!!!สำคัญมาก อย่าดราม่านะครับ ... ตั้งคำถามนี้เพื่อหาทางออก ไม่ใช่เวทีให้แต่ละคนมาทะเลาะกันด้วยความเชื่อส่วนตัวครับ
** กระทู้นี้ มิได้มีเจตนาให้ร้ายหรือพาดพิงไปยังบุคคลใด เป็นแค่คำถามที่เกิดขึ้นในใจของผมเท่านั้นครับ
สวัสดีครับ,
วันนี้ผมมีคำถามเกี่ยวกับการบริหารเส้นทางการสัญจร (ไม่จำกัดว่าจะเป็นบนนถนน หรือ บนฟุตบาท) ว่า "ประเทศไทย ควรจะจัดสรรค์เส้นทางการสัญจรอย่างไร" เนื่องจากปัจจุบันเป็นมีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน และคนเดินเท้า ใช้เส้นทางสัญจรร่วมกันเป็นจำนวนมาก จนเกิดปัญหาบนท้องถนนขึ้น ทั้งนีปัญหาไม่ว่าจะเกิดจาก รถชนกันเอง เฉี่ยวชนกับมอเตอร์ไซค์ หรือว่าการเฉี่ยวชนกับคนและจักรยาน เป็นเหตุให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นในวงกว้าง ถึงการใช้เส้นทางสัญจรร่วมกัน โดยแต่ละฝ่ายก็ต่างปกติป้องตนเองและแนวคิดที่ตัวเองเชื่อ จนทำให้เกิดการปะทะคารมกันขึ้นโดยไม่มีความจำเป็น ไม่เพียงแต่จะไม่ช่วยเสนอแนวทางไปสู่วิธีการการปัญหาในระยะยาว แต่ยังเสียเวลาและทำให้เกิดความบาดหมางกันเสียเปล่าๆ จึงอยากจะให้ทุกท่านเสนอความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์และใช้เหตุผลครับ (เช่น ถ้าไม่เห็นด้วย โปรดให้เหตุผลและวิธีการแก้ปัญหาที่ท่านคิดว่าน่าจะดีกว่า อย่าเพียงแต่ไม่เห็นด้วยอย่างเดียว)
หากพิจารณาจากหลายๆประเทศที่มีการใช้เส้นทางจักรยาน มักจะมีการขีดเขียน ทาสี หรือทำเครื่องหมายให้ทราบว่า บริเวณนี้เป็นเส้นทางจักรยาน แต่คนในประเทศเหล่านั้น ก็อาจจะมีบ้างที่ปฏิบัติตามกฎและบ้างก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม แล้วประเทศเหล่านั้น แก้ปัญหานี้อย่างไร ประเทศไทยจะสามารถทำตามโมเดล(ขอใช้ทับศัพท์นะครับ นึกคำไทยไม่ออก) ของประเทศเหล่านั้นได้บ้างไหม ทั้งๆที่มีตัวอย่างให้เรียนรู้มากมาย
หากพิจารณาประเทศที่มีมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก อย่างเช่น เวียดนาม ประเทศเค้าประสบปัญหาอย่างไรบ้าง และทางประเทศเหล่านั้นแก้ปัญหาเรื่องจักรยานยนต์อย่างไร สามารถแก้ได้หรือไม่ ในส่วนนี้ผมไม่มีความรู้เลยครับ
*ถ้ามีประเทศไหนที่มีจักรยานยนต์เป็นจำนวนมากและสามารถจัดระเบียบได้หมด รบกวนบอกด้วยครับ ผมอยากจะลองศึกษาโมเดลของประเทศนั้น
หากพิจารณาประเทศที่มีรถยนต์เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น อเมริกา ประเทศเหล่านั้นเค้าจัดการปัญหาเรื่องรถยนต์อย่างไร ไม่ให้รถติดจนเกินไป เราจะสามารถนำแนวคิดการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น มาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้หรือไม่
สุดท้ายถ้าหากพิจารณาประเทศที่มีคนเดินเป็นจำนวนมาก เช่น ญี่ปุ่น ประเทศเหล่านั้นจัดระเบียบการใช้เส้นทางสัญจรได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับผู้ใช้เส้นทางสัญจรท่านอื่นๆ
อนึ่งในแต่ละประเทศไม่ได้มีแค่เพียงคนเดิน คนขับรถ คนขี่มอเตอร์ไซค์หรือคนขี่จักรยานเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ต้องพิจารณาหลายๆองค์ประกอบร่วมด้วย ขอให้แต่ละท่านช่วยนำเสนอแนวทางหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นด้วยครับ
เนื่องจากผมเป็นคนตั้งกระทู้ ก็จะขอเสนอแนวทางก่อน
ขอเริ่มจาก การบริหารจัดการพื้นที่บนทางเท้าครับ อันนี้ผมสงวนไว้สำหรับคนเดินครับ แต่เนื่องจากประเทศไทยมีการเปิดแผงลอยหรือหาบเร่ขายของเป็นจำนวนมาก ถ้าจะปล่อยให้มีการขายของเหล่านั้นต่อไปได้ (ผมไม่เห็นด้วย แต่ผมเพียงคนเดียวทำอะไรไม่ได้หรอกครับ) โดยทุกท่านต้องยอมชิดขอบทางด้านในเสมอหรือด้านนอกเสมอ เพื่อให้คนสามารถใช้ช่องทางที่เหลือสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก จะพอเป็นไปได้ไหมครับ
ต่อมาก็คือเรื่องจักรยานและมอเตอร์ไซค์ ผมเสนอให้สละช่องทางบนถนนมาเลยหนึ่งช่องทางในด้านซ้ายสุด ครึ่งช่องด้านซ้ายที่ติดฟุตบาท ใช้สำหรับเป็นเส้นทางจักรยานให้ได้สัญจรกันอย่างสะดวก โดยเส้นทางจักรยานนั้นจะสามารถปั่นสวนกันได้เลย ไม่จำเป็นต้องทำเหมือนอย่างรถยนต์ เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่คนใช้จักรยาน และอีกครึ่งช่องทางที่เหลือ ใช้สำหรับเป็นช่องทางสัญจรมอเตอร์ไซค์พอจะวิ่งได้ซัก 2-3 ช่องทางย่อยๆ ขึ้นกับขนาดของช่องทางหลัก
ส่วนสุดท้ายคือช่องทางสำหรับรถยนต์ จะใช้ช่องทางที่เหลือบนถนน ซึ่งน่าจะเหลือประมาณ 2-3 ช่องทาง ไม่ต่างจากมอเตอร์ไซด์และจักรยาน ทำให้ทุกๆท่านมีช่องทางการสัญจรเท่ากันหมดคือประมาณ 2-3 ช่องทางสัญจร ทีนี้แต่ละท่านจะต้องมาพิจารณากันเองแล้วว่าจะเดินทางอย่างไรเพื่อให้ทันเวลา
แต่ทว่าการทำแบบนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อประเทศไทย เนื่องจากตัวผมเองมีความเห็นว่า ไม่มีบทลงโทษสำหรับคนทำความผิดที่รุนแรงพอ ผมอยากจะเสนอให้ว่า ถ้าหากเกิดการชนขึ้น เช่น รถยนต์ไปล้ำเส้นรถจักรยานยนต์แล้วเกิดการชนขึ้นในเลนส์รถจักรยานยนต์ สำหรับกรณีเหล่านี้รถยนต์จะผิดเสมอ ในทางกลับกันถ้าหากรถจักรยานยนต์ เกิดการเฉี่ยวชนขึ้นในเลนส์ของรถยนต์ รถจักรยานยนต์ก็จะผิดเสมอเช่นเดียวกัน ซึ่งในที่นี้รวมไปถึงการเฉี่ยวชนกันระหว่างยานพาหนะทุกรูปแบบ ถ้าเฉี่ยวชนกันในเลนส์ของใคร คนนั้นจะเป็นฝ่ายถูกเสมอ
แต่การพิจารณาแค่นี้ยังไม่เพียงพอเพราะอาจจะมีการจอดรถในพื้นที่ห้ามจอดและทำให้ยานพาหนะรูปแบบต่างๆ ต้องออกจากช่องทางของตัวเองไปยังช่องทางสัญจรของยานพาหนะประเภทอื่น จึงอยากจะเสนอให้มีกรวยกั้น (ไม่ทราบว่าจะต้องเรียกอย่างไร ที่มันเป็นกรวยส้มๆ เอาไว้แบ่งช่องทางสัญจร) ระหว่างช่องทางการสัญจรของรถแต่ละชนิด เพื่อให้แน่ใจการการรุกล้ำเข้าไปยังช่องทางการสัญจรของยานพาหนะประเภทอื่นๆนั้น เป็นไปด้วยความจงใจและจะปฏิเสธว่าไม่เห็นกรวยเหล่านี้ไม่ได้
สำหรับการเสนอแนวทางในมุมมองของผมก็จบลงเพียงเท่านี้
ขอบคุณมากครับ
ปล.
ผมแท็กศาลาประชมคม เพราะเรื่องนี้เป็นปัญหาสังคมรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้ทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
ผมแท็กสวนลุมพินี เพราะว่าน่าจะมีคนชอบวิ่งรอบเมืองบ้าง อยากทราบว่าแต่ละท่านมีความเห็นอย่างไร
ผมแท็กศุภชลาศัยในหมวดกีฬา เพราะคาดว่าน่าจะมีคนขี่จักรยานเข้ามาพบเห็น
ผมแท็กรัชดา เพราะว่าในห้องนี้น่าจะมีคนขี่จักรยานยนต์และขับรถเข้ามาแสดงความคิดเห็นอยู่มาก
** ถ้าหากผู้ดูแลเห็นว่าผมแท็กผิดยังไง ก็รบกวนแก้ไขด้วยครับ อนึ่งที่ผมแท็กหลากหลายพอสมควรเพราะต้องการความคิดจากหลายมุมมอง ผมขอโทษที่ไม่สามารถแท็กห้องอื่นๆได้ เพราะเกรงว่าจะไม่ตรงจุดประสงค์ซักเท่าไหร่ แม้จะอยากได้ความคิดเห็นของท่านเช่นกันครับ
เราควรจะแก้ปัญหาเรื่องการขี่จักรยาน ขี่มอเตอร์ไซค์ ขับรถ ภายใต้มีพื้นที่ที่มีอยู่จำกัดอย่างไรดี
** กระทู้นี้ มิได้มีเจตนาให้ร้ายหรือพาดพิงไปยังบุคคลใด เป็นแค่คำถามที่เกิดขึ้นในใจของผมเท่านั้นครับ
สวัสดีครับ,
วันนี้ผมมีคำถามเกี่ยวกับการบริหารเส้นทางการสัญจร (ไม่จำกัดว่าจะเป็นบนนถนน หรือ บนฟุตบาท) ว่า "ประเทศไทย ควรจะจัดสรรค์เส้นทางการสัญจรอย่างไร" เนื่องจากปัจจุบันเป็นมีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน และคนเดินเท้า ใช้เส้นทางสัญจรร่วมกันเป็นจำนวนมาก จนเกิดปัญหาบนท้องถนนขึ้น ทั้งนีปัญหาไม่ว่าจะเกิดจาก รถชนกันเอง เฉี่ยวชนกับมอเตอร์ไซค์ หรือว่าการเฉี่ยวชนกับคนและจักรยาน เป็นเหตุให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นในวงกว้าง ถึงการใช้เส้นทางสัญจรร่วมกัน โดยแต่ละฝ่ายก็ต่างปกติป้องตนเองและแนวคิดที่ตัวเองเชื่อ จนทำให้เกิดการปะทะคารมกันขึ้นโดยไม่มีความจำเป็น ไม่เพียงแต่จะไม่ช่วยเสนอแนวทางไปสู่วิธีการการปัญหาในระยะยาว แต่ยังเสียเวลาและทำให้เกิดความบาดหมางกันเสียเปล่าๆ จึงอยากจะให้ทุกท่านเสนอความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์และใช้เหตุผลครับ (เช่น ถ้าไม่เห็นด้วย โปรดให้เหตุผลและวิธีการแก้ปัญหาที่ท่านคิดว่าน่าจะดีกว่า อย่าเพียงแต่ไม่เห็นด้วยอย่างเดียว)
หากพิจารณาจากหลายๆประเทศที่มีการใช้เส้นทางจักรยาน มักจะมีการขีดเขียน ทาสี หรือทำเครื่องหมายให้ทราบว่า บริเวณนี้เป็นเส้นทางจักรยาน แต่คนในประเทศเหล่านั้น ก็อาจจะมีบ้างที่ปฏิบัติตามกฎและบ้างก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม แล้วประเทศเหล่านั้น แก้ปัญหานี้อย่างไร ประเทศไทยจะสามารถทำตามโมเดล(ขอใช้ทับศัพท์นะครับ นึกคำไทยไม่ออก) ของประเทศเหล่านั้นได้บ้างไหม ทั้งๆที่มีตัวอย่างให้เรียนรู้มากมาย
หากพิจารณาประเทศที่มีมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก อย่างเช่น เวียดนาม ประเทศเค้าประสบปัญหาอย่างไรบ้าง และทางประเทศเหล่านั้นแก้ปัญหาเรื่องจักรยานยนต์อย่างไร สามารถแก้ได้หรือไม่ ในส่วนนี้ผมไม่มีความรู้เลยครับ
*ถ้ามีประเทศไหนที่มีจักรยานยนต์เป็นจำนวนมากและสามารถจัดระเบียบได้หมด รบกวนบอกด้วยครับ ผมอยากจะลองศึกษาโมเดลของประเทศนั้น
หากพิจารณาประเทศที่มีรถยนต์เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น อเมริกา ประเทศเหล่านั้นเค้าจัดการปัญหาเรื่องรถยนต์อย่างไร ไม่ให้รถติดจนเกินไป เราจะสามารถนำแนวคิดการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น มาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้หรือไม่
สุดท้ายถ้าหากพิจารณาประเทศที่มีคนเดินเป็นจำนวนมาก เช่น ญี่ปุ่น ประเทศเหล่านั้นจัดระเบียบการใช้เส้นทางสัญจรได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับผู้ใช้เส้นทางสัญจรท่านอื่นๆ
อนึ่งในแต่ละประเทศไม่ได้มีแค่เพียงคนเดิน คนขับรถ คนขี่มอเตอร์ไซค์หรือคนขี่จักรยานเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ต้องพิจารณาหลายๆองค์ประกอบร่วมด้วย ขอให้แต่ละท่านช่วยนำเสนอแนวทางหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นด้วยครับ
เนื่องจากผมเป็นคนตั้งกระทู้ ก็จะขอเสนอแนวทางก่อน
ขอเริ่มจาก การบริหารจัดการพื้นที่บนทางเท้าครับ อันนี้ผมสงวนไว้สำหรับคนเดินครับ แต่เนื่องจากประเทศไทยมีการเปิดแผงลอยหรือหาบเร่ขายของเป็นจำนวนมาก ถ้าจะปล่อยให้มีการขายของเหล่านั้นต่อไปได้ (ผมไม่เห็นด้วย แต่ผมเพียงคนเดียวทำอะไรไม่ได้หรอกครับ) โดยทุกท่านต้องยอมชิดขอบทางด้านในเสมอหรือด้านนอกเสมอ เพื่อให้คนสามารถใช้ช่องทางที่เหลือสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก จะพอเป็นไปได้ไหมครับ
ต่อมาก็คือเรื่องจักรยานและมอเตอร์ไซค์ ผมเสนอให้สละช่องทางบนถนนมาเลยหนึ่งช่องทางในด้านซ้ายสุด ครึ่งช่องด้านซ้ายที่ติดฟุตบาท ใช้สำหรับเป็นเส้นทางจักรยานให้ได้สัญจรกันอย่างสะดวก โดยเส้นทางจักรยานนั้นจะสามารถปั่นสวนกันได้เลย ไม่จำเป็นต้องทำเหมือนอย่างรถยนต์ เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่คนใช้จักรยาน และอีกครึ่งช่องทางที่เหลือ ใช้สำหรับเป็นช่องทางสัญจรมอเตอร์ไซค์พอจะวิ่งได้ซัก 2-3 ช่องทางย่อยๆ ขึ้นกับขนาดของช่องทางหลัก
ส่วนสุดท้ายคือช่องทางสำหรับรถยนต์ จะใช้ช่องทางที่เหลือบนถนน ซึ่งน่าจะเหลือประมาณ 2-3 ช่องทาง ไม่ต่างจากมอเตอร์ไซด์และจักรยาน ทำให้ทุกๆท่านมีช่องทางการสัญจรเท่ากันหมดคือประมาณ 2-3 ช่องทางสัญจร ทีนี้แต่ละท่านจะต้องมาพิจารณากันเองแล้วว่าจะเดินทางอย่างไรเพื่อให้ทันเวลา
แต่ทว่าการทำแบบนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อประเทศไทย เนื่องจากตัวผมเองมีความเห็นว่า ไม่มีบทลงโทษสำหรับคนทำความผิดที่รุนแรงพอ ผมอยากจะเสนอให้ว่า ถ้าหากเกิดการชนขึ้น เช่น รถยนต์ไปล้ำเส้นรถจักรยานยนต์แล้วเกิดการชนขึ้นในเลนส์รถจักรยานยนต์ สำหรับกรณีเหล่านี้รถยนต์จะผิดเสมอ ในทางกลับกันถ้าหากรถจักรยานยนต์ เกิดการเฉี่ยวชนขึ้นในเลนส์ของรถยนต์ รถจักรยานยนต์ก็จะผิดเสมอเช่นเดียวกัน ซึ่งในที่นี้รวมไปถึงการเฉี่ยวชนกันระหว่างยานพาหนะทุกรูปแบบ ถ้าเฉี่ยวชนกันในเลนส์ของใคร คนนั้นจะเป็นฝ่ายถูกเสมอ
แต่การพิจารณาแค่นี้ยังไม่เพียงพอเพราะอาจจะมีการจอดรถในพื้นที่ห้ามจอดและทำให้ยานพาหนะรูปแบบต่างๆ ต้องออกจากช่องทางของตัวเองไปยังช่องทางสัญจรของยานพาหนะประเภทอื่น จึงอยากจะเสนอให้มีกรวยกั้น (ไม่ทราบว่าจะต้องเรียกอย่างไร ที่มันเป็นกรวยส้มๆ เอาไว้แบ่งช่องทางสัญจร) ระหว่างช่องทางการสัญจรของรถแต่ละชนิด เพื่อให้แน่ใจการการรุกล้ำเข้าไปยังช่องทางการสัญจรของยานพาหนะประเภทอื่นๆนั้น เป็นไปด้วยความจงใจและจะปฏิเสธว่าไม่เห็นกรวยเหล่านี้ไม่ได้
สำหรับการเสนอแนวทางในมุมมองของผมก็จบลงเพียงเท่านี้
ขอบคุณมากครับ
ปล.
ผมแท็กศาลาประชมคม เพราะเรื่องนี้เป็นปัญหาสังคมรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้ทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
ผมแท็กสวนลุมพินี เพราะว่าน่าจะมีคนชอบวิ่งรอบเมืองบ้าง อยากทราบว่าแต่ละท่านมีความเห็นอย่างไร
ผมแท็กศุภชลาศัยในหมวดกีฬา เพราะคาดว่าน่าจะมีคนขี่จักรยานเข้ามาพบเห็น
ผมแท็กรัชดา เพราะว่าในห้องนี้น่าจะมีคนขี่จักรยานยนต์และขับรถเข้ามาแสดงความคิดเห็นอยู่มาก
** ถ้าหากผู้ดูแลเห็นว่าผมแท็กผิดยังไง ก็รบกวนแก้ไขด้วยครับ อนึ่งที่ผมแท็กหลากหลายพอสมควรเพราะต้องการความคิดจากหลายมุมมอง ผมขอโทษที่ไม่สามารถแท็กห้องอื่นๆได้ เพราะเกรงว่าจะไม่ตรงจุดประสงค์ซักเท่าไหร่ แม้จะอยากได้ความคิดเห็นของท่านเช่นกันครับ