มนุษย์ผู้เป็นลูกทุกคน ..ทุกวันนี้คุณส่งเงินให้พ่อแม่ใช้เดือนละเท่าไหร่กัน ???? เข้ามาแชร์กันหน่อยยย

เราเป็นมนุษย์ธรรมด๊า..ธรรมดา ..เรียนจบมา 3 ปีแระ ชีวิตระหกระเหิญร่อนเร่มาทำงานที่เมืองกรุง..ตั้งแต่เงินเดือน 15k จนบัดนี้  18k  (จะเห็นได้ว่าเงินเดือนไม่ได้ขึ้นมากมายอะไรเลย ) แต่เราก็มีข้อสงสัยว่าเงินเดือนระดับนี้คนส่วนใหญ่ให้เงินบุพการีใช้กันเดือนละเท่าไหร่ ส่วนตัวเราให้ 5000 บาท/เดือน  เราไม่รู้ว่ามากไปหรือน้อยไป..เลยอยากถามทุกท่านว่า ปกติคุณให้กันเท่าไหร่ ??ในฐานเงินเดือนของคุณ ...


ขอบคุณล่วงหน้าที่กรุณามาแชร์ ..ขอให้กระทู้นี้เป็นกระทู้แนะนำให้ลูกๆทุกคนคิดถึงบุพการี ที่ท่านอดทนส่งเราเรียนจนจบ
และสามารถเลี้ยงตัวเราเองได้ ...

เม่าบัลเล่ต์
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ตั้งแต่เรียนจบมาให้พ่อแม่เดือนละ 8,000 บาทมาทุกเดือนครับ นี่ก็เกือบๆ 3 ปีแล้ว ตั้งแต่เงินเดือน 3 หมื่นกว่าบาทมา 5 หมื่นกว่าบาท คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยลงกว่าแต่ก่อนเพราะให้เท่าเดิม ขณะที่เงินเดือนปรับขึ้นทุกปี แต่ในอนาคตอันใกล้พ่อผมจะเกษียณแล้ว รายได้ครอบครัวน้อยลง รายจ่ายเท่าเดิม ก็ต้องเพิ่มเงินที่ให้ อาจถึง 20,000 ต่อเดือนครับ เลี้ยงท่านจนกว่าแกจากไป เพราะผมเป็นสินทรัพย์สุดท้ายสำหรับชีวิตท่านแล้วล่ะครับ
ความคิดเห็นที่ 25
ให้แทบจะครึ่งนึงของเงินเดือนเลยคือ แม่ป่วยค่ะ ไม่สามารถหารายได้เอง
เริ่มต้นทำงานที่แรก ตอนอายุ 18 ปี ทำงานโรงงาน รายได้เฉลี่ยต่อวีคประมาณ 5-8 พันบาท
ตอนนั้นยังอยู่กับแม่ เลยไม่ได้ให้อะไรมากเพราะว่าของทุกอย่างในบ้านซื้อเองค่ะ จะให้ไว้เวลาไปทำงาน
กับค่าเหมามอไซต์ไปโรงบาล
.
ปล. แม่ฟอกไตที่โรงพยาบาลอาทิตย์ละ 3 วันค่ะ

เลิกจากงานโรงงานไปทำงานภาคใต้ ทำงานที่แรกได้เงินรายอาทิตย์แล้วแต่ลูกค้า (ร้านนวดสปา) ก็คือครึ่งๆเลยค่ะ
สมมุติ ถ้าอาทิตย์นี้ได้ค่าแรง 2 พัน จะให้แม่ 1500 บาทค่ะ ที่เหลือก้ออาศัยเงินทิป

ทำงานนวดต่อไม่ได้แพ้สารเคมี เลยต้องมาจับงานสายโรงแรม เริ่มงานที่แรกได้เงินเดือน 5300 บาทไทย
ได้ยินไม่ผิดค่ะ เท่านั้นจิงๆ แต่โรงแรมทางใต้จะมีห้องพักให้ ข้าว 3 มื้อ แต่ก็กุ๊กพม่านะคะ กินได้ก็กิน กินไม่ได้ก็ต้องกิน
ก็ยังพอถูไถไปได้บ้าง ก้อให้แม่ไปเลย 4000 บาท ปลายๆเดือนแกไม่พอ ก็เอาเงินทิปที่เก็บสะสมส่งไปให้
ทำงานด้านโรงแรมมาเรื่อยๆค่ะ ก็เงินเดือนกพัฒนาไปตามประสปการณ์ ตอนนี้ฐานเงินเดือนที่เรียกถ้าไปสมัครงานคือ 15K
ทางใต้ขอได้ประมาณนี้ค่ะ ไม่รวมทิป กับ เซอร์วิสชาร์ต ก็จะให้แม่อยู่ที่ 7000 บาทต่อเดือน
ถ้าเผื่อเหลือเผื่อขาด ก็เพิ่มให้แกช่วงปลายเดือนอีก 1 พันค่ะ ถ้าแม่เงินไม่ถึงสิ้นเดือน

ทุกวันนี้ก็ให้มาประมาณนี้ค่ะ 7-8 พัน บาทตอเดือน ^^
ความคิดเห็นที่ 27
ขอแจกแจงให้เห็นรายละเอียดนะคะ เพราะมีกระทู้ถามแนวนี้เยอะมาก และหลายคนก็มักจะตอบว่า ต้องเลี้ยงดูตัวเองก่อน ส่วนพ่อแม่ไว้ที่หลัง อะไรประมาณนี้


เงินเดือน 35 K ค่ะ (โสด) ให้แม่เดือนละ 3,500 บาท (ให้ท่านตั้งแต่สมัยทำงานครั้งแรกเงินเดือน 6,300 บาท) และดูแลค่าใช้จ่ายในบ้านทุกอย่าง (อยู่ด้วยกันค่ะ ตอนนี้ท่านเดินไม่ค่อนได้แล้ว) ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์บ้าน ค่าโทรศัพท์มือถือ (ทั้งของแม่และตัวเอง) เสื้อผ้า (ทั้งของแม่และตนเอง) ค่ายาพาไปหาหมอ ซื้อของเข้าครัวทุกอย่าง (ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารสดบางอย่าง ขนม นม เนย) เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทุกชนิด (หากเสีย หรือซ่อม) เฟอร์นิเจอร์ทุกอย่าง

ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในบ้าน (เพราะมีกันอยู่ 2 คน และสมุนหมูอีก 3 ตัว) แต่ก็ใช่ว่าไม่มีทรัพ์สินเป็นของตนเองนะคะ (ทรัพย์สินด้านล่างหาด้วยตนเองตั้งแต่เรียนจบ ปริญญาตรี)
มีบ้าน 30 ตารางวาแถบกรุงเทพตะวันตก (แนวรถไฟใต้ดิน) + รถ 1 คัน + เงินฉุกเฉิน 12 เดือน + ทองคำ (ทั้งรูปพรรณและทองแท่ง) 15 บาท + เข็มขัดนาก 25 บาท + RMF 1 ล้าน + Provident Fund 1 ล้าน + ฝากประจำ 4 แสน + พันธบัตรรัฐบาล 2 แสน

สินทรัพย์ทั้งหมดนี้อาจไม่ได้มากมายนัก แต่เป็นทรัพย์สินที่หาได้ด้วยตนเอง และในระหว่างที่หานั้น ก็เลี้ยงดูท่านตลอดไม่เคยทิ้งขว้าง ท่านไม่เคยร้องขอให้เลี้ยงดูด้วยซ้ำ แต่ก็ดูแลท่านมาตลอด เพราะคิดว่า เราอยู่ได้เกิดมาได้เพราะท่าน กว่าเราจะตอบแทนคุณได้จริง ๆ จัง คือ 24 - 26 เมื่อเรียนจบปริญาตรีหรือโท แล้วท่านเราจะอยู่ให้เราตอบแทนสักกี่น้ำ (เพราะถ้ารอให้เราพร้อมเลี้ยงดูท่าน ท่านอาจไม่อยู่แล้วก็ได้)
ความคิดเห็นที่ 22
ลูกคนเดียวพ่อเสีย อยู่กับแม่ให้แม่ทุกเดือน 5000 และออกค่าน้ำ ค่าไฟ โทรศัพท์ เน็ต กระดาษทิชชู น้ำมัน น้ำปลา ข้าวสารกับข้าว แม่ชอบถามมีเงินเก็บเยอะไหม บอกไม่มี  แม่ด่า เงินไปไหนหมด.......น้ำท่วมปากน้ำตาไหลพรากๆๆ  ชมสักคำก็ไม่มี
ความคิดเห็นที่ 43
เงินเดือนที่ได้เดือนๆ นึง
ส่ง 25% ให้ที่บ้าน (พ่อแม่)
ส่ง 25% ให้น้องที่เรียนอยู่ (เป็นค่ากิน ค่าหอ)
เก็บ 25% ไว้ออม
ที่เหลือ 25% ไว้ใช้เอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่