คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
แหล่งข้อมูลสถานกงสุลไทย
คนไทยที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่มีบัตรประชาชน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะ เสียสิทธิบางประการที่บุคคลสัญชาติไทยพึงได้รับ เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในการขอหนังสือเดินทางไทย ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ กรมการปกครองจึงได้แจ้งแนวปฏิบัติด้านทะเบียนราษฎร ดังนี้
1. คนไทยที่เกิดในต่างประเทศ (และมีสูติบัตรที่ออกโดยสถานทูต/ สถานกงสุลไทย หรือหลักฐานการเกิดที่ออกโดยหน่วยงานต่างประเทศ) สามารถยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14)ได้ โดยต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาอยู่ ทั้งนี้ บุคคลที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศไม่อาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นขอเพิ่มชื่อตนเข้าทะเบียนบ้านได้ (ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร 2535 ม. 29)
2. คนไทยที่พำนักในต่างประเทศเป็นเวลานานและไม่มีบ้านในประเทศไทย สามารถแจ้งย้ายชื่อและรายการบุคคลไปไว้ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศได้ โดยสำนักทะเบียนแต่ละแห่งจะกำหนดให้มีทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับลงรายการของบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศสำนักทะเบียนละ 1 แห่ง (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร 2535 ข้อ 87)
3. คนไทยที่พำนักในต่างประเทศและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง ขอให้ติดต่อสำนัก ทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลางไปเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ โดยดำเนินการได้ด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการก็ได้ แต่ถ้าจะย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลางไปเข้าทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14) จะต้องดำเนินการด้วยตนเอง
4. คนไทยที่เกิดในต่างประเทศ (และมีสูติบัตรที่ออกโดยสถานทูต/ สถานกงสุลไทย หรือหลักฐานการเกิดที่ออกโดยหน่วยงานต่างประเทศ) ซึ่งประสงค์ขอมีรายการบุคคลและเลขประจำตัว 13 หลักในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร แต่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องที่อยู่ในประเทศไทยยื่นคำร้องขอให้เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศได้ [ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 5) 2551 ข้อ 96/2] ทั้งนี้ ในกรณีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มอบอำนาจแทน โดยดำเนินการผ่านสถานทูต/ สถานกงสุลไทย
......
ข้อมูลที่นำมาจากหน่วยราชการ หลายปีแล้วนะ ยังไงก็อัพเดทกับเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นของคุณ
แต่ เพื่อให้ชัดเจน ติดต่อไปทางหน่วยงานทะเบียนราษฎรโดยตรง เขาจะได้บอกกฎหมายฉบับปัจจุบัน หรือที่กำลังอยู่ในฉบับร่างปฎิรูป
ส่วนที่จะเขียนนี้ เป็นเรื่องแปลกแต่จริงนะ คือ เวลานำทะเบียนบ้านหรือเอกสารประจำบุคคลที่แสดงตนไปติดต่อ ในต่างประเทศ
เขาต้องการตรวจ เลขบัตรประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักที่ปรากฏนั้น จึงอนุญาตให้ใช้สำเนาของตัวทะเบียนบ้านล่าสุดที่เคยอาศัย
(เขามักตรวจเลขประจำตัว คู่กับที่ปรากฏในบัตรประชาชนใบใหม่ที่ใช้ หรือใบที่อัพเดทไว้)
สิ่งที่ว่าแปลกก็คือ ในตอนเลือกตั้งในตปท. ล่าสุด ต่อให้คนไทยคนนั้น ไม่ได้อยู่บ้านนั้น บ้านนั้นขายไปนานแล้ว หรือน้ำท่วมไปหมด
ต่อให้ไปหาในพื้นที่จริงไม่มีตัวบ้าน และที่ดินผืนนั้นได้ถูกเปลี่ยนไปก่อสร้างอาคาร ที่อาศัยอื่นๆ แต่เขาก็ยังไม่ได้ลบเลขที่บ้านในทะเบียน
ไม่ทราบเหมือนกันว่า จะไปติดต่อลบที่ไหน หรือทำไมเขาไม่ทำ หรือไม่มีหน่วยจัดการ แต่สรุปว่า คนไทยที่มีสำเนาทะเบียนบ้านเดิมไว้
ก็จะมีสิทธิ์เลือกตั้งในท้องที่นั้น เขาตรวจสอบก็พบชื่อในทะเบียน (ทั้งที่ตัวบ้าน และที่ดินไม่ปรากฎ) แต่มีที่มาของบุคคลอยู่ในทะเบียนนั้น
และตัวเลข ๑๓ หลัก ตรงกับบัตรประชาชนด้วย
เพราะฉะนั้น คุณทำสำเนาทะเบียนบ้าน ที่คุณเป็นเจ้าของเอาไว้ และนำไว้ยื่นพร้อมบัตรประชาชนและสำเนา รวมกับหนังสือเดินทางใหม่
อย่าให้ขาดการอัพเดทบัตรปชช. กับหนังสือเดินทาง ส่วนทะเบียนบ้าน สูติบัตร ถ้ากลับไทย หาโอกาสไปที่เขต อัพเดทในช่วงล่าสุด
ให้ตรงกับวันประทับเดินทางเข้า ครั้งล่าสุดในหนังสือเดินทาง อัพเดทที่อยู่ปัจจุบันในตปท.ไว้ที่สกญ หรือสอท. จะมีประโยชน์ต่อระบบ
ตราบใดที่ทางราชการ ยังไม่มีประกาศแจ้งกติกาใหม่มาจากก.มหาดไทย เวลาเลือกตั้ง ก็ใช้สำเนาบ้านล่าสุดนี่แหละ จนท.ที่นี่บอกว่าโอนะ
ต่างถิ่นกันไปไม่ทราบ แต่เลือกตั้งล่าสุด (ที่โมฆะ) คนไทยรุ่นโบราณจำนวนมาก สามารถเลือกได้ เพราะตรวจพบเลข ๑๓ หลักตามระบบ
คนไทยที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่มีบัตรประชาชน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะ เสียสิทธิบางประการที่บุคคลสัญชาติไทยพึงได้รับ เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในการขอหนังสือเดินทางไทย ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ กรมการปกครองจึงได้แจ้งแนวปฏิบัติด้านทะเบียนราษฎร ดังนี้
1. คนไทยที่เกิดในต่างประเทศ (และมีสูติบัตรที่ออกโดยสถานทูต/ สถานกงสุลไทย หรือหลักฐานการเกิดที่ออกโดยหน่วยงานต่างประเทศ) สามารถยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14)ได้ โดยต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาอยู่ ทั้งนี้ บุคคลที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศไม่อาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นขอเพิ่มชื่อตนเข้าทะเบียนบ้านได้ (ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร 2535 ม. 29)
2. คนไทยที่พำนักในต่างประเทศเป็นเวลานานและไม่มีบ้านในประเทศไทย สามารถแจ้งย้ายชื่อและรายการบุคคลไปไว้ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศได้ โดยสำนักทะเบียนแต่ละแห่งจะกำหนดให้มีทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับลงรายการของบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศสำนักทะเบียนละ 1 แห่ง (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร 2535 ข้อ 87)
3. คนไทยที่พำนักในต่างประเทศและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง ขอให้ติดต่อสำนัก ทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลางไปเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ โดยดำเนินการได้ด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการก็ได้ แต่ถ้าจะย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลางไปเข้าทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14) จะต้องดำเนินการด้วยตนเอง
4. คนไทยที่เกิดในต่างประเทศ (และมีสูติบัตรที่ออกโดยสถานทูต/ สถานกงสุลไทย หรือหลักฐานการเกิดที่ออกโดยหน่วยงานต่างประเทศ) ซึ่งประสงค์ขอมีรายการบุคคลและเลขประจำตัว 13 หลักในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร แต่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องที่อยู่ในประเทศไทยยื่นคำร้องขอให้เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศได้ [ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 5) 2551 ข้อ 96/2] ทั้งนี้ ในกรณีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มอบอำนาจแทน โดยดำเนินการผ่านสถานทูต/ สถานกงสุลไทย
......
ข้อมูลที่นำมาจากหน่วยราชการ หลายปีแล้วนะ ยังไงก็อัพเดทกับเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นของคุณ
แต่ เพื่อให้ชัดเจน ติดต่อไปทางหน่วยงานทะเบียนราษฎรโดยตรง เขาจะได้บอกกฎหมายฉบับปัจจุบัน หรือที่กำลังอยู่ในฉบับร่างปฎิรูป
ส่วนที่จะเขียนนี้ เป็นเรื่องแปลกแต่จริงนะ คือ เวลานำทะเบียนบ้านหรือเอกสารประจำบุคคลที่แสดงตนไปติดต่อ ในต่างประเทศ
เขาต้องการตรวจ เลขบัตรประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักที่ปรากฏนั้น จึงอนุญาตให้ใช้สำเนาของตัวทะเบียนบ้านล่าสุดที่เคยอาศัย
(เขามักตรวจเลขประจำตัว คู่กับที่ปรากฏในบัตรประชาชนใบใหม่ที่ใช้ หรือใบที่อัพเดทไว้)
สิ่งที่ว่าแปลกก็คือ ในตอนเลือกตั้งในตปท. ล่าสุด ต่อให้คนไทยคนนั้น ไม่ได้อยู่บ้านนั้น บ้านนั้นขายไปนานแล้ว หรือน้ำท่วมไปหมด
ต่อให้ไปหาในพื้นที่จริงไม่มีตัวบ้าน และที่ดินผืนนั้นได้ถูกเปลี่ยนไปก่อสร้างอาคาร ที่อาศัยอื่นๆ แต่เขาก็ยังไม่ได้ลบเลขที่บ้านในทะเบียน
ไม่ทราบเหมือนกันว่า จะไปติดต่อลบที่ไหน หรือทำไมเขาไม่ทำ หรือไม่มีหน่วยจัดการ แต่สรุปว่า คนไทยที่มีสำเนาทะเบียนบ้านเดิมไว้
ก็จะมีสิทธิ์เลือกตั้งในท้องที่นั้น เขาตรวจสอบก็พบชื่อในทะเบียน (ทั้งที่ตัวบ้าน และที่ดินไม่ปรากฎ) แต่มีที่มาของบุคคลอยู่ในทะเบียนนั้น
และตัวเลข ๑๓ หลัก ตรงกับบัตรประชาชนด้วย
เพราะฉะนั้น คุณทำสำเนาทะเบียนบ้าน ที่คุณเป็นเจ้าของเอาไว้ และนำไว้ยื่นพร้อมบัตรประชาชนและสำเนา รวมกับหนังสือเดินทางใหม่
อย่าให้ขาดการอัพเดทบัตรปชช. กับหนังสือเดินทาง ส่วนทะเบียนบ้าน สูติบัตร ถ้ากลับไทย หาโอกาสไปที่เขต อัพเดทในช่วงล่าสุด
ให้ตรงกับวันประทับเดินทางเข้า ครั้งล่าสุดในหนังสือเดินทาง อัพเดทที่อยู่ปัจจุบันในตปท.ไว้ที่สกญ หรือสอท. จะมีประโยชน์ต่อระบบ
ตราบใดที่ทางราชการ ยังไม่มีประกาศแจ้งกติกาใหม่มาจากก.มหาดไทย เวลาเลือกตั้ง ก็ใช้สำเนาบ้านล่าสุดนี่แหละ จนท.ที่นี่บอกว่าโอนะ
ต่างถิ่นกันไปไม่ทราบ แต่เลือกตั้งล่าสุด (ที่โมฆะ) คนไทยรุ่นโบราณจำนวนมาก สามารถเลือกได้ เพราะตรวจพบเลข ๑๓ หลักตามระบบ
แสดงความคิดเห็น
ไม่มีบ้านที่เมืองไทย จำเป็นมั้ยว่าต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านใดบ้านหนึ่ง
ยังงัยคงยังไม่ย้ายกลับเร็วๆนี้
ตอนนี้สงสัยเรื่องทะเบียนบ้านว่าเราต้องมีชื่ออยู่ในบ้านมั้ยในฐานะคนไทย
ถ้าไม่มีกฏ
มันจะมีข้อดีข้อเสียยังงัยในการทำธุรกรรมถ้าไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไหนเลย
กลัวว่าติดต่อทำอะไรจะมีปัญหาเยอะ
ไอ้จะเอาชื่อไปขออยู่บ้านญาติก็กลัวลำบากตอนมีเหตุจำเป็นต้องเอาเราออก