การเลือกดินสอกดซักด้าม
ผมว่าการที่เราจะสะสมอะไร มันน่าจะเริ่มจากความชอบ หรือ เราต้องใช้มันเป็นประจำ บางทีอาจจะเป็นเพราะกระแสนิยม แต่บางคนก็สะสมเพื่อสร้างรายได้ สุดท้ายแต่ละคนก็ต้องมีใจรักเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ผมไม่แน่ใจว่าเริ่มสะสมปากกากับดินสอมานานเท่าไร สุดท้ายพอมาดูเราจะพบว่าเรามีมากเกินความจำ
เป็นที่จะนำมาใช้งานได้ทุกชิ้น ผมก็เลยเริ่มเรียกว่าการสะสม
แต่ก่อนผมชอบเดินทาง ก็จะแวะซื้อของแปลกๆเก็บไว้หลายชิ้น รวมทั้งชอบเข้าร้านstationaryด้วยครับ อยู่เมืองไทยก็ชอบเข้าร้านหนังสือกับเครื่องเขียน เป็นประจำ จริงๆอยากให้ลูกรักการอ่านนะครับ ผมพาลูกไปอ่านหนังสือ แล้วทุกครั้งที่ไปห้างสรรพสินค้าเค้าก็จะซื้อหนังสือกลับมาทุกครั้ง อาจเป็นหนังสือระบายสี หนังสือเล่นเกม หรือหนัง สติกเกอร์ ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือมากบางทีไปงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติทีหมดไปสี่ห้าพันก็มี บางเล่มก็ไม่เคยอ่าน แต่กลัวว่าวันหลังอยากอ่านจะหาอ่านไม่ได้ รู้ไหมว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละสองบรรทัด แต่Singaporeอ่านปีละ5-6เล่ม นอกเรื่องไปนานละกลับเข้ามา
เรื่องดีกว่านะตัวเอง555
คนรักดินสอ
www.facebook.com/pencil2pen
http://pencil-pens.blogspot.com/
เวลาเลือกดินสอแบบสะสมหรือใช้งานผมจะเลือกตามหัวข้อตามสไตล์ของผมนะ
1. แบบเอามาใช้งาน
- วัสดุที่ใช้ ความคงทน
ผมชอบวัสดุที่เป็นโลหะนะครับ ดินสอที่ดีหัวดินสอด้านในจะเป็นทองเหลืองไม่ใช่พลาสติกนะครับ เพราะทนและจับไส้ดินสอได้แน่น และที่สำคัญไม่เป็นสนิม
- สีสรร
ชอบแบบสุภาพ หรือแบบสีเจ็บๆ การที่เราพกปากกาหรือดินสอกดก็บอกความเป็นตัวตนเรานะครับ
- น้ำหนัก
ผมชอบดินสอกดหรือปากกาที่มีน้ำหนักหน่อยนะครับ เวลาใช้ถ้าเบาเกินไปมันเขียนแล้วลายเส้นไม่ค่อยมีน้ำหนักนะครับ แล้วเวลาจับแล้วเบาๆทำให้พลานรู้สึกว่าวัสดุไม่ดีไปด้วย เกี่ยวกันไหมเนี่ย
- วัสดุ
วัสดุมีตั้งแต่ เรซิน พลาสติก เซลลูโลส จนกระทั่ง อลูมิเนียม รวมถิงวิธีการชุบด้วยครับ เดี๋ยวจะหาข้อมูลการชุบทองมาให้อ่านนะครับ เดี๋ยวเขียนแล้วจะยาวมาก
- ขนาดของไส้ ดินสอที่นิยมกัน ที่ 0.3 mm, 0.5 mm, 0.7 mm, 5.6 mm
0.3 จะใช้ในงานเขียนแบบ แต่ปัญหาไส้จะหักง่ายเวลาเราใช้แรงกด แต่ มีดินสอที่ทำให้ไส้ไม่หักออกมาด้วยนะ เป็นของ Pentel Orenz ได้มาจากญี่ปุ่น ว่างๆจะมาreview กันนะครับ
0.5 กับ 0.7 จะใช้กับงานเขียนทั่วไป ผมชอบใช้ ขนาดไส้ดินสอ 0.5 ครับ ไม่เล็กไม่ใหญ่ดีครับ บางคนชอบเส้นหนาๆก็จะไป 0.7 อันนี้ก็ไม่ว่ากันนะครับ
0.7 กับ 5.6 จะใช้ในงาน สเก็ตภาพ จริงๆแล้วขนาด 0.7 จะใก้ลเคียงกับดินสอไม้มากที่สุด บางทีก็ใช้สำหรับฝนกระดาษข้อสอบ แบบตรวจด้วยเครื่องครับ
2. แบบเอามาสะสม
- กลไกลในการกด ของไส้ดินสอ
1. แบบ กดไส้ดินสอ ที่ท้าย แบบนี้มีทั่วไป basic and classic
2. แบบ กดที่ด้ามแบบนี้ จะทำให้การเขียนไม่สะดุดกดระหว่างเขียนได้ แบบนี้ไม่เหมาะกับคนชอบหมุนดินสอ ผมนี่ละเป็นคนหนึ่งละที่ชอบหมุนดินสอระหว่างเขียน ชอบให้เส้นมันคมๆนะ เพราะเขียนด้านเดียวดินสอจะทู่นะตัวเองต้องคอยหมุน
3. แบบเขย่า ให้ไส้ดินสอออกมา แล้วยังกดได้ด้วย ดินสอกดแบบเขย่าของ Pilot น่าจะเป็นเจ้าแรก ที่คิดระบบนี้นะครับ ผมชอบมาก รุ่น shaker ของ pilot
4. แบบหมุนให้ไส้ออกมา กลไกลเหมือนปากกาที่หมุนกลางแท่งแล้วไส้ปากกาออกมาออกมา
5. แบบไส้ดินสออกอัตโนมัติ ไม่ต้องกด แปลกไหม แรกๆก็งงว่าไส้ออกมายังไง สุดท้าย ที่หัวดินสอจะยุบได้เวลาไส้หมด เราออกแรงกดโดยการเขียน ไส้ดินสอก็จะออกมาโดย อัตโนมัติ เปลี่ยนจากการกดไส้ที่ท้ายดินสอกด มากดที่หัวเขียนแทน แบบนี้เราเขียนต่อเนื่องได้เลย ไม่ต้องยกมือขึ้นไส้ดินสอก็มา
เรื่อยๆ
6. แบบที่ไส้ดินสอแหลมอยู่ตลอดเวลา ระบบแบบนี้เหมือนข้อ5 คือ เวลาเราเขียนจะเกิดแรงกด ระบบแบบนี้จะหมุนไส้ดินสอไปเรื่อยๆไส้ดินสอก็จะแหลมเสมอ แต่ระบบไม่เหมือนข้อ5 ตรงที่ไส้จะหมุนก็ต่อเมื่อเรายกมือขึ้น ใครที่เขียนแล้วไม่ค่อยยกมือระบบนี้ก้ไม่มีประโยชน์ ก่อนที่จะมีดินสอแบบนี้ผมก็ใช้หมุนดินสอเอาระหว่างเขียนไปเรื่อยๆ
7. เกือบลืมไป มีแบบที่คนที่ชอบเขียนแบบกดดินสอหนักๆแล้วไส้ดินสองไม่หัก จะบ้าพลังไปถึงไหนหามระบบนี้จะมี ระบบ โช้คอยู่สองตัวเวลากดมันก็จะยุบหรืองอได้นิดหนึ่ง ระบบนี้เค้าเครมว่ารับแรงกดได้ 15 กิโลแล้วไส้ดินสอยังไม่หัก ใครกดแรงขนาดนั้นไปใช้ดินสอแบบปกติที่ใช้เหลากบไปเลยดีกว่า กลุ้มดีแท้
ที่เคยเจอกลไกของการกดไส้ดินสอก็มีแค่นี้เท่าที่ผมทราบนะครับ ถ้าใครเจอแบบไหนแปลกๆก็มาเล่าสู่กันฟังนะครับ
http://pencil-pens.blogspot.com/
-ชื่อชั้นของ Brand บางทีปากกาหรือดินสอกด ก็บอกความเป็นตัวตนของเรา บางดีก็สามารถใช้เป็นเครื่องประดับและบ่งบอกถึงฐานะในสังคมด้วย ก็เดี๋ยวนี้เราตัดสินการประสพความสำเร็จกันที่ทรัพย์สินเงินทองทำไมไม่ตัดสินว่าชีวิตใครมีความสุขกว่ากันหนอ ไปนอกเรื่องอีกละเรา
- วัสดุ ผมนี่เก็บทุกอย่างเลย ไม้ อลู ทองแดง ทองเหลือ เคลือทองเค/ pink gold เงิน เก็บไปหมด เท่าที่เราจ่ายไหวนะครับ
- ความหายาก หรือ เป็นตำนาน หรือ รุ่น limited edition ถ้าพูดถึง ดินสอ rotting คงไม่มีใครไม่รู้จักนะครับสมัยผมฮิตติดchart มากเลย อ้าวเลยรู้อายุเราเลย
มีอะไรก็เข้ามาคุยกันบ้างนะครับ ผมเหงานะให้ผมเขียนอยู่คนเดียว ให้ผมรู้บ้างสิว่ามีใครชอบเหมือนผมไหม
คนรักดินสอ
www.facebook.com/pencil2pen
ว่างตามไปดูคนสะสมปากกาบ้างนะครับ
http://ppantip.com/topic/33684741
ผมตกใจเลยครับ มีคนชอบดินสอกดเหมือนผมด้วยครับ พี่ Stan นี่เก็บ Rotring เป้นเรื่องเป็นราวมากครับ ใครมีอะไร เขียนมาเล่าให้ผมฟังก็ได้ครับ ผมจะได้รวบรวมแล้วเอามาแชร์ให้เพื่อนๆอ่านกันครับ
ตอนนี้ผมอยากจะรวบรวมร้านเครื่องเขียนดีๆ ในกรุงเทพและต่างจังหวัด แล้วมาเขียนให้สมาชิกอ่านกันครับ เราจะได้มีแหล่งซื้อดินสอกดดีๆภายในประเทศครับ ใคมีร้านอะไรในดวงใจฝากกระซิบบอกผมหลังไมค์ทีครับ งานอดิเรกเราต้องเล่นกันหลายๆคนคงจะสนุกนะครับ แค่มีคนเข้ามาแชร์เรื่องราวต่างๆผมก็ตื่นเต้น บนตกใจแบบว่า มีคนที่บ้าแบบเราเยอะเลย555
@@@มีใครชอบสะสมดินสอกดบ้างครับ ผมมีวิธีเก็บสะสมตามสไตล์ผมมาฝากครับ@@@
ผมว่าการที่เราจะสะสมอะไร มันน่าจะเริ่มจากความชอบ หรือ เราต้องใช้มันเป็นประจำ บางทีอาจจะเป็นเพราะกระแสนิยม แต่บางคนก็สะสมเพื่อสร้างรายได้ สุดท้ายแต่ละคนก็ต้องมีใจรักเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ผมไม่แน่ใจว่าเริ่มสะสมปากกากับดินสอมานานเท่าไร สุดท้ายพอมาดูเราจะพบว่าเรามีมากเกินความจำ
เป็นที่จะนำมาใช้งานได้ทุกชิ้น ผมก็เลยเริ่มเรียกว่าการสะสม
แต่ก่อนผมชอบเดินทาง ก็จะแวะซื้อของแปลกๆเก็บไว้หลายชิ้น รวมทั้งชอบเข้าร้านstationaryด้วยครับ อยู่เมืองไทยก็ชอบเข้าร้านหนังสือกับเครื่องเขียน เป็นประจำ จริงๆอยากให้ลูกรักการอ่านนะครับ ผมพาลูกไปอ่านหนังสือ แล้วทุกครั้งที่ไปห้างสรรพสินค้าเค้าก็จะซื้อหนังสือกลับมาทุกครั้ง อาจเป็นหนังสือระบายสี หนังสือเล่นเกม หรือหนัง สติกเกอร์ ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือมากบางทีไปงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติทีหมดไปสี่ห้าพันก็มี บางเล่มก็ไม่เคยอ่าน แต่กลัวว่าวันหลังอยากอ่านจะหาอ่านไม่ได้ รู้ไหมว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละสองบรรทัด แต่Singaporeอ่านปีละ5-6เล่ม นอกเรื่องไปนานละกลับเข้ามา
เรื่องดีกว่านะตัวเอง555
คนรักดินสอ
www.facebook.com/pencil2pen
http://pencil-pens.blogspot.com/
เวลาเลือกดินสอแบบสะสมหรือใช้งานผมจะเลือกตามหัวข้อตามสไตล์ของผมนะ
1. แบบเอามาใช้งาน
- วัสดุที่ใช้ ความคงทน
ผมชอบวัสดุที่เป็นโลหะนะครับ ดินสอที่ดีหัวดินสอด้านในจะเป็นทองเหลืองไม่ใช่พลาสติกนะครับ เพราะทนและจับไส้ดินสอได้แน่น และที่สำคัญไม่เป็นสนิม
- สีสรร
ชอบแบบสุภาพ หรือแบบสีเจ็บๆ การที่เราพกปากกาหรือดินสอกดก็บอกความเป็นตัวตนเรานะครับ
- น้ำหนัก
ผมชอบดินสอกดหรือปากกาที่มีน้ำหนักหน่อยนะครับ เวลาใช้ถ้าเบาเกินไปมันเขียนแล้วลายเส้นไม่ค่อยมีน้ำหนักนะครับ แล้วเวลาจับแล้วเบาๆทำให้พลานรู้สึกว่าวัสดุไม่ดีไปด้วย เกี่ยวกันไหมเนี่ย
- วัสดุ
วัสดุมีตั้งแต่ เรซิน พลาสติก เซลลูโลส จนกระทั่ง อลูมิเนียม รวมถิงวิธีการชุบด้วยครับ เดี๋ยวจะหาข้อมูลการชุบทองมาให้อ่านนะครับ เดี๋ยวเขียนแล้วจะยาวมาก
- ขนาดของไส้ ดินสอที่นิยมกัน ที่ 0.3 mm, 0.5 mm, 0.7 mm, 5.6 mm
0.3 จะใช้ในงานเขียนแบบ แต่ปัญหาไส้จะหักง่ายเวลาเราใช้แรงกด แต่ มีดินสอที่ทำให้ไส้ไม่หักออกมาด้วยนะ เป็นของ Pentel Orenz ได้มาจากญี่ปุ่น ว่างๆจะมาreview กันนะครับ
0.5 กับ 0.7 จะใช้กับงานเขียนทั่วไป ผมชอบใช้ ขนาดไส้ดินสอ 0.5 ครับ ไม่เล็กไม่ใหญ่ดีครับ บางคนชอบเส้นหนาๆก็จะไป 0.7 อันนี้ก็ไม่ว่ากันนะครับ
0.7 กับ 5.6 จะใช้ในงาน สเก็ตภาพ จริงๆแล้วขนาด 0.7 จะใก้ลเคียงกับดินสอไม้มากที่สุด บางทีก็ใช้สำหรับฝนกระดาษข้อสอบ แบบตรวจด้วยเครื่องครับ
2. แบบเอามาสะสม
- กลไกลในการกด ของไส้ดินสอ
1. แบบ กดไส้ดินสอ ที่ท้าย แบบนี้มีทั่วไป basic and classic
2. แบบ กดที่ด้ามแบบนี้ จะทำให้การเขียนไม่สะดุดกดระหว่างเขียนได้ แบบนี้ไม่เหมาะกับคนชอบหมุนดินสอ ผมนี่ละเป็นคนหนึ่งละที่ชอบหมุนดินสอระหว่างเขียน ชอบให้เส้นมันคมๆนะ เพราะเขียนด้านเดียวดินสอจะทู่นะตัวเองต้องคอยหมุน
3. แบบเขย่า ให้ไส้ดินสอออกมา แล้วยังกดได้ด้วย ดินสอกดแบบเขย่าของ Pilot น่าจะเป็นเจ้าแรก ที่คิดระบบนี้นะครับ ผมชอบมาก รุ่น shaker ของ pilot
4. แบบหมุนให้ไส้ออกมา กลไกลเหมือนปากกาที่หมุนกลางแท่งแล้วไส้ปากกาออกมาออกมา
5. แบบไส้ดินสออกอัตโนมัติ ไม่ต้องกด แปลกไหม แรกๆก็งงว่าไส้ออกมายังไง สุดท้าย ที่หัวดินสอจะยุบได้เวลาไส้หมด เราออกแรงกดโดยการเขียน ไส้ดินสอก็จะออกมาโดย อัตโนมัติ เปลี่ยนจากการกดไส้ที่ท้ายดินสอกด มากดที่หัวเขียนแทน แบบนี้เราเขียนต่อเนื่องได้เลย ไม่ต้องยกมือขึ้นไส้ดินสอก็มา
เรื่อยๆ
6. แบบที่ไส้ดินสอแหลมอยู่ตลอดเวลา ระบบแบบนี้เหมือนข้อ5 คือ เวลาเราเขียนจะเกิดแรงกด ระบบแบบนี้จะหมุนไส้ดินสอไปเรื่อยๆไส้ดินสอก็จะแหลมเสมอ แต่ระบบไม่เหมือนข้อ5 ตรงที่ไส้จะหมุนก็ต่อเมื่อเรายกมือขึ้น ใครที่เขียนแล้วไม่ค่อยยกมือระบบนี้ก้ไม่มีประโยชน์ ก่อนที่จะมีดินสอแบบนี้ผมก็ใช้หมุนดินสอเอาระหว่างเขียนไปเรื่อยๆ
7. เกือบลืมไป มีแบบที่คนที่ชอบเขียนแบบกดดินสอหนักๆแล้วไส้ดินสองไม่หัก จะบ้าพลังไปถึงไหนหามระบบนี้จะมี ระบบ โช้คอยู่สองตัวเวลากดมันก็จะยุบหรืองอได้นิดหนึ่ง ระบบนี้เค้าเครมว่ารับแรงกดได้ 15 กิโลแล้วไส้ดินสอยังไม่หัก ใครกดแรงขนาดนั้นไปใช้ดินสอแบบปกติที่ใช้เหลากบไปเลยดีกว่า กลุ้มดีแท้
ที่เคยเจอกลไกของการกดไส้ดินสอก็มีแค่นี้เท่าที่ผมทราบนะครับ ถ้าใครเจอแบบไหนแปลกๆก็มาเล่าสู่กันฟังนะครับ
http://pencil-pens.blogspot.com/
-ชื่อชั้นของ Brand บางทีปากกาหรือดินสอกด ก็บอกความเป็นตัวตนของเรา บางดีก็สามารถใช้เป็นเครื่องประดับและบ่งบอกถึงฐานะในสังคมด้วย ก็เดี๋ยวนี้เราตัดสินการประสพความสำเร็จกันที่ทรัพย์สินเงินทองทำไมไม่ตัดสินว่าชีวิตใครมีความสุขกว่ากันหนอ ไปนอกเรื่องอีกละเรา
- วัสดุ ผมนี่เก็บทุกอย่างเลย ไม้ อลู ทองแดง ทองเหลือ เคลือทองเค/ pink gold เงิน เก็บไปหมด เท่าที่เราจ่ายไหวนะครับ
- ความหายาก หรือ เป็นตำนาน หรือ รุ่น limited edition ถ้าพูดถึง ดินสอ rotting คงไม่มีใครไม่รู้จักนะครับสมัยผมฮิตติดchart มากเลย อ้าวเลยรู้อายุเราเลย
มีอะไรก็เข้ามาคุยกันบ้างนะครับ ผมเหงานะให้ผมเขียนอยู่คนเดียว ให้ผมรู้บ้างสิว่ามีใครชอบเหมือนผมไหม
คนรักดินสอ
www.facebook.com/pencil2pen
ว่างตามไปดูคนสะสมปากกาบ้างนะครับ
http://ppantip.com/topic/33684741
ผมตกใจเลยครับ มีคนชอบดินสอกดเหมือนผมด้วยครับ พี่ Stan นี่เก็บ Rotring เป้นเรื่องเป็นราวมากครับ ใครมีอะไร เขียนมาเล่าให้ผมฟังก็ได้ครับ ผมจะได้รวบรวมแล้วเอามาแชร์ให้เพื่อนๆอ่านกันครับ
ตอนนี้ผมอยากจะรวบรวมร้านเครื่องเขียนดีๆ ในกรุงเทพและต่างจังหวัด แล้วมาเขียนให้สมาชิกอ่านกันครับ เราจะได้มีแหล่งซื้อดินสอกดดีๆภายในประเทศครับ ใคมีร้านอะไรในดวงใจฝากกระซิบบอกผมหลังไมค์ทีครับ งานอดิเรกเราต้องเล่นกันหลายๆคนคงจะสนุกนะครับ แค่มีคนเข้ามาแชร์เรื่องราวต่างๆผมก็ตื่นเต้น บนตกใจแบบว่า มีคนที่บ้าแบบเราเยอะเลย555