สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
งานราชการมีเปิดสอบเรื่อยๆตลอดทั้งปีครับ
แต่ละครั้ง ตำแหน่งที่รับสมัครสอบ หน่วยงานที่เปิดสอบ จะไม่แน่นอนต้องดูเป็นคราวๆไป
เว้นแต่บางหน่วยงานบางตำแหน่งที่เปิดสอบเป็นวงรอบอยู่แล้วพอคาดเดาการเปิดรับสมัครสอบได้ เช่น
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร นักวิชาการพัฒนาชุมชน ปลัดอำเภอ ฯลฯ
ผู้มีสิทธิสอบงานราชการต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ข้าราชการพลเรือนส่วนใหญ่จะไม่กำหนดเพดานอายุขั้นสูง
บางหน่วยงานเช่น ทหาร ตำรวจ รัฐวิสาหกิจ อาจกำหนดอายุขั้นสูงไว้เช่น ไม่เกิน 35 ปี
ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่ต้องสอบแข่งขันเข้าตามกระบวนการ
ลูกจ้าง, พนักงานจ้าง อาจไม่ต้องสอบแข่งขันก็ได้ แล้วแต่กรณี
จขกท. ควรรู้จักบุคลากรภาครัฐ รวมถึงการแบ่งส่วนราชการต่างก่อนก็ดีนะครับ
ขั้นแรกจะเป็นเรื่องการติดตามข่าวสารครับ แนะนำให้พิมพ์คำว่า "งานราชการ" ลงใน Google ครับ
จะมีเว็บขึ้นมาเยอะแยะเลย เว็บหลักๆที่อัพเดท ก็เว็บแรกๆที่ขึ้นมาแหละครับ
เวลามีข่าวสารใหม่ ก็ลองเข้าไปอ่านประกาศ ย้ำว่าอ่านประกาศของหน่วยงานนะครับ ให้ละเอียด
ดูว่าตัวเรามีคุณสมบัติครบหรือไม่ ทั้งวุฒิ ทั้งการผ่านภาค ก. ฯลฯ และ บรรจุลงที่ไหน เป็นต้น
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของการสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการคือ “วุฒิการศึกษา” ครับ
ต้องมีวุฒิการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัคร โดยสามารถตรวจสอบผลการรับรองคุณวุฒิของเราได้ที่
http://e-accreditation.ocsc.go.th/acc/index.html
โดยการรับรองคุณวุฒิในการในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หลักๆจะอ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.
(สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
ทาง ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิเป็น “สาขา” และ “ทาง” เช่น
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอก วิศวกรรมโยธา
ผลการรับรอง: คุณวุฒิสาขา"วิศวกรรมศาสตร์" ทาง"วิศวกรรมโยธา"
“สาขา” เปรียบได้กับกลุ่มการศึกษาใหญ่ๆ เช่น สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ เป็นต้น
“ทาง” เปรียบได้กับสาขาวิชาเอกที่เราเรียน เช่น วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมชลประทาน บริหารรัฐกิจ เป็นต้น
ทีนี้ประกาศรับสมัครสอบงานราชการ จะเห็นได้ว่ามีเยอะแยะไปหมด จะสอบอะไรดี
ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักประเภทบุคลากรของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจก่อนครับ
จะได้รู้และเข้าใจว่าควรสมัครตามประกาศไหนดี
ผมขอจัดกลุ่มประเภทบุคลากรที่ประกาศรับสมัครสอบไว้ 2 กลุ่มใหญ่ๆตามประเภทองค์กรนะครับ คือ
1. ส่วนราชการ (กระทรวง, กรม และส่วนราชการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น)
2. รัฐวิสาหกิจ (การไฟฟ้า การประปา การรถไฟ ธกส. ธอส. สกย. ฯลฯ)
- ส่วนราชการจะมีบุคลากรของหน่วยงาน 5 ประเภทหลักๆ คือ
1. ข้าราชการ (เป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของงานราชการ สามารถก้าวหน้าขึ้นเป็น ระดับอำนวยการ และระดับบริหารได้)
2. พนักงานราชการ (เป็นตำแหน่งบรรจุแทนที่ลูกจ้างประจำ ฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ แต่ไม่มีสวัสดิการใดๆ และเป็นลูกน้องข้าราชการตลอดชีพ ไม่มีการเลื่อนขั้น)
3. ลูกจ้างประจำ (เป็นลูกน้องข้าราชการเช่นกัน แต่สวัสดิการเทียบเท่าข้าราชการ ปัจจุบันไม่มีบรรจุเพิ่มแล้ว (แต่ในบางหน่วยงานยังมีบรรจุอยู่ เช่น กทม. เป็นต้น))
4. ลูกจ้างชั่วคราว (เป็นตำแหน่งที่จะบรรจุเป็นลูกจ้างประจำต่อไป ปัจจุบันก็ไม่มีเปิดรับแล้วเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ)
5. พนักงานจ้างเหมา (พนักงานจ้างตามโครงการ ทำสัญญาจ้างเหมาเข้าทำงานซักชิ้น ถ้าหมดสัญญาอาจจะไม่จ้างต่อ ไม่มีความมั่นคง ไม่มีสิทธิประโยชน์ใดๆ ได้แต่เงินเดือน)
และ เพิ่มเติมบุคลากรในส่วนมหาวิทยาลัย คือ
6. พนักงานมหาวิทยาลัย (จะเทียบเท่าใกล้เคียงกับพนักงานราชการคือมีการต่อสัญญา แต่มียศขั้นแบบข้าราชการ ถูกบรรจุแทนข้าราชการประจำในมหาวิทยาลัย สิทธิสวัสดิการแล้วแต่มหาวิทยาลัย)
- รัฐวิสาหกิจ จะมีบุคลากรอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และ ลูกจ้าง
(หากท่านใดมีข้อมูลบุคลากรของรัฐวิสาหกิจเพิ่มเติมผมขอคำชี้แนะด้วยนะครับ)
1. พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีสิทธิสวัสดิการคล้ายข้าราชการ มีขั้นและตำแหน่ง ก้าวหน้าเติบโตได้ตามลำดับขั้น
2. ลูกจ้าง เป็นฝ่ายสนับสนุน พนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่มีความก้าวหน้า
ตามประกาศรับสมัครส่วนมากจะรับสมัครสอบอยู่ 3 ประเภทครับ คือ ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ข้าราชการส่วนมาก จะต้องสอบผ่านภาค ก. (ความรู้ความสามารถทั่วไป) ของ ก.พ. มาก่อน
ถึงจะมีสิทธิสมัครสอบภาค ข. (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) และ ค. (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง)
แต่ทั้งนี้ ข้าราชการเอง ก็มีหลายประเภท ทั้ง ขรก.พลเรือน, ขรก.กทม., ขรก.ท้องถิ่น, ขรก.รัฐสภา, ขรก.ครู ฯลฯ
ข้าราชการบางประเภทไม่ต้องสอบผ่านภาค ก. เช่น ข้าราชการทหาร/ตำรวจ
(แต่ถึงอย่างไรก็จะมีการสอบความรู้ทั่วไปที่คล้ายๆ ภาค ก. อยู่ดี)
ข้าราชการบางประเภทจะมีการสอบภาค ก. ของตัวเอง เช่น กทม., ท้องถิ่น, ศาล, ครู ฯลฯ จะไม่ใช้ ภาค ก. ของ ก.พ.
ส่วนข้าราชการพลเรือน (ข้าราชการที่สังกัด กระทรวง กรม ต่างๆ) จะใช้ผลสอบภาค ก. ของ ก.พ. ครับ
แต่จะมีข้าราชการส่วนน้อยมากๆอยู่เหมือนกันที่บรรจุโดยไม่ต้องสอบผ่าน ภาค ก.
เช่นในกรณี ขรก.ที่บรรจุในสาขาขาดแคลน ซึ่งกรณีนี้หายากมากครับ
ปัจจุบันก่อนปรับ 4% ในรัฐบาล คสช. ข้าราชการมีฐานเงินเดือนตามนี้ครับ
ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน
ระดับปริญญาโท 17,500 บาท/เดือน
ระดับปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน
ทั้งนี้ข้าราชการถือเป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของสายงานราชการ
หากคิดจะเอาดีทางสายงานราชการ ต้องเป็นข้าราชการให้ได้ครับ
พนักงานราชการ ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก็สามารถสมัครสอบภาค ข. ได้
พนักงานราชการ เป็นลูกจ้างสัญญาจ้าง
โดยจะเป็นฝ่ายสนับสนุนข้าราชการเท่านั้น ไม่มีการสั่งสมประสบการณ์เพื่อเลื่อนขั้น
เทียบได้เป็นทหารที่ไม่มียศ (ข้าราชการจะเทียบเท่าชั้นยศทหารตั้งแต่ สิบตรี - พลเอก)
เป็นลูกน้องข้าราชการตลอดอายุงาน เงินเดือนขึ้นปีละ 1 ครั้ง
ไม่มีสิทธิสวัสดิการใดๆทั้งสิ้น ใช้ระบบประกันสังคม (ด้อยกว่านายสิบที่เป็นข้าราชการทหารอีกครับ)
ต่อสัญญาจ้างไม่เกินคราวละ 4 ปี มีความมั่นคงพอสมควร แต่ก็แล้วแต่ผู้บริหารด้วย
โดยหน่วยงานสามารถไล่เราออกอย่างถูกต้องตามสัญญาได้โดยการไม่ต่อสัญญา (กรณีนี้มีน้อยครับ)
ไม่สามารถเลื่อนเป็นข้าราชการจากตำแหน่งพนักงานราชการได้ หากจะเป็นข้าราชการต้องสอบบรรจุใหม่
ฐานเงินเดือนพนักงานราชการจะสูงกว่าข้าราชการ ดังนี้ครับ
วุฒิปริญญาตรี 18,000 บ.
วุฒิปริญญาโท 19,680 บ.
วุฒิปริญญาเอก 24,000 บ.
พนักงานรัฐวิสาหกิจ จะจัดการสอบเองทั้ง ภาค ก. (ความรู้ทั่วไป) ข. (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) ค. (สัมภาษณ์)
มีฐานเงินเดือนไม่แน่นอนแล้วแต่องค์กรครับ
เท่าที่ทราบบางที่จะมีฐานเงินเดือนน้อยกว่า ข้าราชการ ในวุฒิเท่ากัน
แต่จะได้ค่าครองชีพเพิ่มจนเต็ม 15,000 บาทครับ เช่น
ตีเลขกลมๆเงินเดือนได้ 11,000 แล้วก็บวกค่าครองชีพอีก 4,000 เพื่อให้ครบ 15,000
แล้วปีถัดๆไปก็จะขึ้นเงินเดือน และลดค่าครองชีพลง สมมุตินะ
ปีที่ 1 เงินเดือน 11,500 บวกค่าครองชีพ 3,500
ปีที่ 2 เงินเดือน 12,000 บวกค่าครองชีพ 3,000
ปีที่ 3 ................ ไปเรื่อยๆ จนค่าครองชีพหมด เงินเดือนถึงจะเกิน 15,000
เท่ากับว่าจะต้องรับเงินเดือน 15,000 ไปหลายปีทีเดียว
มีโบนัส เยอะน้อยแล้วแต่หน่วยงาน และเงินเดือนครับ
อย่าลืมว่าถ้าจะสมัครสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องมีผลผ่านภาค ก. ของ ก.พ. มาก่อน
หากไม่มีก็สมัครได้แต่ พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, พนักงานมหาวิทยาลัย
และ ข้าราชการบางประเภทที่ไม่ใช้ผลผ่าน ก.พ. อย่างที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นครับ
ถ้าจะมาเอาดีด้านงานราชการ ก็ควรสอบแข่งขันเข้ามาเอง อย่ารอให้คนช่วยครับ
ผมขอสรุปขั้นตอนในการสอบบรรจุประมาณนี้นะครับ
1. รู้ว่าวุฒิของตัวเอง มีผลการรับรองเป็นวุฒิสาขาไหน สามารถสมัครสอบตำแหน่งไหนได้บ้าง
2. ติดตามข่าวสารการประกาศรับสมัครสอบแข่งขันอยู่เสมอๆ
และเลือกสมัครประเภทตำแหน่งในการรับสมัครสอบตามประกาศให้เหมาะสมกับตัวเอง
(ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, พนักงานมหาวิทยาลัย ฯลฯ)
3. เตรียมตัวให้พร้อมและอ่านหนังสือสอบครับ
แต่ละครั้ง ตำแหน่งที่รับสมัครสอบ หน่วยงานที่เปิดสอบ จะไม่แน่นอนต้องดูเป็นคราวๆไป
เว้นแต่บางหน่วยงานบางตำแหน่งที่เปิดสอบเป็นวงรอบอยู่แล้วพอคาดเดาการเปิดรับสมัครสอบได้ เช่น
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร นักวิชาการพัฒนาชุมชน ปลัดอำเภอ ฯลฯ
ผู้มีสิทธิสอบงานราชการต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ข้าราชการพลเรือนส่วนใหญ่จะไม่กำหนดเพดานอายุขั้นสูง
บางหน่วยงานเช่น ทหาร ตำรวจ รัฐวิสาหกิจ อาจกำหนดอายุขั้นสูงไว้เช่น ไม่เกิน 35 ปี
ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่ต้องสอบแข่งขันเข้าตามกระบวนการ
ลูกจ้าง, พนักงานจ้าง อาจไม่ต้องสอบแข่งขันก็ได้ แล้วแต่กรณี
จขกท. ควรรู้จักบุคลากรภาครัฐ รวมถึงการแบ่งส่วนราชการต่างก่อนก็ดีนะครับ
ขั้นแรกจะเป็นเรื่องการติดตามข่าวสารครับ แนะนำให้พิมพ์คำว่า "งานราชการ" ลงใน Google ครับ
จะมีเว็บขึ้นมาเยอะแยะเลย เว็บหลักๆที่อัพเดท ก็เว็บแรกๆที่ขึ้นมาแหละครับ
เวลามีข่าวสารใหม่ ก็ลองเข้าไปอ่านประกาศ ย้ำว่าอ่านประกาศของหน่วยงานนะครับ ให้ละเอียด
ดูว่าตัวเรามีคุณสมบัติครบหรือไม่ ทั้งวุฒิ ทั้งการผ่านภาค ก. ฯลฯ และ บรรจุลงที่ไหน เป็นต้น
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของการสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการคือ “วุฒิการศึกษา” ครับ
ต้องมีวุฒิการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัคร โดยสามารถตรวจสอบผลการรับรองคุณวุฒิของเราได้ที่
http://e-accreditation.ocsc.go.th/acc/index.html
โดยการรับรองคุณวุฒิในการในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หลักๆจะอ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.
(สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
ทาง ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิเป็น “สาขา” และ “ทาง” เช่น
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอก วิศวกรรมโยธา
ผลการรับรอง: คุณวุฒิสาขา"วิศวกรรมศาสตร์" ทาง"วิศวกรรมโยธา"
“สาขา” เปรียบได้กับกลุ่มการศึกษาใหญ่ๆ เช่น สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ เป็นต้น
“ทาง” เปรียบได้กับสาขาวิชาเอกที่เราเรียน เช่น วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมชลประทาน บริหารรัฐกิจ เป็นต้น
ทีนี้ประกาศรับสมัครสอบงานราชการ จะเห็นได้ว่ามีเยอะแยะไปหมด จะสอบอะไรดี
ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักประเภทบุคลากรของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจก่อนครับ
จะได้รู้และเข้าใจว่าควรสมัครตามประกาศไหนดี
ผมขอจัดกลุ่มประเภทบุคลากรที่ประกาศรับสมัครสอบไว้ 2 กลุ่มใหญ่ๆตามประเภทองค์กรนะครับ คือ
1. ส่วนราชการ (กระทรวง, กรม และส่วนราชการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น)
2. รัฐวิสาหกิจ (การไฟฟ้า การประปา การรถไฟ ธกส. ธอส. สกย. ฯลฯ)
- ส่วนราชการจะมีบุคลากรของหน่วยงาน 5 ประเภทหลักๆ คือ
1. ข้าราชการ (เป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของงานราชการ สามารถก้าวหน้าขึ้นเป็น ระดับอำนวยการ และระดับบริหารได้)
2. พนักงานราชการ (เป็นตำแหน่งบรรจุแทนที่ลูกจ้างประจำ ฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ แต่ไม่มีสวัสดิการใดๆ และเป็นลูกน้องข้าราชการตลอดชีพ ไม่มีการเลื่อนขั้น)
3. ลูกจ้างประจำ (เป็นลูกน้องข้าราชการเช่นกัน แต่สวัสดิการเทียบเท่าข้าราชการ ปัจจุบันไม่มีบรรจุเพิ่มแล้ว (แต่ในบางหน่วยงานยังมีบรรจุอยู่ เช่น กทม. เป็นต้น))
4. ลูกจ้างชั่วคราว (เป็นตำแหน่งที่จะบรรจุเป็นลูกจ้างประจำต่อไป ปัจจุบันก็ไม่มีเปิดรับแล้วเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ)
5. พนักงานจ้างเหมา (พนักงานจ้างตามโครงการ ทำสัญญาจ้างเหมาเข้าทำงานซักชิ้น ถ้าหมดสัญญาอาจจะไม่จ้างต่อ ไม่มีความมั่นคง ไม่มีสิทธิประโยชน์ใดๆ ได้แต่เงินเดือน)
และ เพิ่มเติมบุคลากรในส่วนมหาวิทยาลัย คือ
6. พนักงานมหาวิทยาลัย (จะเทียบเท่าใกล้เคียงกับพนักงานราชการคือมีการต่อสัญญา แต่มียศขั้นแบบข้าราชการ ถูกบรรจุแทนข้าราชการประจำในมหาวิทยาลัย สิทธิสวัสดิการแล้วแต่มหาวิทยาลัย)
- รัฐวิสาหกิจ จะมีบุคลากรอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และ ลูกจ้าง
(หากท่านใดมีข้อมูลบุคลากรของรัฐวิสาหกิจเพิ่มเติมผมขอคำชี้แนะด้วยนะครับ)
1. พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีสิทธิสวัสดิการคล้ายข้าราชการ มีขั้นและตำแหน่ง ก้าวหน้าเติบโตได้ตามลำดับขั้น
2. ลูกจ้าง เป็นฝ่ายสนับสนุน พนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่มีความก้าวหน้า
ตามประกาศรับสมัครส่วนมากจะรับสมัครสอบอยู่ 3 ประเภทครับ คือ ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ข้าราชการส่วนมาก จะต้องสอบผ่านภาค ก. (ความรู้ความสามารถทั่วไป) ของ ก.พ. มาก่อน
ถึงจะมีสิทธิสมัครสอบภาค ข. (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) และ ค. (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง)
แต่ทั้งนี้ ข้าราชการเอง ก็มีหลายประเภท ทั้ง ขรก.พลเรือน, ขรก.กทม., ขรก.ท้องถิ่น, ขรก.รัฐสภา, ขรก.ครู ฯลฯ
ข้าราชการบางประเภทไม่ต้องสอบผ่านภาค ก. เช่น ข้าราชการทหาร/ตำรวจ
(แต่ถึงอย่างไรก็จะมีการสอบความรู้ทั่วไปที่คล้ายๆ ภาค ก. อยู่ดี)
ข้าราชการบางประเภทจะมีการสอบภาค ก. ของตัวเอง เช่น กทม., ท้องถิ่น, ศาล, ครู ฯลฯ จะไม่ใช้ ภาค ก. ของ ก.พ.
ส่วนข้าราชการพลเรือน (ข้าราชการที่สังกัด กระทรวง กรม ต่างๆ) จะใช้ผลสอบภาค ก. ของ ก.พ. ครับ
แต่จะมีข้าราชการส่วนน้อยมากๆอยู่เหมือนกันที่บรรจุโดยไม่ต้องสอบผ่าน ภาค ก.
เช่นในกรณี ขรก.ที่บรรจุในสาขาขาดแคลน ซึ่งกรณีนี้หายากมากครับ
ปัจจุบันก่อนปรับ 4% ในรัฐบาล คสช. ข้าราชการมีฐานเงินเดือนตามนี้ครับ
ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน
ระดับปริญญาโท 17,500 บาท/เดือน
ระดับปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน
ทั้งนี้ข้าราชการถือเป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของสายงานราชการ
หากคิดจะเอาดีทางสายงานราชการ ต้องเป็นข้าราชการให้ได้ครับ
พนักงานราชการ ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก็สามารถสมัครสอบภาค ข. ได้
พนักงานราชการ เป็นลูกจ้างสัญญาจ้าง
โดยจะเป็นฝ่ายสนับสนุนข้าราชการเท่านั้น ไม่มีการสั่งสมประสบการณ์เพื่อเลื่อนขั้น
เทียบได้เป็นทหารที่ไม่มียศ (ข้าราชการจะเทียบเท่าชั้นยศทหารตั้งแต่ สิบตรี - พลเอก)
เป็นลูกน้องข้าราชการตลอดอายุงาน เงินเดือนขึ้นปีละ 1 ครั้ง
ไม่มีสิทธิสวัสดิการใดๆทั้งสิ้น ใช้ระบบประกันสังคม (ด้อยกว่านายสิบที่เป็นข้าราชการทหารอีกครับ)
ต่อสัญญาจ้างไม่เกินคราวละ 4 ปี มีความมั่นคงพอสมควร แต่ก็แล้วแต่ผู้บริหารด้วย
โดยหน่วยงานสามารถไล่เราออกอย่างถูกต้องตามสัญญาได้โดยการไม่ต่อสัญญา (กรณีนี้มีน้อยครับ)
ไม่สามารถเลื่อนเป็นข้าราชการจากตำแหน่งพนักงานราชการได้ หากจะเป็นข้าราชการต้องสอบบรรจุใหม่
ฐานเงินเดือนพนักงานราชการจะสูงกว่าข้าราชการ ดังนี้ครับ
วุฒิปริญญาตรี 18,000 บ.
วุฒิปริญญาโท 19,680 บ.
วุฒิปริญญาเอก 24,000 บ.
พนักงานรัฐวิสาหกิจ จะจัดการสอบเองทั้ง ภาค ก. (ความรู้ทั่วไป) ข. (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) ค. (สัมภาษณ์)
มีฐานเงินเดือนไม่แน่นอนแล้วแต่องค์กรครับ
เท่าที่ทราบบางที่จะมีฐานเงินเดือนน้อยกว่า ข้าราชการ ในวุฒิเท่ากัน
แต่จะได้ค่าครองชีพเพิ่มจนเต็ม 15,000 บาทครับ เช่น
ตีเลขกลมๆเงินเดือนได้ 11,000 แล้วก็บวกค่าครองชีพอีก 4,000 เพื่อให้ครบ 15,000
แล้วปีถัดๆไปก็จะขึ้นเงินเดือน และลดค่าครองชีพลง สมมุตินะ
ปีที่ 1 เงินเดือน 11,500 บวกค่าครองชีพ 3,500
ปีที่ 2 เงินเดือน 12,000 บวกค่าครองชีพ 3,000
ปีที่ 3 ................ ไปเรื่อยๆ จนค่าครองชีพหมด เงินเดือนถึงจะเกิน 15,000
เท่ากับว่าจะต้องรับเงินเดือน 15,000 ไปหลายปีทีเดียว
มีโบนัส เยอะน้อยแล้วแต่หน่วยงาน และเงินเดือนครับ
อย่าลืมว่าถ้าจะสมัครสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องมีผลผ่านภาค ก. ของ ก.พ. มาก่อน
หากไม่มีก็สมัครได้แต่ พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, พนักงานมหาวิทยาลัย
และ ข้าราชการบางประเภทที่ไม่ใช้ผลผ่าน ก.พ. อย่างที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นครับ
ถ้าจะมาเอาดีด้านงานราชการ ก็ควรสอบแข่งขันเข้ามาเอง อย่ารอให้คนช่วยครับ
ผมขอสรุปขั้นตอนในการสอบบรรจุประมาณนี้นะครับ
1. รู้ว่าวุฒิของตัวเอง มีผลการรับรองเป็นวุฒิสาขาไหน สามารถสมัครสอบตำแหน่งไหนได้บ้าง
2. ติดตามข่าวสารการประกาศรับสมัครสอบแข่งขันอยู่เสมอๆ
และเลือกสมัครประเภทตำแหน่งในการรับสมัครสอบตามประกาศให้เหมาะสมกับตัวเอง
(ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, พนักงานมหาวิทยาลัย ฯลฯ)
3. เตรียมตัวให้พร้อมและอ่านหนังสือสอบครับ
แสดงความคิดเห็น
คืออยากรู้ครับว่า สอบราชการ สอบได้ตั้งอายุเท่ารัย ใช้วุฒิอะรัยครับ