อ่านเจออันนี้มา ขอบอกว่า จิ๊ดโดนใจมาก
เพราะมีเพื่อนของเพื่อนเป็นชาวเนปาล ซึ่งทางบ้านพ่อแม่เขาก็ประสบภัย
แต่พอทุกคนรู้ว่าเขามีบ้านที่เนปาล ก็มุ่งหน้าไปเนปาลและปักหลักอยู่ที่บ้านของพี่คนนี้
พร้อมกับพยายามจะให้ช่วยประสานงานเพื่อพาไปยังจุดนั้นจุดนี้
โดยที่ลืมไปว่าเขาก็เป็นผู้ประสบภัยที่กำลังเดือดร้อน ขาดแคลนเหมือนกัน
แต่ต้องมาเลี้ยงดูปูเสื่อ คอยวิ่งประสานงานบรรดาจิตอาสาและนักข่าวบางกลุ่มที่มากันอย่างล้นหลาม
ใจหนึ่งของพี่เขาก็อยากขอบคุณ แต่คุณพ่อคุณแม่ที่แก่ชราก็เหนื่อยมาก
ข้าวปลาอาหารก็ไม่ค่อยมีอยู่แล้วยังต้องมาแบ่งให้อีก
บางกลุ่มคน พอไม่ได้ดั่งใจก็หงุดหงิดใส่ เพราะมองแต่มุมตัวเองว่า "ก็ฉันอยากมาช่วย"
โดยไม่หยุดคิดสักนิดว่า ณ ยามนี้ อะไรก็ไม่ง่ายเลยนะ
+++++++++++++
หยุดคิด ก่อนลงมือช่วยเหลือ"เนปาล"
updated: 01 พ.ค. 2558 เวลา 15:12:43 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
บทความในเว็บไซต์ The Guardian ให้คำแนะนำแก่ผู้ต้องการให้ความช่วยเหลือเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเนปาล โดยระบุว่า บุคคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีความสำคัญกว่าอาสาสมัครที่ทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง
ช่วงหลังเหตุแผ่นดินไหวในเนปาลเช่นนี้ หลากหลายชาติจากทั่วโลกส่งทีมช่วยเหลือลงพื้นที่ และเชื่อว่าใครอีกหลายๆ คนก็ต้องการเดินทางไปยังสถานที่เกิดเหตุหวังช่วยเหลือไม่มากก็น้อย แต่อาจต้องคิดทบทวนให้ดี เพราะ
ตอนนี้เนปาลต้องการผู้ที่มีความชำนาญการ และผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างรวดเร็วว่องไวสำหรับรักษาผู้บาดเจ็บและค้นหาร่างของผู้ที่ยังติดอยู่ภายใต้ซากปรักหักพังของอาคารบ้านเรือน
ยกตัวอย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เฮติ เมื่อปี 2552 ที่มีระบบเศรษฐกิจคล้ายกับประเทศเนปาลที่เกิดเหตุในปัจจุบัน ซึ่งจนถึงขณะนี้ผ่านมา 5 ปีแล้ว แต่ประเทศเฮติก็ยังอยู่ในช่วงฟื้นฟูประเทศ และยังได้รับความช่วยเหลือจากนานาชาติอยู่
อุปสรรคที่ทำให้การดำเนินงานล่าช้าคือ อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลืออย่างใจจริง แต่พวกเขาไม่มีความรู้มากพอที่จะรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ หรือไม่ได้รับการฝึกอบรมมา อีกทั้งเมื่อคณะแพทย์ที่เดินทางไปยังพื้นที่ประสบเหตุก็ต้องพบกับสภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม ซึ่งเป็นผลมาจากการขนส่งที่ขาดการวางแผน
แม้กระทั่งสิ่งของที่ได้รับบริจาคมาบางครั้งเหมือนเป็นขยะที่ผู้บริจาคต้องการทิ้งอยู่แล้ว เพียงแต่พวกเขาอยากทำตัวให้ดูมีประโยชน์ก็เท่านั้น จึงกลายเป็นหายนะซ้ำสองสำหรับผู้ประสบภัย
อีกหนึ่งปัญหาสำคัญคือ ผู้มีอันจะกินบางคนออกเงินค่าตั๋วเครื่องบินสำหรับเดินทางให้กับใครก็ได้ที่ต้องการเดินทางไปยังประเทศประสบภัย แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวเองมีความสามารถในการรับมือและช่วยเหลือสถานการณ์ตรงหน้ามากแค่ไหน ไม่เหมือนกับแพทย์หรือนักวิศวกรที่พวกเขาต้องเข้ารับการฝึกอบรมให้รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินมาแรมปี เพื่อพัฒนาศักยภาพและพิสูจน์ว่าสามารถรับมือเหตุฉุกเฉินตรงหน้าได้
ดังนั้น
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเนปาลอยู่ตอนนี้จึงไม่ใช่สถานที่สำหรับผู้สังเกตการณ์ที่เดินทางไปเล่นๆ เพื่อให้เห็นว่าของจริงเป็นอย่างไร แต่เป็นช่วงเวลาเป็นเวลาตายที่ต้องให้ผู้มีความรู้ความสามารถได้เข้าถึงจุดเกิดเหตุได้ไว อย่างน้อยเพื่อลดการสูญเสียไปมากกว่านี้ เพราะอย่างไรเสียในแต่ละประเทศเขามีหน่วยงานด้านบรรเทาสาธารณภัยอยู่แล้ว และเจ้าหน้าที่เหล่านี้พวกเขาได้เข้ารับการฝึกอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี
สำหรับใครหลายคนที่ตั้งคำถามว่า "แล้วจะให้ช่วยยังไง? , แล้วต้องทำอย่างไร? , ก็ฉันอยากช่วย" ลองอ่านคำแนะนำข้างล่างนี้ประกอบดู
- จงจำไว้ว่าเหตุการณ์เช่นนี้ไม่ใช่คุณคนเดียวที่อยากให้การช่วยเหลือ ถึงแม้คุณจะรู้สึกรักประเทศนั้นๆ จนคิดว่ามันเป็นบ้านเกิดก็ตาม แต่เมื่อเกิดเหตุภัยภิบัติ จำไว้ว่า อย่าได้รีบเดินทางเข้าไปยังจุดเกิดเหตุอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังเกิดเรื่อง ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญได้เข้าปฏิบัติงานอย่างเต็มที่เสียก่อน แต่ถ้าคุณมีความรู้ความสามารถและคิดว่าช่วยได้ ติดต่อไปยังหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เขากำลังรวบรวมพลสำหรับส่งไปช่วยเหลือ เพราะหน่วยงานเหล่านี้เขาสามารถแจกจ่ายหน้าที่ให้คุณได้อย่างเหมาะสม
-
อย่าเพิ่งบริจาคสิ่งของ โดยเฉพาะของมือสองที่คุณคิดว่าอาจเป็นประโยชน์กับผู้ประสบภัย แท้จริงแล้วของมือสองพวกนี้เป็นตัวปัญหาอย่างยิ่งเพราะบางอย่างเป็นของใช้ที่ผู้ประสบภัยไม่ต้องการเลย
เปลี่ยนมาเป็นบริจาคเงินให้กับองค์กรหรือหน่วยงานจะดีกว่า เพราะหน่วยงานเขามีคนช่วยบริหารจัดการวาจะทำเงินที่ได้มานั้นไปใช้จ่ายได้อย่างถูกต้อง หรือถ้ามีของที่ไม่ใช้แล้วจริงๆ ก็นำออกวางขาย ค่อยนำเงินที่ได้จากการขายไปบริจาค
- บริจาคเงิน ขณะนี้ประเทศเนปาลเขาไม่ได้ต้องการเสื้อเก่าๆ แต่เงินเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง บริจาคผ่านตัวแทนต่างๆจะทำให้คุณติดตามได้ว่าเงินที่คุณบริจาคไปนั้นเดินทางไปถึงพวกเขาแล้วหรือยัง หรือเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งของอะไรบ้าง
- การช่วยเหลือระยะสั้นที่ต้องการคือการประกาศแจ้งข่าวสาร และหยิบยื่นความช่วยเหลือเพื่อให้ผู้รอดชีวิตได้มีชีวิตต่อไปได้
- การช่วยเหลือระยะยาวขั้นต่อไปคือการฟื้นฟูบ้านเรือน อาคารสถานที่ที่พังเสียหายให้กลับสู่ปกติให้ได้มากที่สุด
- แต่ถ้ายังมีจิตอันแรงกล้าว่าต้องเดินทางไปยังพื้นที่ประสบภัยให้ได้ ก็ควรศึกษาการเดินทางให้ดีเสียก่อน ไม่ใช่ว่าการเป็นอาสาสมัครจะไม่ดี แค่อยากให้คิดรอบคอบก่อนเดินทางไปว่าความสามารถอะไรที่คุณจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เพราะ
อาสาสมัครเป็นสิ่งดีที่ทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ
แต่ก็ไม่ง่ายเลยกับการเป็นอาสาสมัคร ดังนั้นการศึกษาหาข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้คุณเข้าใจต่อเหตุการณ์นั้นได้
ที่มา :
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1430469292
หยุดคิด ก่อนลงมือช่วยเหลือ"เนปาล" มุมมองจาก The Guardian
เพราะมีเพื่อนของเพื่อนเป็นชาวเนปาล ซึ่งทางบ้านพ่อแม่เขาก็ประสบภัย
แต่พอทุกคนรู้ว่าเขามีบ้านที่เนปาล ก็มุ่งหน้าไปเนปาลและปักหลักอยู่ที่บ้านของพี่คนนี้
พร้อมกับพยายามจะให้ช่วยประสานงานเพื่อพาไปยังจุดนั้นจุดนี้
โดยที่ลืมไปว่าเขาก็เป็นผู้ประสบภัยที่กำลังเดือดร้อน ขาดแคลนเหมือนกัน
แต่ต้องมาเลี้ยงดูปูเสื่อ คอยวิ่งประสานงานบรรดาจิตอาสาและนักข่าวบางกลุ่มที่มากันอย่างล้นหลาม
ใจหนึ่งของพี่เขาก็อยากขอบคุณ แต่คุณพ่อคุณแม่ที่แก่ชราก็เหนื่อยมาก
ข้าวปลาอาหารก็ไม่ค่อยมีอยู่แล้วยังต้องมาแบ่งให้อีก
บางกลุ่มคน พอไม่ได้ดั่งใจก็หงุดหงิดใส่ เพราะมองแต่มุมตัวเองว่า "ก็ฉันอยากมาช่วย"
โดยไม่หยุดคิดสักนิดว่า ณ ยามนี้ อะไรก็ไม่ง่ายเลยนะ
+++++++++++++
หยุดคิด ก่อนลงมือช่วยเหลือ"เนปาล"
updated: 01 พ.ค. 2558 เวลา 15:12:43 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
บทความในเว็บไซต์ The Guardian ให้คำแนะนำแก่ผู้ต้องการให้ความช่วยเหลือเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเนปาล โดยระบุว่า บุคคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีความสำคัญกว่าอาสาสมัครที่ทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง
ช่วงหลังเหตุแผ่นดินไหวในเนปาลเช่นนี้ หลากหลายชาติจากทั่วโลกส่งทีมช่วยเหลือลงพื้นที่ และเชื่อว่าใครอีกหลายๆ คนก็ต้องการเดินทางไปยังสถานที่เกิดเหตุหวังช่วยเหลือไม่มากก็น้อย แต่อาจต้องคิดทบทวนให้ดี เพราะตอนนี้เนปาลต้องการผู้ที่มีความชำนาญการ และผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างรวดเร็วว่องไวสำหรับรักษาผู้บาดเจ็บและค้นหาร่างของผู้ที่ยังติดอยู่ภายใต้ซากปรักหักพังของอาคารบ้านเรือน
ยกตัวอย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เฮติ เมื่อปี 2552 ที่มีระบบเศรษฐกิจคล้ายกับประเทศเนปาลที่เกิดเหตุในปัจจุบัน ซึ่งจนถึงขณะนี้ผ่านมา 5 ปีแล้ว แต่ประเทศเฮติก็ยังอยู่ในช่วงฟื้นฟูประเทศ และยังได้รับความช่วยเหลือจากนานาชาติอยู่
อุปสรรคที่ทำให้การดำเนินงานล่าช้าคือ อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลืออย่างใจจริง แต่พวกเขาไม่มีความรู้มากพอที่จะรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ หรือไม่ได้รับการฝึกอบรมมา อีกทั้งเมื่อคณะแพทย์ที่เดินทางไปยังพื้นที่ประสบเหตุก็ต้องพบกับสภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม ซึ่งเป็นผลมาจากการขนส่งที่ขาดการวางแผน แม้กระทั่งสิ่งของที่ได้รับบริจาคมาบางครั้งเหมือนเป็นขยะที่ผู้บริจาคต้องการทิ้งอยู่แล้ว เพียงแต่พวกเขาอยากทำตัวให้ดูมีประโยชน์ก็เท่านั้น จึงกลายเป็นหายนะซ้ำสองสำหรับผู้ประสบภัย
อีกหนึ่งปัญหาสำคัญคือ ผู้มีอันจะกินบางคนออกเงินค่าตั๋วเครื่องบินสำหรับเดินทางให้กับใครก็ได้ที่ต้องการเดินทางไปยังประเทศประสบภัย แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวเองมีความสามารถในการรับมือและช่วยเหลือสถานการณ์ตรงหน้ามากแค่ไหน ไม่เหมือนกับแพทย์หรือนักวิศวกรที่พวกเขาต้องเข้ารับการฝึกอบรมให้รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินมาแรมปี เพื่อพัฒนาศักยภาพและพิสูจน์ว่าสามารถรับมือเหตุฉุกเฉินตรงหน้าได้
ดังนั้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเนปาลอยู่ตอนนี้จึงไม่ใช่สถานที่สำหรับผู้สังเกตการณ์ที่เดินทางไปเล่นๆ เพื่อให้เห็นว่าของจริงเป็นอย่างไร แต่เป็นช่วงเวลาเป็นเวลาตายที่ต้องให้ผู้มีความรู้ความสามารถได้เข้าถึงจุดเกิดเหตุได้ไว อย่างน้อยเพื่อลดการสูญเสียไปมากกว่านี้ เพราะอย่างไรเสียในแต่ละประเทศเขามีหน่วยงานด้านบรรเทาสาธารณภัยอยู่แล้ว และเจ้าหน้าที่เหล่านี้พวกเขาได้เข้ารับการฝึกอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี
สำหรับใครหลายคนที่ตั้งคำถามว่า "แล้วจะให้ช่วยยังไง? , แล้วต้องทำอย่างไร? , ก็ฉันอยากช่วย" ลองอ่านคำแนะนำข้างล่างนี้ประกอบดู
- จงจำไว้ว่าเหตุการณ์เช่นนี้ไม่ใช่คุณคนเดียวที่อยากให้การช่วยเหลือ ถึงแม้คุณจะรู้สึกรักประเทศนั้นๆ จนคิดว่ามันเป็นบ้านเกิดก็ตาม แต่เมื่อเกิดเหตุภัยภิบัติ จำไว้ว่า อย่าได้รีบเดินทางเข้าไปยังจุดเกิดเหตุอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังเกิดเรื่อง ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญได้เข้าปฏิบัติงานอย่างเต็มที่เสียก่อน แต่ถ้าคุณมีความรู้ความสามารถและคิดว่าช่วยได้ ติดต่อไปยังหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เขากำลังรวบรวมพลสำหรับส่งไปช่วยเหลือ เพราะหน่วยงานเหล่านี้เขาสามารถแจกจ่ายหน้าที่ให้คุณได้อย่างเหมาะสม
- อย่าเพิ่งบริจาคสิ่งของ โดยเฉพาะของมือสองที่คุณคิดว่าอาจเป็นประโยชน์กับผู้ประสบภัย แท้จริงแล้วของมือสองพวกนี้เป็นตัวปัญหาอย่างยิ่งเพราะบางอย่างเป็นของใช้ที่ผู้ประสบภัยไม่ต้องการเลย เปลี่ยนมาเป็นบริจาคเงินให้กับองค์กรหรือหน่วยงานจะดีกว่า เพราะหน่วยงานเขามีคนช่วยบริหารจัดการวาจะทำเงินที่ได้มานั้นไปใช้จ่ายได้อย่างถูกต้อง หรือถ้ามีของที่ไม่ใช้แล้วจริงๆ ก็นำออกวางขาย ค่อยนำเงินที่ได้จากการขายไปบริจาค
- บริจาคเงิน ขณะนี้ประเทศเนปาลเขาไม่ได้ต้องการเสื้อเก่าๆ แต่เงินเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง บริจาคผ่านตัวแทนต่างๆจะทำให้คุณติดตามได้ว่าเงินที่คุณบริจาคไปนั้นเดินทางไปถึงพวกเขาแล้วหรือยัง หรือเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งของอะไรบ้าง
- การช่วยเหลือระยะสั้นที่ต้องการคือการประกาศแจ้งข่าวสาร และหยิบยื่นความช่วยเหลือเพื่อให้ผู้รอดชีวิตได้มีชีวิตต่อไปได้
- การช่วยเหลือระยะยาวขั้นต่อไปคือการฟื้นฟูบ้านเรือน อาคารสถานที่ที่พังเสียหายให้กลับสู่ปกติให้ได้มากที่สุด
- แต่ถ้ายังมีจิตอันแรงกล้าว่าต้องเดินทางไปยังพื้นที่ประสบภัยให้ได้ ก็ควรศึกษาการเดินทางให้ดีเสียก่อน ไม่ใช่ว่าการเป็นอาสาสมัครจะไม่ดี แค่อยากให้คิดรอบคอบก่อนเดินทางไปว่าความสามารถอะไรที่คุณจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เพราะอาสาสมัครเป็นสิ่งดีที่ทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ แต่ก็ไม่ง่ายเลยกับการเป็นอาสาสมัคร ดังนั้นการศึกษาหาข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้คุณเข้าใจต่อเหตุการณ์นั้นได้
ที่มา :
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1430469292