1. ดีใจเพราะเพื่อนร่วมโลกที่น่าสงสารมีที่พักพิง อย่างเป็นทางการ ไม่ต้องเร่ร่อน บอกตรงๆ สงสารเด็กๆมาก
2. ดีใจแทนประเทศไทยที่มีคนอ้าแขนรับเค้าแล้ว และประเทศไทยไม่ต้องรับภาระดูแลกลุ่มคนพวกนี้
(จริงๆ ไทยไม่ได้รับอยู่แล้ว แต่ผลดีคือเราได้ส่งตัวเค้าไปไวขึ้น)
ฟิลิปปินส์เตรียมอ้าแขนรับโรฮิงญา ขณะเอกวาดอร์ประกาศพร้อมให้ความช่วยเหลือ
ฟิลิปปินส์เตรียมอ้าแขนรับโรฮิงญา ขณะเอกวาดอร์ประกาศพร้อมให้ความช่วยเหลือ
เลขาธิการแผนกปฏิบัติการสื่อสารทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เผยรัฐบาลจะรองรับผู้อพยพชาวโรฮิงญาทั้งจากบังคลาเทศและเมียนมาร์ซึ่งถูกปฏิเสธความช่วยเหลือจากประเทศอื่นในอาเซียนได้ราว 3,000 คน ขณะเอกวาดอร์ประกาศว่าประชาคมชาติละติน-แคริบเบียน(CELAC) พร้อมรับผู้อพยพเพื่อบรรเทาโศกนาฏกรรม
ฟิลิปปินส์เตรียมรับผู้อพยพ 3,000 คน
18 พ.ค. 2558 เว็บไซต์ Rappler รายงานว่า เลขาธิการแผนกปฏิบัติการสื่อสารทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อฟิลิปปินส์ว่ารัฐบาลจะรองรับผู้อพยพชาวโรฮิงญาทั้งจากบังคลาเทศและเมียนมาร์ ซึ่งถูกปฏิเสธความช่วยเหลือจากประเทศอื่นในอาเซียนได้ราว 3,000 คน
เฮอร์มินิโอ โคโลมา จูเนียร์ เลขาธิการแผนกปฏิบัติการสื่อสารทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ได้ปฏิเสธข่าวที่ว่ารัฐบาลมีนโยบายจะผลักดันผู้อพยพทางเรือเหล่านี้ออกหากเข้ามาในน่านน้ำฟิลิปปินส์
ทั้งนี้ เฮอร์มินิโอ โคโลมา จูเนียร์ได้อ้างถึง ปฏิญญาว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ลงนามไว้และมีผลผูกพันรัฐบาลฟิลิปปินส์ว่าต้องให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลที่ถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานโดยไม่สมัครใจอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
ทั้งนี้ เขาระบุด้วยว่าทางการฟิลิปปินส์จะให้ความช่วยเหลือในขั้นต้นคือการช่วยชีวิตและกลไกลให้ความช่วยเหลือระยะยาว
เขายังกล่าวว่า ฟิลิปปินส์เคยรับผูอพยพทางเรือชาวเวียดนามในทศวรรษที่ 1970’s ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากสงครามเวียดนาม โดยให้ผู้อพยพเหล่านั้นได้พักพิงชั่วคราวที่เกาะปาลาวัน ก่อนที่จะย้ายไปยังประเทศที่สาม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่มีความเห็นหรือแถลงการณ์ใดๆ จากทางกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ต่อกรณีผู้อพยพชาวโรฮิงญา
ปธน.เอกกวาดอร์ประกาศชาติละตินพร้อมรับผู้อพยพทางเรือชาวโรฮิงญา เพื่อให้โศกนาฏกรรมได้รับการบรรเทา
ขณะเดียวกัน สถานีโทรทัศน์เทเลซูร์ของเวเนซุเอลา รายงานว่า ประธานาธิบดีเอกวาดอร์ ราฟาเอล คอร์เรอา ได้ประกาศเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ประชาคมแห่งรัฐละตินอเมริกันและแคริบเบียน (CELAC) ซึ่งมีประเทศสมาชิก 33 ประเทศ ในภูมิภาคอเมริกาใต้และอเมริกากลาง จะให้ความช่วยเหลือผู้อพยพชาวเอเชียหลายพันคนที่ลอยลำอยู่ในชายฝั่งของไทย
"โลกนี้ฟั่นเฟือน มันแสดงความเพิกเฉยต่อชีวิตมนุษย์ที่ต้องลอยลำอยู่ในเรือ และกำลังจะตายเพราะความหิวโหย โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จอดเรือ" ประธานาธิบดีเอกวาดอร์กล่าวในรายการแถลงประจำสัปดาห์ เขากล่าวด้วยว่า "หากปัญหานี้ยังดำเนินต่อไป เราจะให้ความสนับสนุนทุกอย่างทั้งเสบียงอาหาร รวมทั้งประชาคมแห่งรัฐละติมอเมริกาและแคริบเบียน (CELAC) จะต้อนรับผู้ได้รับผลกระทบเหล่านี้ด้วย เพื่อทำให้โศกนาฏกรรมที่กำลังเกิดขึ้นนี้ได้รับการบรรเทา"
ผู้นำเอกวาดอร์ยังเรียกร้องให้ประชาคมโลกทั้งหมดคว่ำบาตรนโยบายคนเข้าเมืองที่เลือกปฏิบัติเช่นนี้ด้วย
รายงานของเทเลซูร์ ระบุว่า ในรอบสัปดาห์ก่อน ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ไม่ยอมให้เรือที่บรรทุกผู้อพยพชาวมุสลิมโรฮิงญาเข้ามาในประเทศ โดยผู้อพยพเหล่านี้หนีการถูกข่มเหงจากชุมชนของพวกเขาในประเทศพม่าที่ชาวพุทธเป็นประชากรส่วนใหญ่
ที่มา
PH open to sheltering 3,000 ′boat people′
........... จากข่าวนี้แอบดีใจแทนชาวโรฮิงญา และดีใจแทนประเทศไทย...................
2. ดีใจแทนประเทศไทยที่มีคนอ้าแขนรับเค้าแล้ว และประเทศไทยไม่ต้องรับภาระดูแลกลุ่มคนพวกนี้
(จริงๆ ไทยไม่ได้รับอยู่แล้ว แต่ผลดีคือเราได้ส่งตัวเค้าไปไวขึ้น)
ฟิลิปปินส์เตรียมอ้าแขนรับโรฮิงญา ขณะเอกวาดอร์ประกาศพร้อมให้ความช่วยเหลือ
ฟิลิปปินส์เตรียมอ้าแขนรับโรฮิงญา ขณะเอกวาดอร์ประกาศพร้อมให้ความช่วยเหลือ
เลขาธิการแผนกปฏิบัติการสื่อสารทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เผยรัฐบาลจะรองรับผู้อพยพชาวโรฮิงญาทั้งจากบังคลาเทศและเมียนมาร์ซึ่งถูกปฏิเสธความช่วยเหลือจากประเทศอื่นในอาเซียนได้ราว 3,000 คน ขณะเอกวาดอร์ประกาศว่าประชาคมชาติละติน-แคริบเบียน(CELAC) พร้อมรับผู้อพยพเพื่อบรรเทาโศกนาฏกรรม
ฟิลิปปินส์เตรียมรับผู้อพยพ 3,000 คน
18 พ.ค. 2558 เว็บไซต์ Rappler รายงานว่า เลขาธิการแผนกปฏิบัติการสื่อสารทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อฟิลิปปินส์ว่ารัฐบาลจะรองรับผู้อพยพชาวโรฮิงญาทั้งจากบังคลาเทศและเมียนมาร์ ซึ่งถูกปฏิเสธความช่วยเหลือจากประเทศอื่นในอาเซียนได้ราว 3,000 คน
เฮอร์มินิโอ โคโลมา จูเนียร์ เลขาธิการแผนกปฏิบัติการสื่อสารทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ได้ปฏิเสธข่าวที่ว่ารัฐบาลมีนโยบายจะผลักดันผู้อพยพทางเรือเหล่านี้ออกหากเข้ามาในน่านน้ำฟิลิปปินส์
ทั้งนี้ เฮอร์มินิโอ โคโลมา จูเนียร์ได้อ้างถึง ปฏิญญาว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ลงนามไว้และมีผลผูกพันรัฐบาลฟิลิปปินส์ว่าต้องให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลที่ถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานโดยไม่สมัครใจอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
ทั้งนี้ เขาระบุด้วยว่าทางการฟิลิปปินส์จะให้ความช่วยเหลือในขั้นต้นคือการช่วยชีวิตและกลไกลให้ความช่วยเหลือระยะยาว
เขายังกล่าวว่า ฟิลิปปินส์เคยรับผูอพยพทางเรือชาวเวียดนามในทศวรรษที่ 1970’s ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากสงครามเวียดนาม โดยให้ผู้อพยพเหล่านั้นได้พักพิงชั่วคราวที่เกาะปาลาวัน ก่อนที่จะย้ายไปยังประเทศที่สาม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่มีความเห็นหรือแถลงการณ์ใดๆ จากทางกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ต่อกรณีผู้อพยพชาวโรฮิงญา
ปธน.เอกกวาดอร์ประกาศชาติละตินพร้อมรับผู้อพยพทางเรือชาวโรฮิงญา เพื่อให้โศกนาฏกรรมได้รับการบรรเทา
ขณะเดียวกัน สถานีโทรทัศน์เทเลซูร์ของเวเนซุเอลา รายงานว่า ประธานาธิบดีเอกวาดอร์ ราฟาเอล คอร์เรอา ได้ประกาศเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ประชาคมแห่งรัฐละตินอเมริกันและแคริบเบียน (CELAC) ซึ่งมีประเทศสมาชิก 33 ประเทศ ในภูมิภาคอเมริกาใต้และอเมริกากลาง จะให้ความช่วยเหลือผู้อพยพชาวเอเชียหลายพันคนที่ลอยลำอยู่ในชายฝั่งของไทย
"โลกนี้ฟั่นเฟือน มันแสดงความเพิกเฉยต่อชีวิตมนุษย์ที่ต้องลอยลำอยู่ในเรือ และกำลังจะตายเพราะความหิวโหย โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จอดเรือ" ประธานาธิบดีเอกวาดอร์กล่าวในรายการแถลงประจำสัปดาห์ เขากล่าวด้วยว่า "หากปัญหานี้ยังดำเนินต่อไป เราจะให้ความสนับสนุนทุกอย่างทั้งเสบียงอาหาร รวมทั้งประชาคมแห่งรัฐละติมอเมริกาและแคริบเบียน (CELAC) จะต้อนรับผู้ได้รับผลกระทบเหล่านี้ด้วย เพื่อทำให้โศกนาฏกรรมที่กำลังเกิดขึ้นนี้ได้รับการบรรเทา"
ผู้นำเอกวาดอร์ยังเรียกร้องให้ประชาคมโลกทั้งหมดคว่ำบาตรนโยบายคนเข้าเมืองที่เลือกปฏิบัติเช่นนี้ด้วย
รายงานของเทเลซูร์ ระบุว่า ในรอบสัปดาห์ก่อน ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ไม่ยอมให้เรือที่บรรทุกผู้อพยพชาวมุสลิมโรฮิงญาเข้ามาในประเทศ โดยผู้อพยพเหล่านี้หนีการถูกข่มเหงจากชุมชนของพวกเขาในประเทศพม่าที่ชาวพุทธเป็นประชากรส่วนใหญ่
ที่มา
PH open to sheltering 3,000 ′boat people′