คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.2&i=1&p=8
มหาวิโลกนะ ๕ ประการ
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ แม้ถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอนขอ ก็มิได้ประทานปฏิญญาคำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ คือกำหนดกาล ทวีป ประเทศ ตระกูล พระชนมายุของพระชนนี.
บรรดามหาวิโลกนะ ๕ นั้น ทรงตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นกาลสมควรหรือยังไม่เป็นกาลสมควร. ในกาลนั้น อายุกาล [ของสัตว์] สูงกว่าแสนปีขึ้นไป ยังไม่ชื่อว่ากาล.
เพราะเหตุไร.
เพราะทุกข์มีชาติชรามรณะเป็นต้นไม่ปรากฏ ก็ธรรมดาพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ ไม่มีเลย. เมื่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสเรื่องอะไร แต่นั้นการตรัสรู้ก็ไม่มี เมื่อการตรัสรู้นั้นไม่มี คำสั่งสอนก็ไม่เป็นนิยยานิกกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น กาลนั้นจึงไม่เป็นกาลสมควร.
แม้อายุกาล [ของสัตว์] ต่ำกว่าร้อยปีก็ยังไม่เป็นกาลสมควร.
เพราะเหตุไร
เพราะกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนาแน่น และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสหนาแน่น ไม่อยู่ในฐานะควรโอวาท เพราะฉะนั้น กาลแม้นั้นก็ไม่เป็นกาลสมควร.
อายุกาลอย่างต่ำตั้งแต่แสนปีลงมา อย่างสูงตั้งแต่ร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่ากาลสมควร.
บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีอายุร้อยปี เพราะเหตุนั้น ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเห็นว่าเป็นกาลที่ควรบังเกิด.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก
สโมธานกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.3&i=36&p=7
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า โดยกำหนดอย่างต่ำสี่อสงไขยแสนมหากัป. โดยกำหนดอย่างกลาง แปดอสงไขยแสนมหากัป. ส่วนโดยกำหนดอย่างสูง สิบหกอสงไขยแสนมหากัป. ความต่างกันเหล่านี้พึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัญญาธิกะ ศรัทธาธิกะและวิริยาธิกะตามลำดับ.
จริงอยู่ ศรัทธาอ่อน ปัญญากล้าย่อมมีแก่ผู้เป็นปัญญาธิกะทั้งหลาย ปัญญาปานกลางมีแก่ผู้เป็นศรัทธาธิกะทั้งหลาย, ปัญญาอ่อนย่อมมีแก่ผู้เป็นวีริยาธิกะทั้งหลาย.
อนึ่ง พึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณด้วยอานุภาพแห่งปัญญา.
ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า นี้เป็นการแบ่งกาลของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วยความแก่กล้า ปานกลางและอ่อนแห่งความเพียร. แต่โดยความไม่ต่างกัน โพธิสมภารทั้งหลายย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งบารมีเหล่านั้น โดยความต่างแห่งกาลตามที่กล่าวแล้ว โดยความแก่กล้าปานกลางและอ่อนแห่งธรรมทั้งหลายอันบ่มบารมีให้แก่กล้าด้วยวิมุติ. เพราะเหตุนั้น ความต่างแห่งกาล ๓ เหล่านี้จึงควรแล้ว.
ด้วยอาการอย่างพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมมี ๓ ส่วนในขณะแห่งอภินิหารโดยความต่างกันแห่งอุคฆฏิตัญญู วิปัจจิตัญญูและเนยยะ.
ใน ๓ อย่างนั้น ผู้ที่ฟังคาถา ๔ บทต่อพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยังไม่จบคาถาบทที่ ๓ เป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วยอภิญญา ๖ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา เป็นอุคฆฏิตัญญู. หากพึงน้อมไปในสาวกโพธิญาณ.
บุคคลประเภทที่สองฟังคาถา ๔ บทต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อยังไม่จบคาถาบทที่ ๔ เป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วยอภิญญา ๖ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. หากพึงน้อมไปในสาวกโพธิญาณ.
ส่วนบุคคลประเภทที่สามฟังคาถา ๔ บทต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจบคาถาแล้วเป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วยอภิญญา ๖.
พระโพธิสัตว์ ๓ จำพวกเหล่านี้เว้นความต่างแห่งกาละสะสมบุญญาภินิหาร และได้พยากรณ์ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลายบำเพ็ญบารมีมาโดยลำดับ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตามกาลมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
-จากหนังสือมุนีนาถทีปนี ของพระพรหมโมลี
https://sites.google.com/site/kaokaew6/hnangsux-muni-nath-thip-ni-1
พระพุทธเจ้ามี ๓ ประเภทคือ
๑.พระปัญญาธิกพุทธเจ้า ใช้เวลาสร้างพระบารมีนับตั้งแต่ทรงดำริในพระทัย ๗ อสงไขย,ออกพระโอษฐ์ ๙ อสงไขย,ได้รับลัทธยาเทศ(คำพยากรณ์จากสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง) ๔ อสงไขย กับอีกหนึ่งแสนมหากัป
๒.พระสัทธาธิกพุทธเจ้า ใช้เวลาสร้างพระบารมีนับตั้งแต่ทรงดำริในพระทัย ๑๔ อสงไขย,ออกพระโอษฐ์ ๑๘ อสงไขย,ได้รับลัทธยาเทศ(คำพยากรณ์จากสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง) ๘ อสงไขย กับอีกหนึ่งแสนมหากัป
๓.พระวิริยาธิกพุทธเจ้า ใช้เวลาสร้างพระบารมีนับตั้งแต่ทรงดำริในพระทัย ๒๘ อสงไขย,ออกพระโอษฐ์ ๓๖ อสงไขย,ได้รับลัทธยาเทศ(คำพยากรณ์จากสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง) ๑๖ อสงไขย กับอีกหนึ่งแสนมหากัป
พระโพธิสัตว์ต้องสั่งสมบารมีซึ่งมีองค์ ๑๐ ประการ แยกเป็นองค์ละ ๓ คือพระบารมีอย่างต่ำ,พระบารมีอย่างกลาง,พระบารมีอย่างอุกฤษฏ์ จึงรวมเป็นพระบารมี ๓๐
- ศึกษาเพิ่มได้ที่
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=1202
พระพุทธเจ้า คือผู้ที่เป็นศาสดาเอกในพุทธศาสนา แบ่งพระพุทธเจ้าออกเป็น 3 ประเภท
1.ปัญญาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ
ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
คือปารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย
หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย
รวมเป็น 16 อสงไขย
และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ ครั้งแรก
เหลืออีก 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า
จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
2. ศรัทธาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ
ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
คือปารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 14 อสงไขย
หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 18 อสงไขย รวมเป็น 32 อสงไขย
และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก เหลืออีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
3. วิริยะพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ
ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย
หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขย
รวมเป็น 64 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก
เหลืออีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย
และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ลำดับพระชาติของมหาโพธิสัตว์
http://www.gotoknow.org/posts/512782
*******************************
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.2&i=1&p=8
มหาวิโลกนะ ๕ ประการ
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ แม้ถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอนขอ ก็มิได้ประทานปฏิญญาคำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ คือกำหนดกาล ทวีป ประเทศ ตระกูล พระชนมายุของพระชนนี.
บรรดามหาวิโลกนะ ๕ นั้น ทรงตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นกาลสมควรหรือยังไม่เป็นกาลสมควร. ในกาลนั้น อายุกาล [ของสัตว์] สูงกว่าแสนปีขึ้นไป ยังไม่ชื่อว่ากาล.
เพราะเหตุไร.
เพราะทุกข์มีชาติชรามรณะเป็นต้นไม่ปรากฏ ก็ธรรมดาพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ ไม่มีเลย. เมื่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสเรื่องอะไร แต่นั้นการตรัสรู้ก็ไม่มี เมื่อการตรัสรู้นั้นไม่มี คำสั่งสอนก็ไม่เป็นนิยยานิกกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น กาลนั้นจึงไม่เป็นกาลสมควร.
แม้อายุกาล [ของสัตว์] ต่ำกว่าร้อยปีก็ยังไม่เป็นกาลสมควร.
เพราะเหตุไร
เพราะกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนาแน่น และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสหนาแน่น ไม่อยู่ในฐานะควรโอวาท เพราะฉะนั้น กาลแม้นั้นก็ไม่เป็นกาลสมควร.
อายุกาลอย่างต่ำตั้งแต่แสนปีลงมา อย่างสูงตั้งแต่ร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่ากาลสมควร.
บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีอายุร้อยปี เพราะเหตุนั้น ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเห็นว่าเป็นกาลที่ควรบังเกิด.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก
สโมธานกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.3&i=36&p=7
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า โดยกำหนดอย่างต่ำสี่อสงไขยแสนมหากัป. โดยกำหนดอย่างกลาง แปดอสงไขยแสนมหากัป. ส่วนโดยกำหนดอย่างสูง สิบหกอสงไขยแสนมหากัป. ความต่างกันเหล่านี้พึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัญญาธิกะ ศรัทธาธิกะและวิริยาธิกะตามลำดับ.
จริงอยู่ ศรัทธาอ่อน ปัญญากล้าย่อมมีแก่ผู้เป็นปัญญาธิกะทั้งหลาย ปัญญาปานกลางมีแก่ผู้เป็นศรัทธาธิกะทั้งหลาย, ปัญญาอ่อนย่อมมีแก่ผู้เป็นวีริยาธิกะทั้งหลาย.
อนึ่ง พึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณด้วยอานุภาพแห่งปัญญา.
ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า นี้เป็นการแบ่งกาลของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วยความแก่กล้า ปานกลางและอ่อนแห่งความเพียร. แต่โดยความไม่ต่างกัน โพธิสมภารทั้งหลายย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งบารมีเหล่านั้น โดยความต่างแห่งกาลตามที่กล่าวแล้ว โดยความแก่กล้าปานกลางและอ่อนแห่งธรรมทั้งหลายอันบ่มบารมีให้แก่กล้าด้วยวิมุติ. เพราะเหตุนั้น ความต่างแห่งกาล ๓ เหล่านี้จึงควรแล้ว.
ด้วยอาการอย่างพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมมี ๓ ส่วนในขณะแห่งอภินิหารโดยความต่างกันแห่งอุคฆฏิตัญญู วิปัจจิตัญญูและเนยยะ.
ใน ๓ อย่างนั้น ผู้ที่ฟังคาถา ๔ บทต่อพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยังไม่จบคาถาบทที่ ๓ เป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วยอภิญญา ๖ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา เป็นอุคฆฏิตัญญู. หากพึงน้อมไปในสาวกโพธิญาณ.
บุคคลประเภทที่สองฟังคาถา ๔ บทต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อยังไม่จบคาถาบทที่ ๔ เป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วยอภิญญา ๖ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. หากพึงน้อมไปในสาวกโพธิญาณ.
ส่วนบุคคลประเภทที่สามฟังคาถา ๔ บทต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจบคาถาแล้วเป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วยอภิญญา ๖.
พระโพธิสัตว์ ๓ จำพวกเหล่านี้เว้นความต่างแห่งกาละสะสมบุญญาภินิหาร และได้พยากรณ์ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลายบำเพ็ญบารมีมาโดยลำดับ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตามกาลมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
-จากหนังสือมุนีนาถทีปนี ของพระพรหมโมลี
https://sites.google.com/site/kaokaew6/hnangsux-muni-nath-thip-ni-1
พระพุทธเจ้ามี ๓ ประเภทคือ
๑.พระปัญญาธิกพุทธเจ้า ใช้เวลาสร้างพระบารมีนับตั้งแต่ทรงดำริในพระทัย ๗ อสงไขย,ออกพระโอษฐ์ ๙ อสงไขย,ได้รับลัทธยาเทศ(คำพยากรณ์จากสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง) ๔ อสงไขย กับอีกหนึ่งแสนมหากัป
๒.พระสัทธาธิกพุทธเจ้า ใช้เวลาสร้างพระบารมีนับตั้งแต่ทรงดำริในพระทัย ๑๔ อสงไขย,ออกพระโอษฐ์ ๑๘ อสงไขย,ได้รับลัทธยาเทศ(คำพยากรณ์จากสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง) ๘ อสงไขย กับอีกหนึ่งแสนมหากัป
๓.พระวิริยาธิกพุทธเจ้า ใช้เวลาสร้างพระบารมีนับตั้งแต่ทรงดำริในพระทัย ๒๘ อสงไขย,ออกพระโอษฐ์ ๓๖ อสงไขย,ได้รับลัทธยาเทศ(คำพยากรณ์จากสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง) ๑๖ อสงไขย กับอีกหนึ่งแสนมหากัป
พระโพธิสัตว์ต้องสั่งสมบารมีซึ่งมีองค์ ๑๐ ประการ แยกเป็นองค์ละ ๓ คือพระบารมีอย่างต่ำ,พระบารมีอย่างกลาง,พระบารมีอย่างอุกฤษฏ์ จึงรวมเป็นพระบารมี ๓๐
- ศึกษาเพิ่มได้ที่
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=1202
พระพุทธเจ้า คือผู้ที่เป็นศาสดาเอกในพุทธศาสนา แบ่งพระพุทธเจ้าออกเป็น 3 ประเภท
1.ปัญญาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ
ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
คือปารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย
หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย
รวมเป็น 16 อสงไขย
และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ ครั้งแรก
เหลืออีก 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า
จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
2. ศรัทธาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ
ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
คือปารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 14 อสงไขย
หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 18 อสงไขย รวมเป็น 32 อสงไขย
และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก เหลืออีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
3. วิริยะพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ
ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย
หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขย
รวมเป็น 64 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก
เหลืออีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย
และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ลำดับพระชาติของมหาโพธิสัตว์
http://www.gotoknow.org/posts/512782
*******************************
แสดงความคิดเห็น
สงสัยเกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า
2. ศรัทธาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขย กับแสนมหากัป
3. วิริยาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขย กับแสนมหากัป
พระพุทธเจ้า 3 เหล่านี้ แตกต่างกันอย่างไร ทำไมระยะเวลา บำเพ็ญถึงแตกต่างกัน ความรู้จะเท่ากันรึไม่ พาคนหลุดพ้นได้เท่ากันรึไม่ เลือกได้หรือไม่ว่าจะเป็นแบบไหน