สวัสดีค่ะเพื่อนๆทุกคน เชื่อว่าทุกๆคนในกระทู้นี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็รักความสวยความงาม และใส่ใจใบหน้าของตนเอง จนบางครั้งพวกเราสรรหาครีมที่มีสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง เช่น ครีมนี้ใช้แล้วขาวใสขึ้นภายใน 7 วันไม่มีสารต้องห้ามเช่นปรอท หรือสเตรียรอยด์ ทั้งยัง ช่วยลบรอยสิว ใช้แล้วสิวหายภายใน 1 เซ็ต ซึ่งเรามักจะเห็นครีมเหล่านี้ขายในโลกออนไลน์อยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุค อินสตราแกรม
ในการเลือกซื้อครีม หรือเครื่องสำอางนั้น เราควรจะรู้ถึงวิธีการเลือกเครื่องสำอางอย่างปลอดภัยเพื่อให้ปลอดภัยและเกิดผลในทางที่ดีแก่ตัวผู้ซื้อใช้ อย่างแรกควรดูก่อนว่าเป็นเครื่องสำอางต้องห้ามที่อย. ประกาศให้เป็นเครื่องสำอางอันตรายหรือไม่ ได้รับมาตรฐานหรือไม่ โดยดูจากเครื่องหมาย อย. ดูว่ามีเลขที่จดแจ้งหรือใบรับจดแจ้งไหม ดูวันหมดอายุ ปริมาณ วันผลิต ส่วนผสม และต้องให้ความสำคัญกับการอ่านฉลากวิธีใช้ และทดสอบการแพ้เครื่องสำอางก่อนตัดงสินใจ ไม่ควรตัดสินใจเพียงเพราะดูว่าครีมนั้นมียอดรีวิวผู้ใช้แล้วได้ผลเยอะ และที่สำคัญที่สุดคือเลือกซื้อเครื่องสำอางจากแหล่งที่เชื่อถือได้ แค่นี้ก็จะทำให้เรามีผิวหน้าที่สวยสดใสและปลอดภัยแล้วละคะ
แต่เราจะรู้ได้อย่างว่าครีมที่เราใช้นั้นเป็นครีมที่ต้องห้ามหรือไม่ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ครีมที่เราใช้นั้นมีฉลาก อย. หรือเลขที่จดแจ้ง ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่า ฉลากอย คืออะไร และเลขที่จดแจ้งคืออะไร ฉลากอย. คือ อักษรย่อของ “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา” (ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางค์) โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพทีปลอดภัยและสมประโยชน์ แต่เนื่องจาก ล่าสุดปี 2551 ได้รวมเครื่องสำอางทุกอย่างเป็นประเภทเดียวคือ เครื่องสำอางควบคุม ซึ่งผู้นำเข้า/ผู้ผลิต ต้องมาจดแจ้งสูตร ที่ตั้ง ผู้จัดจำหน่าย กับทาง อย. หรือ สาธารณสุขจังหวัด และจะออกเลขที่เรียกว่า เลขที่ใบรับแจ้ง ดังนั้นในปัจจุบันนั้น อาหาร จะมี เลข อย. -- ยา จะมี เลขทะเบียนยา -- เครื่องสำอาง จะมี เลขที่จดแจ้งคะ ซึ่งส่วนมากครีมที่ขายกันเกลื่อนในเน็ตก็มักจะบอกว่าตนได้รับอย. แล้ว แต่จริงๆไม่ใช่นะคะ ต้องมีเลขที่จดแจ้ง แล้วเลขที่จดแจ้งนั้น คืออะไร เลขที่จดแจ้งหรือใบรับแจ้งนั้นรัฐจะออกใบรับแจ้งเรียงลาดับตามที่มีผู้มาแจ้งรายละเอียดในแต่ละปี และแสดงเลขลาดับอยู่ที่ตอนบนของใบรับแจ้ง “เลขที่ใบรับแจ้ง”จะประกอบด้วยตัวเลข 10 หลัก โดย 2 หลักแรก บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดที่จังหวัดใด หลักที่ 3 บ่งบอกว่าเป็นสินค้าที่ผลิตหรือนาเข้าหรือผลิตเฉพาะเพื่อการส่งออก หลักที่ 4 และ 5 จะบ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดในปี พ.ศ. ใด และหลักที่ 6-10 จะเป็นลาดับของการออกใบรับแจ้งในปีพ.ศ. นั้น
ตัวอย่างเช่น 10-1-53-99999 หมายถึง
10 หมายถึง แจ้งรายละเอียดที่กรุงเทพฯ
1 หมายถึง ผลิต
53 หมายถึง แจ้งในปี พ.ศ. 2553
99999 หมายถึง เป็นใบรับแจ้งลาดับที่ 99999 ที่ออกในปี พ.ศ. 2553
เลขที่ใบรับแจ้งจะเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งชี้เกี่ยวกับการแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางควบคุม แต่ละรายการ
และถ้าหากเราใช้ครีมแล้วแพ้ ถึงแม้ว่าครีมนั้นจะมีเลขที่จดแจ้งถูกต้อง เราควรจะทำอย่างไรดี เจ้าของกระทู้ขอแนะนำให้ทำต่อไปนี้เลยคะ คือ ร้องเรียนเลยคะ ร้องเรียนเพื่อที่เราจะได้ค่าเสียหาย แล้วเราควรจะร้องเรียนไปยังใครละ ซึ่งผู้ที่ใช้ครีมแล้วแพ้นั้นก็ย่อมสามารถที่จะร้องเรียนไปยัง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โดยสามารถร้องเรียนได้ 2 วิธี คือ 1. ทางโทรศัพท์ หมายเลข 1556 และ 2. ทางเว็บไซต์ www.oryor.com/1556 เพราะเนื่องจากมีพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551ที่ได้ให้การรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค ให้ผู้ประกอบการทุกคนจะต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งสินค้าที่ไม่ปลอดภัยคือ สินค้าที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่องในการผลิตหรือการออกแบบ หรือไม่ได้กำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า หรือกำหนดไว้แต่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจนตามสมควร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงสภาพของสินค้า รวมทั้งลักษณะการใช้งานและการเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของสินค้าอันพึงคาดหมายได้
พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 กำหนดให้ผู้ประกอบการทุกๆคนต้องร่วมรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และสินค้านั้นได้มีการขายแล้ว แล้วพวกเราเคยสงสัยไหมว่า ทำไมคนที่ขายครีมในเน็ต โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงว่าใช้แล้วหน้าขาวขึ้นภายใน 7 วัน พอมีคนใช้แล้วหน้าพังถึงแม่ค้าในเน็ตไม่ต้องรับผิด นั่นก็เป็นเพราะว่าพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ให้ผู้ประกอบการเท่านั้นที่จะต้องรับผิดเท่านั้น ซึ่งผู้ประกอบการ ซึ่งแม่ค้าในเน็ตนั้นเป็นแต่เพียงผู้ที่ส่งต่อสินค้าไปยังผู้บริโภคอย่างเดียว (ซื้อมาขายไป)จึงไม่ต้องรับผิด เพราะไม่ใช่ผู้ประกอบการตามพระราชบัญญัตินี้ เพราะผู้ประกอบการ คือ 1. ผู้ผลิต หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิต 2. ผู้นำเข้า 3. ผู้ขายสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าได้ และ 4. ผู้ซึ่งใช้ชื่อ ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมาย ข้อความหรือแสดงด้วยวิธีใดๆอันมีลักษณะที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้า
กระทู้นี้แอบยาวนิสนึง แต่หวังว่าเพื่อนๆชาวพันทิปจะได้ความรู้ในการเลือกใช้ครีมนะคะ และถ้าหากเกิดใช้แล้วแพ้ เพื่อนๆก็สามารถที่จะร้องเรียนไปยังสคบ.ได้นะคะ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจะใช้ครีมแล้วแพ้ก็ไม่สามารถจะร้องเรียนหรือฟ้องร้องให้ผู้ขายรับผิดนะคะ ดังนั้นหากเพื่อนๆจะเลือกใช้ครีมอะไร ควรเลือกใช้อย่างระมัดระวังนะคะ
จะทำอย่างไรดี ถ้าใช้ครีมแล้วหน้าพัง
ในการเลือกซื้อครีม หรือเครื่องสำอางนั้น เราควรจะรู้ถึงวิธีการเลือกเครื่องสำอางอย่างปลอดภัยเพื่อให้ปลอดภัยและเกิดผลในทางที่ดีแก่ตัวผู้ซื้อใช้ อย่างแรกควรดูก่อนว่าเป็นเครื่องสำอางต้องห้ามที่อย. ประกาศให้เป็นเครื่องสำอางอันตรายหรือไม่ ได้รับมาตรฐานหรือไม่ โดยดูจากเครื่องหมาย อย. ดูว่ามีเลขที่จดแจ้งหรือใบรับจดแจ้งไหม ดูวันหมดอายุ ปริมาณ วันผลิต ส่วนผสม และต้องให้ความสำคัญกับการอ่านฉลากวิธีใช้ และทดสอบการแพ้เครื่องสำอางก่อนตัดงสินใจ ไม่ควรตัดสินใจเพียงเพราะดูว่าครีมนั้นมียอดรีวิวผู้ใช้แล้วได้ผลเยอะ และที่สำคัญที่สุดคือเลือกซื้อเครื่องสำอางจากแหล่งที่เชื่อถือได้ แค่นี้ก็จะทำให้เรามีผิวหน้าที่สวยสดใสและปลอดภัยแล้วละคะ
แต่เราจะรู้ได้อย่างว่าครีมที่เราใช้นั้นเป็นครีมที่ต้องห้ามหรือไม่ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ครีมที่เราใช้นั้นมีฉลาก อย. หรือเลขที่จดแจ้ง ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่า ฉลากอย คืออะไร และเลขที่จดแจ้งคืออะไร ฉลากอย. คือ อักษรย่อของ “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา” (ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางค์) โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพทีปลอดภัยและสมประโยชน์ แต่เนื่องจาก ล่าสุดปี 2551 ได้รวมเครื่องสำอางทุกอย่างเป็นประเภทเดียวคือ เครื่องสำอางควบคุม ซึ่งผู้นำเข้า/ผู้ผลิต ต้องมาจดแจ้งสูตร ที่ตั้ง ผู้จัดจำหน่าย กับทาง อย. หรือ สาธารณสุขจังหวัด และจะออกเลขที่เรียกว่า เลขที่ใบรับแจ้ง ดังนั้นในปัจจุบันนั้น อาหาร จะมี เลข อย. -- ยา จะมี เลขทะเบียนยา -- เครื่องสำอาง จะมี เลขที่จดแจ้งคะ ซึ่งส่วนมากครีมที่ขายกันเกลื่อนในเน็ตก็มักจะบอกว่าตนได้รับอย. แล้ว แต่จริงๆไม่ใช่นะคะ ต้องมีเลขที่จดแจ้ง แล้วเลขที่จดแจ้งนั้น คืออะไร เลขที่จดแจ้งหรือใบรับแจ้งนั้นรัฐจะออกใบรับแจ้งเรียงลาดับตามที่มีผู้มาแจ้งรายละเอียดในแต่ละปี และแสดงเลขลาดับอยู่ที่ตอนบนของใบรับแจ้ง “เลขที่ใบรับแจ้ง”จะประกอบด้วยตัวเลข 10 หลัก โดย 2 หลักแรก บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดที่จังหวัดใด หลักที่ 3 บ่งบอกว่าเป็นสินค้าที่ผลิตหรือนาเข้าหรือผลิตเฉพาะเพื่อการส่งออก หลักที่ 4 และ 5 จะบ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดในปี พ.ศ. ใด และหลักที่ 6-10 จะเป็นลาดับของการออกใบรับแจ้งในปีพ.ศ. นั้น
ตัวอย่างเช่น 10-1-53-99999 หมายถึง
10 หมายถึง แจ้งรายละเอียดที่กรุงเทพฯ
1 หมายถึง ผลิต
53 หมายถึง แจ้งในปี พ.ศ. 2553
99999 หมายถึง เป็นใบรับแจ้งลาดับที่ 99999 ที่ออกในปี พ.ศ. 2553
เลขที่ใบรับแจ้งจะเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งชี้เกี่ยวกับการแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางควบคุม แต่ละรายการ
และถ้าหากเราใช้ครีมแล้วแพ้ ถึงแม้ว่าครีมนั้นจะมีเลขที่จดแจ้งถูกต้อง เราควรจะทำอย่างไรดี เจ้าของกระทู้ขอแนะนำให้ทำต่อไปนี้เลยคะ คือ ร้องเรียนเลยคะ ร้องเรียนเพื่อที่เราจะได้ค่าเสียหาย แล้วเราควรจะร้องเรียนไปยังใครละ ซึ่งผู้ที่ใช้ครีมแล้วแพ้นั้นก็ย่อมสามารถที่จะร้องเรียนไปยัง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โดยสามารถร้องเรียนได้ 2 วิธี คือ 1. ทางโทรศัพท์ หมายเลข 1556 และ 2. ทางเว็บไซต์ www.oryor.com/1556 เพราะเนื่องจากมีพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551ที่ได้ให้การรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค ให้ผู้ประกอบการทุกคนจะต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งสินค้าที่ไม่ปลอดภัยคือ สินค้าที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่องในการผลิตหรือการออกแบบ หรือไม่ได้กำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า หรือกำหนดไว้แต่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจนตามสมควร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงสภาพของสินค้า รวมทั้งลักษณะการใช้งานและการเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของสินค้าอันพึงคาดหมายได้
พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 กำหนดให้ผู้ประกอบการทุกๆคนต้องร่วมรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และสินค้านั้นได้มีการขายแล้ว แล้วพวกเราเคยสงสัยไหมว่า ทำไมคนที่ขายครีมในเน็ต โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงว่าใช้แล้วหน้าขาวขึ้นภายใน 7 วัน พอมีคนใช้แล้วหน้าพังถึงแม่ค้าในเน็ตไม่ต้องรับผิด นั่นก็เป็นเพราะว่าพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ให้ผู้ประกอบการเท่านั้นที่จะต้องรับผิดเท่านั้น ซึ่งผู้ประกอบการ ซึ่งแม่ค้าในเน็ตนั้นเป็นแต่เพียงผู้ที่ส่งต่อสินค้าไปยังผู้บริโภคอย่างเดียว (ซื้อมาขายไป)จึงไม่ต้องรับผิด เพราะไม่ใช่ผู้ประกอบการตามพระราชบัญญัตินี้ เพราะผู้ประกอบการ คือ 1. ผู้ผลิต หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิต 2. ผู้นำเข้า 3. ผู้ขายสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าได้ และ 4. ผู้ซึ่งใช้ชื่อ ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมาย ข้อความหรือแสดงด้วยวิธีใดๆอันมีลักษณะที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้า
กระทู้นี้แอบยาวนิสนึง แต่หวังว่าเพื่อนๆชาวพันทิปจะได้ความรู้ในการเลือกใช้ครีมนะคะ และถ้าหากเกิดใช้แล้วแพ้ เพื่อนๆก็สามารถที่จะร้องเรียนไปยังสคบ.ได้นะคะ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจะใช้ครีมแล้วแพ้ก็ไม่สามารถจะร้องเรียนหรือฟ้องร้องให้ผู้ขายรับผิดนะคะ ดังนั้นหากเพื่อนๆจะเลือกใช้ครีมอะไร ควรเลือกใช้อย่างระมัดระวังนะคะ