* Update 10 พค. 58*
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ บ.ตัวแทน แจ้งข่าวผมมาครับ
- โรงงานจะส่ง Hanger (ดรอปเอ้า) ที่แก้ไขใหม่ มาให้เปลี่ยน เร็วๆนี้แน่นอนครับ
- โรงงานเปิดไลน์ผลิต ไซส์ 54 , 56 เพิ่มแล้วครับ
- ไซส์ 44 ไม่มีผลิตแน่นอนครับ
ผมจะแยกเป็นตอนๆไว้นะครับ จะมาอัพเดทเรื่อยๆ
-ตอนที่ 1 แกะกล่อง
-ตอนที่ 2 อะไหล่
-ตอนที่ 3 น้ำหนัก
-ตอนที่ 4 อัพเกรด
-ตอนที่ 5 การขับขี่ ฟิลลิ่ง
-ตอนที่ 6 ปัญหา
-ตอนที่ 7 ข้อดี-ข้อเสีย
-สรุป
==========
ตอนที่ 1 แกะกล่อง
==========
JAVA FEROCE เป็นเสือหมอบ เฟรมคาบอน แบบรถสำเร็จ (complete bike)
เป็นแบรนของจีน ที่ระบุว่าออกแบบโดย italy อันนี้ก็ว่ากันไป ผมก็ไม่ทราบได้
FEROCE เป็นรถทรงออกไปทางแนวหมอบ AeroRoad
คือ ท่อจะบางๆ ไม่กลม เค้าว่าตัดลมได้ดี
ตะเกียบก็จะแบนๆบางๆ โดยปกติรถกลุ่มนี้จะหนัก แต่ตัวนี้กลับทำมา นน.เบา แบบหมอบสายไต่เขา ก็แปลกๆดี
FEROCE มีข่าวและรูปใน social มาระยะนึงแล้ว แต่ก็ไม่คิดว่าจะมาเร็ว
กำหนดเปิดตัวที่งาน BangkokBike ซึ่งถือได้ว่าเปิดตัวดังใช้ได้ทีเดียว ข่าวว่ายอดขายถล่มทลายกันไป
ก็คงไม่แปลกเพราะราคาที่ตั้งไว้ไม่สูงนัก...จริงๆเรียกว่าราคาถูกเลยก็ว่าได้ ถ้าเทียบกับอะไหล่ที่ให้มา
( ราคาตั้งผมไม่ทราบ แต่ราคาขายจริงๆที่ซื้อคือ 36,900 )
ด้วยน้ำหนักตัวที่ผู้ผลิตเคลมไว้ 7.5 กิโล ข้อมูลจากทางเวบ JAVA ถือว่าเบามากในกลุ่มนักปั่นสายหมอบ
แต่ส่วนตัว ผมลองชั่งด้วยตาชั่งที่บ้านได้ 7.7 กิโล (รถผมขนาด 52 ใหญ่สุดที่ผลิต)
ก็ยังถือได้ว่าเบามาก เดี๋ยวลองมาดูกันว่าทำไมมันเบานัก
ก่อนวันเปิดตัวที่งาน BangkokBike 3 วัน ผมสั่งจองทางร้านๆนึงใน กทม.ไว้
ผมน่าจะรับรถคันแรกเลยก็ว่าได้ เพราะตามข่าวตลอด ตั้งแต่ขนออกจากท่าเรือได้
ก็เห็นว่าร้านต้องขนของไปลงเตรียมงาน Bike...ที่เมืองทองก่อนอีก
ผมก็คุยจนพี่เจ้าของร้านเอามาให้ผมคันนึงก่อน เพราะผมไม่ว่างไปงานวันแรก
ผมก็วิ่งไปรับของมาคืนก่อนงานเปิดตัววันนึง เพราะคาดว่าถ้าไปหน้างาน ไม่เหลือแน่
(แล้วก็เป็นตามคาด 80คัน วันเดียวเกลี้ยง)
รับรถมา แกะกล่องกันเลย ประกอปเอง รถมาในสภาพประกอบง่ายๆ
ผมเลือกสีแดงดำ 52 มา (ปกติมี 3 สี แดงดำ เหลืองดำ เงิน ,มีทั้งหมด 4 size คือ 44 47 50 52)
วัดท่อนอนได้ประมาณ 540-545mm. (หลักอานกว้าง เลยวัดเอากลางๆประมาณเอา) ,ท่อตั้งวัดได้ 520mm.
แค่ใส่ล้อ แฮนด์ หลักอาน เบาะ แล้วก็ตั้งสายเกียร์ สายเบรค แค่นั้น
* แต่ถ้าใครไม่เคยประกอปมาก่อน ไม่แนะนำนะครับ เพราะต้องมีคีมตัดสายเบรค
แล้วต้องจูนเป็นอยู่บ้าง *
ประกอบเสร็จ ก็มาตรวจดูงานสีต่างๆ ถือว่าเก็บงานสีได้ดีครับ ผมยังไม่เห็นตำหนิใดๆ
งานสีเป็นแบบสีด้าน สวยแต่เปื้อนง่ายไปนิด ต้องระวังและดูแลรักษามากหน่อย
การตั้งเกียร์ โรงงานจูนมาพอใช้ได้ครับ ต้องมาตั้งเพิ่มนิดหน่อย
อุปกรณ์ในกล่องที่แยกให้มามีดังนี้ครับ (จากโรงงาน)
1. เบาะ fizik airone cx รางดำ
2. ชุดหลักอานคาบอน
3. แกนปลดล้อหน้า
4. บันได แบริ่งแกนไทเทเนียม เบาๆ 120g.
5. ทับทิมสะท้อนแสง
6. อะไหล่ตัวปิดร้อยสายเกียร์แบบร้อยทั้งปลอกสาย
7. คู่มือ
8. ใบ code เล็กๆอะไรสักอย่าง 2 ใบ
9. อลูปิดปลายสายเบรคสีแดง
==========
ตอนที่ 2 อะไหล่
==========
อะไหล่คันนี้จะมีทั้งที่เป็น คาบอน และ อลูมิเนียม
1. หลักอานคาบอน ทรงหยดน้ำ สไตล์รถแอโร่ สวยงามมาก พร้อมยางปิดกันน้ำ
แต่ถ้าเสียล่ะก็...หาเปลี่ยนยากแน่นอน มันไม่เหมือนชาวบ้านเขา
2. เบาะ เป็น fizik airone CX รางแมงกานีส หนักราว 250g.
3. แฮนด์และสเต็มเป็นอลูมิเนียม ยี่ห้อ Deca
- สเต็มให้ยาว 90mm (ประหลาดแท้ รถไซส์ 52 ดันให้สั้นๆมา)
- แฮนด์ ทรงสวยครับ ไม่ใช่หักลงแบบทรงหมอบเก่าๆ แต่ระยะ reach สั้นๆ เลยดูแปลกๆ
ถามได้ความว่า Deca ก็คือแบรนของ Java นั่นแหละ
แยกแบรนออกมา (เหมือน Trek ที่มี Bontrager หรือ Bianchi ที่มี RepartoCourse )
*สเต็มในภาพผมเปลี่ยนออกไปนะครับ เพราะขนาดไม่ได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ร้านตัวแทน JAVA แจ้งมาหลังไมค์ว่า stem ตัวนี้ให้ UNO ผลิต oem ให้ครับ
4. ชุดขับ SRAM APEX 10sp เกือบเต็มกรุ๊ป (ยกเว้นแค่โซ่ น่าจะเป็น kmc)
- เฟือง 11-28
- จานหน้า Standard 53-39 ขาจาน 170mm
- กะโหลกแกน GXP (เฟรมเป็น Pressfit 86)
5. ล้อ Freedom Racing Elite โม่ DECA
ก็คงเป็นล้อของ Java เองเช่นเคย
โม่ใส่เฟือง 11sp ได้
ซี่ล้อเป็นแบบกลม ไม่แปลกหรือพิเศษอะไร
เสียงโม่ ตอนฟรีขาดังมากถึงมากที่สุด เสียงออกโทนแหลมๆ
เรียกว่าตามดูดใคร อย่าได้ฟรีขาเชียว ไม่งั้นมีเรื่อง เพราะมันน่ามคาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ร้านตัวแทน JAVA แจ้งมาหลังไมค์ว่า ล้อนี้ให้ WTB ผลิต oem ให้ครับ
6. ยาง Maxxis รุ่น Sierra 700x23c
เป็นยางขอบลวด หนัก เนื้อยาง จับแล้วเหนียวๆหนืดๆ
==========
-ตอนที่ 3 น้ำหนัก
==========
น้ำหนัก ผมได้ระเบิดอะไหล่ออกมาชั่งเป็นชิ้นๆนะครับ
มาดูกันครับ ทำไมรวมๆรถมันถึงเบานัก....
1. สเต็ม Deca ยาว 90mm วัสดุอลูมิเนียม
ปกติยี่ห้ออื่นๆติดรถทั่วไปจะหนัก 120-140 กรัม
แต่สต็มตัวนี้หนักแค่ 85 กรัม !!! (ถ้ารวมน๊อตก็ยังแค่ 103 กรัม)
เรียกได้ว่า alu superlite เลยครับ เบามาก เบากว่าคาบอนเสียอีก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ร้านตัวแทน JAVA แจ้งมาหลังไมค์ว่า สเต็มตัวนี้ให้ UNO ผลิต oem ตีตรา Deca ให้ครับ
2. แฮนด์ Deca
วัสดุเป็นอลูมิเนียม
ปกติยี่ห้ออื่นๆติดมากับรถทั่วไปจะหนัก 350-450 กรัม
แต่แฮนด์ตัวนี้หนักแค่ 280 กรัม....เบาอีกแล้ว
ถ้าคิดจะอัพก็ต้องไปคาบอนครับ แต่ราคาก็สุดโหด แล้วก็ลด นน.ได้ไม่มาก
แฮนด์แพงแค่ไหน เต็มที่ก็ลดได้แค่ 1ขีด หรือไม่ถึงขีดด้วยซ้ำ
(ส่วนผมเปลี่ยนครับ เพราะระยะ reach สั้นไปหน่อย ก้มปั่นแล้วหมอบไม่ลง อันนี้บางคนอาจจะพอดีตัว ก็ลองกันเองนะครับ)
3. ยางใน
ให้ของโนเนมมาครับ ก็พอใช้ได้ หนักไปหน่อย
จุ๊ฟทองเหลืองไม่ได้เคลือบเงิน เอานะชั่งซะหน่อย 100g. เป๊ะ
แนะนำถ้าเปลี่ยนได้ก็ควรเปลี่ยนครับ
4. ยางนอก
Maxxis Sierra 700x23c
บอกเลย...อันนี้ถือเป็นจุดด้อยของรถคันนี้มาก สำหรับสายแข่ง
เพราะให้มาเป็นยางขอบลวด ค่อนข้างหนัก ถ้าจะซื้อมาปั่นทำความเร็วควรเปลี่ยนครับ
แต่ถ้าซื้อมาปั่นถนน ไม่ได้ปั่นซิ่งจับเวลาแข่ง ก็ไม่ต้องเปลี่ยนครับ เพราะมันหนาและทนดีแท้
5. วงล้อ
ทีเด็ดอีกตัวอยู่ที่ นน. ล้อครับ
ยี่ห้อ Freedom Recine Elite (บอกตรงๆไม่รู้จัก ก็น่าจะเป็นของ Java เอง)
ดุมล้อ Deca ลื่นดี เสียงฟรีดังสนั่นลั่นทุ่ม เสียงไปทางโทนแหลมๆ กรี๊กกกกกกกกก
ขอบล้อสูง 14mm ซี่ลวดกลมธรรมดา
-น้ำหนัก ล้อหน้า 796 g.
-น้ำหนัก ล้อหลัง 967 g.
รวม2ล้อหนัก 1,763 g. เบามากครับ สำหรับล้อติดรถ
* นน.เบาเท่าล้อแต่งๆที่ต้องซื้อแยกเลยทีเดียว ยี่ห้ออะไรคงรู้ๆกัน ไม่พาดพุงนะ
ถ้าใครคิดจะอัพล้อเพื่อลด นน. คิดให้ดีนะครับ เลือกเยอะๆเลย เพราะที่ขายๆ 6,000-10,000 ก็น้ำหนักประมาณนี้
ลด นน.แทบไม่ได้เช่นกัน เพราะเดิมมันเบาอยู่แล้ว
แต่ถ้าคัน อยากจะอัพให้เห็นผล คงต้องมองของสูง หรือ อลูขอบต่ำหลักหลายหมื่นเลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ร้านตัวแทน JAVA แจ้งมาหลังไมค์ว่า ล้อนี้ให้ WTB ผลิต oem ให้ครับ
6. น้ำหนัก เฟรม และ ตะเกียบ (อันนี้ผมไม่ได้ชั่งเองนะครับ ลืม)
- เฟรมเปล่า ไม่รวมดรอป 985 g. (รวมดรอป 1,014 g.)
- ตะเกียบ 358 g.
*Credit : เฟส Java Club
============
ตอนที่ 4 อัพเกรด
============
เดิมทีก็กะจะเปลี่ยนอะไหล่คันเดิมมาใช้ครับ
แต่ชุดขับให้มาเป็น 10sp ก็เลยเปลี่ยนอะไหล่ยกคันไปเลย
ไหนๆก็ไหนๆใช้คันนี้แข่งแน่แล้ว ก็จัดทีเดียวให้จบเท่าที่จะไหว
1. วงล้อ
ผมเปลี่ยนมาใช้ล้อคาบอนขอบ 50 เป็นล้อ oem (ติดสติ๊กเกอร์ลายสวยๆเอานะ)
2. ยางใน ยางนอก
ใช้ Bontrager R3 ครับ น้ำหนัก 185g. เกาะถนนใช้ได้
แต่ถ้าฝนตกจอดครับ เพราะเป็นยางโล้นไม่มีดอกยาง
3. แฮนด์
ใช้คาบอน Ergonova ขนาด 420mm
น้ำหนัก 160g.
4. สเต็ม
ใช้อลู UNO-7 ขนาด 100mm
น้ำหนัก 100g.
5. เบาะ
ของ Leader ราง carbon มีร่องกลาง
น้ำหนัก 130g.
6. แกนปลด
ใช้ Ness เป็น titanium
น้ำหนักคู่ละ 45g.
7. ขากระติก
คาบอนทั่วๆไป
8. ชุดขับ
เปลี่ยนเป็น Sram Force 22
น้ำหนักออกมาเหลือเท่านี้ครับ
**อัพเดท** น้ำหนักล่าสุดด้วยตราชั่งตัวละเอียดครับ
================
ตอนที่ 5 การขับขี่ ฟิลลิ่ง
================
ไปทดสอบที่สนามเขียวครับ ยาวๆและขี่กันมานาน
ปั่นลากบ้าง ดูดบ้าง สลับๆกันกับเพื่อนๆ
การทดสอบ ผมพยายามจับความรู้สึกเทียบกับ เดิมที่ขี่รถเฟรมอลูเป็นหลักอยู่ก่อน
และรถคาบอนก็ได้ลองมาบ้างแต่ไม่มาก (ส่วนใหญ่ลองรถเพื่อนในทีมเอา)
FEROCE ลงสนามเขียว ก็รู้สึกได้ว่านุ่มดีครับ ความสะเทือนของพื้นน้อยลงมาก
เฟรมคาบอนซับแรงสะเทือนสนามเขียวที่ขรุขระได้ดีมากๆ
ใครที่ขี่รถอลูมาก่อน ต้องรับรู้ได้แน่นอน มันต่างกันชัดเจน
อารมณ์ความนุ่มผมว่ามันคล้าย Giant propel มากครับ เสียงสะเทือนก็คล้ายๆกัน
(แต่ถ้าใครขี่คาบอนมาก่อน ก็คงเฉยๆครับ ไม่ได้ต่างอะไรกันนัก)
แต่การที่มันนุ่ม มันก็แลกมาด้วยความ stiff ที่น้อยลงครับ (ภาษาไทยแปลว่าอะไรไม่ทราบ)
คือจังหวะที่กดน้ำหนักแรงๆ หรือสปริ้น สปีดจะหน่วงนิดๆ
แต่ก็น้อยนิดครับ ไม่ได้รู้สึกว่าต่าง เพราะเมื่อรถเบามันก็ใช้แรงน้อยลง
เลยพุ่งขึ้นความเร็วได้ไวมากครับ
เรื่องความเร็วทางเรียบ* บอกเลยว่า รถแบา รถแพง ไม่ได้ทำให้เร็วขึ้นมากมายครับ
นั่งยัน ยืนยัน ปั่นยันได้เลย รถน้ำหนักช่วง 6.9-10โล คุณปั่นได้แค่ไหน ก็ปั่นได้แค่นั้นครับ
แต่อาจจะเหนื่อยน้อยลงก็แค่นั้น เร็วขึ้นนิดหน่อย
แต่ถ้าเอาไปไต่เขาชันๆ อันนี้รถเบาได้เปรียบมากๆครับ
จังหวะยืนโยก มีเสียงเฟรมลั่นบ้าง ไม่รำคาญ
รถทรงตัวดี ไม่ย้วยครับ (ผมหนัก 70 จะทดสอบเรื่องย้วยได้ยาก รอคนหนัก 100 ทดสอบอีกทีนะครับ)
===============
ตอนที่ 6 ปัญหา ข้อบกพร่อง
===============
ยกไป คห.ที่ 44 นะ พิมพ์เกิน 10,000 อักษรไม่ได้
http://ppantip.com/topic/33606201/comment44/
[CR] รีวิว เสือหมอบ คาบอน JAVA FEROCE เจาะลึกแบบ X-Ray ดีไม่ดี คุ้มไม่คุ้ม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผมจะแยกเป็นตอนๆไว้นะครับ จะมาอัพเดทเรื่อยๆ
-ตอนที่ 1 แกะกล่อง
-ตอนที่ 2 อะไหล่
-ตอนที่ 3 น้ำหนัก
-ตอนที่ 4 อัพเกรด
-ตอนที่ 5 การขับขี่ ฟิลลิ่ง
-ตอนที่ 6 ปัญหา
-ตอนที่ 7 ข้อดี-ข้อเสีย
-สรุป
==========
ตอนที่ 1 แกะกล่อง
==========
JAVA FEROCE เป็นเสือหมอบ เฟรมคาบอน แบบรถสำเร็จ (complete bike)
เป็นแบรนของจีน ที่ระบุว่าออกแบบโดย italy อันนี้ก็ว่ากันไป ผมก็ไม่ทราบได้
FEROCE เป็นรถทรงออกไปทางแนวหมอบ AeroRoad
คือ ท่อจะบางๆ ไม่กลม เค้าว่าตัดลมได้ดี
ตะเกียบก็จะแบนๆบางๆ โดยปกติรถกลุ่มนี้จะหนัก แต่ตัวนี้กลับทำมา นน.เบา แบบหมอบสายไต่เขา ก็แปลกๆดี
FEROCE มีข่าวและรูปใน social มาระยะนึงแล้ว แต่ก็ไม่คิดว่าจะมาเร็ว
กำหนดเปิดตัวที่งาน BangkokBike ซึ่งถือได้ว่าเปิดตัวดังใช้ได้ทีเดียว ข่าวว่ายอดขายถล่มทลายกันไป
ก็คงไม่แปลกเพราะราคาที่ตั้งไว้ไม่สูงนัก...จริงๆเรียกว่าราคาถูกเลยก็ว่าได้ ถ้าเทียบกับอะไหล่ที่ให้มา
( ราคาตั้งผมไม่ทราบ แต่ราคาขายจริงๆที่ซื้อคือ 36,900 )
ด้วยน้ำหนักตัวที่ผู้ผลิตเคลมไว้ 7.5 กิโล ข้อมูลจากทางเวบ JAVA ถือว่าเบามากในกลุ่มนักปั่นสายหมอบ
แต่ส่วนตัว ผมลองชั่งด้วยตาชั่งที่บ้านได้ 7.7 กิโล (รถผมขนาด 52 ใหญ่สุดที่ผลิต)
ก็ยังถือได้ว่าเบามาก เดี๋ยวลองมาดูกันว่าทำไมมันเบานัก
ก่อนวันเปิดตัวที่งาน BangkokBike 3 วัน ผมสั่งจองทางร้านๆนึงใน กทม.ไว้
ผมน่าจะรับรถคันแรกเลยก็ว่าได้ เพราะตามข่าวตลอด ตั้งแต่ขนออกจากท่าเรือได้
ก็เห็นว่าร้านต้องขนของไปลงเตรียมงาน Bike...ที่เมืองทองก่อนอีก
ผมก็คุยจนพี่เจ้าของร้านเอามาให้ผมคันนึงก่อน เพราะผมไม่ว่างไปงานวันแรก
ผมก็วิ่งไปรับของมาคืนก่อนงานเปิดตัววันนึง เพราะคาดว่าถ้าไปหน้างาน ไม่เหลือแน่
(แล้วก็เป็นตามคาด 80คัน วันเดียวเกลี้ยง)
รับรถมา แกะกล่องกันเลย ประกอปเอง รถมาในสภาพประกอบง่ายๆ
ผมเลือกสีแดงดำ 52 มา (ปกติมี 3 สี แดงดำ เหลืองดำ เงิน ,มีทั้งหมด 4 size คือ 44 47 50 52)
วัดท่อนอนได้ประมาณ 540-545mm. (หลักอานกว้าง เลยวัดเอากลางๆประมาณเอา) ,ท่อตั้งวัดได้ 520mm.
แค่ใส่ล้อ แฮนด์ หลักอาน เบาะ แล้วก็ตั้งสายเกียร์ สายเบรค แค่นั้น
* แต่ถ้าใครไม่เคยประกอปมาก่อน ไม่แนะนำนะครับ เพราะต้องมีคีมตัดสายเบรค
แล้วต้องจูนเป็นอยู่บ้าง *
ประกอบเสร็จ ก็มาตรวจดูงานสีต่างๆ ถือว่าเก็บงานสีได้ดีครับ ผมยังไม่เห็นตำหนิใดๆ
งานสีเป็นแบบสีด้าน สวยแต่เปื้อนง่ายไปนิด ต้องระวังและดูแลรักษามากหน่อย
การตั้งเกียร์ โรงงานจูนมาพอใช้ได้ครับ ต้องมาตั้งเพิ่มนิดหน่อย
อุปกรณ์ในกล่องที่แยกให้มามีดังนี้ครับ (จากโรงงาน)
1. เบาะ fizik airone cx รางดำ
2. ชุดหลักอานคาบอน
3. แกนปลดล้อหน้า
4. บันได แบริ่งแกนไทเทเนียม เบาๆ 120g.
5. ทับทิมสะท้อนแสง
6. อะไหล่ตัวปิดร้อยสายเกียร์แบบร้อยทั้งปลอกสาย
7. คู่มือ
8. ใบ code เล็กๆอะไรสักอย่าง 2 ใบ
9. อลูปิดปลายสายเบรคสีแดง
==========
ตอนที่ 2 อะไหล่
==========
อะไหล่คันนี้จะมีทั้งที่เป็น คาบอน และ อลูมิเนียม
1. หลักอานคาบอน ทรงหยดน้ำ สไตล์รถแอโร่ สวยงามมาก พร้อมยางปิดกันน้ำ
แต่ถ้าเสียล่ะก็...หาเปลี่ยนยากแน่นอน มันไม่เหมือนชาวบ้านเขา
2. เบาะ เป็น fizik airone CX รางแมงกานีส หนักราว 250g.
3. แฮนด์และสเต็มเป็นอลูมิเนียม ยี่ห้อ Deca
- สเต็มให้ยาว 90mm (ประหลาดแท้ รถไซส์ 52 ดันให้สั้นๆมา)
- แฮนด์ ทรงสวยครับ ไม่ใช่หักลงแบบทรงหมอบเก่าๆ แต่ระยะ reach สั้นๆ เลยดูแปลกๆ
ถามได้ความว่า Deca ก็คือแบรนของ Java นั่นแหละ
แยกแบรนออกมา (เหมือน Trek ที่มี Bontrager หรือ Bianchi ที่มี RepartoCourse )
*สเต็มในภาพผมเปลี่ยนออกไปนะครับ เพราะขนาดไม่ได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. ชุดขับ SRAM APEX 10sp เกือบเต็มกรุ๊ป (ยกเว้นแค่โซ่ น่าจะเป็น kmc)
- เฟือง 11-28
- จานหน้า Standard 53-39 ขาจาน 170mm
- กะโหลกแกน GXP (เฟรมเป็น Pressfit 86)
5. ล้อ Freedom Racing Elite โม่ DECA
ก็คงเป็นล้อของ Java เองเช่นเคย
โม่ใส่เฟือง 11sp ได้
ซี่ล้อเป็นแบบกลม ไม่แปลกหรือพิเศษอะไร
เสียงโม่ ตอนฟรีขาดังมากถึงมากที่สุด เสียงออกโทนแหลมๆ
เรียกว่าตามดูดใคร อย่าได้ฟรีขาเชียว ไม่งั้นมีเรื่อง เพราะมันน่ามคาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
6. ยาง Maxxis รุ่น Sierra 700x23c
เป็นยางขอบลวด หนัก เนื้อยาง จับแล้วเหนียวๆหนืดๆ
==========
-ตอนที่ 3 น้ำหนัก
==========
น้ำหนัก ผมได้ระเบิดอะไหล่ออกมาชั่งเป็นชิ้นๆนะครับ
มาดูกันครับ ทำไมรวมๆรถมันถึงเบานัก....
1. สเต็ม Deca ยาว 90mm วัสดุอลูมิเนียม
ปกติยี่ห้ออื่นๆติดรถทั่วไปจะหนัก 120-140 กรัม
แต่สต็มตัวนี้หนักแค่ 85 กรัม !!! (ถ้ารวมน๊อตก็ยังแค่ 103 กรัม)
เรียกได้ว่า alu superlite เลยครับ เบามาก เบากว่าคาบอนเสียอีก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. แฮนด์ Deca
วัสดุเป็นอลูมิเนียม
ปกติยี่ห้ออื่นๆติดมากับรถทั่วไปจะหนัก 350-450 กรัม
แต่แฮนด์ตัวนี้หนักแค่ 280 กรัม....เบาอีกแล้ว
ถ้าคิดจะอัพก็ต้องไปคาบอนครับ แต่ราคาก็สุดโหด แล้วก็ลด นน.ได้ไม่มาก
แฮนด์แพงแค่ไหน เต็มที่ก็ลดได้แค่ 1ขีด หรือไม่ถึงขีดด้วยซ้ำ
(ส่วนผมเปลี่ยนครับ เพราะระยะ reach สั้นไปหน่อย ก้มปั่นแล้วหมอบไม่ลง อันนี้บางคนอาจจะพอดีตัว ก็ลองกันเองนะครับ)
3. ยางใน
ให้ของโนเนมมาครับ ก็พอใช้ได้ หนักไปหน่อย
จุ๊ฟทองเหลืองไม่ได้เคลือบเงิน เอานะชั่งซะหน่อย 100g. เป๊ะ
แนะนำถ้าเปลี่ยนได้ก็ควรเปลี่ยนครับ
4. ยางนอก
Maxxis Sierra 700x23c
บอกเลย...อันนี้ถือเป็นจุดด้อยของรถคันนี้มาก สำหรับสายแข่ง
เพราะให้มาเป็นยางขอบลวด ค่อนข้างหนัก ถ้าจะซื้อมาปั่นทำความเร็วควรเปลี่ยนครับ
แต่ถ้าซื้อมาปั่นถนน ไม่ได้ปั่นซิ่งจับเวลาแข่ง ก็ไม่ต้องเปลี่ยนครับ เพราะมันหนาและทนดีแท้
5. วงล้อ
ทีเด็ดอีกตัวอยู่ที่ นน. ล้อครับ
ยี่ห้อ Freedom Recine Elite (บอกตรงๆไม่รู้จัก ก็น่าจะเป็นของ Java เอง)
ดุมล้อ Deca ลื่นดี เสียงฟรีดังสนั่นลั่นทุ่ม เสียงไปทางโทนแหลมๆ กรี๊กกกกกกกกก
ขอบล้อสูง 14mm ซี่ลวดกลมธรรมดา
-น้ำหนัก ล้อหน้า 796 g.
-น้ำหนัก ล้อหลัง 967 g.
รวม2ล้อหนัก 1,763 g. เบามากครับ สำหรับล้อติดรถ
* นน.เบาเท่าล้อแต่งๆที่ต้องซื้อแยกเลยทีเดียว ยี่ห้ออะไรคงรู้ๆกัน ไม่พาดพุงนะ
ถ้าใครคิดจะอัพล้อเพื่อลด นน. คิดให้ดีนะครับ เลือกเยอะๆเลย เพราะที่ขายๆ 6,000-10,000 ก็น้ำหนักประมาณนี้
ลด นน.แทบไม่ได้เช่นกัน เพราะเดิมมันเบาอยู่แล้ว
แต่ถ้าคัน อยากจะอัพให้เห็นผล คงต้องมองของสูง หรือ อลูขอบต่ำหลักหลายหมื่นเลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
6. น้ำหนัก เฟรม และ ตะเกียบ (อันนี้ผมไม่ได้ชั่งเองนะครับ ลืม)
- เฟรมเปล่า ไม่รวมดรอป 985 g. (รวมดรอป 1,014 g.)
- ตะเกียบ 358 g.
*Credit : เฟส Java Club
============
ตอนที่ 4 อัพเกรด
============
เดิมทีก็กะจะเปลี่ยนอะไหล่คันเดิมมาใช้ครับ
แต่ชุดขับให้มาเป็น 10sp ก็เลยเปลี่ยนอะไหล่ยกคันไปเลย
ไหนๆก็ไหนๆใช้คันนี้แข่งแน่แล้ว ก็จัดทีเดียวให้จบเท่าที่จะไหว
1. วงล้อ
ผมเปลี่ยนมาใช้ล้อคาบอนขอบ 50 เป็นล้อ oem (ติดสติ๊กเกอร์ลายสวยๆเอานะ)
2. ยางใน ยางนอก
ใช้ Bontrager R3 ครับ น้ำหนัก 185g. เกาะถนนใช้ได้
แต่ถ้าฝนตกจอดครับ เพราะเป็นยางโล้นไม่มีดอกยาง
3. แฮนด์
ใช้คาบอน Ergonova ขนาด 420mm
น้ำหนัก 160g.
4. สเต็ม
ใช้อลู UNO-7 ขนาด 100mm
น้ำหนัก 100g.
5. เบาะ
ของ Leader ราง carbon มีร่องกลาง
น้ำหนัก 130g.
6. แกนปลด
ใช้ Ness เป็น titanium
น้ำหนักคู่ละ 45g.
7. ขากระติก
คาบอนทั่วๆไป
8. ชุดขับ
เปลี่ยนเป็น Sram Force 22
น้ำหนักออกมาเหลือเท่านี้ครับ
**อัพเดท** น้ำหนักล่าสุดด้วยตราชั่งตัวละเอียดครับ
================
ตอนที่ 5 การขับขี่ ฟิลลิ่ง
================
ไปทดสอบที่สนามเขียวครับ ยาวๆและขี่กันมานาน
ปั่นลากบ้าง ดูดบ้าง สลับๆกันกับเพื่อนๆ
การทดสอบ ผมพยายามจับความรู้สึกเทียบกับ เดิมที่ขี่รถเฟรมอลูเป็นหลักอยู่ก่อน
และรถคาบอนก็ได้ลองมาบ้างแต่ไม่มาก (ส่วนใหญ่ลองรถเพื่อนในทีมเอา)
FEROCE ลงสนามเขียว ก็รู้สึกได้ว่านุ่มดีครับ ความสะเทือนของพื้นน้อยลงมาก
เฟรมคาบอนซับแรงสะเทือนสนามเขียวที่ขรุขระได้ดีมากๆ
ใครที่ขี่รถอลูมาก่อน ต้องรับรู้ได้แน่นอน มันต่างกันชัดเจน
อารมณ์ความนุ่มผมว่ามันคล้าย Giant propel มากครับ เสียงสะเทือนก็คล้ายๆกัน
(แต่ถ้าใครขี่คาบอนมาก่อน ก็คงเฉยๆครับ ไม่ได้ต่างอะไรกันนัก)
แต่การที่มันนุ่ม มันก็แลกมาด้วยความ stiff ที่น้อยลงครับ (ภาษาไทยแปลว่าอะไรไม่ทราบ)
คือจังหวะที่กดน้ำหนักแรงๆ หรือสปริ้น สปีดจะหน่วงนิดๆ
แต่ก็น้อยนิดครับ ไม่ได้รู้สึกว่าต่าง เพราะเมื่อรถเบามันก็ใช้แรงน้อยลง
เลยพุ่งขึ้นความเร็วได้ไวมากครับ
เรื่องความเร็วทางเรียบ* บอกเลยว่า รถแบา รถแพง ไม่ได้ทำให้เร็วขึ้นมากมายครับ
นั่งยัน ยืนยัน ปั่นยันได้เลย รถน้ำหนักช่วง 6.9-10โล คุณปั่นได้แค่ไหน ก็ปั่นได้แค่นั้นครับ
แต่อาจจะเหนื่อยน้อยลงก็แค่นั้น เร็วขึ้นนิดหน่อย
แต่ถ้าเอาไปไต่เขาชันๆ อันนี้รถเบาได้เปรียบมากๆครับ
จังหวะยืนโยก มีเสียงเฟรมลั่นบ้าง ไม่รำคาญ
รถทรงตัวดี ไม่ย้วยครับ (ผมหนัก 70 จะทดสอบเรื่องย้วยได้ยาก รอคนหนัก 100 ทดสอบอีกทีนะครับ)
===============
ตอนที่ 6 ปัญหา ข้อบกพร่อง
===============
ยกไป คห.ที่ 44 นะ พิมพ์เกิน 10,000 อักษรไม่ได้
http://ppantip.com/topic/33606201/comment44/