จุดประสงค์ของบทความนี้ต้องการสร้างแรงบันดาลใจดีๆ สำหรับคนที่มีเงินเดือนไม่มากนักแต่มีความฝันอันแสนยิ่งใหญ่ โดยข้อมูลนี้ได้รับจากทางลูกเพจท่านหนึ่ง ชื่อ “นายวารี” ครับ เรามาฟังเรื่องราวของเค้ากันดีกว่าว่าเค้าทำยังไงถึงเก็บเงินได้ 50% ของรายได้
ข้อมูลเบื้องต้น นายวารี เป็นวิศวกรทำงานในกรุงเทพมหานคร มีรายได้สุทธิ 18,250 บาท (หลังจากหักเงินประกันสังคม 750 บาท) ไม่มี OT และรายได้อื่นๆแต่อย่างใด ถึงแม้นายวารีไม่ได้เป็นคนที่มีเงินเดือนมากนัก แต่สิ่งหนึ่งที่เขามีชัดเจน คือ เป้าหมายการเงิน ซึ๋งก็คือเรื่องสำคัญ 2 เรื่องนี้
1. เก็บเงินซื้อรถ 100,000 บาท
2. เก็บเงินแต่งงาน 100,000 – 150,000 บาท
จาก 2 เป้าหมายที่ตั้งไว้ต้องใช้เงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 250,000 บาท โดยนายวารีก็ได้กำหนดเวลาของเป้าหมายนี้ต้องสำเร็จในอีก 22 เดือน ข้างหน้า พอคำนวณแบบง่ายๆ หารกันตรงๆ สรุปว่าในแต่เดือนนายวารีต้องเก็บเงินได้ 11,364 บาท
นายวารีจึงเริ่มคิดสิคิด ว่าจะเก็บเงินอย่างไร โชคดีที่นายวารีพอมีสมอง เลยนำหลักการบริหารและควบคุมต้นทุน (Cost Control) จากการทำงาน มาประยุกต์ใช้ เริ่มจากการแบ่งค่าใช้จ่ายรายเดือนเป็น 2 ส่วน คือ
1. ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fix Cost) 1,699 บาท ที่จะต้องจ่ายทุกๆเดือน ประกอบด้วย
• ค่าโทรศัพท์รายเดือนจำนวน 699 บาท
• ค่าโทรศัพท์เติมเงินจำนวน 500 บาท (มันจะมีทำไมต้องสองเครื่องว่ะ - อันนี้แค่คิด)
• ค่าของใช้ส่วนตัว สบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน จำนวน 500 บาท
• ค่าผ่อนเครื่องซักผ้า + แว่น 2,000 บาท เหลือระยะเวลาผ่อนอีก 6 เดือน (#แว่นยังผ่อน)
2. ค่าใช้จ่ายผันแปร (Variable cost) ต่ำสุด 6,970 บาท สูงสุด 12,905 บาท ประกอบด้วย
• ค่ากิน 30 -50 บาท /มื้อ คำนวณแล้วอยู่ที่ 2,790 – 4,650 บาท/เดือน
• ค่าบุหรี่ ซองละ 70 วันละ 1 – 1.5 ซอง คำนวณแล้วอยู่ที่ 2170 – 3255 บาท/เดือน
• ค่าเหล้า เดือนละ 4-5 ครั้ง ครั้งละ 500 – 1000 บาท คำนวณแล้วอยู่ที่ 2,000 – 5,000 บาท
โดยกำหนดออกเป็นสมการได้ดังนี้
เงินเดือน – (fix cost + variable cost) = เงินเก็บ
18,250 – (1,699+12,905) = 3,646 บาท
ลองคำนวณดูตามแผนแบบคร่าวๆ เราจะเห็นว่าเงินเก็บนายวารีต่อเดือนต่ำสุดจะอยู่ที่ 3,646 บาท!!! แต่โลกแห่งความจริงโหดร้ายยิ่งนัก!!! ทำไมเงินที่มีมันแทบไม่พอใช้ในแต่ละเดือนวะ บางเดือนต้องยืม บางเดือนแทบชนเดือน มันควรจะเหลือสิวะ นี่คือคำถามที่เขาถามตัวเอง
เป้าหมายเงินจำนวน 250,000 บาท ในเวลา 22 เดือน
แต่ปัจจุบันคืออะไร!!!
3,646 x 22 = 80,212 บาท
แบบนี้…เก็บให้ตายก็ไม่ถึงเป้าหมาย!!!!
หลังจากเห็นตัวเลข นายวารีเลยบอกว่า เฮ้ยนี่มันผลสะท้อนถึงการกระทำของเราชัดๆ ว่ามันกากมาก มันไม่ได้เรื่อง จะไปโทษดินฟ้าอากาศ โทษเจ้านายว่าให้เงินเดือนน้อย โทษเพื่อนว่าชวนกินเหล้าบ่อย โทษคนนู้นคนนี้ มันไม่ใช่เลยเว้ยยยย
ถ้าคุณทำเอง ผิดเอง ยอมรับเอง นั่นแหละลูกผู้ชายตัวจริง
ผิดแล้วก็ลุกให้ไว แก้ไขให้มันดีขึ้น
ทีนี้นายวารีเลยวางแผนว่าชีวิตออกมาเป็นขั้นตอนพร้อมสิ่งที่ต้องทำ ดังต่อไปดังนี้
1. เป้าหมาย ต้องจับต้องได้ ไม่สูงจนเกินไป และไม่ต่ำจนทำได้ แบบไม่พยายาม
2. ระยะเวลา จะเป็นตัวชี้วัดความตั้งใจและความอดทนของคุณ
3. กระปุกออมสิน แบบแคะได้ เอาไว้ใส่เศษเงิน
4.Internet banking หรือ Mobile banking
5. หนี้สินที่ต้องเคลียร์ กรุณารีบเคลียร์ให้หมด ยืมใครเขามา เงินกู้ ผ่อนบัตรต่างๆ ที่ สามารถ ปิดยอดได้ เงินเดือนออก ต้องจ่ายให้หมด เหลือไว้แค่ค่าดำรงชีวิตต่อเดือน (ถ้าทำได้)
6.ห้ามสร้างหนี้อีกโดยไม่จำเป็น
7.สมุด 1 เล่ม แบบพกพาได้
8. ใจ (ใจหมูหรือใจไก่ครับ พี่เกรย์ถาม #ใจนั่นแหละไอสัส)
9. บัญชีเงินฝาก ◦ฝากประจำ 1 บัญชี เดือนละเท่าๆกัน
◦ออมทรัพย์ เอาไว้ เก็บเงิน ห้ามทำ ATM นะครับ
ต่อไป คือ เทคนิค 7 ข้อที่นายวารีลือกใช้…
1. ปรับปรุงเป้าหมายและระยะเวลาให้ชัดเจน
รถ 100,000 บาท ค่าดาวน์ ภายในระยะเวลา 10 เดือน
เมีย 150,000 บาท ค่าสินสอด ภายในระยะเวลา 12 เดือน
2.
ทบทวนค่าใช้จ่ายและบันทึกให้เป็นนิสัย โดยใช้สมุดพกเล่มเล็ก จ่ายอะไร จดอันนั้น (มีสมาร์ทโฟนก็โหลดแอพมาใช้ได้นะ – พี่เกรย์เสนอความเห็น)
3.
หักดิบตัดใจเก็บเงิน โดยบัญชีธนาคาร ควรจะฝากไว้กับพ่อแม่ (ยิ่งเปิดไว้เป็นชื่อพ่อแม่ ยิ่งดีเลยครับ) แต่ว่าต้องดูก่อนนะ ว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็น (เน้นที่จำเป็นจริงๆ) ต้องเพียงพอให้คุณรอดตายในเดือนนั้นๆ ด้วย
สำหรับนายวารีนั้น ทันทีที่เงินเดือนเข้าเขาจะจ่ายสิ่งที่ควรจะจ่ายไปให้หมดก่อน เช่น FIX Cost และที่ให้ทำ INTERNET BANKING หรือ โมบาย แบงก์ไว้ ก็เพื่อการนี้แหละครับ Formular เงินเก็บ = เงินได้ – (หนี้ + ภาระรายเดือน + fix cost + variable cost)
4.
อยู่ให้ได้ครับ ง่ายๆ เลย สิ่งที่ควรเลี่ยงมีดังนี้
• ขนม น้ำหวาน ลดเพื่อสุขภาพล้วนๆ
• บุหรี่ เหล้า
• การเดินทางโดย TAXI
• เที่ยวใกล้ๆ ในวันหยุด
ทีนี้มีคนอยากรู้แน่ๆว่า เฮ้ย แล้วความสุขของนายวารีจะอยู่ที่ไหน ? เขาบอกว่า การพักอยู่ห้อง ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ อยู่กับแฟน นอน อ่านหนังสือ จัดบ้าน ทำความสะอาดห้อง เยอะครับ ความสุขง่ายๆ ที่ไม่เสียเงิน
5.
หยุดฟังเสียงของคนรอบข้าง ถ้าคนส่วนใหญ่รู้ว่าเราเก็บเงินเดือนละ 10,000 บาท จากเงินเดือนหมื่นกว่าบาท
• ต่อหน้า ดีนะ เก็บเงินเก่งจัง อายุเท่านี้เก็บเงินได้เยอะกว่าคนเงินเดือนเยอะๆ อีก
• ลับหลัง
ชีวิตมันมีความสุขป่ะว่ะ ให้รางวัลกับชีวิตบ้างหรือเปล่า แฟนมันเห็นแก่เงินแน่ๆเลย
“เสียงรอบข้างเป็นสิ่งทีดีครับ” แต่มันไม่สำคัญเท่ากับว่า เป้าหมายชีวิตของเราคืออะไร อย่าลืมฟังเสียงในใจด้วยนะครับ จุฟๆ
6.
ฟังเสียงจากคนใกล้ชิด ขอกำลังใจอะไรก็ว่ากันไป
• แฟน กินบ้างก็ได้ เที่ยวบ้างก็ได้ ไม่ต้องเก็บขนาดนั้นหรอก แต่งไม่ทันปี 58 แต่งปี 59 60 ก็ได้ นายวารีบอกเลยว่าน้ำตาไหลเลยเมื่อได้ฟัง (แต่อยากบอกว่า น้ำตาแฟนนายวารีจะไหลถ้าปล่อยผู้ชายไปเรื่อยๆ เพราะเดี๋ยวมันมีเมียใหม่แล้วจะรู้สึกนะครับ)
• แม่ เดี๋ยวแม่ช่วยออกค่าดาวน์รถก็ได้ ลูกกินให้อิ่มนะ อย่าอดนะลูก #น้ำตาไหลอีกรอบ (อันนี้คิดว่านายวารีแม่มอาจจะมีปัญหาทางสายตาครับ ซาบซึ้งบ่อยไป)
7.
ปลูกฝังจิตสำนึกในการเก็บเงิน โดยระยะเวลาที่ทำให้การเก็บเงินเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา คือ 3 เดือนทำให้ชิน แล้วเราจะรู้สึกว่า เงินน้อยๆ นี่แหละ มันหาความสุขได้ง่ายมาก ไม่ต่างจากคนเงินเยอะเลย
จนปัจจุบันนี้ นายวารียังใช้วิธีเก็บเหมือนเดิม เข้าสู่ปีใหม่ก็เอาเงินเดือนที่ปรับ+ตำแหน่งมาช่วยให้สบายตัวขึ้นเยอะ มาดูกันดีกว่าว่าตอนนี้เค้าเปลี่ยนแปลงแล้วเป็นยังไงบ้าง
1. ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fix Cost) 3,699 บาท ที่จะต้องจ่ายทุกๆเดือน ประกอบด้วย
•ค่าโทรศัพท์รายเดือน 699 บาท
•ค่าโทรศัพท์ เติมเงิน 500 บาท
•ค่าของใช้ส่วนตัว สบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน ฯลฯ 500 บาท
•ค่ากิน 500 บาทต่อสัปดาห์ หรือเดือนละ 2,000 บาท
•ค่าบุหรี่ ไม่มี (เลิก)
2. ค่าใช้จ่ายไม่คงที่ (Variable Cost) 1,000 บาท
•ค่าเหล้า 1 ครั้ง ครั้งละ 1,000 บาท
จากสมการเดิม
เงินเดือน – (fix cost + variable cost) = เงินเก็บ
18,250 – (3,699+1,000) = 13,551 บาท
มายก็อดดดดด … เงินเก็บเพิ่มขึ้น 3 เท่า!!
นี่แหละเว้ยที่ผมอยากจะแชร์ เทคนิคของ “นายวารี” ที่เค้าสามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องอ้างเหตุผลอะไร นอกจากหัวใจและพลังที่เขามี แต่ถ้าคุณปากดีบอกตัวคุณทำไม่ได้พร้อมข้ออ้าง นั่นมันก็เป็นเรื่องของคุณครับ เพราะคนอย่างคุณก็มีแต่อ้างไปวันๆ แล้วคอยฝันถึงความสำเร็จ แต่ถ้าความฝันที่มันไม่เสร็จสักที ก็ตื่นมาทำชีวิตให้ดีบ้างก็ได้นะครับ ขอฝากไว้ให้คิด
เพราะไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ แต่ถ้าคุณทำไม่ได้
ก็กรุณาอย่าอ้างเหตุผลควายๆแบบนี้เลยนะครับ..
Credit : aommoney.com/mrgrayman
==================================================================================
ติดตามข่าวสาร ศูนย์รวมความรู้-บทความเรื่องการลงทุนและธุรกิจ เพิ่มเติมได้ที่
Thinkvestment Fanpage :
https://www.facebook.com/thinkvestment
=== 7 เทคนิคออมเงิน 50% ของรายได้ที่ใครๆก็ทำได้ !!! ===
จุดประสงค์ของบทความนี้ต้องการสร้างแรงบันดาลใจดีๆ สำหรับคนที่มีเงินเดือนไม่มากนักแต่มีความฝันอันแสนยิ่งใหญ่ โดยข้อมูลนี้ได้รับจากทางลูกเพจท่านหนึ่ง ชื่อ “นายวารี” ครับ เรามาฟังเรื่องราวของเค้ากันดีกว่าว่าเค้าทำยังไงถึงเก็บเงินได้ 50% ของรายได้
ข้อมูลเบื้องต้น นายวารี เป็นวิศวกรทำงานในกรุงเทพมหานคร มีรายได้สุทธิ 18,250 บาท (หลังจากหักเงินประกันสังคม 750 บาท) ไม่มี OT และรายได้อื่นๆแต่อย่างใด ถึงแม้นายวารีไม่ได้เป็นคนที่มีเงินเดือนมากนัก แต่สิ่งหนึ่งที่เขามีชัดเจน คือ เป้าหมายการเงิน ซึ๋งก็คือเรื่องสำคัญ 2 เรื่องนี้
1. เก็บเงินซื้อรถ 100,000 บาท
2. เก็บเงินแต่งงาน 100,000 – 150,000 บาท
จาก 2 เป้าหมายที่ตั้งไว้ต้องใช้เงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 250,000 บาท โดยนายวารีก็ได้กำหนดเวลาของเป้าหมายนี้ต้องสำเร็จในอีก 22 เดือน ข้างหน้า พอคำนวณแบบง่ายๆ หารกันตรงๆ สรุปว่าในแต่เดือนนายวารีต้องเก็บเงินได้ 11,364 บาท
นายวารีจึงเริ่มคิดสิคิด ว่าจะเก็บเงินอย่างไร โชคดีที่นายวารีพอมีสมอง เลยนำหลักการบริหารและควบคุมต้นทุน (Cost Control) จากการทำงาน มาประยุกต์ใช้ เริ่มจากการแบ่งค่าใช้จ่ายรายเดือนเป็น 2 ส่วน คือ
1. ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fix Cost) 1,699 บาท ที่จะต้องจ่ายทุกๆเดือน ประกอบด้วย
• ค่าโทรศัพท์รายเดือนจำนวน 699 บาท
• ค่าโทรศัพท์เติมเงินจำนวน 500 บาท (มันจะมีทำไมต้องสองเครื่องว่ะ - อันนี้แค่คิด)
• ค่าของใช้ส่วนตัว สบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน จำนวน 500 บาท
• ค่าผ่อนเครื่องซักผ้า + แว่น 2,000 บาท เหลือระยะเวลาผ่อนอีก 6 เดือน (#แว่นยังผ่อน)
2. ค่าใช้จ่ายผันแปร (Variable cost) ต่ำสุด 6,970 บาท สูงสุด 12,905 บาท ประกอบด้วย
• ค่ากิน 30 -50 บาท /มื้อ คำนวณแล้วอยู่ที่ 2,790 – 4,650 บาท/เดือน
• ค่าบุหรี่ ซองละ 70 วันละ 1 – 1.5 ซอง คำนวณแล้วอยู่ที่ 2170 – 3255 บาท/เดือน
• ค่าเหล้า เดือนละ 4-5 ครั้ง ครั้งละ 500 – 1000 บาท คำนวณแล้วอยู่ที่ 2,000 – 5,000 บาท
เงินเดือน – (fix cost + variable cost) = เงินเก็บ
18,250 – (1,699+12,905) = 3,646 บาท
ลองคำนวณดูตามแผนแบบคร่าวๆ เราจะเห็นว่าเงินเก็บนายวารีต่อเดือนต่ำสุดจะอยู่ที่ 3,646 บาท!!! แต่โลกแห่งความจริงโหดร้ายยิ่งนัก!!! ทำไมเงินที่มีมันแทบไม่พอใช้ในแต่ละเดือนวะ บางเดือนต้องยืม บางเดือนแทบชนเดือน มันควรจะเหลือสิวะ นี่คือคำถามที่เขาถามตัวเอง
แต่ปัจจุบันคืออะไร!!!
3,646 x 22 = 80,212 บาท
แบบนี้…เก็บให้ตายก็ไม่ถึงเป้าหมาย!!!!
หลังจากเห็นตัวเลข นายวารีเลยบอกว่า เฮ้ยนี่มันผลสะท้อนถึงการกระทำของเราชัดๆ ว่ามันกากมาก มันไม่ได้เรื่อง จะไปโทษดินฟ้าอากาศ โทษเจ้านายว่าให้เงินเดือนน้อย โทษเพื่อนว่าชวนกินเหล้าบ่อย โทษคนนู้นคนนี้ มันไม่ใช่เลยเว้ยยยย
ถ้าคุณทำเอง ผิดเอง ยอมรับเอง นั่นแหละลูกผู้ชายตัวจริง
ผิดแล้วก็ลุกให้ไว แก้ไขให้มันดีขึ้น
ทีนี้นายวารีเลยวางแผนว่าชีวิตออกมาเป็นขั้นตอนพร้อมสิ่งที่ต้องทำ ดังต่อไปดังนี้
1. เป้าหมาย ต้องจับต้องได้ ไม่สูงจนเกินไป และไม่ต่ำจนทำได้ แบบไม่พยายาม
2. ระยะเวลา จะเป็นตัวชี้วัดความตั้งใจและความอดทนของคุณ
3. กระปุกออมสิน แบบแคะได้ เอาไว้ใส่เศษเงิน
4.Internet banking หรือ Mobile banking
5. หนี้สินที่ต้องเคลียร์ กรุณารีบเคลียร์ให้หมด ยืมใครเขามา เงินกู้ ผ่อนบัตรต่างๆ ที่ สามารถ ปิดยอดได้ เงินเดือนออก ต้องจ่ายให้หมด เหลือไว้แค่ค่าดำรงชีวิตต่อเดือน (ถ้าทำได้)
6.ห้ามสร้างหนี้อีกโดยไม่จำเป็น
7.สมุด 1 เล่ม แบบพกพาได้
8. ใจ (ใจหมูหรือใจไก่ครับ พี่เกรย์ถาม #ใจนั่นแหละไอสัส)
9. บัญชีเงินฝาก ◦ฝากประจำ 1 บัญชี เดือนละเท่าๆกัน
◦ออมทรัพย์ เอาไว้ เก็บเงิน ห้ามทำ ATM นะครับ
ต่อไป คือ เทคนิค 7 ข้อที่นายวารีลือกใช้…
1. ปรับปรุงเป้าหมายและระยะเวลาให้ชัดเจน
รถ 100,000 บาท ค่าดาวน์ ภายในระยะเวลา 10 เดือน
เมีย 150,000 บาท ค่าสินสอด ภายในระยะเวลา 12 เดือน
2. ทบทวนค่าใช้จ่ายและบันทึกให้เป็นนิสัย โดยใช้สมุดพกเล่มเล็ก จ่ายอะไร จดอันนั้น (มีสมาร์ทโฟนก็โหลดแอพมาใช้ได้นะ – พี่เกรย์เสนอความเห็น)
3. หักดิบตัดใจเก็บเงิน โดยบัญชีธนาคาร ควรจะฝากไว้กับพ่อแม่ (ยิ่งเปิดไว้เป็นชื่อพ่อแม่ ยิ่งดีเลยครับ) แต่ว่าต้องดูก่อนนะ ว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็น (เน้นที่จำเป็นจริงๆ) ต้องเพียงพอให้คุณรอดตายในเดือนนั้นๆ ด้วย
สำหรับนายวารีนั้น ทันทีที่เงินเดือนเข้าเขาจะจ่ายสิ่งที่ควรจะจ่ายไปให้หมดก่อน เช่น FIX Cost และที่ให้ทำ INTERNET BANKING หรือ โมบาย แบงก์ไว้ ก็เพื่อการนี้แหละครับ Formular เงินเก็บ = เงินได้ – (หนี้ + ภาระรายเดือน + fix cost + variable cost)
4. อยู่ให้ได้ครับ ง่ายๆ เลย สิ่งที่ควรเลี่ยงมีดังนี้
• ขนม น้ำหวาน ลดเพื่อสุขภาพล้วนๆ
• บุหรี่ เหล้า
• การเดินทางโดย TAXI
• เที่ยวใกล้ๆ ในวันหยุด
ทีนี้มีคนอยากรู้แน่ๆว่า เฮ้ย แล้วความสุขของนายวารีจะอยู่ที่ไหน ? เขาบอกว่า การพักอยู่ห้อง ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ อยู่กับแฟน นอน อ่านหนังสือ จัดบ้าน ทำความสะอาดห้อง เยอะครับ ความสุขง่ายๆ ที่ไม่เสียเงิน
5. หยุดฟังเสียงของคนรอบข้าง ถ้าคนส่วนใหญ่รู้ว่าเราเก็บเงินเดือนละ 10,000 บาท จากเงินเดือนหมื่นกว่าบาท
• ต่อหน้า ดีนะ เก็บเงินเก่งจัง อายุเท่านี้เก็บเงินได้เยอะกว่าคนเงินเดือนเยอะๆ อีก
• ลับหลัง ชีวิตมันมีความสุขป่ะว่ะ ให้รางวัลกับชีวิตบ้างหรือเปล่า แฟนมันเห็นแก่เงินแน่ๆเลย
“เสียงรอบข้างเป็นสิ่งทีดีครับ” แต่มันไม่สำคัญเท่ากับว่า เป้าหมายชีวิตของเราคืออะไร อย่าลืมฟังเสียงในใจด้วยนะครับ จุฟๆ
6. ฟังเสียงจากคนใกล้ชิด ขอกำลังใจอะไรก็ว่ากันไป
• แฟน กินบ้างก็ได้ เที่ยวบ้างก็ได้ ไม่ต้องเก็บขนาดนั้นหรอก แต่งไม่ทันปี 58 แต่งปี 59 60 ก็ได้ นายวารีบอกเลยว่าน้ำตาไหลเลยเมื่อได้ฟัง (แต่อยากบอกว่า น้ำตาแฟนนายวารีจะไหลถ้าปล่อยผู้ชายไปเรื่อยๆ เพราะเดี๋ยวมันมีเมียใหม่แล้วจะรู้สึกนะครับ)
• แม่ เดี๋ยวแม่ช่วยออกค่าดาวน์รถก็ได้ ลูกกินให้อิ่มนะ อย่าอดนะลูก #น้ำตาไหลอีกรอบ (อันนี้คิดว่านายวารีแม่มอาจจะมีปัญหาทางสายตาครับ ซาบซึ้งบ่อยไป)
7. ปลูกฝังจิตสำนึกในการเก็บเงิน โดยระยะเวลาที่ทำให้การเก็บเงินเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา คือ 3 เดือนทำให้ชิน แล้วเราจะรู้สึกว่า เงินน้อยๆ นี่แหละ มันหาความสุขได้ง่ายมาก ไม่ต่างจากคนเงินเยอะเลย
จนปัจจุบันนี้ นายวารียังใช้วิธีเก็บเหมือนเดิม เข้าสู่ปีใหม่ก็เอาเงินเดือนที่ปรับ+ตำแหน่งมาช่วยให้สบายตัวขึ้นเยอะ มาดูกันดีกว่าว่าตอนนี้เค้าเปลี่ยนแปลงแล้วเป็นยังไงบ้าง
1. ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fix Cost) 3,699 บาท ที่จะต้องจ่ายทุกๆเดือน ประกอบด้วย
•ค่าโทรศัพท์รายเดือน 699 บาท
•ค่าโทรศัพท์ เติมเงิน 500 บาท
•ค่าของใช้ส่วนตัว สบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน ฯลฯ 500 บาท
•ค่ากิน 500 บาทต่อสัปดาห์ หรือเดือนละ 2,000 บาท
•ค่าบุหรี่ ไม่มี (เลิก)
2. ค่าใช้จ่ายไม่คงที่ (Variable Cost) 1,000 บาท
•ค่าเหล้า 1 ครั้ง ครั้งละ 1,000 บาท
เงินเดือน – (fix cost + variable cost) = เงินเก็บ
18,250 – (3,699+1,000) = 13,551 บาท
มายก็อดดดดด … เงินเก็บเพิ่มขึ้น 3 เท่า!!
นี่แหละเว้ยที่ผมอยากจะแชร์ เทคนิคของ “นายวารี” ที่เค้าสามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องอ้างเหตุผลอะไร นอกจากหัวใจและพลังที่เขามี แต่ถ้าคุณปากดีบอกตัวคุณทำไม่ได้พร้อมข้ออ้าง นั่นมันก็เป็นเรื่องของคุณครับ เพราะคนอย่างคุณก็มีแต่อ้างไปวันๆ แล้วคอยฝันถึงความสำเร็จ แต่ถ้าความฝันที่มันไม่เสร็จสักที ก็ตื่นมาทำชีวิตให้ดีบ้างก็ได้นะครับ ขอฝากไว้ให้คิด
เพราะไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ แต่ถ้าคุณทำไม่ได้
ก็กรุณาอย่าอ้างเหตุผลควายๆแบบนี้เลยนะครับ..
Credit : aommoney.com/mrgrayman
==================================================================================
ติดตามข่าวสาร ศูนย์รวมความรู้-บทความเรื่องการลงทุนและธุรกิจ เพิ่มเติมได้ที่
Thinkvestment Fanpage : https://www.facebook.com/thinkvestment