผู้ที่ใช้ เอง บางครั้งนอกจากเสียรู้ เสียเงิน แล้วยังอาจเสียสุขภาพ เสียโอกาสที่จะได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
ยากับ อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างกันอย่างไร ???
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=5
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์( เอนเสด ) ... ไม่ใช่ขนมนะครับ จะได้กินกันไปเรื่อย ...
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-08-2008&group=4&gblog=54
ขรก.เบิกกลูโคซามีนได้แล้ว หลังศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนเกณฑ์ กระทรวงการคลัง
Thu, 2015-05-21 15:33 -- hfocus
http://www.hfocus.org/content/2015/05/10007
คำสั่งศาลปกครองเพิกถอนหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังปี 53 ที่ห้ามเบิกยารักษาข้อเข่าเสื่อม “กลูโคซามีน” ในสิทธิสวัสดิการข้าราชการแล้ว มีผลตั้งแต่ 20 พ.ค.58 เป็นต้นไป หลังสมาคมข้าราชการพลเรือนอาวุโสได้เข้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครอง โดยระบุว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย
เมื่อวันที่ 20 พ.ค.58 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศสํานักงานศาลปกครองเรื่อง ศาลปกครองพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ
ด้วยศาลปกครองกลางได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีหมายเลขแดงที่ ๕๐๒/๒๕๕๘ ระหว่าง นางสาวปิติ กาญจนโหติ ผู้ฟ้องคดี กับ กระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดี และคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีหมายเลขแดงที่ ๕๐๓/๒๕๕๘ ระหว่าง นายบัญชา สหเกียรติมนตรี ผู้ฟ้องคดี กับกระทรวงการคลังผู้ถูกฟ้องคดี
โดยพิพากษาเพิกถอนหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง แจ้งตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค0422.2/ว127 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ที่กําหนดให้กลุ่มยา SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต และไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) เป็นรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและไม่ให้คณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลออกหนังสือรับรองการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติกลุ่มดังกล่าว
โดยให้การเพิกถอน มีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศผลแห่งคําพิพากษาในราชกิจจานุเบกษา
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม
เลขาธิการสํานักงานศาลปกครอง”
"""""""""""""""""""""""""""""""
ทั้งนี้ การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟตสำหรับผู้ป่วยสวัสดิการข้าราชการนั้น กรมบัญชีกลางได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว127 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 แจ้งเวียน หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อานวยการสถานพยาบาลของทางราชการ /สถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อทราบและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ เรื่องการกาหนดรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการโดยได้กำหนดให้ กลุ่มยา SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยติน ซัลเฟตและไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบและกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทา อาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) เป็นรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และไม่ให้คณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลออกหนังสือรับรองการใช้ ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้ผู้มีสิทธิใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกเงินจากส่วนราชการต้นสังกัด เนื่องจากกลุ่มยาดังกล่าวไม่มีความคุ้มค่าและมีประสิทธิผลไม่ชัดเจน
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับการเบิกค่ายากลุ่ม SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟตและไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) ที่มีการสั่งใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ดีหากแพทย์ผู้รักษาเห็นสมควรสั่งยากลุ่มดังกล่าว เพื่อบรรเทาอาการหรือเพื่อเป็นวิตามินเสริมให้แก่ผู้ป่วยก็สามารถสั่งใช้ยาได้ โดยผู้ป่วยต้องชำระค่าใช้จ่ายเองจะนำมาเบิกจ่ายในระบบสวัสดิการฯ ไม่ได้
ซึ่งประเด็นดังกล่าวนั้น มีข้าราชการไม่เห็นด้วย รวมถึงแพทยสภา โดยเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วย กระทั่ง สมาคมข้าราชการพลเรือนอาวุโสได้เข้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ศาลปกครองพิพากษา จึงมีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว127 ที่ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 และวันที่ 20 พ.ค.58 ก็มีผลตามวันประกาศผลแห่งคําพิพากษาในราชกิจจานุเบกษา
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ความเห็นส่วนตัวของผม..
๑.ถึงแม้จะเบิกได้ ก็ขอให้ใช้ยาตามข้อบ่งชี้ แนวทาง ที่ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ได้จัดทำไว้ นอกจากเป็นการใช้ยา ตามมาตรฐาน อย่างเหมาะสมคุ้มค่า แล้วยังช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศอีกด้วย
๒.ยากูลโคซามีน หรือ ยากลุ่มอื่น ๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดอักเสบ และช่วยชะลอความเสื่อมของข้อ ถือว่าเป้น “ ส่วนเสริม “ เท่านั้น การรักษาหลักยังเป็นเรื่องของการดูแลตนเอง บริหาร ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ป่วยและญาติต้องช่วยกัน
๓.ยา อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) มีข้อดี และ มีข้อเสีย ก่อนที่จะซื้อหามาใช้ก็ควรศึกษาหาความรู้ เพื่อที่จะได้ใช้อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป อย่าไปยึดติดกับ “การโฆษณา” หรือ คำพูดของบางคน ไม่ใช่ว่า เขา(เธอ) พูดอะไรก็เชื่อ เพราะ ผู้ที่จะได้รับผลเสีย ก็คือ ตัวผู้ที่ใช้ เอง บางครั้งนอกจากเสียรู้ เสียเงิน แล้วยังอาจเสียสุขภาพ เสียโอกาสที่จะได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
ยากับ อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างกันอย่างไร ???
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=5
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์( เอนเสด ) ... ไม่ใช่ขนมนะครับ จะได้กินกันไปเรื่อย ...
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-08-2008&group=4&gblog=54