จาก
http://www.oknation.net/blog/peeguay/2015/05/19/entry-1
บางส่วน ..รัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวทำให้ชาวต่างประเทศเดินทางเข้าได้ เป็นว่าเล่น หลายชาติมีแค่หนังสือเดินทางและตั๋วก็เข้าได้แล้ว จึงมีชาวต่างชาติหลากหลายกลุ่ม มิใช่ว่าจะมีแต่คนร่ำคนรวยเข้ามาเที่ยวหรือทำธุรกิจ แต่ยังมีกลุ่มอื่นที่มีปัญหาหลั่งไหลเข้ามาเช่นกัน อาทิเช่น ผู้เฒ่าชเลแก่ชรามาใช้ชีวิตบั้นปลายด้วยเงินบำนาญยังชีพเล็กๆ น้อยๆ ไร้ญาติขาดมิตร พวกเที่ยวจนเงินหมดกลายเป็นคนเร่ร่อนในเมืองใหญ่ โจรดูดีรวยๆ ที่หลบหนีเข้าเมือง และ คนที่มาหางานทำโดยใช้วีซ่านักท่องเที่ยว ไม่มีใบอนุญาตทำงานและไม่มีประกันอะไรเลยสักอย่าง
ยามใดเจ็บไข้ป่วย เข้าโรงพยาบาล คนไทยก็ให้ความช่วยเหลือ การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์และคุณภาพการรักษาพยาบาลของไทยไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่า หลายประเทศในโลกใบนี้ บางอย่างจะเกินตัวด้วยซ้ำ ทว่าด้วยกฎระเบียบนโยบายของรัฐบาลที่ไม่รองรับ จึงตกเป็นภาระแก่โรงพยาบาลอย่างมาก โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐบาล ผู้ป่วยต่างชาติกลุ่มที่มีปัญหาได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แม้จะไม่มีสิทธิ การรักษาใดๆ ก็ตาม เผลอเผลอจะมากกว่าที่ผู้ป่วยไทยได้รับด้วยซ้ำ ฉันได้ข้อมูลที่สำคัญมาชุดหนึ่งเกี่ยวกับการสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ ป่วยชาวต่างประเทศของโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่ง รับผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ามารักษา 161 ราย ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายเป็นเงินประมาณ 16 ล้านบาท หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยราว 2 - 3 เท่า ของผู้ป่วยชาวไทย ใช่ว่าผู้บริหารจะนิ่งนอนใจ ได้แจ้งปัญหาไปยังผู้เกี่ยวข้องต่างๆ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการบริหารกลางสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ ตุลาคม พ. ศ. 2552 เรื่อยมา จนถึงปี พ. ศ. 2558 แต่ก็มิได้นำพา ยังไม่ได้ทำอะไรจริงๆ จังๆ เป็นระบบในระดับนโยบายรัฐ แนวโน้มของปัญหาก็รังแต่จะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี
แล้วสถานทูตเขาไม่อินังขังขอบหรือกระไร เขาใส่ใจอยู่ มีการแจ้งกลับมาอย่างชัดเจนว่า ‘ไม่ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเนื่องเป็นหนี้สินส่วนบุคคล
ชาวต่างชาติ ที่ เจ็บป่วยมา รักษาตัวในไทย หากไม่มีเงินจ่าย สถานทูตของต่างชาติ ไม่ช่วยเลย หรือ
บางส่วน ..รัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวทำให้ชาวต่างประเทศเดินทางเข้าได้ เป็นว่าเล่น หลายชาติมีแค่หนังสือเดินทางและตั๋วก็เข้าได้แล้ว จึงมีชาวต่างชาติหลากหลายกลุ่ม มิใช่ว่าจะมีแต่คนร่ำคนรวยเข้ามาเที่ยวหรือทำธุรกิจ แต่ยังมีกลุ่มอื่นที่มีปัญหาหลั่งไหลเข้ามาเช่นกัน อาทิเช่น ผู้เฒ่าชเลแก่ชรามาใช้ชีวิตบั้นปลายด้วยเงินบำนาญยังชีพเล็กๆ น้อยๆ ไร้ญาติขาดมิตร พวกเที่ยวจนเงินหมดกลายเป็นคนเร่ร่อนในเมืองใหญ่ โจรดูดีรวยๆ ที่หลบหนีเข้าเมือง และ คนที่มาหางานทำโดยใช้วีซ่านักท่องเที่ยว ไม่มีใบอนุญาตทำงานและไม่มีประกันอะไรเลยสักอย่าง
ยามใดเจ็บไข้ป่วย เข้าโรงพยาบาล คนไทยก็ให้ความช่วยเหลือ การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์และคุณภาพการรักษาพยาบาลของไทยไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่า หลายประเทศในโลกใบนี้ บางอย่างจะเกินตัวด้วยซ้ำ ทว่าด้วยกฎระเบียบนโยบายของรัฐบาลที่ไม่รองรับ จึงตกเป็นภาระแก่โรงพยาบาลอย่างมาก โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐบาล ผู้ป่วยต่างชาติกลุ่มที่มีปัญหาได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แม้จะไม่มีสิทธิ การรักษาใดๆ ก็ตาม เผลอเผลอจะมากกว่าที่ผู้ป่วยไทยได้รับด้วยซ้ำ ฉันได้ข้อมูลที่สำคัญมาชุดหนึ่งเกี่ยวกับการสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ ป่วยชาวต่างประเทศของโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่ง รับผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ามารักษา 161 ราย ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายเป็นเงินประมาณ 16 ล้านบาท หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยราว 2 - 3 เท่า ของผู้ป่วยชาวไทย ใช่ว่าผู้บริหารจะนิ่งนอนใจ ได้แจ้งปัญหาไปยังผู้เกี่ยวข้องต่างๆ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการบริหารกลางสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ ตุลาคม พ. ศ. 2552 เรื่อยมา จนถึงปี พ. ศ. 2558 แต่ก็มิได้นำพา ยังไม่ได้ทำอะไรจริงๆ จังๆ เป็นระบบในระดับนโยบายรัฐ แนวโน้มของปัญหาก็รังแต่จะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี
แล้วสถานทูตเขาไม่อินังขังขอบหรือกระไร เขาใส่ใจอยู่ มีการแจ้งกลับมาอย่างชัดเจนว่า ‘ไม่ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเนื่องเป็นหนี้สินส่วนบุคคล