นอกจาก คะ - ค่ะ - นะคะ - น่ะค่ะ แล้ว เห็นมาหลากที่ (ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงเว็บบอร์ดอย่างพันทิป และในโซเชียลมีเดีย) หลายกระทู้ที่มีปัญหาเขียนสะกดคำสับสน หยุดเสียทีได้ไหมคะกับคำผิดต่อไปนี้
1. ที่มี ร. กลับ ร.หาย/ที่ไม่มี ร. กลับเติม ร.มาให้ :: กะเพรา (ถูก)/กระเพรา (ผิด), กระเพาะ (ถูก)/กระเพราะ-กะเพราะ (ผิด), เกียรติ (ถูก)/เกียติร-เกียติ-เกีรยติ-เกรียติ (ผิด), กระบะ (ถูก)/กะบะ (ผิด), กะเทย (ถูก)/กระเทย (ผิด),
2. วางสระผิดที่ :: ศีรษะ (ถูก)/ศรีษะ (ผิด)
3. ใช้ตัวสะกดผิด :: โอกาส (ถูก)/โอกาศ-โอกาษ (ผิด), ฝรั่งเศส (ถูก)/ฝรั่งเศษ (ผิด), เบญจเพส (ถูก)/เบญจเพศ (ผิด), สุคติ (ถูก)/สุขคติ (ผิด), ขี้เกียจ (ถูก)/ ขี้เกลียด-ขี้เกียต-ขี้เกียด-ขี้เกลียต (ผิด), รังเกียจ (ถูก)/รังเกลียด-รังเกียต-รังเกียด-รังเกลียต (ผิด), น่าเกลียด (ถูก)/น่าเกียจ-น่าเกียติ-น่าเกลียต-หน้าเกลียด-หน้าเกียจ-หน้าเกลียต (ผิด), เกียรติยศ (ถูก)/เกลียดติยด-เกลียดติยศ-เกีรยติยศ-เกียติยศ-เกียจติยด (ผิด)
4. ใช้สระและเครื่องหมายทัณฑฆาตหรือการันต์ผิด :: ผูกพัน (ถูก)/ผูกพันธ์ (ผิด), สัมพันธ์ (ถูก)/สัมพันธุ์ (ผิด), ภาพยนตร์ (ถูก)/ภาพยนต์ (ผิด), รถยนต์ (ถูก)/รถยนตร์ (ผิด), อีเมล (ถูก)/อีเมล์ (ผิด), รถเมล์ (ถูก)/รถเมล-รถเมย์-รถเมศ์-รถเมษ์ (ผิด)
5. สับสนด้วยรูปพยัญชนะและสระที่เขียนคล้ายกัน ดังนี้
5.1 สับสนด้วยรูปพยัญชนะที่เขียนคล้ายกัน :: น่า - หน้า, ปอก - ปลอก, กลับ - กับ, ผัด - ผลัด, รำคาญ (ถูก)/ลำคาน (ผิด), ราดหน้า (ถูก)/ลาดหน้า (ผิด)
5.2 สับสนด้วยรูปสระที่เขียนคล้ายกัน แบ่งเป็น
5.2.1 สระเดี่ยว :: เบน - แบน, เบ่ง - แบ่ง, ใกล้ - ไกล
5.2.2 สระประสม :: เตะ - แตะ, เป๊ะ - แป๊ะ, เยอะ (เยอะแยะ) - เยาะ (เยาะเย้ย), เนอะ - เนาะ, เปรอะ (เปื้อนเปรอะ) - เปราะ (เปราะบาง),
6. ใช้ตัวควบกล้ำผิด :: เปรียบเปรย (ถูก)/เปลียบเปลย (ผิด), เปลี่ยนแปลง (ถูก)/เปรี่ยนแปรง (ผิด), ปลากราย (ถูก)/ปลากลาย (ผิด)
7. ผันวรรณยุกต์ไม่ถูกหลัก (ให้หาอ่านหัวข้อ "บัญญัติไตรยางศ์" หรือ อักษรสามหมู่ ประกอบด้วย) :: ตื๊อ - ตื้อ
8. ใช้คำผิดปริบททางภาษา :: กระบวนการ - ขบวนการ, กิริยา - กริยา
กระบวนการ ใช้กับขั้นตอนการทำงาน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น :: กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์, กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ขบวนการ ใช้กับกลุ่มคนที่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น :: ขบวนการสืบศิลป์, ขบวนการเฮฮาหน้าจอ
หมายเหตุ นิยามความหมายของเครื่องหมายและสัญลักษณ์ที่ใช้ในกระทู้นี้
:: ใช้แทนคำว่า ได้แก่, ยกตัวอย่าง
a (ถูก)/b (ผิด) หมายถึง คำ a ถูกต้องตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๖) และคำ b ผิดหรือไม่มีความหมาย
a (ถูก)/b-c-d-...-z (ผิด) หมายถึงคำ a ถูกต้องตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๖) และคำ b, c, d, ..., z ผิดหรือไม่มีความหมาย
c - d แทนรูปคำ 2 คำที่เขียนสับสนเนื่องจากความคล้ายกันของพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
c (cc) - d (dd) แทนรูปคำ 2 คำที่เขียนสับสนเนื่องจากความคล้ายกันของพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ พร้อมตัวอย่างเทียบ
มาร่วมด้วยช่วยกันใช้ภาษาให้ถูกต้องนะคะ เพื่อธำรง รักษา และสืบทอดภาษาไทยที่ดีจากรุ่นสู่รุ่นค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหาใช้ภาษาสับสนกันนะคะ
1. ที่มี ร. กลับ ร.หาย/ที่ไม่มี ร. กลับเติม ร.มาให้ :: กะเพรา (ถูก)/กระเพรา (ผิด), กระเพาะ (ถูก)/กระเพราะ-กะเพราะ (ผิด), เกียรติ (ถูก)/เกียติร-เกียติ-เกีรยติ-เกรียติ (ผิด), กระบะ (ถูก)/กะบะ (ผิด), กะเทย (ถูก)/กระเทย (ผิด),
2. วางสระผิดที่ :: ศีรษะ (ถูก)/ศรีษะ (ผิด)
3. ใช้ตัวสะกดผิด :: โอกาส (ถูก)/โอกาศ-โอกาษ (ผิด), ฝรั่งเศส (ถูก)/ฝรั่งเศษ (ผิด), เบญจเพส (ถูก)/เบญจเพศ (ผิด), สุคติ (ถูก)/สุขคติ (ผิด), ขี้เกียจ (ถูก)/ ขี้เกลียด-ขี้เกียต-ขี้เกียด-ขี้เกลียต (ผิด), รังเกียจ (ถูก)/รังเกลียด-รังเกียต-รังเกียด-รังเกลียต (ผิด), น่าเกลียด (ถูก)/น่าเกียจ-น่าเกียติ-น่าเกลียต-หน้าเกลียด-หน้าเกียจ-หน้าเกลียต (ผิด), เกียรติยศ (ถูก)/เกลียดติยด-เกลียดติยศ-เกีรยติยศ-เกียติยศ-เกียจติยด (ผิด)
4. ใช้สระและเครื่องหมายทัณฑฆาตหรือการันต์ผิด :: ผูกพัน (ถูก)/ผูกพันธ์ (ผิด), สัมพันธ์ (ถูก)/สัมพันธุ์ (ผิด), ภาพยนตร์ (ถูก)/ภาพยนต์ (ผิด), รถยนต์ (ถูก)/รถยนตร์ (ผิด), อีเมล (ถูก)/อีเมล์ (ผิด), รถเมล์ (ถูก)/รถเมล-รถเมย์-รถเมศ์-รถเมษ์ (ผิด)
5. สับสนด้วยรูปพยัญชนะและสระที่เขียนคล้ายกัน ดังนี้
5.1 สับสนด้วยรูปพยัญชนะที่เขียนคล้ายกัน :: น่า - หน้า, ปอก - ปลอก, กลับ - กับ, ผัด - ผลัด, รำคาญ (ถูก)/ลำคาน (ผิด), ราดหน้า (ถูก)/ลาดหน้า (ผิด)
5.2 สับสนด้วยรูปสระที่เขียนคล้ายกัน แบ่งเป็น
5.2.1 สระเดี่ยว :: เบน - แบน, เบ่ง - แบ่ง, ใกล้ - ไกล
5.2.2 สระประสม :: เตะ - แตะ, เป๊ะ - แป๊ะ, เยอะ (เยอะแยะ) - เยาะ (เยาะเย้ย), เนอะ - เนาะ, เปรอะ (เปื้อนเปรอะ) - เปราะ (เปราะบาง),
6. ใช้ตัวควบกล้ำผิด :: เปรียบเปรย (ถูก)/เปลียบเปลย (ผิด), เปลี่ยนแปลง (ถูก)/เปรี่ยนแปรง (ผิด), ปลากราย (ถูก)/ปลากลาย (ผิด)
7. ผันวรรณยุกต์ไม่ถูกหลัก (ให้หาอ่านหัวข้อ "บัญญัติไตรยางศ์" หรือ อักษรสามหมู่ ประกอบด้วย) :: ตื๊อ - ตื้อ
8. ใช้คำผิดปริบททางภาษา :: กระบวนการ - ขบวนการ, กิริยา - กริยา
กระบวนการ ใช้กับขั้นตอนการทำงาน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น :: กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์, กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ขบวนการ ใช้กับกลุ่มคนที่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น :: ขบวนการสืบศิลป์, ขบวนการเฮฮาหน้าจอ
หมายเหตุ นิยามความหมายของเครื่องหมายและสัญลักษณ์ที่ใช้ในกระทู้นี้
:: ใช้แทนคำว่า ได้แก่, ยกตัวอย่าง
a (ถูก)/b (ผิด) หมายถึง คำ a ถูกต้องตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๖) และคำ b ผิดหรือไม่มีความหมาย
a (ถูก)/b-c-d-...-z (ผิด) หมายถึงคำ a ถูกต้องตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๖) และคำ b, c, d, ..., z ผิดหรือไม่มีความหมาย
c - d แทนรูปคำ 2 คำที่เขียนสับสนเนื่องจากความคล้ายกันของพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
c (cc) - d (dd) แทนรูปคำ 2 คำที่เขียนสับสนเนื่องจากความคล้ายกันของพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ พร้อมตัวอย่างเทียบ
มาร่วมด้วยช่วยกันใช้ภาษาให้ถูกต้องนะคะ เพื่อธำรง รักษา และสืบทอดภาษาไทยที่ดีจากรุ่นสู่รุ่นค่ะ
ขอบคุณค่ะ