ผู้เชี่ยวชาญการเงิน ประกัน การออม ขอความรู้หน่อยครับ

ประกันเจ้านึงโทรมา มีข้อเสนอดังนี้
เก็บเงินเดือนละ 5000 กว่าบาทต่อเดือน หักผ่านบัตรเครดิต เจ้านึง
ครบหนึ่งปี ได้เงินคืน 10% ของเงินต้น ทุกปี
ปีแรกได้ราว 6000 บาท จากเงินต้น 60,000 บาท
ถ้ายังเก็บไปเรื่อยๆ เดือนละ 5000 แบบนี้
ปีที่สอง จะได้คืน  12,000 จากเงินต้น 120,000
ปีที่สาม ได้คืน 18,000 จากเงินต้น 180,000
ปีที่สี่ ได้คืน 24,000 จากเงินต้น 240,000
ไปจนครบ 7 ปี คือ ปีสุดท้ายได้เงินคืน 42,000 จากเงินต้น 420,000
รวมเงินที่ได้คืน 7 ปี เท่ากับ 168,000 บาท
หากทิ่งเงินต้นไว้กับบริษัทต่อ ปีที่ 8 -17 จะได้คืนอีกปีละ 15% คือปีละ 63,000  จนครบ ปีที่ 17 จึงจะได้เงินคืน 420,000
รวมที่จะได้จากปีที่ 8-17 นี่มันร่วม 630,000 เลยทีเดียว
แต่หากไม่ทิ้งไว้ ก็สามารถถอนออกมาได้เลย 420,000 บาทเช่นกัน

อ้อ เงินก้อนนี้ เป็นเงินประกันที่มีวงเงินอีก 200,000 บาทด้วยนะครับ หากเกิดอะไรขึ้นกับชีวิต

มันทะยิ้มๆ อยู่
มีอะไรน่าสงสัยมั้ยครับ
ตอนนี้ยังไม่ได้เอกสารมา เค้าบอกว่าถ้าได้เอกสารแล้ว ลองตรวจสอบดู
หากไม่พอใจ สามารถยกเลิกได้ทันที...

ขอความรู้ด้วยครับ
เรื่องแบบนี้ผมโง่จริงๆ
มันมีอะไรแบบนี้ด้วยเหรอ..
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
คำถามผมครับ
ปีแรกจ่าย 60 000 บาท ได้คือ 6 000 บาท  ปีถัดไปจ่ายอีก 60 000 ถามว่าเงินต้นปีถัดไปคือ 60 000+60 000 = 120 000 บาท หรือ 120 000 - 6000 = 114 000บาท   คือเอา 10% ที่จ่ายคืนไปหักต้นออกด้วย

เอาล่ะ สมมุติว่าที่คุณพูดมาถูกต้อง จะพบว่า
1. ทุนประกัน 200 000 บาท  หมายความว่าถ้าคุณตาย ได้เงินคืน 2 แสนบาท  คุณจ่ายปีที่ 6 รวม 360 000 ตายได้เงิน (ทุน+เงินคืนก่อนหน้า) 200 000+126 000 = 326 000 --> ขาดทุนครับ  แสดงว่าปีที่ 6-17 คุณห้ามตายครับ
2. ถ้าไม่ตายซะก่อน สิ้นปีที่ 17 ได้เงิน 798 000 จากเงินต้น 420 000  คิดเป็นผลตอบแทน 3.85% ต่อปี
3. ถ้าเอาออกมาก่อนในปีที่ 7 จะได้เงินคือ 588 000   คิดเป็นผลตอบแทน 2% ต่อปี

ถ้าจะลงทุนในประกันตัวนี้ ต้องแลกเอาระหว่างผลตอบแทน 3.85% ต่อปี แต่ห้ามตายหลังปีที่ 6 (ไม่งั้นขาดทุนป่นปี้) และเอาเงินมาใช้ไม่ได้อีก 17 ปี
ประกันทุกตัว บ.ประกันเค้าคิดมาเรียบร้อยแล้วครับว่าเค้าไม่ขาดทุน  เป็นผม เอาเงินไปซื้อกองทุนตราสารหนี้ดีกว่า  ผลตอบแทนใกล้กัน ขายคืนได้ตลอดเวลา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่