Avengers: Age of Ultron (Joss Whedon, 2015)
ฉันดูแล้ว แล้วเธอดูแล้วหรือยัง
ฉัน 'ดู' ก่อนที่ฉันจะได้ 'ดู' จริงๆ ซะอีก
1. เป็นหนังที่ต้องพยายามดูหนักมาก อาจเข้าขั้นหนังดูยากสำหรับเราที่สุดในปีนี้ไปเลย เพราะทุกครั้งเวลาดูหนัง หนังทุกเรื่องจะมีบางอย่างที่ตรึงเรา กระทบเรา หรือมีประเด็นที่ดึงพอให้เราอยากรู้ไปจนถึงตอนจบ แต่ไม่ใช่สำหรับเรื่องนี้ เรื่องนี้ทำให้การดูของเราเหมือนไม่ได้ดู มันมีภาพให้ดู แต่เราไม่สามารถจับอะไรได้เลย เราต้องพยายามดูอย่างหนักมาก ว่าเราจะดูอะไรในหนังเรื่องนี้ เพราะสิ่งที่ตัวหนังเองทำให้เราดู มันก็เป็นเพียงการดูที่เราเคยดูมาแล้ว เป็นหนังที่ไม่ต้องดูก็ดูไปแล้ว ดูไปแล้วจากภาค 1 ดูไปแล้วจากขนบหนังมาร์เวล ดูไปแล้วจากวัฒนธรรมป็อบอเมริกาที่เป็นพ่อเรา พอดูจบแล้วเราเลยว่างเปล่า เราต้องพยายามอย่างหนักที่จะคิดว่าหนังที่ทำออกมาให้คนที่ดูโดยไม่จำเป็นต้องดูก็สามารถดูรู้เรื่องได้ความสนุกมันอยู่ตรงไหน ซึ่งเอาเข้าจริงหนังเรื่องนี้จึงกลับหัวกลับหางการดูของเรา ไม่ใช่การดูแบบปกติ เป็นการดูที่เราได้ดูสิ่งที่เราดูไปแล้ว จะนับได้มั้ยว่านี่เป็นการดู เป็นการเข้าใจ หรือเราควรต้องปล่อยไปแล้วบอกว่า นี่เป็นหนังที่ดูโดยที่เหมือนไม่จำเป็นต้องดูเลย เพราะเราดูไปแล้วตั้งแต่ก่อนหนังออกฉาย ดูไปแล้วตั้งแต่หนังยังไม่ทันเข้าโรง นี่จึงเป็นหนังที่ทุกคนดูแล้วโดยไม่จำเป็นต้องดู แต่เมื่อเราเสียเงินเข้าไปดูในโรงแล้ว เราจึงจำเป็นต้องดู เป็นภาระหน้าที่ของเราที่เราจะปล่อยให้หนังผ่านไปเฉยๆไม่ได้ แม้สิ่งที่ดูมันจะเหมือนสิ่งที่ไม่ต้องดูเลยก็ตาม
2. หนังสร้างตัวร้าย "อัลตรอน" ขึ้นมาจาก จิตสำนึกของ "สตาร์ค" ซึ่งจิตสำนึกของสตาร์ค(มนุษย์)นี้กลายเป็นปัญญาประดิษฐ์ที่ต้องการเอาชนะเจ้าของจิตสำนึกเอง ซึ่งว่าไปแล้วมันเป็นประเด็นที่ล้ำแล้วเหมาะให้ใคร่ครวญการดูมากๆ แต่ดูสิ่งที่หนังทำสิ มันคือ ทำให้ตัวร้ายดูตลกมากกว่าน่ากลัว ทำให้ปัญญาประดิษฐ์ ดูเป็นปมด้วยทฤษฎีจิตวิเคราะห์ที่ใช้หลักการว่า อัลตรอน เป็นลูกที่ต้องการเอาชนะพ่อ แล้วปลดปล่อยความเป็นปราถนาของตัวเองให้เป็นอิสระ อัลตรอนถูกทำให้เป็นเพียงเด็กน้อยอมมือที่มีปมในใจ ไม่ใช่เป็นปัญญาประดิษฐ์ในความหมายที่มันมาก่อนยุคสมัยหรือโลกอนาคตอย่างที่มันเป็นจริงๆ หรือในขณะที่ในเรื่องมันมีการใช้เทคโนโลยีในแบบล้ำสมัยที่ต้องใช้เงินทุนมหาศาลมันเป็นเพียงการกลบความคิดที่มันยังไปไม่ได้ไกลอะไรเลย แม้กระทั่งปัญญาประดิษฐ์ก็ถูกทำให้เป็นเพียงลูกในครรภ์ของมนุษย์เท่านั้น
3. เราสนใจฉากที่ฮัลค์ถล่มเมืองมาก ที่ไอออนแมนพยายามจะมาห้ามทัพ ซึ่งการอาละวาดของฮัลค์นอกจากความพินาศของเมืองที่เราดูแล้ว เราจะดูว่า ประชาชนที่อยู่ในเมืองจะ
วายวอดขนาดไหน ซึ่งมันก็วายวอดสุดๆ เหมือนกัน แต่มันมีที่เราสนใจคือช่วงท้ายของซีนนี้ที่ฮัลค์พังตึก และตึกถล่ม ทำให้เราคิดถึงเหตุการณ์ 9/11 ขึ้นมา และยิ่งทำให้คิดเมื่อหนังพยายามใช้ชอตหน้าประชาชนวิ่งหนีกันจ้าละหวั่นด้วยฟุตเทจบางชอตมันเป็นอากัปกริยาที่เหมือนกับฟุตเทจของประชาชนที่หนีตายของตึกถล่มจริง ทำให้มองว่า ถ้าในความเป็นจริงโลกมีก่อการร้ายจริง ในภาพยนตร์สิ่งที่เป็นภาพแทนของสิ่งเหล่านั้นที่มาทำลายเมืองก็คือซุปเปอร์ฮีโร่ในหนังเรื่องนี้นั้นเอง หรือบางที Avengers ก็เป็นผู้ก่อการร้ายโดยที่พวกมันไม่รู้ตัว ยิ่งการที่หนังพวกถึงเหรียญคนละด้านของสิ่งเดียวกัน หมายถึงว่า หนังก็เน้นย้ำว่า สันติภาพ ก็อาจถูกตีความว่าคือการล้างเผ่าพันธุ์แบบที่อัลตรอนทำ ซึ่งมันสอดคล้องพอดีเป๊ะกับด้านตรงข้ามของ ซุปเปอร์ฮีโร่ ที่ไม่ใช่เพียงปกป้องโลกเท่านั้น แต่ในอีกด้านการปกป้องโลกของพวกมัน ก็คือการทำลายหรือเป็นก่อการร้ายโลกแบบที่พวกเขาคาดไม่ถึงเหมือนกัน
4. ช่วงท้ายมีเรื่องให้น่าสนใจเหมือนกัน ที่หนังพยายามจะวาทกรรมเรื่อง "จะให้คนในเมืองกลุ่มหนึ่งตาย และช่วยให้มนุยชาติรอด" ซึ่งมันเป็นคำพูดคล้ายกันคุ้นๆว่าถูกรยกมาใช้จากเหตุการณ์อเมริกาบอมบ์ฮิโรชิม่า เพื่อให้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 คำพูดนี้ถ้าจำไม่ผิดกัปตันอเมริกาพูด ซึ่งก็พอดีกลับว่าเขาเป็นคนจากยุคสงครามโลกพอดี จึงทำให้เขาคิดถึงคนหมู่มากและยอมจะที่จะฆ่าคนในเมืองส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่สุดท้ายภาพยนตร์ก็ทำให้เห็นว่ากลุ่ม Avengers ก็ต้องการทั้งช่วยเหลือคนส่วนหนึ่ง และปกป้องโลกไปพร้อมกัน ซึ่งทำให้เห็นว่าภาพยนตร์แนวปกป้องโลกก็สามารถเป็นคลี่คลายความผิดในอดีตของตัวเองได้เหมือนกัน หรือภาพยนตร์ก็ถูกกระทำเหมือนสารสื่ออุดมการณ์ทางรัฐชาติของอเมริกันตลอดมา
5. จริงๆหนังเน้นที่ความเท่ของการรวมตัวกันของคนเก่งมากกว่าที่จะเน้นตัวร้ายและภารกิจเท่าไหร่ ตัวร้ายมันดูไม่มีพิษสงเท่าที่ควรและยิ่งทำให้เห็นว่าเป็นปมพ่อ-ลูกแล้วเลยยิ่งดูอ่อนด้อยลงไปมาก แล้วหนังก็พยายามทำให้การต่อสู้ร่วมกันเป็นความเท่ประหนึ่งการคืนความสุขให้ประชาชน เราจะเห็นภาพสโลสวยๆของการต่อสู้โดยเฉพาะช่วงท้ายประหนึ่งว่านี่คือภารกิจในการปกป้องโลกครั้งยิ่งใหญ่ เป้าหมายของหนังที่ให้เห็นการรวมตัวกันเพื่อปรนเปรอแก่คนที่คลั่งไคล้หนังซุปเปอร์ฮีโร่ของมาร์เวลซะมากกว่า ยิ่งภาคนี้ก็พยายามสร้างปมให้กับตัวละครว่าระหว่างเรื่องส่วนตัวกับเรื่องของการเป็นฮีโร่จะรักษาความสมดุลยังไงหรือเพิ่มความเป็นมนุษย์ให้กับพวกเขามากยิ่งขึ้น
หรือบางทีคนที่ดูหนังซุปเปอร์ฮีโร่ก็ไม่ได้ต้องการอะไร นอกจากเห็นซุปเปอร์ฮีโร่ หรือการดูหนังมาร์เวล ก็เป็นเทรนด์ป๊อบแบบหนึ่งที่ถ้าได้ติดแฮชแท็กมันก็เท่ดีอยู่เหมือนกัน สุดท้ายการดู Avengers: Age of Ultron ก็เหมือนการได้ดูวัฒนธรรมประชานิยมรอบด้านของมันที่มีคุณค่ามากกว่าการได้ดูตัวหนังมากกว่าเสียอีก
วิจารณ์ภาพยนตร์ Avengers: Age of Ultron - ฉันดูแล้ว แล้วเธอดูแล้วหรือยัง
ฉัน 'ดู' ก่อนที่ฉันจะได้ 'ดู' จริงๆ ซะอีก
1. เป็นหนังที่ต้องพยายามดูหนักมาก อาจเข้าขั้นหนังดูยากสำหรับเราที่สุดในปีนี้ไปเลย เพราะทุกครั้งเวลาดูหนัง หนังทุกเรื่องจะมีบางอย่างที่ตรึงเรา กระทบเรา หรือมีประเด็นที่ดึงพอให้เราอยากรู้ไปจนถึงตอนจบ แต่ไม่ใช่สำหรับเรื่องนี้ เรื่องนี้ทำให้การดูของเราเหมือนไม่ได้ดู มันมีภาพให้ดู แต่เราไม่สามารถจับอะไรได้เลย เราต้องพยายามดูอย่างหนักมาก ว่าเราจะดูอะไรในหนังเรื่องนี้ เพราะสิ่งที่ตัวหนังเองทำให้เราดู มันก็เป็นเพียงการดูที่เราเคยดูมาแล้ว เป็นหนังที่ไม่ต้องดูก็ดูไปแล้ว ดูไปแล้วจากภาค 1 ดูไปแล้วจากขนบหนังมาร์เวล ดูไปแล้วจากวัฒนธรรมป็อบอเมริกาที่เป็นพ่อเรา พอดูจบแล้วเราเลยว่างเปล่า เราต้องพยายามอย่างหนักที่จะคิดว่าหนังที่ทำออกมาให้คนที่ดูโดยไม่จำเป็นต้องดูก็สามารถดูรู้เรื่องได้ความสนุกมันอยู่ตรงไหน ซึ่งเอาเข้าจริงหนังเรื่องนี้จึงกลับหัวกลับหางการดูของเรา ไม่ใช่การดูแบบปกติ เป็นการดูที่เราได้ดูสิ่งที่เราดูไปแล้ว จะนับได้มั้ยว่านี่เป็นการดู เป็นการเข้าใจ หรือเราควรต้องปล่อยไปแล้วบอกว่า นี่เป็นหนังที่ดูโดยที่เหมือนไม่จำเป็นต้องดูเลย เพราะเราดูไปแล้วตั้งแต่ก่อนหนังออกฉาย ดูไปแล้วตั้งแต่หนังยังไม่ทันเข้าโรง นี่จึงเป็นหนังที่ทุกคนดูแล้วโดยไม่จำเป็นต้องดู แต่เมื่อเราเสียเงินเข้าไปดูในโรงแล้ว เราจึงจำเป็นต้องดู เป็นภาระหน้าที่ของเราที่เราจะปล่อยให้หนังผ่านไปเฉยๆไม่ได้ แม้สิ่งที่ดูมันจะเหมือนสิ่งที่ไม่ต้องดูเลยก็ตาม
2. หนังสร้างตัวร้าย "อัลตรอน" ขึ้นมาจาก จิตสำนึกของ "สตาร์ค" ซึ่งจิตสำนึกของสตาร์ค(มนุษย์)นี้กลายเป็นปัญญาประดิษฐ์ที่ต้องการเอาชนะเจ้าของจิตสำนึกเอง ซึ่งว่าไปแล้วมันเป็นประเด็นที่ล้ำแล้วเหมาะให้ใคร่ครวญการดูมากๆ แต่ดูสิ่งที่หนังทำสิ มันคือ ทำให้ตัวร้ายดูตลกมากกว่าน่ากลัว ทำให้ปัญญาประดิษฐ์ ดูเป็นปมด้วยทฤษฎีจิตวิเคราะห์ที่ใช้หลักการว่า อัลตรอน เป็นลูกที่ต้องการเอาชนะพ่อ แล้วปลดปล่อยความเป็นปราถนาของตัวเองให้เป็นอิสระ อัลตรอนถูกทำให้เป็นเพียงเด็กน้อยอมมือที่มีปมในใจ ไม่ใช่เป็นปัญญาประดิษฐ์ในความหมายที่มันมาก่อนยุคสมัยหรือโลกอนาคตอย่างที่มันเป็นจริงๆ หรือในขณะที่ในเรื่องมันมีการใช้เทคโนโลยีในแบบล้ำสมัยที่ต้องใช้เงินทุนมหาศาลมันเป็นเพียงการกลบความคิดที่มันยังไปไม่ได้ไกลอะไรเลย แม้กระทั่งปัญญาประดิษฐ์ก็ถูกทำให้เป็นเพียงลูกในครรภ์ของมนุษย์เท่านั้น
3. เราสนใจฉากที่ฮัลค์ถล่มเมืองมาก ที่ไอออนแมนพยายามจะมาห้ามทัพ ซึ่งการอาละวาดของฮัลค์นอกจากความพินาศของเมืองที่เราดูแล้ว เราจะดูว่า ประชาชนที่อยู่ในเมืองจะวายวอดขนาดไหน ซึ่งมันก็วายวอดสุดๆ เหมือนกัน แต่มันมีที่เราสนใจคือช่วงท้ายของซีนนี้ที่ฮัลค์พังตึก และตึกถล่ม ทำให้เราคิดถึงเหตุการณ์ 9/11 ขึ้นมา และยิ่งทำให้คิดเมื่อหนังพยายามใช้ชอตหน้าประชาชนวิ่งหนีกันจ้าละหวั่นด้วยฟุตเทจบางชอตมันเป็นอากัปกริยาที่เหมือนกับฟุตเทจของประชาชนที่หนีตายของตึกถล่มจริง ทำให้มองว่า ถ้าในความเป็นจริงโลกมีก่อการร้ายจริง ในภาพยนตร์สิ่งที่เป็นภาพแทนของสิ่งเหล่านั้นที่มาทำลายเมืองก็คือซุปเปอร์ฮีโร่ในหนังเรื่องนี้นั้นเอง หรือบางที Avengers ก็เป็นผู้ก่อการร้ายโดยที่พวกมันไม่รู้ตัว ยิ่งการที่หนังพวกถึงเหรียญคนละด้านของสิ่งเดียวกัน หมายถึงว่า หนังก็เน้นย้ำว่า สันติภาพ ก็อาจถูกตีความว่าคือการล้างเผ่าพันธุ์แบบที่อัลตรอนทำ ซึ่งมันสอดคล้องพอดีเป๊ะกับด้านตรงข้ามของ ซุปเปอร์ฮีโร่ ที่ไม่ใช่เพียงปกป้องโลกเท่านั้น แต่ในอีกด้านการปกป้องโลกของพวกมัน ก็คือการทำลายหรือเป็นก่อการร้ายโลกแบบที่พวกเขาคาดไม่ถึงเหมือนกัน
4. ช่วงท้ายมีเรื่องให้น่าสนใจเหมือนกัน ที่หนังพยายามจะวาทกรรมเรื่อง "จะให้คนในเมืองกลุ่มหนึ่งตาย และช่วยให้มนุยชาติรอด" ซึ่งมันเป็นคำพูดคล้ายกันคุ้นๆว่าถูกรยกมาใช้จากเหตุการณ์อเมริกาบอมบ์ฮิโรชิม่า เพื่อให้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 คำพูดนี้ถ้าจำไม่ผิดกัปตันอเมริกาพูด ซึ่งก็พอดีกลับว่าเขาเป็นคนจากยุคสงครามโลกพอดี จึงทำให้เขาคิดถึงคนหมู่มากและยอมจะที่จะฆ่าคนในเมืองส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่สุดท้ายภาพยนตร์ก็ทำให้เห็นว่ากลุ่ม Avengers ก็ต้องการทั้งช่วยเหลือคนส่วนหนึ่ง และปกป้องโลกไปพร้อมกัน ซึ่งทำให้เห็นว่าภาพยนตร์แนวปกป้องโลกก็สามารถเป็นคลี่คลายความผิดในอดีตของตัวเองได้เหมือนกัน หรือภาพยนตร์ก็ถูกกระทำเหมือนสารสื่ออุดมการณ์ทางรัฐชาติของอเมริกันตลอดมา
5. จริงๆหนังเน้นที่ความเท่ของการรวมตัวกันของคนเก่งมากกว่าที่จะเน้นตัวร้ายและภารกิจเท่าไหร่ ตัวร้ายมันดูไม่มีพิษสงเท่าที่ควรและยิ่งทำให้เห็นว่าเป็นปมพ่อ-ลูกแล้วเลยยิ่งดูอ่อนด้อยลงไปมาก แล้วหนังก็พยายามทำให้การต่อสู้ร่วมกันเป็นความเท่ประหนึ่งการคืนความสุขให้ประชาชน เราจะเห็นภาพสโลสวยๆของการต่อสู้โดยเฉพาะช่วงท้ายประหนึ่งว่านี่คือภารกิจในการปกป้องโลกครั้งยิ่งใหญ่ เป้าหมายของหนังที่ให้เห็นการรวมตัวกันเพื่อปรนเปรอแก่คนที่คลั่งไคล้หนังซุปเปอร์ฮีโร่ของมาร์เวลซะมากกว่า ยิ่งภาคนี้ก็พยายามสร้างปมให้กับตัวละครว่าระหว่างเรื่องส่วนตัวกับเรื่องของการเป็นฮีโร่จะรักษาความสมดุลยังไงหรือเพิ่มความเป็นมนุษย์ให้กับพวกเขามากยิ่งขึ้น
หรือบางทีคนที่ดูหนังซุปเปอร์ฮีโร่ก็ไม่ได้ต้องการอะไร นอกจากเห็นซุปเปอร์ฮีโร่ หรือการดูหนังมาร์เวล ก็เป็นเทรนด์ป๊อบแบบหนึ่งที่ถ้าได้ติดแฮชแท็กมันก็เท่ดีอยู่เหมือนกัน สุดท้ายการดู Avengers: Age of Ultron ก็เหมือนการได้ดูวัฒนธรรมประชานิยมรอบด้านของมันที่มีคุณค่ามากกว่าการได้ดูตัวหนังมากกว่าเสียอีก
หรือบล็อก A-Bellamy.com
ขอบคุณครับ