คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ถ้าตามกฎหมายที่ถูกต้อง ทั้งไทยและสากล
คนที่อยู่ข้างสนามที่คอยวิ่ง ดูแลนักกีฬา หลายๆคนอาจเรียกติดปากว่า แพทย์สนาม จริงๆแล้ว คือ "นักกายภาพบำบัด"
ต้องเป็นนักกายภาพบำบัด ที่มีใบประกอบวิชาชีพเท่านั้น
ในไทยอาจจะมีบางที่ให้นักวิทยาศาสตร์การกีฬามาทำหน้าที่ตรงนี้
อยากบอกว่าจริงๆ ทำไม่ได้นะครับ มันผิดกฎหมาย
ต้องเกริ่นก่อนว่า วิชาชีพกายภาพบำบัดในไทย พึ่งจะเข้ามาได้ไม่นาน
แค่จะผลิตออกไป ทำงานตามโรงพยาบาลรัฐ และเอกชน ยังแทบไม่พอ
ปัจจุบันคนเริ่มกำลังเข้าใจบทบาทวิชาชีพเรามากขึ้น และ มีนักกายภาพบำบัด ทางการกีฬามากขึ้น
ในทีมกีฬาต่างๆก็เช่นกันครับ บางที่มเริ่มให้ความสำคัญกับตำแหน่งนักกายภาพบำบัดประจำทีมมากขึ้น
เพราะคุณภาพชีวิต และการบาดเจ็บของนักกีฬา เป็นเรื่องที่ปล่อยผ่านหรือทำอย่างไม่มีความรู้ไม่ได้
นักกายภาพบำบัดในทีมกีฬา
งานเบื้องหน้า
คือ อยู่ข้างสนามสังเกตนักกีฬา สังเกตการปะทะ ตลอดจนการล้ม ว่ามีผลต่อโครงสร้างใดกล้ามเนื้อมัดใด
ต้องช่างเกต สามารถตั้งสมมติฐานตรวจประเมินการบาดเจ็บ ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
และรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่ต่างกับ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา อย่างชัดเจน
ถ้านักกีฬาบาดเจ็บมาก ทั้งกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ ต้องตัดสินใจร่วมกับโค้ชว่าควรเปลี่ยนตัวพักหรือไม่
การรักษาใดจำเป็นที่สุดในขณะนั้น ที่จะทำให้นักกีฬาสามารถแข่งขันต่อได้และผลที่ตามมาจากการบาดเจ็บ
สามารถยอมรับ และคุ้มค่าหรือไม่
บางครั้งคนจะรู้แค่ว่าเข้าไปเท่ๆ ฉีดสเปรย์ เฉยๆ จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ
งานเบื้องหลัง
คืองานที่ฟื้นฟู รักษา และเสริมสร้างร่างกายของนักกีฬา
จะทำตลอดเวลาทั้ง ก่อนแข่ง หลังแข่ง ช่วงฝึกซ้อม
เพราะนักกีฬากับอาการบาดเจ็บทั้งเฉียบพลัน เรื้อรัง เป็นของคู่กัน
เราต้องเริ่มตรวจกันก่อนว่าเค้าเจ็บจากโครงสร้างใดของร่างกาย กระดูก กล้ามเนื้อ หรือเอ็น
ซึ่งจะรู้ได้อย่างไร คงอธิบายในนี้ไม่จบแน่ๆ ถ้าอยากรู้ต้องมาเรียนเอง
จากประสบการณ์ที่ได้ขึ้นคลินิคและตามอาจารย์ไปในทีมกีฬารักบี้
แค่ช่วงเช้าไม่กี่ชั่วโมง ต้องดูผู้ป่วย ซึ่งก็คือนักกีฬาที่บาดเจ็บจำนวนมาก
บรรเทาอาการเจ็บปวด อักเสบ ต่างๆด้วยวิธีการ และเครื่องมือทางกายภาพบำบัด
อย่างเช่น บางคนฝึกกล้ามเนื้อบางมัดมากเกินไป จนเกิดความไม่สมดุลทำให้กระดูกเบี้ยว นำไปสู่อาการบาดเจ็บ เราก้ต้องมีโปรแกรมในการฟื้นฟู
หรือเทคนิคการติด kinesio taping เพื่อสร้างความมั่นคง ลดบวม ต่างๆ
ซึ่งจะเห็นว่าที่กล่าวมาข้างต้นคือบทบาทของ นักกายภาพบำบัดทางการกีฬา
แต่ในทีมหนึ่งๆ ต้องมีทั้งบุคคลาการที่เกี่ยวข้องทั้ง แพทย์ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่จะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป
มีขอบเขตงานกันคนละรูปแบบ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือทำงานเป็นทีม
นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ช่วยฝึก เสริมสร้างศักยภาพองค์รวมให้นักกีฬาให้มีขีดศักยภาพเป็นเลิศ
นักกายภาพบำบัด ช่วยฝึกฝน ฟื้นฟูอย่างจำเพาะเจาะจง และตรวจประเมิน รักษาด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด
แพทย์ ทำการตรวจและรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ อาทิ ผ่าตัด สั่งยา x-ray
คนที่อยู่ข้างสนามที่คอยวิ่ง ดูแลนักกีฬา หลายๆคนอาจเรียกติดปากว่า แพทย์สนาม จริงๆแล้ว คือ "นักกายภาพบำบัด"
ต้องเป็นนักกายภาพบำบัด ที่มีใบประกอบวิชาชีพเท่านั้น
ในไทยอาจจะมีบางที่ให้นักวิทยาศาสตร์การกีฬามาทำหน้าที่ตรงนี้
อยากบอกว่าจริงๆ ทำไม่ได้นะครับ มันผิดกฎหมาย
ต้องเกริ่นก่อนว่า วิชาชีพกายภาพบำบัดในไทย พึ่งจะเข้ามาได้ไม่นาน
แค่จะผลิตออกไป ทำงานตามโรงพยาบาลรัฐ และเอกชน ยังแทบไม่พอ
ปัจจุบันคนเริ่มกำลังเข้าใจบทบาทวิชาชีพเรามากขึ้น และ มีนักกายภาพบำบัด ทางการกีฬามากขึ้น
ในทีมกีฬาต่างๆก็เช่นกันครับ บางที่มเริ่มให้ความสำคัญกับตำแหน่งนักกายภาพบำบัดประจำทีมมากขึ้น
เพราะคุณภาพชีวิต และการบาดเจ็บของนักกีฬา เป็นเรื่องที่ปล่อยผ่านหรือทำอย่างไม่มีความรู้ไม่ได้
นักกายภาพบำบัดในทีมกีฬา
งานเบื้องหน้า
คือ อยู่ข้างสนามสังเกตนักกีฬา สังเกตการปะทะ ตลอดจนการล้ม ว่ามีผลต่อโครงสร้างใดกล้ามเนื้อมัดใด
ต้องช่างเกต สามารถตั้งสมมติฐานตรวจประเมินการบาดเจ็บ ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
และรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่ต่างกับ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา อย่างชัดเจน
ถ้านักกีฬาบาดเจ็บมาก ทั้งกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ ต้องตัดสินใจร่วมกับโค้ชว่าควรเปลี่ยนตัวพักหรือไม่
การรักษาใดจำเป็นที่สุดในขณะนั้น ที่จะทำให้นักกีฬาสามารถแข่งขันต่อได้และผลที่ตามมาจากการบาดเจ็บ
สามารถยอมรับ และคุ้มค่าหรือไม่
บางครั้งคนจะรู้แค่ว่าเข้าไปเท่ๆ ฉีดสเปรย์ เฉยๆ จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ
งานเบื้องหลัง
คืองานที่ฟื้นฟู รักษา และเสริมสร้างร่างกายของนักกีฬา
จะทำตลอดเวลาทั้ง ก่อนแข่ง หลังแข่ง ช่วงฝึกซ้อม
เพราะนักกีฬากับอาการบาดเจ็บทั้งเฉียบพลัน เรื้อรัง เป็นของคู่กัน
เราต้องเริ่มตรวจกันก่อนว่าเค้าเจ็บจากโครงสร้างใดของร่างกาย กระดูก กล้ามเนื้อ หรือเอ็น
ซึ่งจะรู้ได้อย่างไร คงอธิบายในนี้ไม่จบแน่ๆ ถ้าอยากรู้ต้องมาเรียนเอง
จากประสบการณ์ที่ได้ขึ้นคลินิคและตามอาจารย์ไปในทีมกีฬารักบี้
แค่ช่วงเช้าไม่กี่ชั่วโมง ต้องดูผู้ป่วย ซึ่งก็คือนักกีฬาที่บาดเจ็บจำนวนมาก
บรรเทาอาการเจ็บปวด อักเสบ ต่างๆด้วยวิธีการ และเครื่องมือทางกายภาพบำบัด
อย่างเช่น บางคนฝึกกล้ามเนื้อบางมัดมากเกินไป จนเกิดความไม่สมดุลทำให้กระดูกเบี้ยว นำไปสู่อาการบาดเจ็บ เราก้ต้องมีโปรแกรมในการฟื้นฟู
หรือเทคนิคการติด kinesio taping เพื่อสร้างความมั่นคง ลดบวม ต่างๆ
ซึ่งจะเห็นว่าที่กล่าวมาข้างต้นคือบทบาทของ นักกายภาพบำบัดทางการกีฬา
แต่ในทีมหนึ่งๆ ต้องมีทั้งบุคคลาการที่เกี่ยวข้องทั้ง แพทย์ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่จะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป
มีขอบเขตงานกันคนละรูปแบบ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือทำงานเป็นทีม
นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ช่วยฝึก เสริมสร้างศักยภาพองค์รวมให้นักกีฬาให้มีขีดศักยภาพเป็นเลิศ
นักกายภาพบำบัด ช่วยฝึกฝน ฟื้นฟูอย่างจำเพาะเจาะจง และตรวจประเมิน รักษาด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด
แพทย์ ทำการตรวจและรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ อาทิ ผ่าตัด สั่งยา x-ray
แสดงความคิดเห็น
อยากเป็นนักกายาพบำบัดในสโมสรทีมฟุตบอล